ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

(ขอนแก่น)ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงระบบการสัญจรมาถึงแล้ว กับการเริ่มต้นผลิตTramสัญชาติไทย




ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงระบบการสัญจรมาถึงแล้ว อาจารย์สุรเดชทวีแสงสกุลไทยกับการเริ่มต้นผลิต
Tram สัญชาติไทยและการพัฒนา TOD สร้างเมืองแห่งอนาคต"

อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าบริหารบริษัทช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)เป็นความหวังสำคัญของไทยในการพัฒนาต้นแบบและผลิตรถบัสพื้นชานต่ำและรถรางไฟฟ้า (Tram) สัญชาติไทยเข้าชมแนวคิดของท่านกันครับ (Credit: Khun Thawatchai Wanaphithakkun)

…………………………………………………..

ชมคลิปบทสัมภาษณ์“Lightning Talk กับสายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน เปิดวิสัยทัศน์นักธุรกิจไทย กับการสร้างมาตรฐานวิศวกรรมฝีมือคนไทยในระดับโลก” เผยแพร่เมื่อวันที่13 มกราคม 2559

ขอขอบพระคุณช่อง 13 Family มา ณ ที่นี่ครับ





ผลิตเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกฝีมือคนไทย100%

ที่มาภาพจากคลิป ช่อง 13 Family และ บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)


Tram รถรางไฟฟ้า วิ่งบนผิวถนน (ความหวังของคนไทย ที่ภาครัฐและทุกภาคส่วนสามารถผลักดันให้เกิดการผลิตในประเทศไทยในอนาคต)

ที่มาภาพ วิกิพีเดีย


รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัทช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)



รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)



รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)



รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)



รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)


รถบัสพื้นชานต่ำ (Low-Floor Bus)

ที่มา บริษัทช.ทวี ดอลลาเซียล จำกัด (มหาชน)


ความเห็นจากท่านต่างๆจากหลายท่าน ใน Facebook ขอคัดลอกมาพอสังเขปครับ

คุณ Pichit Khopol เป็นกำลังใจให้ครับการเติบโตของประเทศบนพื้นฐานของตนเองจะยั่งยืนกว่าที่จะต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่เรื่อยไปเรามีนักวิชาการและนักวิจัยและผู้ประกอบการมากเกินพอแล้ว ต้องให้โอกาสคนไทยด้วยกัน

คุณ PaviniiPongsaengij ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ คนขอนแก่นผลิตเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 




 

Create Date : 20 มกราคม 2559    
Last Update : 20 มกราคม 2559 19:03:07 น.
Counter : 2184 Pageviews.  

ขอเชิญร่วมจัดแสดงนิทรรศการโครงสร้างพื้นฐานเมืองและประชุมวิชาการผังเมือง 2559


ที่มาภาพ https://hslu.wordpress.com/2011/01/20/shanghai-urban-planning-exhibition-center/



ขอเชิญร่วมจัดแสดงนิทรรศการโครงสร้างพื้นฐานเมืองและประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่2 ประจำปี 2559

24-26 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์การประชุมพุทธวิชชาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 


ขอเชิญสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรประชาชนองค์กรวิชาชีพ บริษัทที่ปรึกษา กิจการผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมและขนส่ง และนิสิตนักศึกษา ร่วมจัดนิทรรศการผังเมือง โครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมเมืองในสาขา

การผังเมือง

การออกแบบชุมชนเมือง

การปรับปรุงฟื้นฟูเมือง

โครงสร้างพื้นฐาน

สาธารณูปโภค

คมนาคมและขนส่ง

ขนส่งมวลชน

อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย

ที่โล่ง สถานที่สาธารณะ และสวนสาธารณะ

ภูมิสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม

การอนุรักษ์การเกษตรและแหล่งน้ำ

อาหารและการเกษตรในเมือง

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก

การอนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิม

การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์

การบริหารจัดการเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน




หน่วยงาน กิจการอสังหาริมทรัพย์และนิสิตนักศึกษาที่ต้องการแสดงผลงาน สมาคมฯ กำหนดรายละเอียดโครงการ ดังนี้

