ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

พิษณุโลก จับมือกับ ขอนแก่น แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

บทความโดย นายพิชิต ขอผล

หัวหน้าฝ่ายผังเมือง กองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

การศึกษาดูงานจากจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดขอนแก่นแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่เมืองขอนแก่นการวางแผนระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา (Light Rail Transit) เชื่อมโยงกับหน่วยบริการต่างๆของเมืองการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) โดยหลายภาคส่วนของจังหวัดพิษณุโลกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลกเทศบาลตำบลวัดจันทร์ หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมATSME ชมรมธนาคารจังหวัด ภาคประชาสังคม ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยการต้อนรับจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารเทศบาลนครขอนแก่น คณะผู้จัดตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) ภาคส่วนต่างๆจังหวัดขอนแก่น



จังหวัดขอนแก่น แบ่งเขตการปกครอง 26 อำเภอ 198 ตำบล 2,331 หมู่บ้านมีประชากรรวม 1,766,06 คนมีเส้นทางคมนาคมสำคัญคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 มีทางรถไฟผ่านเส้นทางจากกรุงเทพฯ - หนองคายมีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ห่างจากตัวเมือง กิโลเมตร เส้นทางบินกรุงเทพฯ – ขอนแก่น -กรุงเทพ ฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 55 นาที วันละ 8 เที่ยวบินและอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เป็นจังหวัดที่ถือได้ว่าอยู่ศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายในเมืองยังขาดระบบโครงข่ายคมนาคมที่เหมาะสม ประชาชนใช้การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล รถมอเตอร์ไซต์เป็นส่วนใหญ่ทำให้มีปัญหาการจราจรในพื้นที่เมืองเกิดขึ้นในทุกวันโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน 


จังหวัดขอนแก่นมีการศึกษาจัดทำแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองขอนแก่น(2551) , การศึกษาระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ในภูมิภาคเพื่อการจราจรปลอดภัยอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น (2554)กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน(กปถ.) , การศึกษาวิจัยโครงการศึกษาระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เมืองขอนแก่น (2555) เทศบาลนครขอนแก่น, การออกแบบรายละเอียดระบบการดำเนินการเดินรถของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(BRT) (2555) ต้นแบบเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด , โครงการพัฒนารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(Bus Rapid Transit, BRT)เมืองขอนแก่นและปัจจุบันมีการศึกษาและเปรียบเทียบการนำเอาระบบขนส่งมวลชน (BRT, Tram และ LRT)โดยละเอียดทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าจะใช้ระบบการขนส่งมวลชนระบบรางเบา(Light Rail Transit) เชื่อมโยงกับหน่วยบริการต่างๆของเมือง 5 เส้นทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development ,TOD)


เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง รวมกัน 5แห่งในพื้นที่เมืองขอนแก่น มีความร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวโดยงบประมาณในการลงทุนเบื้องต้นจะมาจากภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาในชื่อบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด(KKTT) เพื่อลดภาระในการใช้งบประมาณของภาครัฐ ทำให้เกิดความสำเร็จในโครงการได้ทันต่อสภาพการณ์ในอนาคตจะมีการผลักดันโครงการดังกล่าวให้เป็นการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานประจำจังหวัดขอนแก่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสนับสนุนการทำระบบรางเบา(TRAM) ชูจุดเด่นในการประกอบและผลิตขึ้นเองภายในประเทศเพื่อทำให้ต้นทุนโครงการลดลงประกอบกับโครงดังกล่าวจะนำเรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนโดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) หรือการพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าพาดผ่านเข้ามาร่วมคำนวณความเป็นไปได้ของโครงการด้วยจากการประชุมคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.)ครั้งที่ 1/2558มีการเสนอให้รับทราบแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขอนแก่น และโครงการศึกษาออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบรถโดยสารด่วนพิเศษต้นแบบในภูมิภาคคณะกรรมการฯให้จังหวัดขอนแก่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมและอนุมัติให้ สนข. ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารกับระบบขนส่งระบบราง (TRAM)และศึกษาถึงรูปแบบการลงทุนของเอกชนที่จะเข้ามาร่วมพร้อมศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA)



