In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 

some weird pictures

มีคนส่งมาให้ เป็นFWD MAIL ดูแล้วชอบมาก

Can't afford a real GPS?
I can fix that!


No ice chest?
I can fix that!


Car imported from the wrong country?
I can fix that!


Satellite go out in the rain?
I can fix that!


Electric stove broken & can't heat coffee?
I fixed that.


Wiper motor burned out?
I can fix that!


Display rack falling over?
I can fix that!


Exhaust pipe dragging?
I can fix that!


Gotta feed the baby AND do the laundry?
I can fix that!


Cables falling behind the desk?
I can fix that!

(I actually think that's ingenious.)

Out of diapers? I can fix that!

I am speechless!




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2554    
Last Update : 11 มิถุนายน 2554 1:57:51 น.
Counter : 743 Pageviews.  

ชัยชนะที่ปลายจมูก

ผมชอบการตลาดนอกตำรา คำว่า “มาร์เก็ตติ้ง” ในการทำธุรกิจของผม เรียนรู้จากศาสตร์ชีวิตประจำวันรอบตัว ผมเรียกมันว่าวิชา “ตลาดกลิ้ง”

กลิ้งเข้าไปสัมผัสคลุกคลีกับลูกค้า กลิ้งไปดูทุกรายละเอียด เข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้ารู้ว่าเขาต้องการอะไร
รายละเอียดพวกนี้หาไม่ได้บนโต๊ะทำงานของคุณนะครับ แต่ถ้าคุณขยันเก็บรายละเอียด
ยิ่งเก็บมากเท่าไหร่ โอกาสพัฒนาสินค้าให้โดนใจก็มีมากเท่านั้น


วิชาสามัญที่ผมใช้ตลอดทุกครั้ง คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ใส่ใจทุกรายละเอียด ไม่มองข้ามแม้เพียงเรื่องเล็กน้อย
เพราะความแตกต่างเพียง “นิดเดียว” นี่แหละครับ คือ ความสำเร็จปลายจมูกที่เฉือนเอาชนะคู่แข่ง

ผมได้บทเรียนนี้จากครั้งแรกและครั้งเดียวที่เข้าสนามม้า
เสียท่าหมดเงิน 50 บาทเพราะอยากรู้อยากลองคราวนั้น สอนผมจดจำไปทั้งชีวิต
ในสนามแข่งม้า ชัยชนะเขาวัดกันที่การถึง “เส้นชัย”
ไม่ใช่ที่ “ปลายเท้า” แต่แพ้-ชนะกันที่ “ปลายจมูก”
ระหว่างทางต่อให้โชว์ฟอร์มดิบดีแค่ไหน แต่ถ้าพลาดจังหวะสุดท้ายลืมพุ่งจมูกเข้าถึงเส้นชัยก่อนคู่แข่งก็เท่ากับตายตอนจบ..พุ่งไปไม่ถึงความสำเร็จ

การทำธุรกิจก็เหมือนกัน ไม่มีกติกาว่าใครคิดก่อน รู้ก่อน ทำก่อนแล้วจะสำเร็จ
แต่มันขึ้นอยู่กับว่านาทีสุดท้ายคุณทำทันหรือเปล่าหรือทำถูกจังหวะเวลาหรือเปล่า
ชีวิตจริงคนเราก็แบบนี้ บางทีมันอยู่ที่ “นิดเดียว” จริงๆ ครับ
ใครเก่งกว่าใคร ใครสวยกว่ากันอาจเฉือนกันไม่ลง โค้งสุดท้ายสาวงามคนไหนตอบคำถามได้ชนะใจกรรมการก็อาจคว้ามงกุฎกับสายสะพายไปครอง


ยิงปืนจะโดนไม่โดน จังหวะลั่นไกอยู่แค่เสี้ยววินาที
ระหว่างน้ำท่วมปากกับท่วมจมูก ความแตกต่างแค่เส้นยาแดงนิดเดียว แต่ผลลัพธ์แตกต่างไม่ใช่แค่หน้ามือกับหลังมือ
ผมเชื่อว่าความลับความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ใครเก่งกว่า ดีกว่าเท่านั้นถึงจะเป็นที่หนึ่ง
ตอนเริ่มต้นธุรกิจ ผมไม่ได้มีอะไรเหนือไปกว่าคนอื่นๆ แต่เพราะเชื่อในชัยชนะปลายจมูก
ผมจึงแตกต่างด้วยวิธีคิดและทำมากกว่าคนอื่นอีก “นิดหนึ่ง” เสมอ

