ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

(ที่พิษณุโลก) แผนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน


แผนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน

หมายเหตุ มีไฟล์บทความให้ Download ท้ายบทความครับ


ประวัติและความจำเป็นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับจังหวัดพิษณุโลกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก สภาพลเมืองจังหวัดพิษณุโลกหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก สมาคม ATSME จังหวัดพิษณุโลกสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก และสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยได้ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ภายใต้ชื่อ “พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน” เพื่อเป็นกรอบและแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและจังหวัดพิษณุโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืนสร้างรูปแบบการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

โดยจังหวัดพิษณุโลกได้จัดตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ทำหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนงานโครงการ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน




นโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

เพื่อให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของรัฐบาลมีความคุ้มค่ามีศักยภาพในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและมีความยั่งยืน คณะกรรมการขับเคลื่อนฯจึงได้เสนอรัฐบาลพิจารณาแผนงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและการลงทุนทางเศรษฐกิจตามแผนยุทธศาสตร์ “พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน” ดังนี้

1.โครงการศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok MultimodalTransportation Center Project) บริเวณสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – พิษณุโลก – เชียงใหม่เทศบาลนครพิษณุโลกมีเป้าหมายพัฒนาเป็นศูนย์เชื่อมต่อการเดินทางของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและของจังหวัดพิษณุโลก

2.โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok Mass TransitSystem Development Project) พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกมีเป้าหมายเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างศูนย์เศรษฐกิจด้วยระบบขนส่งมวลชน

3.โครงการศูนย์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok EconomicDevelopment Center Project) เป็นศูนย์เศรษฐกิจ (Economic Center) จำนวน 44 ศูนย์มีเป้าหมายพัฒนาเป็นศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยให้มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจเป็นแหล่งจ้างงานและสร้างงานที่มีความแข็งแกร่งมีศักยภาพในการกระจายรายได้สำหรับประชาชนทุกกลุ่มอาชีพและระดับทางสังคม

4.โครงการศูนย์พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่าง (Lower-Northern RegionalLogistics Center Project) ตั้งบริเวณบ้านบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกมีเป้าหมายรวมศูนย์การขนส่งสินค้าและคลังสินค้าของภาคเหนือตอนล่างและของจังหวัดพิษณุโลกด้วยการขนส่งทางราง การขนส่งทางถนน และการขนส่งทางอากาศสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนลงทุนด้านการคลังและการกระจายสินค้าและการบริหารจัดการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่ของศูนย์ซึ่งได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคไว้อย่างครบครัน

5.โครงการเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพรจังหวัดพิษณุโลก(Phitsanulok Food and Herb Product Innovation Project) ตั้งบริเวณบ้านบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับกลางถึงสูงในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปการเกษตร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เข้าใช้พื้นที่เขตอุตสาหกรรมซึ่งมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค และหน่วยบริการพาณิชยกรรมที่ทันสมัยโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด

6.โครงการเขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok Research andDevelopment for Product Innovation Center Project) ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยพิษณุโลกมีเป้าหมายยกระดับการใช้ที่ดินรอบมหาวิทยาลัยให้เป็นหน่วยการวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฝึกอบรมสำหรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตและบริการขั้นสูงเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและจังหวัดพิษณุโลก



7.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry Project) มีเป้าหมายสร้างความพร้อมในการรองรับการเป็นศูนย์ไมซ์ของภาคเหนือตอนล่าง(Lower-NorthernRegion for MICE Hub) ศูนย์การประชุมนานาชาติและศูนย์การแสดงสินค้าจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok Conventionand Exhibition Center) สนับสนุนธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยวและการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและการพำนักระยะยาว

8.โครงการพัฒนาบึงราชนกให้เป็นสวนสาธารณะระดับภาค (Regional Park) อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกเพื่อเป็นที่ตั้งของศูนย์นันทนาการประเภทสวนสาธารณะและสถานที่สาธารณะระดับภาคศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และสวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ เป็นศูนย์การนันทนาการและการเรียนรู้ทางธรรมชาติ นิเวศและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

9.โครงการยกระดับสนามบินพิษณุโลกเป็นสนามบินนานาชาติ (Phitsanulok InternationalAirport) มีเป้าหมายการพัฒนาให้ตอบสนองการเดินทางของนักธุรกิจนักท่องเที่ยว และนักเดินทางระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าทางอากาศระดับภูมิภาคสนามบินนานาชาติพิษณุโลกจะมีบทบาทเป็นศูนย์การเดินทางในระดับนานาชาติของภาคเหนือภายในปี2030

10.โครงการพิษณุโลกเมืองแห่งพลังงานหมุนเวียนและการจัดการขยะครบวงจร(Phitsanulok: The City of Recycling) มีเป้าหมายพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลภาวะด้วยเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าสนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน

11.โครงการพิษณุโลกเมืองเป้าหมายการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและผู้สูงวัย (Phitsanulok: Destinationof Health and Aging Tourism) มีเป้าหมายพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นจุดหมายปลายการท่องเที่ยวด้านการพำนักระยะยาวการพักฟื้น และการอยู่อาศัยของผู้สูงวัยด้วยการสร้างศูนย์สุขภาพและระบบการจัดการสุขภาวะที่ได้มาตรฐานตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร

12.โครงการพิษณุโลก มหานครแห่งการสร้างสรรค์ (Phitsanulok CreativeCity) เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนมีเป้าหมายในการเชื่อมโยงภูมิทัศน์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ด้วย Creative Hub ยกระดับจังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดค้นนอกกรอบภูมิปัญญา และจินตนาการที่มุ่งสู่การสร้างความแตกต่าง ความโดดเด่นและมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ

คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ จะเดินหน้าพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ “พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน” ในรูปแบบต่าง ๆร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ(กรอ.กลาง) กองทัพภาคที่ 3 และรัฐบาลเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป

คณะกรรมการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน

……………………………………..

สามารถ Download (โฟลเดอร์) ข้อมูลบทความนี้และแผ่นพับเผยแพร่ "ยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน" ได้ที่ลิ้งก์

https://mega.nz/#F!pwQmFbZZ!7QuZvljr6XWMgjM5fQ_5Sg

หรืออีกช่องทาง Download File

บทความ แผนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนpdf

แผ่นพับเผยแพร่ แผ่นที่ 1

แผ่นพับเผยแพร่ แผ่นที่ 2




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2558    
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2558 21:19:11 น.
Counter : 2546 Pageviews.  

การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่ 1 การวางแผนและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ


การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่ 1 การวางแผนและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

ฐาปนา บุณยประวิตรสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยและสมาคมการผังเมืองไทย

Thapana.asia@gmial.com/ www.asiamuseum.co.th/ www.smartgrowththailand.com




ทัศนียภาพศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยหรือศูนย์เศรษฐกิจใหม่ย่านลำลูกกาของการเคหะแห่งชาติ

ขอบคุณภาพจากการเคหะแห่งชาติ


บทนำ

บทความการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่ 1 แนวทางการวางแผนและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจทุกระดับไม่ว่าจะเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับย่าน ระดับเมือง และระดับภาคเนื่องจากศูนย์เศรษฐกิจดังกล่าวมีความสัมพันธ์ผูกโยงกับระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและของประเทศเป็นแหล่งจ้างงานและสร้างงานให้กับประชาชนทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับสูง หากศูนย์เศรษฐกิจขาดศักยภาพ ไร้สมรรถนะในการจ้างงานไม่เติบโต หรือไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนแล้วจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศแม้รัฐบาลจะลงทุนก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตพื้นที่พัฒนาใหม่ขึ้นมาอีกกี่แห่งก็ตามก็ไม่อาจกระตุ้นให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงได้


การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) มองเห็นความสำคัญของศูนย์เศรษฐกิจด้วยประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและของหลายๆประเทศได้ชี้ให้เห็นว่า ทุกแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ประกาศใช้นั้นจะบังเกิดผลเชิงบวกต่อประชาชนทุกระดับรายได้และมีการกระจายผลประโยชน์ออกไปทั่วทุกภูมิภาครัฐฯจะต้องวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วให้มีศักยภาพสูงสุดไปพร้อมกัน ซึ่งอาจใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับประเทศผ่านหน่วยงานจากส่วนกลาง และใช้แผนยุทธศาสตร์ระดับเมืองผ่านเทศบาลเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายทางกายภาพและการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาใช้ข้อตกลงร่วมเป็นเครื่องชี้ทิศธงนำให้หน่วยงานภาครัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและออกมาตรการด้านผังเมืองพร้อมมอบสิทธิประโยชน์ชักจูงให้ภาคธุรกิจเอกชนลงทุนหรือขยายการลงทุนโดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างงานและจ้างงานภายในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตามแผนการที่วางไว้


