ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

(ขอนแก่น) รถโดยสารปรับอากาศสุดล้ำ ให้บริการในเมืองขอนแก่นตลอด 24 ชั่วโมง จาก บขส.3







ขอนแก่นใช้"ระบบขนส่งสาธารณะ"เป็นกลยุทธ์สำคัญในพัฒนาเมืองสิ่งหนึ่งที่เริ่มได้เห็นชัดเจนคือ"การให้บริการที่ยึดประชาชนผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง"-พิชิต ขอผลหัวหน้าฝ่ายผังเมือง อบจ.พิษณุโลก

รถโดยสารปรับอากาศสุดล้ำให้บริการในเมืองขอนแก่นตลอด 24 ชั่วโมง จาก บขส.3

ได้แก่

#สายสีแดง เลี้ยวเข้าประตูเมืองเซ็นทรัล

#สายสีน้ำเงิน เลี้ยวเข้ารร.แก่นนคร

#สายสีเขียว สนามบิน , ม.ขอนแก่น 05.45 - 21.00 น.

ชำระเงินด้วยบัตร RFID และหยอดเหรียญ 15 บาทตลอดสาย

.

ดูตำแหน่งรถสดๆผ่านแอปพลิเคชัน

iOS: https://goo.gl/NugvNz

Android: https://goo.gl/2mPNXE

Web: //livemap.khonkaencitybus.com/

ขอบคุณบทความจากเพจ

ขอนแก่นซิตี้บัส : Khon Kaen City Bus

และความคิดเห็นจากคุณพิชิต ขอผล หัวหน้าฝ่ายผังเมือง อบจ.พิษณุโลก



พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี



คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
















 

Create Date : 17 สิงหาคม 2560    
Last Update : 17 สิงหาคม 2560 17:41:58 น.
Counter : 1675 Pageviews.  

การออกแบบเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจและขยายฐานภาษี ตอนที่ 1 โดย ฐาปนา บุณยประวิตร






การออกแบบเมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจและขยายฐานภาษี ตอนที่ 1

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

Email: thapana.asia@gmail.com //www.smartgrowththailand.com

บทนำ

การวางผังและการออกแบบเมืองในสหรัฐอเมริกาได้เดินหน้าเข้าสู่ขั้นการออกแบบกายภาพเพื่อปรับปรุงฐานทางเศรษฐกิจเมืองและการขยายฐานภาษีแล้วรัฐบาลโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินวางผังและการออกแบบเมืองควบคู่กับไปกับการปรับปรุงฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับฐานรากโดยใช้ฐานภาษีเป็นเครื่องชี้วัดหนึ่งความสำเร็จของการวางผัง เหตุที่สหรัฐฯได้ดำเนินการเช่นนี้เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคไปเป็นจำนวนมากเมื่อได้ประเมินผลการใช้งบประมาณ พบว่าโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคส่วนหนึ่งที่ลงไปได้สร้างภาระด้านงบประมาณแก่รัฐส่วนกลางและรัฐท้องถิ่นในการดูแลรักษาและการดำเนินงาน นอกจากนั้นโครงสร้างพื้นฐานที่ได้ลงทุนไปยังส่งผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่หนาแน่นต่ำ(low density) ซึ่งพบว่า รัฐได้ต้องสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมและที่โล่งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปเป็นจำนวนมากกับการอยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวหรืออาคารที่ประกอบกิจกรรมเชิงเดี่ยวในขณะที่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่กว้างใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนน้อยทั้งนี้ ผลที่ได้รับจากการลงทุนในพื้นที่หนาแน่นน้อยคือประสิทธิภาพการใช้ที่ดินต่ำ แต่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในสัดส่วนที่สูงการสูญเสียพื้นที่การเกษตร พื้นที่ผลิตอาหาร และที่โล่งรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในขณะที่ พื้นที่หนาแน่นต่ำยังก่อให้เกิดภาวะการบังคับทางกายภาพให้ประชาชนต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อการสัญจรหรือขาดแคลนทางเลือกในการเดินทาง (เนื่องจากไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนระบบขนส่งสาธารณะ) 



ภาพแสดงพื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมืองบอสตันที่ถูกจัดให้เป้นเมืองแห่งการเดิน(WalkUps) สามารถตอบสนองการขยายฐานภาษีให้กับรัฐได้มาก