สมัยเริ่มธุรกิจแผงขายหนังสือเล็กๆ ร้านผมกับคู่แข่งทำเลก็พอๆ กัน แต่ขายดีกว่าเพราะผมได้เปรียบอีกนิดหนึ่งตรงที่ลูกขยัน
ร้านเราเปิดก่อนแต่ปิดทีหลังสุด คนอื่นเฝ้าร้านนั่งอ่านหนังสือ แต่ผมใช้สายตาส่งยิ้มให้ลูกค้า คอยจดจำว่าใครเป็นแฟนหนังสือเล่มไหน
หลายต่อหลายธุรกิจที่ผมชนะได้ก็เพราะ “ใจ” ล้วนๆ
หลักการง่ายๆ คือ โดนใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำอะไรให้ลูกค้าเกิดความประทับใจสุดๆ
ตอนทำแคมเปญรวยฟ้าผ่า 30 ฝา 30 ล้าน เราไม่ใช่เจ้าแรกที่กล้าแจกเงินล้าน
แต่เราแตกต่างตรงที่แจกจริง แจกเร็ว ผมไปแจกเองทันทีใน 24 ชั่วโมง รุ่งเช้ากลายเป็นข่าวทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์

อะไรที่คนอื่นทำไม่ถึง ทำไม่ได้ ไม่เคยทำ แต่คุณทำได้ คุณจะได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ
บางทีถึงไม่ได้เงิน แต่ก็ได้แบรนด์ แต่ถ้าทำดีๆ คุณก็อาจจะได้ทั้งแบรนด์ ได้ทั้งเงิน
แคมเปญยอดนิยม “ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊ง” ที่เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าได้ เพราะให้ในสิ่งที่ลูกค้าคาดไม่ถึง ปาฏิหาริย์ยอดขายจึงเกิดขึ้น

หลายแคมเปญที่ประสบความสำเร็จ เพราะเราคิดมากกว่าเจ้าอื่นที่เคยทำเพียงนิดเดียว
ถ้าคิดจะทำแคมเปญ “ให้” แล้ว ผมชอบคำว่าสุดๆ
จะถึงใจ..ใจต้องถึง อย่าทำครึ่งๆ กลางๆ ตัวอย่างเช่นแคมเปญแจกรถยนต์ มีแต่คนให้รถแต่ไม่รวมภาษี แต่ผมชอบแจกจริง ออกภาษีทำประกันทุกอย่างให้ฟรี แถมเติมน้ำมันให้อีกเต็มถัง
คุณคิดว่าอย่างไหนลูกค้าประทับใจมากกว่ากันครับ
บางทีแค่ทำมากกว่าอีกนิดเดียว แต่ชัยชนะแค่ปลายจมูกอาจเทียบกันไม่ติด

คำว่า “มาร์เก็ตติ้ง” จึงหมายถึง “ตลาดกลิ้ง” ที่สอนให้ผมไม่เคยคิดอะไรแค่มุมเดียว
ทุกโจทย์การแข่งขันต้องกลิ้งไปให้ลงลึกถึงรายละเอียด
ใครคิดและทำมากกว่าอีกด้านหนึ่ง พิชิตใจลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่ง คนนั้นคือผู้ชนะครับ

//www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/tan/20110606/393923/ชัยชนะที่ปลายจมูก.html




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2554    
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 16:24:11 น.
Counter : 726 Pageviews.  