• โครงการที่จัดแสดงจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 5 ไร่

• เป็นโครงการผสมผสานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ (Mix Use Project)

• ห้ามโครงการจัดสรรที่ดินที่ส่งเสริมการขยายตัวในแนวราบ

• ห้ามโครงการที่ตั้งรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีและที่ลุ่มน้ำท่วมถึง

• ห้ามโครงการที่ออกแบบระบบการเข้าถึงหรือการสัญจรด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลเพียงระบบเดียว


กลุ่มเป้าหมายชมนิทรรศการและร่วมประชุมวิชาการ

ไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน จาก

ผู้บริหารและนักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ

ผู้บริหารและนักวิชาการจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

นักผังเมือง นักออกแบบชุมชนเมือง สถาปนิก ภูมิสถาปนิก วิศวกรและนักสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารกิจการอสังหาริมทรัพย์

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

นักลงทุน

องค์การภาคประชาชน


ตั้งแต่วันที่ 11-20 มกราคม 2559 ที่

อาจารย์ธนกฤต มีสมจิตร  โทรศัพท์087-5611312 email : samrahnm@yahoo.com

คุณสุชาติ อดิเรกธนทรัพย์ โทรศัพท์089-1056334 email : suchartthai@hotmail.com











 

Create Date : 06 มกราคม 2559    
Last Update : 6 มกราคม 2559 21:19:38 น.
Counter : 1500 Pageviews.  

(ภูเก็ต) มองการณ์ไกล เร่งเสนอ เพื่อศึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางหาดใหญ่-ภูเก็ต



ที่มาภาพ //www.phuketeshop.com/image/news/ca7b78ffa585872b17c8f7068a166e8e.png

(ภูเก็ต)ผู้บริหารเมือง มองการณ์ไกล เร่งเสนอเพื่อศึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางหาดใหญ่-ภูเก็ต


เกริ่นนำ

นับเป็นข่าวดีเพราะการเชื่อมโยง จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางด้านต่างๆ อย่างมหาศาล โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันลองอ่านบทความด้านล่าง จาก แฟนเพจ เสียงประชาชน คนภูเก็ต ครับ

เข้าสู่บทความ

เครดิต ข่าวจากเพจ เสียงประชาชน คนภูเก็ต

นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานประชุมวาระยามเช้า โดยมี ดร.ประเจียด อักษรธรรมกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายโชคดี อมรวัฒน์รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ต. ธีระพล ทิพย์เจริญผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต นายวัชรินทร์ เจตนาวานิชย์เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม


นายจำเริญ กล่าวพูดคุยกับหัวหน้าส่วนราชการตอนหนึ่งว่า ทางจังหวัดจะเร่งศึกษาเสนอโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางหาดใหญ่-ภูเก็ต เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน ตั้งแต่สตูล ตรังกระบี่ พังงาและภูเก็ต เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพราะปัจจุบัน ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการเปิดเส้นทางระหว่างหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เพื่อเชื่อมไปยังประเทศมาเลเซียแล้วซึ่งหากมีการเชื่อมโยงเส้นทางมาฝั่งอันดามัน จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาง่ายยิ่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัดว่าจังหวัดได้มอบหมายให้ อบจ. ภูเก็ต แขวงการทางหลวงภูเก็ต นำโครงการสร้างถนนใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงเส้นบางคู-สนามบินมาศึกษาอีกครั้ง เนื่องจากหากสร้างได้ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรถนนเส้นเทพกษัตรีย์ได้ขณะที่ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีการรณรงค์การตั้งด่านตรวจและสำรวจจุดเสี่ยงเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจราจรนอกจากนี้จะมีการรณรงค์นำร่องแต่ละอำเภอ 1 เส้น 1 สายสวมหมวกกันน็อค 100% รวมถึงการรณรงค์การลดใช้พลังงานด้วย

ชมคลิปครับ

พ่อเมืองภูเก็ตเสนอ 13 เส้นทางรถไฟรางเบา

เครดิต citynews jp

วีดีโอ โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต

เครดิต wewco wew






 

Create Date : 26 ธันวาคม 2558    
Last Update : 26 ธันวาคม 2558 22:08:35 น.
Counter : 1499 Pageviews.  

กำหนดการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 2 ประจำปี 2559 เรื่อง : พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ




โครงการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 2 ประจำปี 2559

การวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

2016 National Planning Conference

Special Economic Zones: Planning and Design

โดย สมาคมการผังเมืองไทยและสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

ศูนย์การประชุมพุทธวิชชาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร หลักสี่ กรุงเทพมหานคร

กำหนดการประชุมและวิธีลงทะเบียนอยู่ท้ายบทความครับ

หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศโดยใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงด้านคมนาคมและขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบข้อตกลงฉบับต่างๆมุ่งหวังพัฒนาเมืองชายแดนให้เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจสร้างความสัมพันธ์ทางค้ากับมิตรประเทศด้วยการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง สาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อดึงดูดการลงทุนสร้างพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืนเป็นแบบอย่างของการพัฒนาเมืองที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษให้ประสบผลสำเร็จนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆ ในการศึกษา การวางแผนและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้ด้านการผังเมืองการออกแบบสถาปัตยกรรมเมือง วิศวกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าเสริมสร้างคุณค่าและอัตลักษณ์เดิมให้มีความโดดเด่น สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ มีศักยภาพตอบสนองการลงทุนของภาคเอกชนสามารถขยายฐานด้านภาษีให้กับรัฐเป็นเครื่องมือในการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งให้กับประชาชน

ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นในการจัดประชุมวิชาการเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ตามสาขาวิชาที่กล่าวถึงดำเนินการถ่ายทอดภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นรวมทั้งหน่วยงานภาคเอกชนที่ลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและองค์กรที่สนับสนุนด้านการเงิน การบริหารจัดการ และที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อให้ดำเนินตามแนวทางการวางแผนปรับปรุงฟื้นฟูเมือง โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่ถูกต้อง เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากลซึ่งจะนำมาสู่ประสิทธิภาพในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล

สมาคมการผังเมืองไทย ในฐานะองค์กรวิชาชีพด้านการผังเมืองของประเทศเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมืองและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้มองเห็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าจึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยจัดประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 2 ประจำปี 2559 เรื่อง การวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลโดยการนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจตามหลักวิชาการผังเมืองที่มีมาตรฐานสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสร้างความแข็งแกร่งการพัฒนาทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสร้างเมืองให้เป็นแหล่งจ้างงานที่มีความมั่นคงและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ต่อไป

วัตถุประสงค์

โครงการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 2 ประจำปี 2559 เรื่องการวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. รวบรวมและบูรณาการองค์ความรู้ด้านการวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากถ่ายทอดไปยังผู้รับผิดชอบการวางแผนผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสากล

2. กำหนดแนวทางและมาตรฐานการวางผังและการออกแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเป็นแบบอย่างต่อการพัฒนาพื้นที่อื่นในอนาคต

3. เผยแพร่องค์ความรู้การวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากต่อสาธารณะในรูปของสื่อผสมและเอกสารวิชาการ

4. ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการยกระดับมาตรฐานการวางผังและการออกแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจรูปแบบต่างๆภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

กำหนดการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่2 ประจำปี 2559

การวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและโครงสร้างพื้นฐานเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2016 National Planning Conference

Special Economic Zones: Planning and Design

โดยสมาคมการผังเมืองไทยและสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

ศูนย์การประชุมพุทธวิชชาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร หลักสี่ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559