คณะศึกษาดูงานจังหวัดพิษณุโลกให้ความสนใจในแนวทางการดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดขอนแก่นสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิธีการท างานที่ให้นำมาซึ่งความสำเร็จในโครงการโดยเฉพาะการตัดสินใจร่วมตัวกันของภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดเพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นตนเองไม่รอแต่เพียงจากงบประมาณภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการขนส่งมวลชนที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นของเมืองเพิ่มความสุขให้กับประชาชนทุกๆคน การดังกล่าวเป็นแนวทางที่คณะศึกษาดูงานจังหวัดพิษณุโลก จะสามารถนำมาต่อยอดระบบการขนส่งมวลชนระบบรางเบา(Light Rail Transit) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนโดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) โครงการสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนได้หรือไม่ต้องติดตามดูผลการดำเนินงานต่อไป 






 

Create Date : 06 กันยายน 2558    
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:11:49 น.
Counter : 2627 Pageviews.  

คำแถลงข่าวการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน



คำแถลงข่าวสื่อมวลชน

เรื่องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน

ด้วยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนหรือ กกร. อันประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ชมรมธนาคารจังหวัดพิษณุโลก และสมาคม ATSME จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลกและสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก มีความเห็นร่วมว่าได้เวลาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ที่เรียกว่า พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกฉบับใหม่

ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามโครงการและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือ GMS โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา -แม่โขง หรือ ACMECS แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 ผังประเทศ ผังภาคเหนือและผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ของกรมโยธาธิการและผังเมืองรวมทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างตลอดจนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกที่ได้กำหนดให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่างศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ศูนย์การบริการ ศูนย์การกระจายสินค้าและศูนย์การท่องเที่ยวทางธรรมชาติในพื้นที่สี่แยกอินโดจีน

ประกอบกับรัฐบาลปัจจุบันได้มีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งโดยได้ประกาศอย่างแน่ชัดแล้วว่า ภายในปี 2563 ที่จะถึงนี้พื้นที่จังหวัดพิษณุโลกจะเป็นที่ตั้งของ ศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือ Pitsanulok Multimodal Transportation Center อันเป็นสถานีของรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่และที่ตั้งสถานีขนส่งสินค้าของรถไฟทางคู่สายปากน้ำโพ – เด่นชัย

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและองค์กรเครือข่ายเห็นว่าการดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ของรัฐบาล มีผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมต่อจังหวัดพิษณุโลกเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันจึงได้นำเอายุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงานโครงการจากผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกซึ่งทุกภาคส่วนได้ร่วมกันยกร่างมาเป็นกรอบการดำเนินการ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การบริการการกระจายสินค้า และโลจิสติกส์ รวมทั้งการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งนี้แผนงานโครงการตามยุทธศาสตร์ผังเมืองรวมจังหวัด ประกอบด้วย

1. โครงการจัดตั้งศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจังหวัดพิษณุโลก

2.โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก

3.โครงการศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมจังหวัดพิษณุโลก

4.โครงการศูนย์พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ระดับภาคบ้านบึงพระ

5.โครงการเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

6.โครงการเขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยจังหวัดพิษณุโลก

เพื่อให้การกระตุ้นทางเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างรวดเร็วทันต่อการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2559 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและองค์กรเครือข่ายจึงขอเสนอให้รัฐบาลประกาศนโยบายให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่โดยมีทางเลือกการสนับสนุนสิทธิและประโยชน์ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้

1.ทางเลือกที่ 1 ให้จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจใหม่โดยการสนับสนุนด้านสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลได้ประกาศไปแล้วและรับผิดชอบในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตามแผนงานโครงการดังที่กล่าวข้างต้น

2.ทางเลือกที่ 2 ให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่โดยการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในบางรายการหรือลดระยะเวลาการเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามความเหมาะสมและรับผิดชอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามแผนงานที่กล่าวข้างต้น

3.ทางเลือกที่ 3 รัฐบาลประกาศสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นในการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลกที่มีสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นพื้นที่ใจกลาง โครงการศูนย์พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์บ้านบึงพระให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าในระดับภาคและโครงการเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