ที่มา: ภาพจาก Link Curbed Boston:https://boston.curbed.com/2017/8/14/16143736/boston-apartment-rents-non-luxury


ในขณะเดียวกันได้พบอีกว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่หนาแน่นสูงและพื้นที่เมืองแห่งการเดินรัฐได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและภาษีในสัดส่วนที่สูงกว่า เศรษฐกิจในพื้นที่หนาแน่นสูงและพื้นที่ย่านแห่งการเดินมีความหลากหลายพึ่งพากัน สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน การใช้ประโยชน์ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานมีความคุ้มค่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเทียบต่อแปลงที่ดินมีอัตราต่ำเนื่องจากมีผู้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากการที่พื้นที่มีความกระชับ แต่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดความคุ้มค่าที่เทียบจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับส่วนรัฐนั้น ได้รับผลประโยชน์ทางตรงในการขยายและการเพิ่มขึ้นของฐานภาษีซึ่งเกิดจากกิจกรรมเศรษฐกิจที่มีความเข้มข้นในพื้นที่รัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคไปนั่นเอง 



ภาพแสดงพื้นที่หนาแน่นต่ำและกระจัดกระจายบริเวณชานเมืองที่รัฐจำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างขนาดใหญ่รองรับการอยู่อาศัยให้กับประชาชนจำนวนน้อยรายแต่สามารถตอบสนองด้านภาษีให้กับรัฐได้น้อย

ที่มา://www.conservationmagazine.org/2014/08/just-how-far-will-urban-sprawl-spread/


ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับฐานภาษี

บทความตอนที่1 นี้ ได้นำตัวอย่างการศึกษาของ Smart Growth America ที่ศึกษาด้วยการทำแบบจำลองโดยเทียบข้อมูลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเทียบสัดส่วนงบประมาณค่าใช้จ่ายพร้อมภาษีรับจากจากพื้นที่จริงในเมือง West-Des-Moines ของสหรัฐอเมริกาโดยนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการใช้ที่ดินจำแนกตากประเภทอาคาร และใช้แบบจำลองวิเคราะห์หาผลกระทบด้านรายได้ต้นทุนค่าใช้จ่าย และภาษีที้คิดจากรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเลือก 4ประเภทได้แก่ ที่ดินหนาแน่นน้อย ที่ดินหนาแน่นปานกลาง ที่ดินหนาแน่นมากและที่ดินประเภทย่านแห่งการเดินซึ่งหนาแน่นมากและมักเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมืองทั้งนี้ ต้นทุนที่นำใช้ในแบบจำลองได้จากประมาณการที่เทียบเคียงจากข้อมูลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภครวมทั้งการคาดประมาณผลกระทบด้านภาษีที่เกิดจากแต่ละรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 รายละเอียดกิจกรรมการใช้ที่ดินจำแนกตามรูปแบบทางเลือกการใช้ประโยชน์


ที่มา: The Fiscal Implications of Development Pattern: 2015,West Des Moines, Smart Growth America.

การประมาณการจากต่างที่1จะพบว่าที่ดินประเภทหนาแน่นมากและที่ดินประเภทย่านแห่งการเดินจะมีความหนาแน่นของที่อยูอาศัยมากกว่าที่ดินประเภทหนาแน่นปานกลางและที่ดินประเภทหนาแน่นต่ำซึ่งสอดคล้องกับประสิทธิภาพการใช้ที่ดินที่ที่ดินประเภทย่านแห่งการเดินจะใช้ที่ดินจำนวนน้อยที่สุดในขณะที่สามารถให้ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ด้านการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมไม่แตกต่างกัน

ต่อมาได้ศึกษาเปรียบเทียบรายได้ค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อภาษี โดยแบ่งพื้นที่เมืองออกเป็น 2 กลุ่มคือเนื้อเมืองปกติ กับเนื้อเมืองที่ย่านการพัฒนารอบโรงเรียน (schooldistricts) จำแนกตามต้นทุน รายจ่ายและผลกระทบต่อภาษีประจำปีต่อรายได้ประชาชาติและต่อเอเคอร์ ผลการศึกษาดังตารางที่ 2


ตารางที่ 2 การศึกษารายได้ ค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อภาษีจำแนกต่อรายได้ประชาชาติและต่อเอเคอร์


ที่มา: The Fiscal Implications of Development Pattern: 2015,West Des Moines, Smart Growth America.