กลุ่มนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจและการออกแบบผังแม่บทเขตเศรษฐกิจพิเศษ

08.00-08.45 ลงทะเบียน

08.45-09.00 พิธีเปิดการประชุมวิชาการผังเมือง

09.00-09.30 การบรรยายพิเศษนโยบายและมาตรการกระตุ้นการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษและ

พื้นที่เศรษฐกิจฐานราก โดย ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง

09.30-09.45 พักรับประทานอาหารว่าง

09.45-11.00 การบรรยาย การออกแบบผังแม่บทการคัดเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังรูปแบบเขตเศรษฐกิจและ

การวิเคราะห์กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามเกณฑ์ SmartGrowth & LEED-ND

โดย อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย

11.00-12.15 การบรรยายการออกแบบการใช้ที่ดินและอาคารกลุ่มพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะ

โดย ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.15 การบรรยาย การออกแบบการใช้ที่ดินและอาคารสาธารณะอุตสาหกรรม คลังสินค้าและโลจิสติกส์

โดย ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

14.15-15.15 การเสวนาเรื่องแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

วิทยากร ผู้แทนจากการเคหะแห่งชาติ

ผู้แทนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์

ตัวแทนจากสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมายเหตุ บริการอาหารว่างในห้องประชุม

15.15-16.00 การบรรยาย แนวทางการอนุรักษ์ชุมชนดั้งเดิมและการเสริมสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่นในพื้นที่ต่อเนื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ

โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

16.00-16.30 ปฏิบัติการการวางผังและการออกแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามเกณฑ์

Form-BasedCodes & LEED-ND (ปฏิบัติการออกแบบแปลงที่ดินการใช้ที่ดิน ระดับเมืองและระดับโครงการ)

อำนวยการปฏิบัติการโดย อาจารย์ศิวพงศ์ ทองเจือรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัย SGT

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559

กลุ่มการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม

09.00-10.15 การบรรยายการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง

(โครงข่ายถนนระบบขนส่งมวลชน ศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ)

โดย ดร.ศิรดล ศิริธรผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีประยุกต์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี

10.15-10.30.1 พักรับประทานอาหารว่าง

10.30-12.00 การบรรยาย การออกแบบศูนย์การขนส่งสินค้าทางถนนศูนย์การขนส่งสินค้าทางรางและทางอากาศ

โดย ผศ.ดร.วราเมศวร์ วิเชียรแสนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00-14.30 การเสวนาเรื่องการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เขตเศรษฐกิจพิเศษ

วิทยากร นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

ผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง

ผู้แทนจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่นจำกัด

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เทอดเกียรติลิมปิทีปราการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและนายกสมาคมวิศวกรรมระบบ ขนส่งทางรางไทย

14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 การบรรยาย การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค(ระบบไฟฟ้าระบบพลังงาน ระบบสื่อสาร และระบบการจัดการมลภาวะ)

โดย ผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างพื้นฐานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

และการเสวนาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์โดยผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

16.00-16.30 ปฏิบัติการการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

อำนวยการโดย ผศ.ดร.วราเมศวร์ วิเชียรแสนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

แนวทางการออกแบบข้อกำหนดการบริหารจัดการพื้นที่

09.00-10.00 การบรรยาย การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านบริหารจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติ

โดย ดร.ณัฐ มาแจ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10.00-11.00 การบรรยายแนวทางการออกข้อกำหนดและมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและอาคาร

โดย ผู้แทนจาก กองนิติการ กรมโยธาธิการและผังเมือง

หมายเหตุ อาหารว่างบริการในห้องประชุม

11.00-12.00 การบรรยายแนวทางการออกข้อกำหนดและมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดย ดร.กมลทิพย์ คงประเสริฐอมรสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00-14.00 การบรรยาย มาตรการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