โดยหลังจากการแถลงข่าว คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและองค์กรเครือข่ายจะยื่นข้อเสนอโดยตรงต่อรัฐบาล และเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ ภายในเดือนกันยายน 2558คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและองค์กรเครือข่ายจะเสนอให้จัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก(กรอ.จังหวัดพิษณุโลก) เพื่อพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงานโครงการและให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก(กรอ.จังหวัดพิษณุโลก)นำเสนอแผนงานโครงการต่อคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหรือกรอ.กลางที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาต่อไป

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและองค์กรเครือข่ายจะดำเนินการในทุกวิธีการ ในการส่งเสริม การสนับสนุน หรือการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการลงทุนทั้งการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าลงทุนในบริเวณที่ผังเมืองรวมจังหวัดกำหนดรวมทั้งการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาให้บรรลุสู่เป้าหมายต่อไป

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจังหวัดพิษณุโลกและองค์กรเครือข่าย

วันที่25 สิงหาคม พุทธศักราช 2558

ในท้ายบทความ ชมวีดีทัศน์กันอีกรอบครับ (วิสัยทัศน์” พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน”)



เครดิตภาพ จากเพจ Facebook หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก




เครดิตภาพ จากเพจ Facebook หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก








 

Create Date : 30 สิงหาคม 2558    
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:12:31 น.
Counter : 1621 Pageviews.  

ชมวีดีทัศน์” พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน” พิษณุโลกจะไปทางไหน



แผนงานของจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชน และทุกประชาคม จนเป็นวิสัยทัศน์” พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน”

เชิญทุกท่าน ชมคลิปความยาวประมาณ 9 นาทีกันครับ แล้วลองคิดกันดูครับ ว่าพิษณุโลกจะโตไปในทิศทางเช่นไรแล้วจะพัฒนาไปในด้านไหนบ้างครับ





คำแถลงข่าวสื่อมวลชน เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand/2015/08/26/entry-2






 

Create Date : 26 สิงหาคม 2558    
Last Update : 30 สิงหาคม 2558 6:35:20 น.
Counter : 2101 Pageviews.  

พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

พิษณุโลก 2020

เขตเศรษฐกิจลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน

ฐาปนา บุณยประวิตร สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

www.smartgrowththailand.com/ www.smartgrowthasia.com www.asiamuseum.co.th




บทนำ

ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับหอการค้าจังหวัดพิษณุโลกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกจะจัดการสัมมนาเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดพิษณุโลกตามยุทธศาสตร์การผังเมือง “พิษณุโลก 2020: เขตเศรษฐกิจการลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน” ในวันที่ 24-25 สิงหาคม 2558 ณ.ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกนั้น ผู้เขียนเห็นว่าการจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของวงการผังเมืองหลายประการโดยความก้าวหน้าที่มองเห็นได้ชัดมีอยู่หลายประการ ดังนี้

• ประการแรก ความสามารถของเครือข่ายภาครัฐและเอกชนในจังหวัดพิษณุโลกในการแปรความยุทธศาสตร์การพัฒนาจากผังเมืองรวมจังหวัดที่อยู่ระหว่างการยกร่างให้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของจังหวัด

• ประการที่สองผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกมีศักยภาพในการบูรณาการแผนงานโครงการ ทั้งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนงานระดับประเทศ แผนงานระดับภาคและแผนงานระดับจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวคิดการวางผังเมืองรวมซึ่งนำมาจากเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth Principles) และเป็นไปตามแนวนโยบายใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองในการใช้ผังเมืองรวมจังหวัดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน

• ประการที่สามยุทธศาสตร์การผังเมืองได้เปลี่ยนแปลงจากการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นส่วนใหญ่มาเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

• ประการที่สี่ความร่วมมือของภาคส่วนรัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อสร้างขีดความได้เปรียบและความสามารถการแข่งขัน

เพื่อให้มองเห็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดพิษณุโลกตามแนวนโยบาย พิษณุโลก2020: เขตเศรษฐกิจการลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีนผู้เขียนจึงขอสรุปนโยบายและแผนงานสำคัญๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคตโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในอนาคต และเขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนในอนาคตรายละเอียด ดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งในอนาคต



ภาพแสดงแนวคิดโครงข่ายการคมนาคมและขนส่งจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