จอห์น โบเกิล

ในปี 1999 นิตยสารฟอร์จูนอันทรงอิทธิพลประกาศชื่อนักลงทุนที่เป็น "ยักษ์ใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20" จำนวน 4 คน


ประกอบด้วย วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ จอร์จ โซรอส และ จอห์น โบเกิล แห่งกองทุน แวนการ์ด เจ้าพ่อกองทุนอิงดัชนีที่มีเม็ดเงินลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก มาดูชีวิตและผลงานของเขา


โบเกิล เกิดในปี 1929 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในอเมริกาและในโลก นับถึงวันนี้ก็อายุ 82 ปีแล้วแต่เขาก็ยังกระตือรือร้นและเขียนหนังสือการลงทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง เขาเป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยพรินซตันและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สิ่งที่ทำให้โบเกิลมีชื่อเสียงโด่งดังเคียงข้าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็คือ การที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนรวมอิงดัชนี S&P 500 ในปี 1974 หรือกว่า 30 ปีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนอิงดัชนีที่ขายหน่วยลงทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นกองแรก โดยที่กองทุนอิงดัชนีนี้ เขาได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยของ ยูจีน ฟามา เบอร์ตัน มาลคีล และพอล แซมมวลสัน ปรมาจารย์ทางด้านวิชาการลงทุนที่ค้นพบทฤษฎี "ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ" ที่บอกว่า ราคาหุ้นในตลาดนั้นมีราคาเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเลือกหุ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุนก็คือ ซื้อหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนีหรืออยู่ในตลาด ไม่ต้องจ้างคนมาเลือกหุ้นลงทุนที่ทำให้สิ้นเปลืองซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนลดลง


กองทุนอิงดัชนีของแวนการ์ดนั้น คิดค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนต่ำมาก ระดับแค่ 0.1 หรือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่น่าจะเกิน 0.5% ในขณะที่กองทุนทั่วไปที่มีผู้บริหารเลือกซื้อขายหุ้นนั้นมีต้นทุนสูง มาก โดยเฉลี่ยน่าจะถึง 4-5% ต่อปี ดังนั้น โอกาสที่กองทุนทั่วไปจะทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนอิงดัชนีจะน้อยมาก สถิติคร่าวๆ ก็คือ กองทุนอิงดัชนีสามารถเอาชนะกองทุนทั่วไปกว่า 70% ของกองทุน ผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมของกองทุนอิงดัชนีทำให้กองทุนอิงดัชนีได้รับความนิยมสูงมาก กลายเป็น "กระแส" ที่มาแรงและกลายเป็นกองทุนที่คนจำนวนมากเลือกที่จะลงทุน ส่งผลให้ชื่อของ โบเกิล ในฐานะ "ผู้ริเริ่ม" กลายเป็น "ตำนาน" ของนักลงทุนแห่งศตวรรษคนหนึ่ง


โบเกิลเองนั้น ไม่ได้แค่บริหารกองทุนรวมอิงดัชนี เขาให้คำแนะนำและเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับนักลงทุนทั่วไป ผลงานการเขียนของเขามีหลายเล่ม อิทธิพลต่อนักลงทุนของเขาได้รับการยอมรับอย่างสูง นิตยสารไทม์ในปี 2004 จัดให้เขาเป็น "บุคคลที่มีอิทธิพลต่อประชาชนสูงที่สุด 100 คนของโลก" และต่อไปนี้คือกฎพื้นฐาน 8 ข้อ สำหรับคนที่จะซื้อกองทุนรวมเพื่อการลงทุนของโบเกิล


1.เลือกซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีที่มีต้นทุนต่ำ นี่มาจากพื้นฐานที่กล่าวแล้วว่า ผู้จัดการการลงทุนนั้น ไม่สามารถที่จะเลือกหุ้นได้ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าต้นทุนต่ำ ผลตอบแทนก็จะสูง


2.พิจารณาอย่างรอบคอบถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากคำแนะนำต่างๆ ข้อนี้ก็คล้ายๆ กับข้อแรก เขาคิดว่าคำแนะนำส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์และไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป


3.อย่าให้ค่ากับผลงานในอดีตของกองทุนมากเกินไป เขาเชื่อว่าอดีตไม่ได้บอกว่าอนาคตกองทุนจะบริหารได้ดีเหมือนกับที่ผ่านมา


4.ใช้ผลงานในอดีตที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนมีความสม่ำเสมอของผลงานและมีความเสี่ยงขนาดไหน


5.ระวัง "ดารา" นี่ก็คือ ผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น "ดารา" มีผลงานที่โดดเด่น เพราะดาราเหล่านี้ ในอนาคตก็มักจะ "ตกอับ" ผลงานแย่ลงหลังจากที่เราเข้าไปลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของเขา


6.ระวังขนาดของกองทุน เพราะเมื่อกองทุนยังเล็กนั้น หลายกองทุนอาจจะทำผลงานได้อย่างโดดเด่น แต่เมื่อกองทุนใหญ่ขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนก็มักจะแย่ลง


7.อย่าลงทุนในหลายๆ กองทุนเกินไป เพราะมันไม่มีประโยชน์ การคิดว่ากองนั้นบริหารได้ดี กองนี้มีนโยบายที่น่าสนใจ และอื่นๆ นั้น ไม่ได้เพิ่มผลตอบแทนให้เรา


8.ซื้อกองทุนเท่าที่เหมาะสมกับตนเองแล้วถือไว้ ไม่ต้องไปซื้อๆ ขายๆ ตามภาวะตลาดหรือเปลี่ยนกองทุนหรือผู้บริหารกองทุนไปๆ มาๆ


การลงทุนซื้อกองทุนรวมนั้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีเวลาหรือความสามารถในการวิเคราะห์หุ้น ในประเทศไทยเองนั้นดูเหมือนว่าคนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจะมีค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับในตลาดหุ้นสหรัฐที่นักลงทุนรายย่อยมักจะลงทุนผ่านกองทุนรวมในขณะที่นักลงทุนรายย่อยบ้านเรานั้นชอบลงทุน "เล่นหุ้น" เอง ว่าไปแล้ว กองทุนรวมหุ้นที่มีคนซื้อมากดูเหมือนว่าจะเป็นกองทุน LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่คนลงทุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเป็นหลัก นอกเหนือไปจากนั้นก็จะเป็นการซื้อกองทุนรวมที่มีผู้บริหารกองทุนเลือกซื้อหุ้นซึ่งผลงานการลงทุนดูเหมือนว่าจะไม่น่าประทับใจนัก


สำหรับคนที่ลงทุนซื้อกองทุนรวม กองทุนที่อิงดัชนีดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เหตุผลเป็นอย่างไรผมก็ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนเชียร์หรือชี้ให้เห็นถึงผลงานและข้อดีของกองทุนอิงดัชนีอย่าง จอห์น โบเกิล ก็ได้ และถ้าเป็นสาเหตุนี้ ผมเองก็ขอแนะนำไว้ ณ ที่นี้เลยว่า การลงทุนในกองทุนหุ้นที่อิงดัชนีคือการลงทุนในกองทุนรวมที่ดีที่สุด และนี่ไม่ใช่ผมคนเดียวที่เห็นอย่างนั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองแนะนำว่า สำหรับนักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป กลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนีที่มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุด

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
//www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20110531/393133/จอห์น-โบเกิล.html




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 13:57:20 น.
Counter : 465 Pageviews.  

เศรษฐกิจกับการเมือง

สมัยที่ผมทำงานอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย งานหนึ่งที่ต้องทำตามหน้าที่ ก็คือ การชี้แจงให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ


ซึ่งคำถามมักจะมากเป็นพิเศษ ช่วงที่ประเทศมีความไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะนักลงทุนห่วงผลกระทบของการเมืองที่จะมีต่อเศรษฐกิจ การชี้แจงบ่อยครั้งจะออกมาในแนวว่า ผลกระทบของการเมืองต่อเศรษฐกิจจะจำกัด เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี ภาคเอกชนมีความสามารถสูงที่จะปรับตัว และภาครัฐมีพื้นที่ทางนโยบายพอที่จะทำมาตรการเพิ่มเติม เพื่อดูแลผลกระทบไม่ให้รุนแรง ซึ่งการชี้แจงดังกล่าวก็พอไปไหว และเศรษฐกิจก็ปรับตัวได้จริง สามารถคงการขยายตัวได้ มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่กรณี และที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะภาคส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่สำคัญ มักไม่ได้ถูกกระทบจากเหตุการณ์การเมืองในประเทศ