กรณีของประเทศไทย สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย (Smart Growth Thailand Research Institute) ได้ริเริ่มนำประสบการณ์พัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจากประเทศสหรัฐฯประยุกต์ใช้ โดยเบื้องต้นได้ดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆในจังหวัดพิษณุโลกและเทศบาลนครภูเก็ตจัดทำแนวทางการพัฒนาและร่วมกันออกแบบยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งบทความตอนที่ 1 นี้จะได้สรุปผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจการกำหนดบทบาทของศูนย์เศรษฐกิจ และแนวทางในการวางแผนพัฒนา สำหรับบทความตอนที่ 2 ตอนที่ 3 และตอนที่ 4 จะได้กล่าวถึงแนวทางในการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูทางกายภาพการบริหารจัดการศูนย์เศรษฐกิจ และรายละเอียดกระบวนการออกแบบปรับปรุงศูนย์ส่วนตอนที่ 5 และ 6จะได้นำกรณีศึกษาการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุดรธานีและเทศบาลนครภูเก็ตเสนอต่อไป


ประโยชน์ที่ได้จากการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

อาจจำแนกผลประโยชน์ของศูนย์เศรษฐกิจออกเป็น 2 ส่วนโดยส่วนแรกเป็นผลประโยชน์ด้านการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อม และส่วนที่สองเป็นผลประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจรายละเอียดสรุปได้ดังนี้


ผลประโยชน์ด้านการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อม

กฎหมายผังเมือง Form-BasedCodes และเกณฑ์ LEED-ND กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งโดยกำหนดให้ทุกเมืองที่ได้รับการออกแบบต้องมีศูนย์เศรษฐกิจที่มีขอบเขตที่เด่นชัดสามารถจำแนกพื้นที่เมืองตาม The Transect เป็นพื้นที่ใจกลางเมือง (T6 หรือ urban core) พื้นที่พาณิชยกรรมเมือง (T5 หรือ urban commercial) และพื้นที่ที่อยู่อาศัยผสมผสานพาณิชยกรรม(T4 หรือ general urban) ได้ โดยการจำแนกเนื้อเมืองออกเป็นส่วนๆจะทำให้เกิดความสะดวกในการกำหนดบทบาทและสามารถวางแผนการพัฒนาเพื่อให้เมืองมีความพร้อมสามารถตอบสนองต่อการอยู่อาศัยการประกอบการในเชิงพาณิชย์ และการนันทนาการได้สำหรับผลประโยชน์ในด้านการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย

· การจำแนกพื้นที่เมืองออกจากพื้นที่อนุรักษ์และสงวนรักษา ประโยชน์ที่มองเห็นได้ชัดคือการปกป้องพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ธรรมชาติจากการรุกล้ำของเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่มีภารกิจเกี่ยวกับการเกษตรและการสงวนรักษาพื้นที่ธรรมชาติการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองที่เด่นชัดนี้เป็นการลดการกระจัดกระจายของเมืองที่ดีมากอีกวิธีหนึ่งซึ่งหลายๆ เมืองได้นำมาใช้

· การจำแนกบทบาทพื้นที่เมืองเพื่อความสะดวกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ตัวอย่างเช่นในพื้นที่ใจกลางเมืองและพาณิชยกรรมเมือง รัฐฯมีความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆไว้เพื่อให้บริการแก่ภาคธุรกิจการค้าและเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเข้มข้นในขณะที่พื้นที่อยู่อาศัยอาจไม่จำเป็นจะต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบางชนิดที่ประชาชนไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทำให้เมืองประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการดูแลรักษา

· การกำหนดนโยบายความหนาแน่นและความเข้มข้นกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีความคุ้มค่า ดังตัวอย่างการอนุญาตให้พื้นที่ใจกลางเมืองและพาณิชยกรรมเมืองสามารถก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษหรืออาคารสูงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานซึ่งอาจกำหนดให้มีความเข้มข้นของกิจกรรมเศรษฐกิจหรือการผสมผสานกิจกรรมการใช้อาคารได้อย่างหลากหลายเอื้ออำนวยให้เกิดเครือข่ายทางธุรกิจในพื้นที่ศูนย์บริเวณเดียวกันได้

· มีความสะดวกต่อการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจให้เป็นเมืองแห่งการเดิน(Walkable City) เนื่องจากพื้นที่ศูนย์ที่ได้รับการออกแบบจะมีความกระชับมีพื้นที่อาคารต่อเนื่องกัน โดยหน่วยบริการค้าปลีกการบริการและที่อยู่อาศัยจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกันหรือมีความสามารถในการเดินถึงกันดังนั้นจึงมีโอกาสในการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจให้เป็นเมืองแห่งการเดินที่มีความสมบูรณ์ได้

· มีความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่ใจกลางศูนย์เศรษฐกิจเป็นที่ตั้งของศูนย์กระจายการเดินทางเนื่องจากพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจมีประชากรอยู่อาศัยและมีการประกอบการเศรษฐกิจอย่างหนาแน่นจึงมีความคุ้มค่าในการลงทุนระบบขนส่งมวลชนและสถานีขนส่งมวลชนอีกทั้งพื้นที่ภายในศูนย์เศรษฐกิจจะมีกิจกรรมการใช้ที่ดินที่หลากหลายประชาชนมีความต้องการในการเดินทางตลอดเวลาของการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของระบบขนส่งมวลชนที่จะได้รับผู้เดินทางในแต่ละช่วงเวลาและมีความสม่ำเสมอไม่เฉพาะแต่ช่วงเวลาเช้าและเย็น นอกจากนั้นประชาชนที่อยู่อาศัยและประกอบกิจการในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจยังจะมีโอกาสเข้าถึงและใช้บริการขนส่งสาธารณะมากกว่าประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภายนอกศูนย์ทั้งในแง่ของการมีทิศทางการให้บริการขนส่งมวลชนที่หลากหลายและมีความถี่ของการให้บริการที่มากกว่าผลประโยชน์ในข้อนี้ ยังไม่รวมถึงโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนจากสองพื้นที่ดังที่ได้กล่าวแล้วซึ่งแน่นอนที่สุด ประชาชนที่อยู่อาศัยภายในศูนย์เศรษฐกิจจะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่ารวมทั้งยังมีความจำเป็นในการครอบครองรถยนต์ส่วนบุคคลและมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลน้อยกว่าอีกด้วย

· ผลประโยชน์จากการลดการค่าใช้จ่ายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและค่าใช้จ่ายการให้บริการประชาชนหากเมืองไม่มีขอบเขตของศูนย์เศรษฐกิจผู้บริหารเมืองจะไม่สามารถทราบได้ว่าพื้นที่ใดควรลงทุนหรือไม่ควรลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะเดียวกันในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1ยูนิตสำหรับพื้นที่ศูนย์จะมีความคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนในพื้นที่นอกศูนย์ ทั้งนี้ เนื่องจากภายในศูนย์มีประชากรอยู่อาศัยและใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานในจำนวนที่มากกว่าต้นทุนต่อหน่วยจึงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับต้นทุนที่รัฐต้องให้บริการแก่ประชากรภายนอกศูนย์

ผลประโยชน์ด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การลงทุนประกอบการทางธุรกิจทุกประเภทต้องการผลกำไรและการประกอบการที่ได้รับผลประโยชน์ในเชิงบวก

ซึ่งผลกำไรที่ได้จะกระจายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการจ้างงานและห่วงโซ่การผลิตและการบริการของเครือข่ายการค้าโดยจะตกกระทบถึงประชาชนในที่สุด เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งในระบบเศรษฐกิจและเมืองมีทิศทางการลงทุนที่ถูกต้องผู้บริหารเมืองจึงมีภารกิจในการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนโดยต้องใช้ทุกกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญคือ ต้องกระตุ้นให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาดังที่ได้ร่วมกันวางไว้ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนและเศรษฐกิจมีการขยายตัว พื้นที่เมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจได้รับมูลค่าเพิ่มจากการประกอบการธุรกิจจากการใช้ประโยชน์ที่ดินจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เมืองต้องปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจเพื่อตอบสนองต่อการประกอบการเพื่อให้ศูนย์เศรษฐกิจเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนาและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงสำหรับผลประโยชน์ของศูนย์เศรษฐกิจต่อการพัฒนา มีดังต่อไปนี้