โครงข่ายคมนาคมและขนส่ง ตามคาดประมาณการลงทุนจากปัจจุบันจนถึง 20 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย รถไฟรางคู่สายเหนือ-ใต้และสายตะวันออก-ตะวันตกสนามบินนานาชาติ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจของจังหวัดศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานเมืองศูนย์กลางการประชุมและท่องเที่ยว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งสำคัญ ที่จะมีการพัฒนาสรุปได้ดังนี้

• การยกระดับสนามบินให้เป็น International Airport สามารถรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศไปยังศูนย์เศรษฐกิจประเทศต่างๆได้มากกว่า 10 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อกับศูนย์เศรษฐกิจของประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย บังคลาเทศเมียนมาร์ ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศในโอเชียเนียโดยการปรับปรุงสนามบินในครั้งนี้พิษณุโลกจะมีหน่วยบริการศุลากรเพื่อให้บริการตรวจรับการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

• การเปิดให้บริการรถไฟฟ้า High Speed Rail สายกรุงเทพมหานคร-พิษณุโลก-เชียงใหม่ในปี 2563 โดยสถานีหลักของ HSR ตั้งอยู่ในใจกลางเทศบาลนครพิษณุโลกคาดว่าจะมีผู้เดินทางใช้บริการเข้าออกด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่น้อยกว่าวันละ 8,000 คนภายในปี 2566

• การเปิดบริการของรถไฟทางคู่สายเหนือ-ใต้(Northern-Southern Heavy Rail) รถไฟทางคู่สายนี้เป็นรถขนส่งสินค้าเป็นส่วนใหญ่เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าเส้นทางมาบตาพุด-สระบุรี-พิษณุโลก-เชียงรายและอาจเชื่อมต่อกับรถไฟขนส่งสินค้าของประเทศจีนในอนาคตคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

• การเปิดบริการของรถไฟทางคู่สายตะวันตก-ตะวันออก(East-West Heavy Rail) รถไฟทางคู่สายนี้เป็นรถที่ใช้ขนส่งสินค้าและบริการการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจเมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนามตามนโยบายของโครงการ GMS ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังศึกษาออกแบบคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568

สำหรับการเชื่อมต่อการเดินทางในปัจจุบันจังหวัดพิษณุโลกมีสภาพเป็นใจกลางของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและเป็นศูนย์รวมและกระจายการเดินทางอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางด้วย Transit bus ของบริษัท ขนส่ง จำกัด สำหรับโครงข่ายถนน จังหวัดพิษณุโลกมีโครงข่ายถนนที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น การเชื่อมต่อทางถนนสายตะวันตก-ตะวันออกตามทางหลวงหมาย 12 หรือการเชื่อมต่อทางถนนสายเหนือใต้ผ่านทางหลวงหมายเลข 117 และ 11

โครงข่ายการขนส่งมวลชนในอนาคต

จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคของประเทศรัฐบาลมีโครงการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนให้เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างศูนย์การพัฒนาพื้นที่ปัจจุบัน รัฐบาลได้มีโครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางที่มีคุณภาพแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นระบบการสัญจรหลักสำหรับอนาคตรวมทั้งสร้างประสิทธิภาพการเดินทางภายในย่านเศรษฐกิจโดยการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันซึ่งได้แก่ การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสนามบินจังหวัดพิษณุโลกสถานีขนส่งทั้งสองแห่ง ศูนย์พาณิชยกรรมเซ็นทรัลพลาซ่าและมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยรถไฟฟ้ารางเบา โครงการดังกล่าวคาดว่าจะให้บริการได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า



ภาพแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีนในอนาคต



แผนที่แสดงที่ตั้งเขตเศรษฐกิจในอนาคตของจังหวัดพิษณุโลก

เขตเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดพิษณุโลกในอนาคตแบ่งออกเป็น4 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. เขตเศรษฐกิจพาณิชยกรรม (Economic and Commercial Zone) ภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ประเภทใจกลางเมือง(Downtown), พาณิชยกรรมเมือง (Urban Center) และศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยชานเมือง (Suburban Center) พื้นที่ใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรมของจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบันมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคม การสื่อสาร โครงข่ายถนน สาธารณูปโภค ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบบริการสาธารณะ เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและศูนย์ธุรกิจเอกชนระดับภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นศูนย์ภาคของธุรกิจการเงินและการค้าระหว่างประเทศพร้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีก (retail spaces)มากกว่า 600,000 ตารางเมตรและจะเพิ่มขึ้นอีก 400,000 ตารางเมตรในปี 2565 ภายหลังการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าความเร็วสูงพื้นที่ในศูนย์การพัฒนาจะเป็นพื้นที่ที่มีอำนาจการซื้อและเป็นศูนย์รวมแหล่งงานที่มีคุณภาพของจังหวัดพิษณุโลก