ที่มา: The Fiscal Implications of Development Pattern: 2015,West Des Moines, Smart Growth America.




ที่มา: The Fiscal Implications of Development Pattern: 2015,West Des Moines, Smart Growth America.


ทั้งนี้ฐานของรายได้ภาษีได้จากภาษีทรัพย์สิน (Property Tax) ภาษีโรงแรมและภาษีจากแหล่งรายได้อื่นๆ เช่น ภาษีจากไลเซ่น และค่าใบอนุญาตส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายคิดจากต้นทุนการก่อสร้าง การขยายถนน และการบำรุงรักษาถนนค่าจัดการน้ำฝนและระบบการระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย ค่าระบบป้องกันไฟ ค่าใช้จ่ายและค่าบริการเดินทางของนักเรียน(รถโรงเรียน)

ข้อมูลที่ได้รับจากแบบจำลองและการเทียบเคียงตัวเลขจากการปฏิบัติงานจริงพบข้อมูลที่มีนัยสำคัญคือในพื้นที่ย่านแห่งการเดินรัฐสามารถรับรูปรายได้จากภาษีรับที่แตกต่างจากการใช้ที่ดินประเภทอื่นค่อนข้างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีที่ได้เทียบต่อเอเคอร์หรือต่อแปลงทั้งเนื้อเมืองปกติและในย่านschool ซึ่งรัฐมีโอกาสได้รับภาษีจากการพัฒนาพื้นที่มากขึ้นเช่นเดียวกับประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน แม้ต้นทุนค่าใช้จ่ายการลงทุนและการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานในย่านแห่งการเดินจะสูงกว่าในย่านที่ดินหนาแน่นมากที่ดินหนาแน่นปานกลางบ้างก็ตาม

บทสรุป

ในบทความตอนต่อไปจะชี้ให้เป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านแห่งการเดินที่เทียบเคียงกับพื้นที่ย่านอื่นๆพร้อมมาตรการในการออกแบบเมืองที่สอดคล้องกับขนาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

เอกสารอ้างอิง

Smart Growth America: 2015, The Fiscal Implications ofDevelopment Pattern.

หมายเหตุ

ท่านที่สนใจเรื่องการออกแบบเมืองกับฐานภาษีให้ไปฟังเพิ่มที่งานสัมมนานครสวรรค์ของสันนิบาตเทศบาล

งานประชุมเผยแพร่องค์ความรู้ทางผังเมืองครั้งที่ 3 วันที่17-18 สิงหาคม 2560 รายละเอียดตามลิ้งก์ในบทความด้านล่างนี้ครับ

//tatp.or.th/local-infrastructure-economic-center-for-benefit-taxation/







 

Create Date : 16 สิงหาคม 2560    
Last Update : 16 สิงหาคม 2560 20:35:56 น.
Counter : 1130 Pageviews.  

ลงเข็มรถไฟฟ้าขอนแก่น ธ.ค.60 สนข.สรุปผลกันยายนนี้-ใช้ที่ศูนย์วิจัยข้าวเป็นTOD








ลงเข็มรถไฟฟ้าขอนแก่น ธ.ค.60สนข.สรุปผลกันยายนนี้-ใช้ที่ศูนย์วิจัยข้าวเป็น
TOD

ขอนแก่นพัฒนาเมือง คาดสรุปผลรถไฟฟ้ารางเบา ก.ย.นี้ตอกเสาเข็ม ธ.ค. 60 พร้อมใช้ที่ศูนย์วิจัยข้าว เป็น TOD เปิดกว้างยักษ์ใหญ่ร่วมพัฒนาที่ดิน

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด เปิดเผยว่า ภาคเอกชนในจังหวัดได้รวมตัวก่อตั้งเป็นบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด หรือเคเคทีที ทุนจดทะเบียน 200ล้านบาทเพื่อพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้มีระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้ารางเบา และซิตีบัสรวมทั้งพัฒนาเมืองให้เป็นสมาร์ทซิตีเต็มรูปแบบโดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยขณะนี้ผ่านการทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 3 แล้วซึ่งสนข.จะนำข้อมูลกลับไปออกแบบในขั้นตอนสุดท้าย และสรุปผลภายในเดือนกันยายนนี้โดยคาดว่า จะสามารถเชิญพลอ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมาตอกเสาเข็มแรกของโครงการรถไฟฟ้ารางเบาในเดือนธันวาคม 2560 ใช้เวลาก่อสร้าง 1-2ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2562 หรือต้นปี 2563