แต่ลึกๆ แล้ว ผมเองก็ตระหนักดีว่า แม้การเมืองจะไม่กระทบเศรษฐกิจมากในแง่การเติบโตระยะสั้น แต่สิ่งที่กระทบเศรษฐกิจมาก ก็คือ การเสียโอกาส ที่เศรษฐกิจจะได้ประโยชน์จากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องระยะยาวของประเทศ และที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ได้ทำให้นักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศต้องเสียเวลามากกับการเมืองระยะสั้น ทำให้ไม่มีเวลามากพอที่จะคำนึงถึงเรื่องที่จะสำคัญต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่ออกมา จึงตอบสนองปัญหาระยะสั้นที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ และในหลายเรื่อง สิ่งที่ทำไปเพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น ก็อาจสร้างปัญหาระยะยาวเพิ่มเติมให้กับประเทศได้


ในการบริหารเศรษฐกิจ การตัดสินใจทางนโยบายที่คำนึงถึงผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการตัดสินใจดังกล่าวสามารถให้ผลที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ พอๆ กับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่เราคุ้นเคยกัน ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะการตัดสินใจที่คำนึงถึงผลระยะยาว จะช่วยทำให้การทำนโยบายผิดพลาดน้อยลง เพราะมีการมองรอบด้านถึงผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งประโยชน์ที่ตามมา ก็คือ เศรษฐกิจจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จากนโยบายที่ทำได้ดีต่อเนื่อง ในเอเชียหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในการทำนโยบายก็ประสบความสำเร็จในการผลักดันการพัฒนาประเทศไปสู่ระดับที่สูงขึ้น เช่น ในกรณีของ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ตรงกันข้าม ถ้านโยบายเศรษฐกิจไม่สนใจเรื่องระยะยาว หรือไม่คำนึงถึงผลระยะยาวที่จะเกิดต่อเศรษฐกิจจากการตัดสินใจเรื่องนโยบายวันนี้ เศรษฐกิจก็อาจเปลี่ยนจากที่เคยเข้มแข็งมาเป็นอ่อนแอหรือหยุดนิ่งในการพัฒนาได้ ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้อง จึงสำคัญต่ออนาคตและศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ


ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ที่การเมืองของเราขาดเสถียรภาพ พูดได้ว่าเศรษฐกิจก็ได้เสียโอกาสในลักษณะนี้เช่นกัน เพราะข้อมูลเศรษฐกิจชี้ชัดว่าปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างที่เรามีอยู่ ไม่ได้ทุเลาลง และในบางด้านก็รุนแรงขึ้น กล่าวคือ


หนึ่ง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ได้ดีขึ้นมาก ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สอง ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศรุนแรงขึ้น สาม ความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง และ สี่ ความสามารถของประชาชนที่จะดูแลตัวเอง หรือปรับตัวจากปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ก็ลดลง เห็นได้จาก สัดส่วนเงินอุดหนุนและเงินโอนที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่ภาคเอกชน ในงบประมาณประจำปีได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 12.4 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 19.9 ในปี 2553 สิ่งเหล่านี้สะท้อนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ประเทศติดหล่มอยู่ในกับดักการพัฒนาประเทศได้


ใครที่เคยเรียนวิชาพัฒนาเศรษฐกิจ คงจะคุ้นกับคำว่า กับดักการพัฒนาประเทศ ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจ หลังจากที่ได้พัฒนามาระดับหนึ่ง ก็ติดหล่ม คือ ติดอยู่ในกับดักไม่สามารถก้าวไปสู่การพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นได้ ในกรณีของไทย กับดักที่ต้องระวัง ก็คือ กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง หรือ Middle Income Trap ที่ตอนเริ่มต้นประเทศสามารถพัฒนาและเติบโตในอัตราที่สูงได้ โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และ ค่าแรงงานที่ต่ำ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากประเทศรายได้ต่ำ เข้าสู่สถานะประเทศรายได้ปานกลาง แต่หลังจากนั้น การพัฒนาก็หยุดนิ่ง เพราะไม่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้ก้าวต่อ ไปสู่การพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากไม่สามารถปรับปรุง หรือเปลี่ยนความสามารถของเศรษฐกิจ จากเศรษฐกิจที่เติบโตโดย ค่าแรงงานต่ำไปสู่เศรษฐกิจที่เติบโตโดยประสิทธิภาพ และการใช้ความรู้ความสามารถของคนในประเทศในระดับที่สูงขึ้น เมื่อการผลักดันทำไม่ได้ การพัฒนาเศรษฐกิจก็เหมือนหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรใหม่ ซ้ำยังถูกกดดันจากการแข่งขันของประเทศใหม่ที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ทำให้ความสามารถในการหารายได้ของประเทศ ถูกบั่นทอนลงเรื่อยๆ