ทัศนียภาพย่านพาณิชยกรรมจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

2. เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ (Industrial and Logistics Zone) ภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ประเภท Commercial and Logistics Center ทั้ง 3 แห่ง ทั้งศูนย์บึงพระซึ่งเป็น Regional Logistics Hub ศูนย์ Logistics เต็งหนามและศูนย์ Logistics สี่แยกอินโดจีน ศูนย์ logistics ผสมผสานพาณิชยกรรมทั้ง 3 แห่งจะมีศักยภาพในการให้บริการติดต่อการค้าระหว่างประเทศและภายในประเทศการขนส่งและการกระจายสินค้า จุดตรวจและปล่อยสินค้าทั้งทางทางอากาศ ทางถนนและทางรถไฟมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและขนส่งทั้งรถไฟขนส่งสินค้าสายเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก รถไฟฟ้ารางเบาที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองและสนามบินนานาชาติมีคลังสินค้าและ TruckTerminal, Rail Terminal พร้อม container yardและระบบขนถ่ายที่ทันสมัย

3. เขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก(Phitsanulok Agricultural and Food Innovation Industry Zone) มีที่ตั้งภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์บึงพระกำหนดพื้นที่พัฒนาจำนวน 3,000 ไร่กำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนกิจการอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม การแปรรูปผลิตผลการเกษตร การผลิตส่วนประกอบอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงการวิจัยและพัฒนา และการตรวจสอบมาตรฐานในสาขาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเขตอุตสาหกรรมนี้อนุญาตให้เฉพาะกิจการที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางถึงสูงและเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวเท่านั้น



ทัศนียภาพจำลองเขตนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

4. เขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก(Phitsanulok Research and Development for Innovation Productand Service Zone) เขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยและนวัตกรรม หรือพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยพิษณุโลกหรือมีพื้นที่พัฒนาจำนวน 2,000 ไร่ กำหนดการพัฒนาที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน อาคารฝึกอบรมและห้องปฏิบัติการรองรับการวิจัยและพัฒนาการแสดงผลงานวิจัย และการตรวจสอบมาตรฐานในสาขาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องพร้อมที่อยู่อาศัยสำหรับนักวิจัยและบุคลากร

5. เขตอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok Industrial Zone) ประกอบด้วยพื้นที่ 2 บริเวณได้แก่ พื้นที่เขตอุตสาหกรรมหัวรอมีพื้นที่ 800 ไร่ และเขตอุตสาหกรรมวังน้ำคู้มีพื้นที่ 800 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมทุกประเภทยกเว้นอุตสาหกรรมปิโตเคมี อุตสากรรมเคมีและอุตสาหกรรมตารมประกาศควบคุมอุตสาหกรรมอันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรม


อนึ่ง ท่านที่สนในร่วมสัมมนา ขอให้ลงทะเบียนได้ที่ฝ่ายผังเมืององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ 055 247411 วันที่ 24 สิงหาคมสำหรับหน่วยงานราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น รับจำนวน 200 คน และวันที่ 25 สิงหาคม สำหรับภาคเอกชนและประชาชน รับจำนวน 150 คน 






 

Create Date : 12 สิงหาคม 2558    
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:13:53 น.
Counter : 2969 Pageviews.  