“จังหวัดขอนแก่นกำลังสร้างพื้นฐานการพัฒนาจังหวัดในทุกๆด้าน ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งและการสร้างเมืองเป็น ไมซ์ ซิตีหรือเป็นศูนย์กลางการประชุมแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงด้วยศักยภาพจากทำเลที่ตั้ง เป็นทางเชื่อมของโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตั้งเป้าให้เป็นเมืองศูนย์กลางของบริการทางการแพทย์รักษาพยาบาล โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขยายศูนย์การแพทย์หลายอาคาร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะให้เหมาะสมโดยเริ่มต้นที่รถบัสโดยสารปรับอากาศ ขอนแก่นซิตีบัสที่เชื่อมท่าอากาศยานขอนแก่นกับสถานีขนส่งผู้โดยสาร 3 ผ่านย่านการค้า ย่านธุรกิจในตัวเมืองมีบริการไว-ไฟฟรีในรถบัส ติดตั้งจีพีเอส สามารถติดตามรถได้ว่า มาถึงจุดไหนและชำระค่าโดยสารด้วยสมาร์ทการ์ด”


สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

นายสุรเดช กล่าวต่อไปว่า ขอนแก่น ซิตีบัสเป็นระบบขนส่งสาธารณะแนวตะวันออก-ตะวันตก ส่วนรถไฟฟ้ารางเบาหรือ แอลอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนแนวเหนือ-ใต้สำราญ-ท่าพระ มีระยะทางรวม 26 กิโลเมตร จำนวน 21 สถานี และเพิ่มอีก 2 สถานีเงินลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ใช้ขบวนรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศ 15 ขบวน ขบวนละ 3ตู้ สามารถจุผู้โดยสารได้ 180 คน ล่าสุด 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยเทศบาลนครขอนแก่นเทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลสำราญ และเทศบาลตำบลท่าพระซึ่งเป็นเส้นทางที่รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งผ่าน ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ขอนแก่น ทรานซิทซิสเท็มส์ฯ หรือ เคเคทีเอส (KKTS) ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทเพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการเดินรถ จัดทำ TOR เพื่อจัดหาผู้ดำเนินการก่อสร้างและจัดเก็บรายได้ของระบบขนส่งสาธารณะ บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเท็มส์ จำกัดยังทำหน้าที่ประสานกับกรมทางหลวง และกรมธนารักษ์เพื่อขอใช้พื้นที่เกาะกลางถนนสร้างรางและสถานี

“การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด เป็นการร่วมลงทุนของภาคเอกชน รายได้จากการเดินรถไม่คุ้มค่ากับการลงทุนจึงต้องมีแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-OrientedDevelopment-TOD) ตามมาด้วยโดยบริษัทได้ขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่นที่มีอยู่ 200 ไร่ นำมาใช้จริง80 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ พัฒนาอสังหริมทรัพย์อาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้สูงและปานกลางและยังเป็นพื้นที่แก้มลิงไปในตัวด้วยซึ่งบริษัทพร้อมให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เสนอตัวเข้ามาลงทุน นอกจากนี้มีแผนทำ TODอีก2 จุด”

นายสุรเดช กล่าวว่า การดำเนินงานของขอนแก่นพัฒนาเมืองจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองใหญ่ในภูมิภาคที่มีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาเมืองอย่างมีแบบแผนชัดเจนมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขอนแก่นจะเป็นจังหวัดแรกที่จะเกิดรถไฟฟ้ารางเบาเนื่องจากมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการล่วงหน้า ขณะนี้บริษัทได้ประสานความร่วมมือกับเมืองใหญ่ในการพัฒนาเมืองโดยก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นมาแบบจังหวัดขอนแก่นไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง สระบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลก

ขอขอบพระคุณภาพ และบทความจาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 -16สิงหาคม พ.ศ. 2560

//www.thansettakij.com/content/193810?ts




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2560    
Last Update : 13 สิงหาคม 2560 14:19:35 น.
Counter : 1060 Pageviews.  

(เชียงใหม่) เตรียมผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่





เตรียมผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่


สนข.จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ)โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เปิด 2ทางเลือก โครงข่ายระบบราง ระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่

นายประจวบ กันธิยะรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ)โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศเนื่องจากมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคเหนือรวมถึงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เมืองเชียงใหม่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนก่อให้เกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ปัญหาการจราจรที่แออัดคับคั่งในเขตเมืองเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชน ซึ่งการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ในครั้งนี้จะทำให้เขตเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน


นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสนข.