ประเทศไทย จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัญหาระยะยาวของประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงกับดักนี้ และผลักดันเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น การก้าวข้ามกับดักนี้ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพราะหลายประเทศได้ทำสำเร็จมาแล้ว และอีกหลายประเทศก็กำลังทำอยู่ ของเราก็ต้องทำเช่นกัน และจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะช่วยให้เราก้าวข้ามกับดักนี้ ก็คือ การตัดสินใจนโยบายเศรษฐกิจ จะต้องให้ความสำคัญต่อผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวเสมอ (always make policy with a long-term view) เพื่อไม่สร้างปัญหาหรือข้อจำกัดเพิ่มเติมให้กับเศรษฐกิจในอนาคต คือ ถ้าสิ่งที่ทำวันนี้ แม้จะดูดีในระยะสั้น แต่จะให้ผลเสียหรือสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว ก็ต้องไม่ทำ ตรงกันข้าม ถ้านโยบายจะให้ผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว แต่มีต้นทุนหรือสร้างผลกระทบต่อการปรับตัวของเศรษฐกิจมากในระยะสั้น ก็ควรต้องทำ ประเทศที่ยึดหลักการนี้ในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะมักจะไปได้ดี สามารถลดปัญหาและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจได้ เราเองก็ต้องทำเหมือนกัน ถ้าจะให้ประเทศก้าวไปสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น


แต่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับนักการเมืองโดยตรง เพราะนักการเมืองเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ ดังนั้น สิ่งที่เศรษฐกิจต้องการจากการเมือง ก็คือ การตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงผลที่จะมีต่อเศรษฐกิจและต่อประเทศในระยะยาว


ดร.บัณฑิต นิจถาวร
คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์บัณฑิต"
//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/bandid/20110523/391884/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.html




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 11:08:47 น.
Counter : 508 Pageviews.  

ทฤษฎีเล่นหุ้น'นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี'

นายแพทย์หนุ่มไม่ได้เกิดมาพร้อมมรดกพันล้านแต่วันนี้เขาเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น(เงินสด)2,000 ล้านบาท ความสำเร็จแลกมาด้วยความพยายาม'ขั้นกว่า'

ลังเรียนจบคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ รุ่น 34 สาขาหู คอ จมูก เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เรียนมาได้เพียง 2 ปี นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี หักเหชีวิตครั้งสำคัญไปเทคคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับความงามในต่างประเทศ เขาใช้เวลาร่ำเรียนอย่างหนักเป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับมาเปิดคลินิกของตัวเองใช้ชื่อ พงศ์ศักดิ์คลินิก สาขาแรกที่จังหวัดระยอง

ปัจจุบันนายแพทย์หนุ่มใหญ่วัย 47 ปีรายนี้เป็นนักธุรกิจเจ้าของคลินิกความงามที่มีสาขาทั่วประเทศมากถึง 50 สาขา อีกบทบาทหนึ่งเขาเป็น Value Investor (วีไอ) ชั้นแนวหน้า

หลังได้อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เมื่อหลายปีก่อน ชีวิตของหมอหนุ่มเกิดแรงบันดาลใจก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นจนถอนตัวไม่ขึ้น เริ่มลงทุนครั้งแรกประมาณปี 2547 ด้วยเงินทุนประเดิม 2-3 ล้านบาท ประสบความสำเร็จมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีพอร์ตเงินสดประมาณ 2,000 ล้านบาท และเป็นนักลงทุน "รายบุคคล" รายใหญ่ระดับแนวหน้าของประเทศ