·

  • · การกำหนดประเภทและขนาดการลงทุน รัฐสามารถกำหนดประเภทและขนาดการลงทุนการประกอบการในแต่ละพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับขนาดความสามารถของทรัพยากรและสามารถใช้ประเภทกิจกรรมและขนาดการลงทุนทางธุรกิจเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนได้

  • · การกำหนดทิศทางการลงทุนรัฐสามารถกำหนดทิศทางการลงทุนและทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจได้จากการวางยุทธศาสตร์ศูนย์เศรษฐกิจสามารถนำข้อมูลการลงทุนและการวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจใช้ในการวางแผนพัฒนาด้านต่างๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณาการใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนและการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันให้กับภาคการประกอบการเป็นต้น

  • · การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในการกำหนดยุทธศาสตร์ศูนย์เศรษฐกิจรัฐและเอกชนสามารถสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้าให้มีความแข็งแกร่งได้ด้วยการสร้างระบบห่วงโซ่ด้านการผลิตและการวิจัยและพัฒนา การแบ่งปันทรัพยากรและการใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละกิจการให้เกิดประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิตและการขยายเครือข่ายการค้าการลงทุนให้ครอบคลุมทุกส่วนของตลาดหรือสามารถเป็นผู้นำในตลาดที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้

  • · การให้สิทธิประโยชน์รัฐสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนและการประกอบการทั้งสิทธิประโยชน์ด้านการผังเมืองสิทธิประโยชน์ด้านการเงินและการคลัง หรือสิทธิประโยชน์ทางการค้ารูปแบบต่างๆเพื่อกระตุ้นการลงทุน ขยายการลงทุน และพัฒนาการประกอบการด้วยนวัตกรรมได้ภายในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าศูนย์เศรษฐกิจมีคุณประโยชน์อย่างมากทั้งต่อการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมและต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารประเทศและผู้บริหารเมืองที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจในทุกระดับให้เกิดผลที่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด


การกำหนดบทบาทศูนย์เศรษฐกิจ

บทบาทหน้าที่ในปัจจุบันและบทบาทใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตของพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูเป็นศูนย์เศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยแรกที่ต้องนำมาพิจารณาเนื่องจาก บทบาทจะเป็นเครื่องชี้หน้าที่ของศูนย์ที่จะต้องปรับปรุงในอนาคต ทั้งนี้บทบาทและหน้าที่ของศูนย์เศรษฐกิจแบ่งออกเป็น


บทบาทศูนย์เศรษฐกิจระดับย่าน

ศูนย์เศรษฐกิจระดับย่านอาจมีขอบเขตหน้าที่จำกัดตามขนาดและเอกลักษณ์ของพื้นที่โดยทั่วไป ศูนย์เศรษฐกิจระดับย่านจะมีความเชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเฉพาะด้านมีกิจกรรมที่โดดเด่นอย่างใดอย่างหนึ่งแต่มีการผสมผสานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์ต่อกันในทางผังเมือง Smart Growth America ได้จัดแบ่งศูนย์เศรษฐกิจระดับย่านออกเป็น4 ประเภท ประกอบด้วย

  • · ศูนย์เศรษฐกิจประเภทสถาบันการศึกษา ศูนย์ดังกล่าวจะมีกิจกรรมการศึกษาการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมซึ่งผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรมขนาดเล็กและการอยู่อาศัยเข้าด้วยกันโดยปกติศูนย์ประเภทสถาบันการศึกษามักจะมีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ตั้งเป็นพื้นที่ใจกลาง

  • · ศูนย์เศรษฐกิจประเภทนันทนาการ ได้แก่ศูนย์เศรษฐกิจที่ทำหน้าที่บริการการท่องเที่ยว การบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจที่โดดเด่นมากประกอบด้วย ศูนย์พาณิชยกรรมและนันทนาการริมน้ำ (Waterfront) ศูนย์พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์หรือการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหรือศูนย์พาณิชยกรรมและการประชุมหรือแสดงสินค้าหรือกาสิโน เป็นต้น

  • · ศูนย์เศรษฐกิจประเภทการผลิต ได้แก่ศูนย์อุตสาหกรรมและกิจกรรมการผลิตเฉพาะด้าน เช่น ศูนย์อุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ศูนย์อุตสาหกรรมท้องถิ่นหรือหัตถกรรมชุมชน นิคมอุตสาหกรรม ศูนย์การกระจายสินค้าและเขตอุตสาหกรรมรายสาขาที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐ

  • · ศูนย์เศรษฐกิจประเภทหน่วยพาณิชยกรรมชานเมือง ได้แก่ศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยที่ตั้งเกาะอยู่ตามสถานีขนส่งและชุมชนที่ตั้งบริเวณชุมทางโครงข่ายคมนาคมศูนย์เศรษฐกิจประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นหน่วยพาณิชยกรรมย่อยให้กับศูนย์เศรษฐกิจระดับเมือง


ทัศนียภาพเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและสมุนไพรจังหวัดพิษณุโลกตามแผนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน

ขอบคุณภาพจากสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

บทบาทศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมือง

ศูนย์เศรษฐกิจระดับเมืองและระดับภาคทำหน้าที่ในการรวบรวมความเชี่ยวชาญและความโดดเด่นของศูนย์เศรษฐกิจ

ระดับย่านหลายๆ แห่งเข้าไว้ด้วยกัน อาจปรากฏบทบาทของศูนย์ใดศูนย์หนึ่งที่มีความโดดเด่นและใช้เป็นบทบาทหน้าที่หลักของเมืองก็ได้สำหรับศูนย์ระดับภาคมักจะมีบทบาทที่เด่นชัดเฉพาะด้านซึ่งคล้ายกับศูนย์เศรษฐกิจระดับย่านเพียงแต่มีขนาดของเศรษฐกิจและขอบข่ายการบริการที่กว้างขวางมากกว่า และมักจะมีขอบเขตความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างภูมิภาคหรือกับต่างประเทศSmart Growth America ได้แบ่งศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมืองไว้ 2 ประเภท ประกอบด้วย

  • · ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางเมือง (Downtown) ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองอาจจัดอยู่ในประเภทศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคหรือระดับเมืองก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดและความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการบริหารจัดการเมืองศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองจะมีความเข้มข้นของหน่วยบริหารจัดการเมือง สถาบันและองค์กรสำคัญ โดยมีสัดส่วนที่อาจเท่าๆ กับกิจกรรมในเชิงพาณิชย์หลายศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองจะเป็นที่ตั้งของสำนักงานที่ว่าการเมือง พิพิธภัณฑ์สถานที่สาธารณะขนาดใหญ่ และโบราณสถานหรือย่านอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์

  • · ศูนย์เศรษฐกิจที่เป็นศูนย์พาณิชยกรรมเมือง (Urban Center) อาจจัดเป็นศูนย์เศรษฐกิจในระดับภาคและระดับเมืองก็ได้โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งกิจกรรมการค้าปลีก สำนักงานการบริการ และการอยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วหากศูนย์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางการค้าภายในพื้นที่เมืองหรือระหว่างเมืองภายในประเทศและมีขนาดกิจกรรมเศรษฐกิจที่ไม่มีความโดดเด่นมากนักก็จะจัดให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับเมือง แต่หากศูนย์ดังกล่าวมีความโดดเด่นในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายกิจกรรมและมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศก็จะจัดเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภาค ศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคที่สำคัญมักจะเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของกิจการข้ามชาติกิจกรรมสถาบันการเงิน และกิจกรรมค้าข่ายระหว่างประเทศ

การวางแผนพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจ

การเติบโตอย่างชาญฉลาดแบ่งการวางแผนศูนย์เศรษฐกิจออกเป็น 3 ขั้นตอนประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การวางแผนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจและการนำแผนยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติและการประเมินผล รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

การศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์การวางแผน

การเติบโตอย่างชาญฉลาดเสนอให้นำเอาวิธีการศึกษาการวางผังภาคและเมืองทั้งหมดใช้วิเคราะห์เพื่อการวางแผนโดยให้แบ่งปัจจัยเฉพาะที่ส่งผลโดยตรงต่อการวางผังและการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจออกเป็น4 ส่วนประกอบด้วย

· ปัจจัยด้านการเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจระดับภาคและระดับภูมิภาคโดยสรุปอิทธิพลและปัจจัยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ให้มุ่งการศึกษาไปที่ประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงของกิจกรรมเศรษฐกิจซึ่งส่งผลโดยตรงต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ในรูปของเครือข่ายการค้าในอนาคต

  • · ปัจจัยด้านกายภาพโดยสรุปองค์ประกอบด้านกายภาพที่ส่งผลทางตรงต่อการจัดการทรัพยากรการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและขนส่งและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ให้ศึกษาเชิงลึกด้านความสามารถในการรองรับของทรัพยากรที่มีอยู่ และหาค่าความสามารถการรองรับจำแนกตามประเภทและขนาดของกิจกรรมเศรษฐกิจในอนาคต