โดย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

หมายเหตุอาหารว่างบริการในห้องประชุม

14.00-15.00 การบรรยาย มาตรการสนับสนุนทางการเงินการวิจัยและพัฒนา และการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์

โดย ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.00-16.00 การบรรยายการสร้างการมีส่วนร่วมด้วนเทคนิคการสร้างพื้นที่ด้วย Placemaking

โดย ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

16.00-16.20 พิธีมอบวุฒิบัตร

16.20-16.30 พิธีปิดการประชุม โดย ดร.มณฑล จันทร์แจ่มใสนายกสมาคมการผังเมืองไทย

พิธีกรและการควบคุมรายการโดยอาจารย์ธรรมรงค์ ราชามุสิกะ อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย

หลักสูตรวุฒิบัตร ค่าลงทะเบียนบุคคลทั่วไป 7,000บาท สมาชิกสมาคมฯ 6,000 บาท นักศึกษา 3,000 บาท

ลงทะเบียนที่ คุณจันจิรา สังเกตกิจคณะเทคโนโลยี่อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

โทรศัพท์ /โทรสาร 02-5226637 อีเมล์ junjira_skk@hotmail.com




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2558    
Last Update : 14 ธันวาคม 2558 5:51:16 น.
Counter : 1528 Pageviews.  

การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่ 2 กรณีศึกษาข้อเสนอการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี






การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตอนที่2กรณีศึกษาข้อเสนอการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

โดย ดร.ธนดร พุทธรักษ์

มูลนิธิยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (เสนีย์จิตตเกษม)

 ฐาปนา บุณยประวิตร

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทยและสมาคมการผังเมืองไทย

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าหนึ่งในศูนย์การค้าปลีกภายในศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

ที่มา : คุณเวชยันต์ ช้างรักษา

บทนำ

บทความตอนที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงความจำเป็น รูปแบบ ประโยชน์ด้านต่างๆ อาทิผลประโยชน์จากการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมและผลประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้รับจากศูนย์เศรษฐกิจกรณีมีการวางแผนพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบพร้อมด้วยแนวทางการวางแผนทางกายภาพตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (SmartGrowth Principles) สำหรับบทความตอนที่ 2 ผู้เขียนจะนำข้อเสนอการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีที่มีสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่ใจกลางเป็นกรณีศึกษาโดยจะชี้ให้เห็นศักยภาพของพื้นที่ในการยกระดับเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่ได้มาตรฐานและตอกย้ำความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของบริเวณใจกลางเมืองอุดรธานีที่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(Multimodal Transportation Center) ในอนาคต

บทความตอนที่ 2 ประกอบด้วย ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาค ข้อเสนอการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและประสบการณ์และความท้าทายในการเป็นผู้นำการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

จังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ใจกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและใจกลางพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดให้จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภาคมีตำแหน่งเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการศูนย์กลางพาณิชยกรรมและศูนย์กลางการค้าระดับภาค ทำหน้าที่สนับสนุนการค้า การผลิตการบริการ และการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ดังเช่น สนามบินนานาชาติ สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โครงข่ายถนนภายในพื้นที่เขตเมืองโครงข่ายทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดในภูมิภาคและประเทศข้างเคียง กล่าวได้ว่าจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งในระดับต้นๆของประเทศ

ในปี 2558 รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุกต์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจภายในประเทศกับศูนย์เศรษฐกิจของต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกโดยกำหนดเป้าหมายการลงทุนและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งได้แก่รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายหนองคาย-กรุงเทพมหานคร รถไฟทางคู่สายหนองคาย-มาบตาพุด ฯลฯทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายการค้า การกระตุ้นทางเศรษฐกิจ การค้าและการบริการ ในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจ ทั้งศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและศูนย์เศรษฐกิจบริเวณชายแดนซึ่งพื้นที่พัฒนาเป้าหมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่พื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายหนองคาย-กรุงเทพมหานครอันประกอบด้วย พื้นที่ใจกลางเมืองจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่นจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองคาย รวมทั้งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคายมุกดาหาร และนครพนม

สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีนั้นนับว่ามีความพร้อมในระดับสูง เนื่องจากรัฐฯ ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังที่ได้กล่าวแล้วโดยมีสถานีรถไฟและสถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานีเป็นใจกลางและมีย่านพาณิชยกรรมที่ทันสมัยตั้งอยู่ในบริเวณโดยรอบอย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟและสถานีขนส่งเป็นศูนย์เศรษฐกิจที่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองและการผังเมืองซึ่งจะทำให้ศูนย์เศรษฐกิจมีศักยภาพดึงดูดการลงทุนสามารถตอบสนองต่อการยกระดับทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องวางผังและออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูทางกายภาพและการลงทุนเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางเพิ่มเติมทั้งนี้เพื่อเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและเป็นแบบอย่างสำหรับการวางผังและการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคต่อไป

ศักยภาพการพัฒนาเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาค

เกณฑ์การวางผังและการออกแบบเมืองของ Form-BasedCodes และเกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบด้านพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่าน(LEED-ND) กำหนดให้ศึกษาศักยภาพพื้นที่พัฒนาโดยการพิจารณาความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่รัฐและเอกชนได้ลงทุนไว้ในพื้นที่โครงการพร้อมกับพิจารณาจากข้อกำหนดของเกณฑ์อื่นๆ ต่อจากนั้นให้กำหนดแนวทางออกแบบปรับปรุงศูนย์เศรษฐกิจตามนโยบายการฟื้นฟูเมืองของการเติบโตอย่างชาญฉลาดกรณีของจังหวัดอุดรธานี จะได้พิจารณาดังต่อไปนี้

เกณฑ์การวางผังและการออกแบบเมือง

ศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีมีสถานีรถไฟเป็นพื้นที่ใจกลางปัจจุบัน มีสภาพเป็นศูนย์พาณิชยกรรมและศูนย์การลงทุนระดับภูมิภาคมีความพร้อมและได้มาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตามประเภทเมืองเศรษฐกิจของเกณฑ์การออกแบบเมืองForm-Based Codes และเกณฑ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(Transit-Oriented Development Principles) ของการเติบโตอย่างชาญฉลาด รายละเอียดดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง

กำหนดให้พื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจประเภทใจกลางเมือง(Downtown Center) และศูนย์พาณิชยกรรมเมือง(Urban Commercial Center) เป็นที่ตั้งของศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(Multimodal Transportation Center) หรือสถานีขนส่งที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อการเดินทางมากกว่า 2 รูปแบบโดยอย่างน้อยหนึ่งในรูปแบบการเดินทางจะต้องเป็นรถไฟฟ้าระบบรางเป็นองค์ประกอบหากมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นหนึ่งในประเภทการเดินทางให้สถานีนั้นต้องตั้งอยู่ในศูนย์ใจกลางเมืองหรือศูนย์พาณิชยกรรมเมืองเท่านั้นและต้องมีระบบการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพระหว่างศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบกับสนามบินทั้งนี้ศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบต้องเป็นศูนย์กระจายการเดินทางภายในพื้นที่และระหว่างพื้นที่เทียบสัดส่วนแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 40เทียบจากปริมาณผู้เดินทางทั้งหมด

โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ

กำหนดให้มี 1)โครงข่ายถนนและทางเดินเชื่อมต่อระหว่างศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบกับสถานีขนส่งศูนย์การค้าปลีก ตลาด สถาบันการศึกษา สถาบันของรัฐ และกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัยโดยอาจวัดประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อด้วยค่าคะแนนของ walkscore หรือความสามารถในการเดินถึง 2) รูปแบบย่านและอาคารเป็นไปตามเกณฑ์ของ LEED-ND และมาตรฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองของ Form-BasedCodes 3) รูปแบบถนนและมาตรฐานถนนตามเกณฑ์ถนนสมบูรณ์(Complete Streets) โดยให้ความสำคัญพิเศษกับโครงสร้างพื้นฐานถนนทางเดิน ทางจักรยาน และภูมิทัศน์เมือง 4) ระบบการระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานเขียว (GreenInfrastructure)

