ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก “อนาคตเมืองพิษณุโลก”




แผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก “อนาคตเมืองพิษณุโลก”

บทความเรียบเรียงโดย พิชิต ขอผลหัวหน้าฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก



“อนาคตเมืองพิษณุโลก”แผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ มีระยะเวลาของแผน 20 ปีเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางทุกรูปแบบในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงลดปริมาณการใช้รถส่วนบุคคลแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดความหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้ทุกคนหันกลับมามีค่านิยมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะลบทิ้งสถิติอุบัติเหตุและการเสียชีวิตประชาชนที่สูงติดอันดับโลกให้เป็นอดีตไปตลอดกาล“การประชุมโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก”โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร(สนข.) และมหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 24 พฤษภาคม 2560




จากการพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 , ผังประเทศไทย/ผังภาคเหนือยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และพิษณุโลกยังมี แผนยุทธศาสตร์“พิษณุโลก 2020”ซึ่งมีโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะหลายเรื่องเช่น โครงการศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจังหวัดพิษณุโลกบริเวณสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – พิษณุโลก –เชียงใหม่เทศบาลนครพิษณุโลก , โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน จังหวัดพิษณุโลก , โครงการศูนย์พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่าง, โครงการยกระดับสนามบินพิษณุโลกเป็นสนามบินนานาชาติซึ่งโครงการต่างๆได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่

การศึกษาในพื้นที่มีข้อค้นพบอย่างมากที่สะท้อนถึงพฤติกรรมการเดินทางข้อประชาชนในปัจจุบันที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่จำนวนมากหันมาใช้การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลที่ราคาสูงมากผูกพันเป็นค่าครองชีพระยะยาวหรือรถจักรยานยนต์ที่สะดวกรวดเร็วแม้หากเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงอย่างมากต่อชีวิตและร่างกายเป็นค่านิยมที่สะท้อนผลจากความไม่สะดวก ปลอดภัย ไม่ทันยุคทันสมัยระยะเวลาที่ไม่สามารถควบคุมและวางแผนการเดินทางได้ โครงข่ายไม่ครอบคลุมกิจกรรมในพื้นที่


สาระสำคัญที่พิจารณาให้เห็นทิศทางอนาคตเมืองพิษณุโลก คือ

1. ระบบขนส่งสาธารณาหลักที่เชื่อมโยงหน่วยบริการสำคัญของเมืองและมีผู้ใช้จำนวนมากสามารถวางระบบรางเบาTRAM หรือ BRT ได้ และในระบบขนส่งสาธารณารอง จะเป็นรถ BUS การเชื่อมโยงอื่นๆ ส่วนสำคัญไม่น้อยคือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมืองชุมชนให้เอื้อการการเดินทางของทุกเพศทุกวัย ทุกสถานะภาพ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการฯ จากบ้านจนถึงเป้าหมาย

2. การเดินทางในทุกรูปแบบการขนส่งภายในจังหวัดและเชื่อมโยงจังหวัดใกล้เคียงเช่น สถานีรถไฟรางคู่และความเร็วสูง ท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง ให้มีประสิทธิภาพพิจาณาถึงปริมาณผู้ใช้ ประเภทระบบขนส่งที่เหมาะสม ความสะดวก

3. แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟหรือระบบขนส่งสาธารณะหลัก(Transit Oriented Development: TOD) เพื่อการเติบโตอย่างเป็นระบบตามผังเมืองที่ดีเบื้องต้นจากข้อมูลการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองพิษณุโลกและผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกมีการกำหนดศูนย์เศรษฐกิจหลักของเมืองไว้ 23 แห่ง เช่นศูนย์เศรษฐกิจพานิชกรรมใจกลางเมือง(ที่ตำแหน่งสถานีรถไฟเก่าอนาคตจะเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง), ศูนย์เศรษฐกิจและเขตนวตกรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร, ศูนย์เศรษฐกิจเขตเมืองแยกต้นหว้า ฯลฯซึ่งจะมีการกำหนดแผนงาน โครงการพัฒนา หรือนโยบายการสนับสนุนพื้นที่ต่อไป

4. แนวคิด"การใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดแต่สามารถสร้างประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับสังคมและการลงทุนอย่างพอเพียง"เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีจำนวนจำกัด การดึงหน่วยงานต่างๆเข้ามาสนับสนุนระบบขนส่งในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาล หรือ อบจ.และองค์กรเอกชนที่มีการก่อตั้งบริษัทพิษณุโลกพัฒนาเมืองที่มีการร่วมตัวกันเป็นเครือข่ายแล้วในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น ภูเก็ต สมุทรสาครพิษณุโลก ระยอง สระบุรี เชียงใหม่ มีการร่วมตัวกันประชุมยกร่าง พ.ร.บ.พัฒนาเมืองเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตต่อไป

5. การพัฒนาบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม อย่างรอบด้าน

การศึกษาถึงการแก้ประเด็น ปัญหาการจราจรจากลักษณะกายภาพของเมืองเองการตั้งชุมชนดังเดิมอดีตและปัจจุบันตำแห่งหน่วยบริการของเมืองต่างๆ ของรัฐ เอกชนเช่น ศูนย์ราชการ โรงเรียน ตลาด ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะสถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯและปัญหาจากระบบขนส่งสาธารณะมีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ การออกแบบระบบขนส่งสาธารณะที่จะได้ในอนาคต

1. ความเหมาะสมทางวิศวกรรมความต้องการเดินทาง และมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ใช้หลักของเมือง นักท่องเที่ยวประชากรแผงในอนาคตที่จะมีมากในอนาคตตามหลักการที่พิษณุโลกจะเป็นเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนเป็นจุดที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงระยะแรกตามนโยบายรัฐบาล

2. เอกลักษณ์ ผลกระทบต่อประชาชน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ความเคยชินในอดีตที่ใช้รถยนต์สวนบุคคล จักรยานยนต์สะดวกรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงต้องมีระบบที่มีพลังพอให้ทุกคนเปลี่ยนมาเป็นการเดินด้วยเท้า จักรยาน รถขนส่งสาธารณะการเตรียมเขตทางให้เหมาะสมเพียงพอในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ TRAM หรือ BRT เป็นสิ่งที่ต้องพูดคุยกันอย่างมากในพื้นที่อย่างต่อเนื่องต่อไป

3. งบประมาณในการลงทุนและค่าบำรุงรักษาระบบที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลราชส่วนกลาง ท้องถิ่น องค์กรเอกชนที่สำคัญตัวบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านที่ยังขาดแคลนและต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนอย่างแท้จริงเพื่อให้ภารกิจที่สำคัญของเมืองและชนบทนี้สำเร็จลุล่วงยังความาสุขให้แก่ประชาชนทุกคน

บรรยากาศบางส่วน ณ ห้องประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560
















Create Date : 28 พฤษภาคม 2560
Last Update : 28 พฤษภาคม 2560 0:11:56 น. 0 comments
Counter : 1791 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.