  • · ปัจจัยด้านประชากรและการจ้างงานโดยสรุปลักษณะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและโอกาสการเติบโตในอนาคตจำแนกเป็นการเปลี่ยนแปลงประชากรและการจ้างงานตามธรรมชาติกรณีไม่มีการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจกับการเปลี่ยนแปลงกรณีมีการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

  • · ปัจจัยด้านแผนงานโครงการของภาครัฐและภาคเอกชนโดยสรุปอิทธิพลและปัจจัยกระตุ้นที่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของศูนย์เศรษฐกิจในอนาคต

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจ

ให้เริ่มด้วยการบูรณาการปัจจัย 4ด้านจากการศึกษา พยายามสรุปตัวแปรหลักและรองที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมข้อค้นพบที่ได้หรือวิธีปฏิบัติที่ดี (best practice) ที่ได้จากวางผังและการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจของประเทศต่างๆนำมาจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยแบ่งกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  • · การนำเสนอผลการบูรณาการปัจจัยกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเริ่มจากการให้ความรู้แนวคิดและทฤษฎีการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองได้แก่เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart GrowthPrinciples) เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและการรักษาสภาพแวดล้อมระดับย่าน (LEED-ND) และกฎหมายผังเมือง Form-Based Codes ต่อจากนั้นให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้สรุปผลการบูรณาการกับแนวคิดและทฤษฎีการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของที่ดินในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจนักลงทุน และตัวแทนชุมชนหรือตัวแทนองค์กรประชาชน

  • · การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจ ประกอบด้วยการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาการวิเคราะห์หาจุดแข็งด้านต่างๆ ของพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจ และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้วยการระบุตำแหน่งของศูนย์ในตลาด (Market Positioning) ความท้าทายในการแข่งขันของศูนย์การปัจจัยสนับสนุนการสร้างขัดความสามารถการแข่งขันของศูนย์การคัดเลือกกิจกรรมเศรษฐกิจที่ศูนย์มีโอกาสในการเป็นผู้นำในตลาดหรือมีโอกาสการเติบโตในอนาคตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน

  • · การทดสอบแผนยุทธศาสตร์ ด้วยเทคนิคการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจโดยใช้เทคนิคการสร้างสถานที่ (Placemaking) เพื่อทำความตกลงในการลงทุนทางธุรกิจและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองตามเกณฑ์ LEED-ND และ Form-Based Codes โดยให้เจ้าของที่ดินและนักลงทุนกำหนดประเภทกิจกรรมธุรกิจที่จะลงทุนและให้ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐกำหนดประเภทโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการลงทุนทางธุรกิจและการพัฒนาทางกายภาพให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์พร้อมการจัดทำแผนปฏิบัติการ

การนำแผนยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติ

เป็นการนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติซึ่งมีผู้นำของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนแผน แบ่งการ

ดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

  • · การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูทางกายภาพศูนย์เศรษฐกิจ ประกอบด้วยการศึกษารายละเอียดการออกแบบรายละเอียดด้านกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดแบ่งแปลงที่ดินการออกแบบโครงข่ายทางเดินและถนน การจัดวางที่ตั้งหน่วยบริการสำคัญ เช่นสถานีขนมวลชน ศูนย์การค้าปลีก ฯลฯ การอกแบบพื้นที่เศรษฐกิจสองข้างทางและการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสาธารณูปโภค เป็นต้น

  • · การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตามผลการออกแบบ เช่น โครงข่ายทางเดินและถนนโครงข่ายระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบการจัดการมลภาวะและสุขาภิบาลเป็นต้น

  • · การจัดทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์กระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน และการลงทุนของภาคเอกชนที่ได้ทำความตกลงไว้แล้ว

  • · การประเมินผลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนทางเศรษฐกิจโดยตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

สรุป

บทความการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่ 1 การวางแผนและปัจจัยด้านเศรษฐกิจผู้เขียนได้กล่าวถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจประเภทของศูนย์เศรษฐกิจ และแนวทางการวางแผนการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจโดยได้กล่าวเป็นภาพรวมซึ่งอาจจะยังไม่สามารถมองเห็นแนวทางการพัฒนาที่เด่นชัดมากนักแต่ในบทความตอนต่อไป ผู้เขียนจะลงลึกในรายละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางในการวางผังและการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจซึ่งจะอธิบายตามเกณฑ์จากแนวคิดที่ได้กล่าวอ้างไว้ขอให้ท่านที่สนใจรอติดตาม

เอกสารอ้างอิง

ฐาปนา บุณยประวิตร (2558) การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองด้วยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนเล่มที่ 1

สำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กรุงเทพฯ

Andress Duany and JeffSpeck, (2010) The Smart Growth Manual, McGraw-Hill: New York.

Urban Design Associates(2003) The Urban Design Handbook: Techniques and Working Methods,

W.W.Norton & Company,New York

U.S. EnvironmentalProtection Agency. 2009. Environmental Benefits Of Smart Growth

(Online).//www.epa.gov/smartgrowth/topics/eb.htm, January 20, 2010.




 

Create Date : 10 พฤศจิกายน 2558    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2558 12:37:06 น.
Counter : 2171 Pageviews.  

การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมือง: หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย



วงการผังเมืองของสหรัฐเมริกาได้พิสูจน์แล้วว่าปัจจัยที่แท้จริงในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนนั้นต้องเกิดจากความแข็งแกร่งของศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองโดยศูนย์เศรษฐกิจดังกล่าวจะต้องมีศักยภาพในการจ้างงานและการสร้างงานในระดับสูงมีระบบทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเชื่อมต่อทางกายภาพที่สนับสนุนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมรวมทั้งความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและขนส่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งสินค้าด้วยการขนส่งทางรางซึ่งนับเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าและการเดินทางที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สำหรับประเทศไทย ได้เวลาแล้วที่ต้องหันมาทบทวนการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจเสียใหม่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่การเติบโตของศูนย์พาณิชยกรรมกรุงเทพมหานครแต่เพียงอย่างเดียวแต่หัวเมืองขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่ต่างจังหวัดจะต้องมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตและสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและเพื่อให้ศูนย์เศรษฐกิจทุกขนาดในพื้นที่ต่างจังหวัดเติบโตและมีศักยภาพอย่างแท้จริงในการหล่อเลี้ยงเส้นเลือดใหญ่ของประเทศจึงจำเป็นจะต้องนำแนวคิดและทฤษฎีการวางผังและการออกแบบเมืองมาประยุกต์ใช้และนี่คือภารกิจอันสำคัญของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) กฎหมายผังเมืองForm-Based Codes และ LEED-ND ที่จะชี้นำให้ทุกท่านได้เข้าใจแนวทางออกแบบเมืองซึ่งเป็นฐานรากที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจและแม่แบบของการเป็นเมืองสุขภาวะพบกับรายละเอียดการวางผัง การออกแบบเมือง การวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์เมืองและการกำหนดเจตนารมณ์ของศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจากการสัมมนาในครั้งนี้

การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมือง:หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย





วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น.คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมท๊อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก



จังหวัดพิษณุโลก

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย



ทัศนียภาพภายในเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและสมุนไพรจังหวัดพิษณุโลกพื้นที่ Green Industryที่เป็น Walkable Community และแหล่งสร้างงานใหม่ของคนวัยหนุ่มสาวและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของภาคเหนือตอนล่าง

หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้กำหนดบทบาทจังหวัดภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตอนบนของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อการค้าการลงทุน การเดินทาง การขนส่งและการบริหารจัดการทรัพยากรซึ่งได้ให้จังหวัดตากเป็นพื้นที่ประสานการค้าชายแดนด้านทิศตะวันตกส่วนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือล่างเป็นพื้นที่บริการของภาคการผลิต การพาณิชย์ การบริการและการพัฒนานวัตกรรม โดยจังหวัดพิษณุโลกมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะ 20 ปีนั้นรัฐบาลได้วางแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง เช่น การลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ซึ่งมีสถานีตั้งอยู่บริเวณใจกลางจังหวัดพิษณุโลกรถไฟทางคู่สายแม่สอด-พิษณุโลก-มุกดาหารและการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ระดับภาคของจังหวัดพิษณุโลกและอำเภอแม่สอด ทั้งนี้เพื่อรองรับการการลงทุนของภาคเอกชนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตามโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาทิ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และโครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

จากบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ภาคเหนือตอนล่างมีบทบาทสำคัญทั้งการเป็นศูนย์รวมของการเชื่อมต่อ (Connectivity Hub) การเดินทางและการขนส่งสินค้าและศูนย์การผลิตและการบริการเชิงพาณิชย์ (Commercial and Manufacturing Center) ที่สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่เข้าสู่กระบวนการห่วงโซ่การผลิตและการบริการทั้งนี้ ภาครัฐในฐานะของผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและวางแผนการใช้ทรัพยากรและภาคเอกชนในฐานะของผู้ขับเคลื่อนการลงทุนและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมีความสามารถสูงสุดในการบริหารจัดการผลผลิตให้เกิดมูลค่าและคุณค่าซึ่งจะทำให้พื้นที่ทั่วทั้งภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

ในการวางแผนด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานนั้นปัจจัยแรกที่จำเป็นจะต้องเร่งรัดดำเนินการได้แก่การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจในระดับภาคและระดับเมือง โดยต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยเฉพาะกิจกรรมการผลิต การบริการ การขนส่ง และอยู่อาศัยของประชาชนด้วยการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินการคมนาคมและขนส่งให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานก่อให้เกิดมูลค่าในระบบการผลิตและการบริการ สำหรับการวางการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นจำเป็นจะต้องกำหนดกิจกรรมการใช้ที่ดินที่ก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดและมีความคุ้มค่ามากที่สุดใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดการใช้ที่ดินและทรัพยากร ในขณะเดียวกันแต่ละกิจกรรมจะต้องสอดประสานและสามารถพึ่งพาในระบบห่วงโซ่ได้โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและคุณค่าที่ดีของพื้นที่ในส่วนของการคมนาคมและขนส่งจะต้องวางผังให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางและการขนส่งมีความประหยัดด้วยการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะและการปล่อยก๊าซพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศส่งเสริมระบบการขนส่งสาธารณะที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชนและในภาคการผลิต

กรณีการวางแผนด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานระดับภาคและระดับเมืองของจังหวัดพิษณุโลกผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกเสนอให้ปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth Principles) ที่เรียกว่า ศูนย์การพัฒนาพื้นที่ (Urban Development Center) เพื่อยกระดับกายภาพเมืองและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานซึ่งได้แบ่งศูนย์การพัฒนาพื้นที่ออกเป็น ศูนย์การพัฒนาพื้นที่ใจกลางเมือง (Downtown Center) ทำหน้าที่เป็นศูนย์เศรษฐกิจในระดับภาค เป็นศูนย์รวมสถาบันสำคัญของรัฐและเอกชนศูนย์การพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมเมือง (Commercial Urban Center) ทำหน้าที่ในการผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรม การค้าปลีกการโรงแรมและท่องเที่ยว และการเชื่อมต่อเศรษฐกิจระดับภาคและเมืองเป็นศูนย์รวมการเดินทางและกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การนันทนาการและการอยู่อาศัยศูนย์การพัฒนาพื้นที่เขตเมือง (General UrbanCenter) ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยระดับเมืองและระดับย่านศูนย์การพัฒนาพื้นที่ชานเมือง (SuburbanCenter) ทำหน้าที่เป็นศูนย์พาณิชยกรรมย่านชานเมืองและอำเภอ มีบทบาทในการเป็นศูนย์เศรษฐกิจการผลิต และการบริการของย่านชานเมืองและชนบทศูนย์การพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ (Commercial and Logistics Center) ทำหน้าที่การเป็นคลังสินค้าและศูนย์การกระจายสินค้าเน้นการรวบรวมสินค้าด้วยการขนส่งทางถนนในระดับพื้นที่เพื่อส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางด้วยระบบการขนส่งทางรางและการขนส่งทางอากาศสำหรับศูนย์การพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยและนวัตกรรม (University and Innovation Center)ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนา ผลิตบุคลากรฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริการ รวมทั้งการบริหารจัดการเมืองและทรัพยากรโดยศูนย์การพัฒนาพื้นที่ดังที่กล่าวมาเป็นรูปแบบมาตรฐานที่เมืองศูนย์เศรษฐกิจสำคัญของโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน

เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ได้มาตรฐานสู่การปฏิบัติและยกระดับมาตรฐานทางกายภาพและโครงสร้างของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างให้มีความพร้อมในการรองรับการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและศูนย์การเชื่อมต่อที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคตจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนจึงได้ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย จัดการสัมมนาเรื่องการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมือง :หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทยโดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรประชาชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูและนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อประยุกต์วิธีปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้ในบริบทของไทยและบริบทของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างต่อไป

กำหนดการสัมมนาเรื่อง

การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมือง :หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมท๊อปแลนด์จังหวัดพิษณุโลก

จัดโดย จังหวัดพิษณุโลก

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีน

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

08.30-09.00 ลงทะเบียน

09.00-09.10 พิธีเปิดการประชุม

09.10-10.00 การบรรยายพิเศษเรื่อง นโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับภาคและเมืองของรัฐบาล

โดย รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

10.00-10.15 พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-11.15 การบรรยายเรื่อง การวางผังและการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดโดย อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

11.15-12.00 การบรรยายเรื่อง การเติบโตประชากรและตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองโดย ดร.ณัฐกิษฐ์ นบนอบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00-14.00 การบรรยายเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออกโดย ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

14.00-14.05 พักรับประทานอาหารว่าง

14.15-15.30 การเสวนาเรื่อง แนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่างและศักยภาพ

ในการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

วิทยากรจากผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหอการค้าไทย

ดำเนินรายการโดย คุณณฐกร โซ่จินดามณีประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก

15.30-16.00 การเปิดอภิปรายเพื่อ เสนอข้อคิดเห็นและการเสนอโครงการเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

ดำเนินรายการโดยคุณพิชิต ขอผล องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

16.00 ปิดการประชุม

ลงทะเบียนได้วันนี้– 20 พฤศจิกายน 2558 (รับผู้ร่วมสัมมนา จำนวน 300 คน) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ติดต่อคุณนุจรีลาชาวนา โทร 087-8481903

อีเมล์ : photofti@hotmail.com




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2558    
Last Update : 25 ตุลาคม 2558 6:55:27 น.
Counter : 1569 Pageviews.  

มาดูการวางยุทธศาสตร์เมืองของสิงคโปร์ 2014-2030 ก่อนก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC


เครดิตภาพ https://sustainatlanta.files.wordpress.com/2015/07/singapore.jpg

เครดิตภาพ นายกรัฐมนตรสิงค์โปร์ //www.smu.edu.sg

มาดูการวางยุทธศาสตร์เมือง ของสิงคโปร์ 2014-2030 ก่อนก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(AEC) เค้าเขียนยุทธศาสตร์เมืองกันอย่างไร ทำไมผังเมืองจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเมืองเพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว อันดับหนึ่งในอาเซียน

.................................

บทความ : มองย้อนดูถึงอนาคต"การวางยุทธศาสตร์เมืองของประเทศสิงคโปร์ ในปี 2014 - 2030"

Looking Backto the Future for Singapore city Strategy 2014 - 2030

ศิวพงศ์ ทองเจือ : อาจารย์/นักออกแบบชุมชนเมือง

(รอง ปธ.สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย)

Email:Siwa_thong@yahoo.co.th

เขียนเมื่อ 21-10-2558

คำสำคัญ : City Strategy,Urban Planning, Master Plan

บทนำ

สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเมืองที่ดีมีการวางยุทธศาสตร์เมืองที่มีความก้าวหน้าทันสมัยรวมถึงการสร้างวิสัยทัศน์และนโยบายที่ได้วางแผนไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนโดยหน่วยงานพัฒนาเมืองที่สำคัญของสิงคโปร์ คือ กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติ (Ministry of National Development) (MND) เป็นกระทรวงที่สำคัญของรัฐบาลในการรับผิดชอบต่อการใช้ที่ดินระดับชาติและการวางแผนพัฒนาวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ MND มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยมีหน่วยงานในสังกัด คือ องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (The Urban Redevelopment Authority : URA) เพื่อดูแลแผนด้านการพัฒนากายภาพเมืองทั้งหมด(ดูภาพที่ 1.1)

จากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ในปี 2013 สิงคโปร์ได้วางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างทางเลือกที่มีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยทุกกลุ่มอายุรวมถึงการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวโดยรอบที่อยู่อาศัยให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนที่อาศัย การเชื่อมต่อด้านกิจกรรมสันทนาการ การส่งเสริมแหล่งงานใกล้บ้านมากขึ้นในทุกพื้นที่ของเกาะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและภาระในชีวิตประจำวัน (ดูภาพที่ 1.2)