นางวิไลรัตน์ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่าสนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ)โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่และแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน โดยกำหนดโครงข่ายเส้นทางและรูปแบบของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมซึ่งที่ผ่านมา สนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นมาแล้วจำนวน 2 ครั้งและจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 5 ครั้งซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System (LRT) โดยมีทางเลือกสำหรับโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม2 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 โครงข่ายแบบ A เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 12กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่และสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่บริเวณแยกข่วงสิง-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่แล้วกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดิน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคี(แยกบิ๊กซีหางดง)

2.เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกรวมโชคเข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดิน ที่แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ตลาดวโรรส-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

3.เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 12 กิโลเมตรเริ่มต้นเส้นทางวิ่งใต้ดินจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หักเลี้ยวลงมาตามถนนคันคลองชลประทาน-แยกตลาดต้นพะยอม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่พบจุดตัดกับสายสีแดง ผ่านใต้คูเมือง-จุดตัดกับสายสีเขียวบริเวณเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ และกลับขึ้นใช้เส้นทางบนดินที่แยกหนองประทีป-ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ก่อนสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา(แยกพรอมเมนาดา)

ทางเลือกที่ 2โครงข่ายแบบ B เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่ายประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 15.65 กิโลเมตรเริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เชื่อมกับจุดเปลี่ยนสายสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่และสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)

2. เส้นทางสายสีเขียวระยะทางประมาณ 11.11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสี่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้(แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-กาดหลวง-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ตและสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

3.เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทางประมาณ 13.81 กิโลเมตรเริ่มต้นจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-จุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-คูเมืองทางด้านทิศใต้-สถานีรถไฟเชียงใหม่-บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์และสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)

ทั้งนี้โครงข่ายหลักทั้ง 2ทางเลือกดังกล่าวข้างต้นจะมีโครงข่ายรองและโครงข่ายเสริมเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักด้วยระบบรถโดยสารประจำทางโดยโครงข่ายแบบ Aซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินและใต้ดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ106,895 ล้านบาท และโครงข่ายแบบ B ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ28,419 ล้านบาท

โดยการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นฯในครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อนำไปประมวลผลและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่ต่อไปซึ่งระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก สบายและปลอดภัยในการเดินทาง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่โดยภายหลังการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้สนข.จะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

เครดิตบทความ Manageronline

//www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9600000079611




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2560    
Last Update : 6 สิงหาคม 2560 16:57:45 น.
Counter : 1242 Pageviews.  

'ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง' มีคลิป





'ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง' มีคลิป

'ขอนแก่น Smart City' ร่วมงาน 'อัจฉริยะต้องโชว์' 26-27 ก.ค. ณ ไบเทค บางนา

สถาบันอาคารเขียวได้จัดงานนิทรรศการและนำเสนอผลงานแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 'อัจฉริยะต้องโชว์' Smart Cities - CleanEnergy and 6th TGBI Expo 2017 ภายใต้โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ(SmartCities-Clean Energy) ในวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2560 ณ ไบเทคบางนา

ในงานนี้ ดร.ประกรณ์ชัย พลรัตนศักดิ์อาจารย์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนายกังวาน เหล่าวิโรจกุล ตัวแทนบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัดได้ร่วมนำเสนอผลงานแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของโครงการ 'ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง' อีกด้วย

โดยสถาบันอาคารเขียวไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการดำเนินการโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (SMART Cities-Clean Energy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน ในการออกแบบเมืองอัจฉริยะที่ตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนรักษาสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆโดยการส่งผลงานเพื่อประกวดแนวความคิดและการออกแบบเมืองอัจฉริยะ และโครงการฯจะให้การสนับสนุนการออกแบบสำหรับผู้ที่ผ่านการประเมินในแต่ละขั้นตอนในวงเงินรวมประมาณ80 ล้านบาท

เครดิตบทความ

//www.khonkaenthinktank.com/news_view.php?id=57

























 

Create Date : 05 สิงหาคม 2560    
Last Update : 5 สิงหาคม 2560 16:44:18 น.
Counter : 1260 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.