โครงสร้างกิจกรรมพาณิชยกรรม

กำหนดให้มีสัดส่วนพื้นที่ค้าปลีกและพื้นที่บริการมีความสมดุลกับจำนวนประชากรถาวรและประชากรชั่วคราวตามเกณฑ์LEED-ND โดยกำหนดให้พื้นที่ถนนสายหลัก (MainStreet) และใจกลางย่านพาณิชยกรรมเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าปลีกร้านค้าปลีก หน่วยบริการ พื้นที่สำนักงาน สถานบันเทิงตามสัดส่วนที่กำหนดและให้มีที่อยู่อาศัยผสมผสานพาณิชยกรรมตามขนาดประชากรถาวรและชั่วคราวไม่น้อยกว่าที่เกณฑ์ระบุสำหรับรัศมีบริการขึ้นอยู่กับการกำหนดทำเลที่ตั้งของหน่วยบริการนั้นๆและเป็นไปตามความเห็นของสถาปนิกผู้ออกแบบ

การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

ศูนย์เศรษฐกิจรอบสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีมีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์ได้แก่ สถานีรถไฟ สถานีขนส่งและโครงข่ายการเดินทางขนส่งมวลชนที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนสำหรับพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีสามารถออกแบบปรับปรุงเป็นศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหากในอนาคตมีการลงทุนสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงและมีการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาเชื่อมต่อการเดินทางภายในพื้นที่เขตเมืองพร้อมทั้งมีระบบการเชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติจังหวัดอุดรธานีด้วยระบบขนส่งมวลชนแล้วศูนย์เศรษฐกิจแห่งนี้จะสามารถยกระดับไปศูนย์การขนส่งระดับภูมิภาคได้


สถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางศูนย์เศรษฐกิจ

ที่มา: คุณเวชยันต์ ช้างรักษา


สถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางศูนย์เศรษฐกิจ

ที่มา: คุณเวชยันต์ ช้างรักษา

โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพภายในพื้นที่รอบสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีมีรูปแบบย่านเป็นไปตามเกณฑ์ LEED-NDอย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายถนน และทางเดินถนนจำเป็นต้องออกแบบปรับปรุงใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของสถานีรถไฟเช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานเขียวและรูปแบบภูมิทัศน์เมือง


บรรยากาศของย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

ที่มา: คุณเวชยันต์ ช้างรักษา

โครงสร้างกิจกรรมพาณิชยกรรมนับได้ว่าพื้นที่ในปัจจุบันภาคเอกชนได้ลงทุนไว้เป็นส่วนใหญ่ดังจะเห็นได้จากการลงทุนศูนย์การค้าปลีกในรูป Community mall ในนามของ “ยูดี ทาวน์” ตลาดสด ตลาดใต้รุ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และโรงแรมระดับ 3 ดาวอีกเป็นจำนวนมาก ไม่นับรวมโครงการ AECSquare ที่จะเปิดดำเนินการในช่วงต้นปี 2559 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ LEED-NDในการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจในอนาคตจะต้องเพิ่มปริมาณอาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร เซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์สถานบันเทิง และที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ เช่นที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้ (Affordable Housing) และคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดโดยกำหนดทำเลที่ตั้งให้ผสมผสานตามสัดส่วนที่กำหนด

บรรยากาศของย่านพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

ที่มา: คุณเวชยันต์ ช้างรักษา


โครงการ AECAQUARE เพื่อการพัฒนาพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยที่ระหว่างการก่อสร้างในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจ

ที่มา : คุณเวชยันต์ ช้างรักษา

ข้อเสนอโครงการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีสามารถรองรับการลงทุน เพิ่มการสร้างงานและการจ้างงานผู้เขียนจึงขอเสนอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและลงทุนออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจรอบสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ จำนวน 3 โครงการ ดังต่อไปนี้

1.โครงการศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอินโดจีน(Indo-China Multimodal Transportation Center Plan) บริเวณสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานีเพื่อรองรับการเปิดบริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางภายในจังหวัดอุดรธานีภายในภาคตะวันอกเฉียงเหนือตอนบนสนับสนุนการเชื่อมต่อการเดินทางกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน

2.โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดอุดรธานี(Udon Thani Mass Transit Development Plan) โดยการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กบนผิวทาง(Streetcar/Tram) เชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานีสนามบินนานาชาติอุดรธานี และศูนย์การกระจายสินค้าจังหวัดอุดรธานีในอนาคต

3.โครงการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีโดยใช้พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานี โดยดำเนินการตามเกณฑ์ Transit-OrientedDevelopment Project : TOD เพื่อวางผังและออกแบบปรับปรุงพื้นที่รอบสถานีให้เป็นเมืองแห่งการเดินเป็นศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนระดับภูมิภาคหรือที่เรียกว่า “ศูนย์เศรษฐกิจอินโดจีน” และศูนย์ที่อยู่อาศัย

ประสบการณ์และความท้าทายในการเป็นผู้นำการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ศูนย์เศรษฐกิจที่ได้รับการออกแบบปรับปรุงตามมาตรฐานและมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจจะเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สนับสนุนให้ประเทศผ่านพ้นไปสู่การเป็นประเทศทีมีรายได้สูงหรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากศูนย์เศรษฐกิจมีสภาพเป็นหน่วยการผลิตและหน่วยการบริการเป็นแหล่งของการสร้างงานและการจ้างงานที่สร้างมั่นคงด้านรายได้แก่ประชาชนทุกระดับศูนย์เศรษฐกิจระดับเมือง ภาคและภูมิภาคคือหน่วยเศรษฐกิจที่เพิ่มโอกาสและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งงานโครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรที่รัฐได้จัดไว้ ในขณะเดียวกันศูนย์เศรษฐกิจได้ทำหน้าที่ในการลดการเคลื่อนย้ายประชากร ลดความจำเป็นในการเดินทางและเพิ่มความเท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจแก่ประชาชน

กรณีศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีสถานะในปัจจุบันได้รับการยอมรับว่า เป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาคเป็นหน่วยการค้าปลีกสำคัญที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นแหล่งดึงดูดให้เกิดการบริการอื่นๆ อาทิ การบริการลงทุน การบริการทางการเงินการบริการทางการแพทย์ การบริการท่องเที่ยว การบริการการเดินทางและการบริการศึกษาในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดข้างเคียงสภาพของศูนย์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานีในขณะนี้จึงมีบทบาทการการให้บริการการลงทุนและการค้าปลีกที่มีขนาดและปริมาณที่มากกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษดังที่รัฐได้กำหนดไว้ดังนั้นจึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารประเทศและผู้บริหารเมืองที่จะพิจารณาต่อยอดให้เกิดการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์ดังกล่าวให้ได้มาตรฐานเป็นตัวแทนของศูนย์เศรษฐกิจระดับภูมิภาคของประเทศที่สามารถนำไปเป็นแบบอย่างสำหรับการพัฒนาในพื้นทีอื่นๆต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Form Based Codes Institute, Form-Based CodesDefined: Available from

formbasedcodes.org/definition

U.S Green Building, LEED for NeighborhoodDevelopment: Available from

w.usgbc.org/Docs/Archive/General/Docs6423.pdf

U.S. Environmental protection Agency, 2014,Smart Growth: Available from

//www.epa.gov/smartgrowth/




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2558    
Last Update : 2 ธันวาคม 2558 21:04:17 น.
Counter : 1513 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.