สำหรับยุทธศาสตร์เมืองของสิงคโปร์ ในปี 2014 ที่ผ่านมานั้น ผังแม่บทเมือง (Master Plan 2014) ได้กำหนดไว้จำนวน 7 ข้อ กำกับดูแลโดยองค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์(URA) ซึ่งแต่ละข้อจะเห็นได้ว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นการพัฒนาด้านกายภาพโดยตรงโดยยุทธศาสตร์ได้ระบุลงในพื้นที่ในย่านการพัฒนาว่าอยู่บริเวณใดควรเพิ่มหรือลดอะไรบ้าง การส่งเสริมการค้าประเภทไหน ในพื้นที่แห่งใด จะเห็นได้ว่าผู้นำการพัฒนาเมืองมีความเข้าใจภาพรวมของงานผังเมืองทั้งหมดว่ามีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างไรช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไร และช่วยทำให้เมืองน่าอยู่ได้อย่างไรบ้าง


ภาพ 1.1 หุ่นจำลองเมือง (Model City) โดย องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (The Urban Redevelopment Authority : URA) เพื่อดูแลแผนด้านการพัฒนากายภาพเมืองทั้งหมดที่มา : URA Singapore(โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)



ภาพ 1.2 ผังแม่บทด้านที่อยู่อาศัย ในปี 2013 (A better home for Singaporeans 2013)

ที่มา : SingaporeProperty. (2015). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/



ภาพ 1.3 การสร้างข้อกำหนดและควบคุมกายภาพร้านค้าและด้านหน้าอาคาร (Facade Design)

ในพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์

ที่มา : Little IndiaSingapore (โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)



ภาพ 1.4 การวางผังออกแบบและสร้างข้อกำหนดการค้าปลีกในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของสิงคโปร์

ที่มา : SingaporeChinatown (โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ ถ่ายเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555)

หากมองกลับไปที่ผังแม่บทของหน่วยงานพัฒนาเมืองสิงคโปร์ ในปี 2014ซึ่งได้ประกาศเป็นยุทธศาสตร์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญไปที่การสร้างเมืองสำหรับทุกเพศทุกวัยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อสุขภาพ การเชื่อมต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่อยู่อาศัยและการสร้างแหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้าน การย้อนกลับไปดูยุทธศาสตร์เมืองในปีก่อนทำให้ทราบแนวทางการพัฒนาซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบแผนอีกครั้งและเตรียมประชาสัมพันธ์แผนในอนาคตเพื่อเข้าสู่การอภิปรายงบประมาณของหน่วยงานการพัฒนาเมืองที่จะเกิดขึ้นในรัฐสภาต่อไป


ภาพ 1.5 ผังแม่บทการพัฒนาด้านกายภาพของสิงคโปร์ ในปี 2014

ที่มา : Ministry ofNational Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story



ภาพ 1.6 ผังแม่บทการพัฒนาด้านกายภาพของสิงคโปร์ ในปี 2014

ที่มา : (Modify)Ministry of National Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media.Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์เมืองของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2014 มี 7 ข้อหลัก ดังนี้

1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองให้มากขึ้น และเพิ่มเติมที่อยู่อาศัยใน 3พื้นที่ ได้แก่ HollandVillage, Marina South,และ Kampong Bugis

2. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการระดับภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วทั้งเกาะ ใน Woodlands Regional Centers และการเพิ่มพื้นที่แหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้านมากขึ้น

3. ประมาณ 90% ของที่อยู่อาศัยโดยรอบ ในระยะ 400 เมตรต้องเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ

4. เพิ่มการเติบโตของโครงข่ายทางจักรยาน จาก 230 กิโลเมตร ให้เพิ่มมากกว่า700 กิโลเมตร โดยการรองรับโครงสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรวมถึงการจัดทำโปรแกรมการศึกษาออกแบบพื้นที่

5. การสร้างอัตลักษณ์ของจุดศูนย์รวมในพื้นที่ (Node) ได้แก่ ย่าน HollandVillage,ย่าน SerangoonGardenp ,ย่าน JalanKayu

6. การปรับปรุงย่านภายในเมือง ให้มีพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีความงดงามและสร้างทางเดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

7. สร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ Marina Bay ด้วยการค้าปลีกสมัยใหม่และสร้างแหล่งบันเทิงภายในย่านในเป็นพื้นที่หลักบริเวณอ่าวด้านหน้า (Bay front)


ภาพ 1.7 ผังแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ ในปี 2030 (The Singapore Property Master Plan 2030)

ที่มา : SingaporeProperty. (2015). Basic APAformat for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/

สำหรับอนาคตผังแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ในปี 2030 (The Singapore PropertyMaster Plan 2030) สิงคโปร์ได้ตั้งเป้าหมาย ภายใต้แนวคิดการพัฒนา 2030 : More Land, More homes, More Greenery ซึ่งถือเป็นจุดเน้นด้านการลงทุนในสิงคโปร์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแนวคิดหลักที่สิงคโปร์ทำมาโดยตลอดตั้งแต่แผนก่อนหน้านี้และยังทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่การส่งเสริมการเดินจากบ้านมายังสวนสาธารณะในระยะเวลา 10-15 นาทีจากบ้านมายังสถานีขนส่งมวลชน ระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที เป็นต้นถือเป็นความก้าวหน้าด้านการออกแบบเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้นโดยสร้างแรงจูงใจจากแผนการลงทุนที่ได้รับการวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมืองและกลุ่มนักลงทุน (ดูภาพที่ 1.7)

บทสรุป : เพื่อการเขียนแผนยุทธศาสตร์ในการบริการจัดการเมืองด้านกายภาพ

การบริหารจัดการเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ด้านสังคม (Social) และด้านกายภาพ (Physical & Environment) ทั้งสามด้านจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนพัฒนาเมืองจึงควรมีความสอดคล้องกันทั้งหมดโดยขั้นตอนสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การพัฒนาเมืองในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมแผนพัฒนาเมืองจึงไม่ควรมุ่งเน้นการพัฒนาเฉพาะด้านใดด้านเดียวแต่ควรทำให้แผนและผังมีความสอดคล้องและสามารถนำไปสู่การต่อยอดทางความคิดได้โดยเฉพาะการนำไปสู่โครงการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design Project) ประเทศสิงคโปร์จึงเป็นต้นแบบของเมืองที่รู้จักใช้ผังเมืองเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพเป็นตัวนำในการส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เรามักพบว่าสิงคโปร์มีการปรับเปลี่ยนแผนและทบทวนยุทธศาสตร์เมืองอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการพัฒนาเมืองตามบริบทของโลกและนวัตกรรมเมืองรวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของตนเองเราจึงพบว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเมืองของประเทศสิงคโปร์คือวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมซึ่งถือว่าสิงคโปร์มีความโดดเด่นและได้รับการยอมรับบุคลากรด้านนี้ในระดับสากลส่งผลต่อการพัฒนาด้านกายภาพเมืองทั้งหมดของประเทศและเป็นดัชนีชี้วัดถึงการพัฒนาเมืองเทียบชั้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของประเทศที่พัฒนาแล้ว

บทความนี้จึงมีความมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐ ได้เข้าใจถึงการเขียนแผนยุทธศาสตร์เมืองที่สัมพันธ์กับบริบทของการพัฒนาพื้นที่การเขียนยุทธศาสตร์เมืองที่ดีควรระบุเจาะจงถึงแนวคิดของการพัฒนาในเชิงกายภาพและบริเวณรวมถึงเป้าประสงค์ที่ต้องการให้บรรลุผลในอนาคตงานผังเมืองจึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านระยะเวลาและมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้บริหารเมืองยุคใหม่ควรศึกษางานด้านการพัฒนาทางกายภาพและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นวัตกรรมด้านผังเมืองสมัยใหม่เพื่อยกระดับและส่งเสริมเมืองให้มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งไม่ใช้ค่าครองชีพแต่เป็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง

แหล่งอ้างอิง

Ministry of National Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story

Singapore Property. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/




 

Create Date : 22 ตุลาคม 2558    
Last Update : 22 ตุลาคม 2558 17:26:26 น.
Counter : 2580 Pageviews.  