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยฐาปนา บุณยประวิตร

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย(Smart Growth Thailand Research Institute)

www.smartgrowththailand.com/ www.smartgrowthasia.com/ www.asiamuseum.co.th




เครดิตภาพ //www.rnldesign.com/markets/urban-design/north-america/nine-mile-tod/

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย ขอเชิญชมวีดิทัศน์เรื่อง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนวีดิทัศน์ชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการสัมมนาวิชาการ Smart Growth Thailand Summit 2015 ว่าด้วยเรื่องการสนับสนุนทางการเงินและสิทธิประโยชน์สำหรับหน่วยงานและผู้ประกอบการขนส่งมวลชนและผู้พัฒนาพื้นที่รอบสถานขนส่งมวลชน(Transit & TOD Incentive) ซึ่งจัดในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ณ.ห้องริชมอนด์ บอลลูม 2 โรงแรมริชมอนด์ สไตลิสต์คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี และเพื่อเผยแพร่เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth Principles) และผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองจากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(Transit-Oriented Development) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะวีดิทัศน์ชุดนี้นับเป็นงานเผยแพร่เกณฑ์การพัฒนา TOD ในรูปของสื่อสาธารณะภาษาไทยชุดแรกของประเทศซึ่งได้ผสมผสานกรอบและแนวคิดจากเกณฑ์ของ TOD ซึ่งกำหนดขึ้นจาก Center ofTransit-Oriented Development, Smart Growth America และ U.S.EPA ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดที่ปรากฎในวีดิทัศน์มีความทันสมัยและมีความก้าวหน้ามากที่สุดในขณะนี้

เป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมืองไปสู่ความสำเร็จนั้นส่วนสำคัญมาจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ หลายๆเมืองในสหรัฐฯ ที่มีการลงทุนระบบขนส่งมวลชนไว้แล้วจึงได้หันมาปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่รอบสถานีในเชิงพาณิชย์สำหรับเมืองที่มีแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนก็ได้เพิ่มแผนงานการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเข้าไปด้วยนัยเพื่อเป็นไปตามเกณฑ์ของ TOD ซึ่งต้องการสร้างพื้นที่ให้มีความหนาแน่น มีความหลากหลายและสร้างจำนวนประชากรที่มีโอกาสในการเดินทางด้วยรถขนส่งมวลชนให้มีปริมาณมากขึ้นซึ่งประชากรจำนวนดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้สนับสนุนการลงทุนของระบบขนส่งมวลชนให้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจโดยเร็วแล้วยังเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการสร้างงาน การจ้างงานและการสร้างเศรษฐกิจภายในพื้นที่โดยรอบสถานีอีกด้วย นอกจากนั้น ยังได้ใช้โอกาสดังกล่าวสร้างพื้นที่รอบสถานีให้เป็นชุมชนแห่งการเดินและการปั่นสร้างชุมชนที่ปลอดมลภาวะและมีสภาพแวดล้อมอย่างยิ่งยืนให้กับผู้อยู่อาศัยผู้ประกอบการ และผู้สัญจรผ่านเส้นทาง การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีจึงนับเป็นการพัฒนาที่บูรณาการการใช้ประโยชน์ที่ดินกับการคมนาคมขนส่งเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดอีกประการคือ การใช้พื้นที่ที่รัฐได้ลงทุนไว้แล้วให้ตอบสนองต่อการเพิ่มภาษีคืนกลับแก่ภาครัฐซึ่งนับเป็นกลอุบายที่ทำให้แต่ละภาคส่วนต่างได้รับผลประโยชน์ โดยทุกผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาได้เป็นผลประโยชน์ที่เมืองมอบให้แก่โลก ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ที่สะอาดไม่เป็นภาระในการบำบัดก๊าซพิษ เป็นพื้นที่ใช้พลังงานน้อยไม่เป็นพื้นที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สร้างปัญหาแก่โลกในระยะยาว

SGT Institute ขอขอบคุณบริษัท พิพิธภัณฑ์เอเซียจำกัดและบริษํท เอเซีย สเปช แพลนนิ่ง จำกัดที่สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวีดิทัศน์ชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้แนวทางการพัฒนาเมืองตามเกณฑ์ TOD และเกณฑ์ Smart Growth เพื่อการประยุกต์ใช้ของผู้บริหารเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะทำให้การพัฒนาเมืองและการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองในพื้นที่ที่รัฐได้ลงทุนระบบขนส่งมวลชนมีความยั่งยืนสืบไป

ชมวีดีโอครับ







 

Create Date : 10 สิงหาคม 2558    
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:14:48 น.
Counter : 1926 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.