ภูเก็ตจะน่าอยู่ยิ่งขึ้น เมื่อเติบโตแบบ ชาญฉลาด โดย ศิวพงศ์ ทองเจือ มรภ.ภูเก็ต

เครดิต ข้อมูลจาก : งานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

(//www.pkru.ac.th/news_modal.php?id_new=3517)

ภูเก็ตจะน่าอยู่ยิ่งขึ้น เมื่อเติบโตแบบ"ชาญฉลาด"

(Smart Growth in Phuket for Livable and SustainableCity)

บทสัมภาษณ์โดย "ศิวพงศ์ ทองเจือ" บันทึกเมื่อ06 ต.ค. 2558


บทนำ

10หลักการออกแบบสำหรับชุมชนน่าอยู่” (10Principle for Liveable Communities) ถูกเขียนขึ้นโดยสถาบันสถาปนิกอเมริกัน และถูกเผยแพร่ผ่านแวดวงวิชาการอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติอาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือ นักวิชาการสถาปัตยกรรมผังเมืองอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม.ราชภัฏภูเก็ต ได้นำหลักการดังกล่าวมาแปลเป็นบทความภาษาไทย เผยแพร่ผ่าน Blog เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้รับความสนใจจากผู้คนทั้งในวงการสถาปนิก และประชาชนทั่วไปขานรับแนวคิดของชุมชนเมืองน่าอยู่ อันสอดคล้องกับนิยามการวางผังเมืองยุคใหม่ที่ว่า...ต้องเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth)

สำหรับจังหวัดภูเก็ตแม้จะเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัดในขณะเดียวกันกลับมีอัตราการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ปริมาณที่มากขึ้นเช่นนี้ได้มาพร้อมกับการสนับสนุนองค์ประกอบทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกทิศทางหรือไม่และการพัฒนาเหล่านี้จะผลักดันให้ภูเก็ตกลายเป็นเมืองน่าอยู่จริงหรือ ตามทัศนะของอาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือนักคิดผู้ได้รับการยอมรับด้านการออกแบบผังเมืองมากที่สุดคนหนึ่งของภูเก็ตจะมาเจาะลึกในเรื่องดังกล่าว โดยแยกประเด็นวิพากษ์ตาม 10หัวข้อของหลักการออกแบบทางกายภาพที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วในฝั่งตะวันตกทั้งยังเหมาะกับการใช้เป็นเข็มทิศนำทางให้กับนักออกแบบสถาปนิกที่กำลังดีไซน์ชุมชนต่างๆ ของภูเก็ต

1. การออกแบบภายใต้สัดส่วนของมนุษย์ (Designon A Human Scale)

ปัญหาของการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มักพบกันบ่อยคือ ไม่ค่อยคำนึงถึงความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริงในหลักของการออกแบบชุมชนเมือง ต้องใส่ใจกับทุกรายละเอียดปลีกย่อยเพราะพื้นที่ทุกตารางเมตรควรใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ขนาดทางเท้าที่คนสามารถเดินสวนกันได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวางขนาดช่องของเลนจักรยานและทางรถยนต์ต้องพอเหมาะกับการจอดและสัญจรทุกอย่างจะต้องสัมพันธ์กันหมดและมีขนาดที่พอเหมาะ หรือในกรณีอาคารสูงหลายชั้นมีผู้อาศัยจำนวนหลายพันคน แต่มีพื้นที่ใช้สอยของทางเท้าที่จำกัด ก็ควรที่จะเพิ่มอาณาบริเวณพื้นที่ส่วนกลางสาธารณะเหล่านี้รวมถึงทางเท้าและทางลาดที่มีคุณภาพเชื่อมต่อกับชุมชนภายในย่านและละแวกใกล้เคียง

2. สิทธิในการเลือกหนทางเลี้ยงชีพ (ProvideChoices)

การเลือกที่อยู่อาศัยตามจำนวนประชากรและขนาดรายได้หรือขนาดของครอบครัว เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะในปัจจุบันที่อยู่อาศัยบนทำเลดีๆใกล้ห้างสรรพสินค้าหรือใจกลางเมืองจะมีราคาสูงหลักการข้อนี้ค่อนข้างจะเป็นหลักคิดแบบอุดมคติว่าหากชุมชนเมืองจะสามารถจัดสรรพื้นที่ให้ผสมผสานรองรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้และอาชีพหลากหลาย มาอยู่ในละแวกไม่ห่างกันจนเกินไปมีที่อยู่อาศัยในราคาประหยัดถึงราคาปานกลางให้เลือกซื้อสร้างสิทธิความเท่าเทียมให้กับคนในชุมชน ช่วยลดช่องว่างของชนชั้นต่างๆให้มีสิทธิในการอยู่อาศัยพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีราคาแพง ใกล้ห้างสรรพสินค้าเป็นต้น ถ้าลองมาดูที่ภูเก็ตขณะนี้มีการย้ายที่อยู่อาศัยออกจากเขตเมืองสู่ชานเมืองโดยที่พื้นที่เหล่านั้นไม่มีห้างสรรพสินค้ารองรับที่หลากหลายและอสังหาริมทรัพย์ชานเมืองก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ประชาชนยังต้องเดินทางด้วยรถยนต์เพื่อมาซื้อของห้างสรรพสินค้าในเมืองแต่บ้านของตนเองอยู่ชานเมือง สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องรถติดและการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ที่กระจัดกระจายออกไปนอกเมืองมากขึ้น เนื่องจากชนชั้นล่างถึงกลางไม่สามารถอาศัยอยู่ในเมืองได้ เพราะราคาที่อยู่อาศัยและที่ดินราคาแพงเกินไป

3. การสนับสนุนและกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (EncourageMixed Use Development)

หลักการในข้อนี้จะเชื่อมโยงกับข้อสองคือ ให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำงานสำนักงาน อยู่ใกล้กันมีร้านค้าปลีกห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่ในระยะ 400 - 500 เมตร ในชุมชนเมืองเพื่อที่จะให้คนเดินโดยไม่ต้องใช้ยานพาหนะ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาพักกลางวัน สมาชิกในชุมชนสามารถออกมาจากที่พักที่ทำงาน แล้วพบร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ เปิดให้บริการสองข้างทางหรืออาจจะเดินเท้า ปั่นจักรยาน จากที่ทำงานกลับที่พักได้ในระยะที่ไม่ไกลเกินไปรวมถึงหากมีสวนสาธารณะในรัศมีของการเดิน จะช่วยลดการพึ่งพารถยนต์ ลดมลพิษส่งเสริมสุขภาพให้กับสมาชิกชุมชน หากแนวคิดนี้เกิดขึ้นได้ความน่าอยู่จะมาจากการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น และมีไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายไม่สูญเสียเวลาไปกับการเดินทางไปมา และช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดซึ่งในส่วนนี้จังหวัดภูเก็ต บริเวณเมืองกะทู้เมืองป่าตองจะโดดเด่นมากตามหลักการข้อนี้




4. การปกปักรักษาศูนย์กลางชุมชนเมือง (PreserveUrban Centers)

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วใจกลางเมืองภูเก็ต ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่จับจ่ายใช้สอย คือโซนห้างโรบินสัน ตลาดเกษตร และโซนตลาดสดดาวน์ทาวน์ ตามผังเมืองบริเวณเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของเมืองมีความสำคัญในการขนส่งอาหารแม้ว่าตอนนี้จะไม่คึกคักและมีการเปิดธุรกิจเพิ่มเติมในพื้นที่เช่นในอดีตแต่ก็ควรที่จะรักษาธุรกิจหลักๆ ไว้ เพราะหากปิดตัวไปจังหวัดภูเก็ตจะสูญเสียใจกลางเมืองสำคัญ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นตามหลักการสร้างชุมชนน่าอยู่เพราะประชาชนควรจะมีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น ไม่ใช่เท่าเดิม หรือน้อยลงซึ่งเชื่อว่าพื้นที่เหล่านี้ยังคงมีความหวัง หากมีการลงทุนเพิ่มเติมหรือปรับปรุงของเดิมให้ทันสมัย เช่น เปิดตลาดนัด คอมมูนิตี้มอลล์ให้เป็นแลนด์มาร์คที่น่าจดจำ อาทิ ไลม์ไลท์ อเวนิว ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยผู้ประกอบการสามารถหาจุดเด่น จุดขายที่ดึงคนให้สนใจและมีการวางแผนกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน น่าจะช่วยกระตุ้นให้กลับมาคึกคักได้อีกอีกพื้นที่ซึ่งอยากให้มีการเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น คือ สวนสาธารณะสะพานหินซึ่งหากเพิ่มเติมแหล่งช้อปปิ้งหรือคอมมูนิตี้มอลล์ก็จะยิ่งช่วยรักษาศูนย์กลางเมืองทั้งสามแห่งที่ตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกันให้เป็นที่นิยมไปอีกนาน

5. การมีระบบคมนาคมขนส่งหลากหลายทางเลือก (VaryTransportation Options)

ระบบขนส่งมวลชนสี่ประเภทคือ หนึ่ง ทางเท้า สอง เลนจักรยาน สาม ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ และ สี่ รถยนต์จังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญมากที่สุด คือ รถยนต์ รองลงมาจะเป็นขนส่งมวลชนเลนจักรยาน และทางเท้าแทบจะให้ความสำคัญน้อยที่สุด จึงกลับกันกับประเทศพัฒนาแล้วที่ลดการตัดถนนใหม่ ไม่มีการสร้างทางยกระดับเพิ่มตอนนี้ที่อเมริกาได้รื้อย้ายทางด่วนให้น้อยลง เพื่อปลูกเป็นพื้นที่ไร่นาในเมืองจะใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลักส่วนเลนจักรยานอยากให้เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกันมากขึ้นด้านทางเดินเท้าต้องขยายกว้างเพียงพอกับการใช้งาน ดังนั้นจึงมองว่าสิ่งที่เมืองกำลังให้ความสำคัญเรื่องการสร้างทางลอดเพิ่มขึ้น หรือตัดถนนเส้นใหม่เป็นเรื่องที่สนับสนุนระบบคมนาคมทางเลือกที่ดีระดับหนึ่งแต่หากเพิ่มเติมในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอื่นๆควบคู่กันไปด้วยเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนซึ่งจะทำให้การจราจรมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

6. การออกแบบสรรค์สร้างพื้นที่ว่างสาธารณะให้มีชีวิตชีวา(Build Vibrant Public Spaces)

สนับสนุนให้มีการสร้างแลนด์มาร์คเพิ่มขึ้นให้เป็นที่พูดถึงน่าจดจำ และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มาเยือนต้องการที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว ถ่ายรูปสำหรับภูเก็ต คนทั่วไปจะนึกถึงชายหาด กับแหลมพรหมเทพแต่ตอนนี้ทางภูเก็ตได้ยกระดับเมืองเก่าภูเก็ตให้เป็นจุดที่ห้ามพลาดของผู้มาเยือนส่งผลให้เกิดแลนด์มาร์คสำคัญใจกลางเมือง รวมถึงหอชมวิวเขารังแห่งใหม่ซึ่งมีผู้สนใจมาเที่ยวมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วนั่นพิสูจน์ให้เห็นว่าจังหวัดภูเก็ตต้องการแลนด์มาร์คแห่งใหม่เพื่อปลุกชีวิตชีวาให้กับพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้สอยร่วมกันได้และเกิดความภูมิใจในถิ่นฐานของตน นักท่องเที่ยวก็อยากที่จะกลับมาเยือนอีกครั้ง

7. การออกแบบสร้างสรรค์ละแวกชุมชนให้มีอัตลักษณ์ (Create ANeighborhood Identity)

ชุมชนแต่ละแห่งมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกันตอนนี้ชุมชนต่างๆ ของภูเก็ตค่อนข้างมีอัตลักษณ์ที่น่าสนใจและสามารถศึกษาเทคนิคหรือวิธีการนำเสนอจากประเทศอื่นๆ เช่นที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ ที่นั่นมีสถานีรถไฟฟ้าถูกออกแบบตกแต่งตามเอกลักษณ์ของเมืองนั้นๆมีกำแพงเป็นลายกราฟฟิตี้ บ่งบอกถึงตัวตนของเมืองและพื้นที่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมากสร้างความแตกต่างให้ผู้มาเยือน เกิดความประทับใจแรกเห็นคำว่าอัตลักษณ์ไม่ใช่เพียงเฉพาะบ้านเรือน แต่หมายรวมถึงการแต่งกายหรือวิถีชีวิตของคนในชุมชนอีกด้วยถ้าภูเก็ตสามารถทำให้แต่ละชุมชนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจะสร้างประโยชน์ให้ชาวบ้านได้อย่างมาก ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเป็นประโยชน์ทั้งระบบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของชุมชน มีการเดินทาง การซื้อของที่ระลึกอาหาร ที่พัก เมื่อรายได้สะพัด คนในชุมชนก็เกิดความสุข เพราะอยู่ดี กินดีมีอาชีพมั่นคง



8. การพิทักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ProtectEnvironmental Resources)

ข้อนี้เป็นความพยายามกระชับรูปทรงเมืองไม่สร้างอาคารที่กระจัดกระจายและเว้นการรุกล้ำเขตพื้นที่เกษตรกรรมตามแนวถนนที่สร้างใหม่จะเน้นสร้างสิ่งปลูกสร้างในขอบเขตของเมืองเท่านั้นเพราะจะช่วยประหยัดในเรื่องการขนส่งอาหารเข้าเมือง ลดระยะการเดินทางไปมา สิ่งแวดล้อมก็จะไม่โดนทำลายจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและบังคับใช้อย่างเข้มงวดสำหรับองค์ประกอบนี้ต้องสนับสนุนการดำเนินนโยบายของภาครัฐและความร่วมมือของภาคเอกชนกับประชาชน ที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเพื่อความยั่งยืนของพื้นที่การเกษตรและแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพของเมือง

9. การสงวนภูมิสถาปัตยกรรม (ConserveLandscapes)

การออกแบบพื้นที่ว่างสาธารณะที่สัมพันธ์กับธรรมชาติเก็บรักษาบริเวณที่มีพื้นที่สวยงาม การสร้างแนวถนน ที่มีต้นไม้อยู่สองฝั่งข้างทางสร้างความภูมิใจในเรื่องของมุมมองทางสุนทรีภาพที่ภูเก็ตบริเวณทิวต้นสนตลอดสองข้างทางเมื่อข้ามสะพานสารสินเป็นจุดที่องค์ประกอบครบถ้วนตามหลักภูมิทัศน์เมืองของถนนสายหลักซึ่งเราเรียกว่า"ประตูเมือง" หรือ เกตเวย์ นี้คือการรักษาภูมิทัศน์เอาไว้ให้เป็นจุดขายเป็นเกตเวย์ที่น่ามอง และประทับใจ สร้างมุมมองที่น่าจดจำการรักษาภูมิทัศน์ธรรมชาติดั้งเดิมมีส่วนสำคัญต่อคุณค่าเมือง ซึ่งไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณที่มีความสำคัญต่อองค์ประกอบทางภูมิทัศน์มากเกินไปหรือลบล้างภาพความทรงจำของคนในชุมชน แต่ควรเก็บไว้ให้สวยงามและแต่งเติมให้ดูดีเป็นระเบียบยิ่งขึ้น

10. การออกแบบเพิ่มความน่าสนใจ และเป็นที่จดจำ (DesignMatters)

การออกแบบสิ่งที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเช่น สะพานสารสิน (เดิม) ยกระดับให้ดีกว่าเดิมทั้งด้านการใช้สอย และเป็นแลนด์มาร์คเพราะช่วยเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่สร้างจุดเด่นให้กับเกาะภูเก็ตเพิ่มความน่าสนใจและให้ผู้มาเยือนรวมถึงคนในพื้นที่ใช้พื้นที่ตรงนั้นทำกิจกรรมต่างๆจากเดิมที่เป็นเพียงทางสัญจรอย่างเดียว

บทสรุปทิ้งท้าย

อาจารย์ศิวพงศ์ทิ้งท้ายความเห็นว่า “ชุมชนที่น่าอยู่จะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และการออกแบบอย่างชาญฉลาด (SmartGrowth) หรือ สมาร์ทโกท คือหัวใจสำคัญที่สุดของแนวคิดที่เล่ามาหลายสิ่งหลายอย่างที่เรากำลังทำอยู่อาจจะเหมาะสม เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวก หรือผิดพลาดขอให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนศึกษาข้อมูลจากประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้วเป็นบทเรียนในอดีตเมืองเหล่านั้นก็เคยลองผิดลองถูกมาก่อนกว่าที่จะมีชุมชนในฝันที่พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเติบโตจากการสร้างสรรค์ชุมชนเมืองต้องใช้เวลาและต้องผ่านกระบวนการมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ตามบริบทของท้องถิ่นเรามักจะอยากได้การท่องเที่ยวหรือเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแต่ความจริงแล้วมองว่าความน่าอยู่ (Livable) ต้องเกิดขึ้นให้ได้ก่อนจากนั้นความยั่งยืน (Sustainable) จะตามมาแน่นอนครับ”

ข้อมูลจาก : งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

(//www.pkru.ac.th/news_modal.php?id_new=3517)

ติดต่อขอรับคำปรึกษาด้านการออกแบบผังเมืองชุมชนได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม.ราชภัฏภูเก็ต โทร076 240 474-7 ต่อ 4100 หรือพูดคุยโดยตรงกับ อาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือ ที่ www.facebook.com/siwaphong.thongjua.9?fref=ts










 

Create Date : 09 ตุลาคม 2558    
Last Update : 9 ตุลาคม 2558 17:07:25 น.
Counter : 2035 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.