คุณหมอนักลงทุนเปิดฉากเล่าหลักการลงทุนของตัวเองให้ฟังว่า จะผสมผสานรูปแบบทั้งของส่วนตัวและหลักคิดของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เข้าด้วยกัน ข้อที่ 1. ผมจะไม่ทำตัวเป็นเพียงนักลงทุนธรรมดาคนหนึ่ง แต่จะทำตัวเหมือนเป็น "เจ้าของบริษัท" คนหนึ่ง (ซื้อธุรกิจไม่ใช่แค่ซื้อหุ้น) ผมต้องการรู้ทุกซอกทุกมุมของบริษัทที่ผมเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้ แหล่งที่มาของกำไร ต้นทุนของบริษัท รวมถึงกระบวนการบริหารงานทั้งหมด

ข้อ 2. ผมจะเลือกซื้อธุรกิจที่ "กำลังเติบโต" (Growth-Expansion) ถ้าหาเจอแล้วจะรอจังหวะซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์แย่ๆ เราต้อง "กล้าโลภ" (ซื้อ) ในเวลาที่มีเหตุการณ์แย่ๆ และควร "กลัว" หากทุกอย่างดูดีมากๆ

"ก่อนที่ผมจะทำทั้ง 2 ข้อนี้ ผมจะวิเคราะห์งบการเงินดูฐานะการเงินแต่ละปีของบริษัท (ศึกษาอดีต-เข้าใจปัจจุบัน และทำนายอนาคต) แล้วพยายามอ่านเกมล่วงหน้าไปอีก 5 ปี เพราะจะทำให้เรารู้ว่าควรลงทุนหุ้นตัวนี้ในระดับเท่าใด ควรถือหรือควรขาย"

นิยามของหุ้นที่ธุรกิจ "กำลังเติบโต" ของคุณหมอ หมายถึง บริษัทนั้นต้องมีอัตราการเติบโตปีละ 15-25% นอกจากธุรกิจอยู่ในช่วง Growth Story แล้ว บริษัทนั้นจะต้องมีทุกอย่าง "เหนือกว่าคู่แข่งขัน" ในธุรกิจเดียวกัน

สำหรับหุ้นที่คุณหมอจะไม่เข้าไปแตะต้องคือ หุ้นที่ไม่เข้าใจที่มาของโครงสร้างรายได้ และโครงสร้างการบริหารจัดการซับซ้อนซ่อนเงื่อน หุ้นประเภทนี้จะไม่ลงทุนเลยเพราะไม่อยากมานั่ง Cut Loss และเสียเวลาลงทุนเปล่าๆ

"ที่ผ่านมาก็ไม่เคย Cut Loss (ตัดขาดทุน) นะ จะทำก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นจนทำให้พื้นฐานของประเทศเปลี่ยนแปลง แต่ลึกๆ แล้วต่อให้มีเรื่องร้ายแรงมากๆ ผมก็คงไม่ขายง่ายๆ เพราะหุ้นทุกตัวที่ลงทุนจะวิเคราะห์มาดีแล้ว ขนาดเกิดปัญหาแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส (ปี 2551) คนอื่นขายหมด แต่ผมนั่งเก็บหุ้น (ราคาถูก) เข้าพอร์ต..เหมือนเก่งนะ! แต่เปล่าเลย แค่ทำตามความเชื่อ และข้อมูลที่มีอยู่ในมือเท่านั้น"

นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า การที่จะลงทุนสวนทางกับคนส่วนใหญ่ได้นั้นเราต้องมั่นใจ และมีข้อมูลที่แน่นพอ ต่อให้พลาดก็คงน้อย ส่วนใหญ่ถ้ารู้ว่า "ลงทุนผิด" ประมาณว่าข้อมูลที่ได้มาทีหลังผิดไปจากเดิม "ผมจะขายหุ้นออกทันที" โดยไม่ดูด้วยซ้ำว่าตอนนั้น “ขาดทุน” หรือ “กำไร” แต่บางครั้งขาดทุน 10-20% แล้ว แต่ถ้ามั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่ชัวร์! แน่ๆ ก็จะ "ซื้อเพิ่ม"

ผู้ใช้รหัสลับ Imagination ในเว็บไซต์ Thaivi.org บอกต่อว่า หุ้นตัวไหนมีธุรกิจซับซ้อนแต่ถ้าศึกษาจนแน่ใจ 80% แล้ว ก็จะปักธง "ซื้อ" แต่จะใช้วิธี "ทยอยเก็บ" ให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ

เช่น ถ้าตั้งใจจะซื้อ 100% ก็จะเก็บก่อนเลย 50% จากนั้นก็ "ทยอยซื้อ" ไปเรื่อยๆ จนครบ แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่มีอะไรซับซ้อนเข้าใจง่ายจะ "ซื้อตูม" ทีเดียวเลย

"วันนี้ในพอร์ต 2,000 ล้านบาทของผมมีหุ้นเกียรติธนาขนส่ง (KIAT) ไอที ซิตี้ (IT) บัตรกรุงไทย (KTC) อิโนเวรับเบอร์ (IRC) จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ส่วนใหญ่ในพอร์ตจะมีหุ้นไม่เกิน 8-9 ตัว มากกว่านี้ดูแลไม่ไหว หุ้นทุกตัวผมจะศึกษาหาข้อมูลเองทั้งหมดและใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่ค่อยฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำเท่าไร"

ช่วงแรกๆ มาร์เก็ตติ้งเคยโทรศัพท์มาบอกให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้..ดีนะ!! แต่ก็ไม่เคยซื้อตาม เขาเลยเลิกบอกไปเลย (หัวเราะ) คุณหมอ บอกว่า ถ้าอยากซื้อหุ้นตัวไหนจะสั่งซื้อ (ที่ราคาตลาด) เลย ไม่ต้องบอกให้มาร์เก็ตติ้งตั้งรอแบบนั้นเสียเวลาเปล่าๆ ก่อนหน้านี้มีหุ้น MAKRO และ MBK แต่ขายไปแล้ว ไม่ใช่สองตัวนี้ไม่ดีนะ แต่พอดีมีตัวอื่นที่ดีกว่า เลยตัดสินใจโยกเงินลงทุน

ถามว่าภายในปีนี้มีโอกาสหาตัวอื่นมาทดแทนช่องว่างที่หายไปหรือไม่..."ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ 5-6 ธุรกิจ ภายใน 1-2 เดือนนี้ คงได้เห็นความเคลื่อนไหว (ใหญ่) ของผม"

นพ.พงศ์ศักดิ์ ให้สังเกตดูดีๆ จะเห็นว่าหุ้นตัวหลักที่ถือ (KIAT, JAS, CPN, HMPRO, IT, KTC, IRC) จะเห็นชื่ออยู่ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆ ที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้มีเจตนาจะเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ และไม่ต้องการเข้าไปบริหารงานแทนเจ้าของเดิม "ไม่ต้องกลัว" การถือหุ้นเยอะผมแค่อยากรู้สึกว่าได้เป็น “เจ้าของบริษัท” โดยที่ไม่ต้องลงแรงเท่านั้นเอง ทุกวันนี้มีคลินิกความงาม 50 สาขาก็ดูแลกิจการไม่ไหวแล้ว คงไม่ไปเทคโอเวอร์ใครแน่ให้คนเก่ง (เจ้าของบริษัท) เขาดูแลไปดีกว่า

เจ้าของเครือข่ายพงศ์ศักดิ์คลินิกวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เริ่มเข้าซื้อหุ้น เกียรติธนา ขนส่ง (KIAT) เมื่อปี 2553 สาเหตุที่ซื้อหุ้นตัวนี้หลังนำราคาหุ้นช่วงนั้นที่ซื้อขายราวๆ 4 บาท มาเทียบกับมูลค่างานที่มีอยู่ในมือ ถือว่าราคาหุ้นตอนนั้น "ถูกมาก" ช่วงนั้นวิเคราะห์ว่าราคาเหมาะสมในปี 2553 ของหุ้น KIAT ควรจะอยู่ที่ 12 บาท ส่วนปี 2554 ก็เชื่อว่าราคาเป้าหมายจะสูงกว่านั้นเพราะฉะนั้นราคาหุ้นคงไปต่อได้

"ผมคำนวณราคาเป้าหมายหุ้น KIAT ในใจไว้แล้ว แต่ขอไม่บอกเดี๋ยวมีคนหาว่า..ผมปั่นหุ้น"

นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ยิ่งมาวิเคราะห์กำไรสุทธิที่อาจเกิดขึ้นในปี 2554 ก็จะเห็นทันทีว่า บริษัทอาจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหาร (เกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์) เขาเก่ง บริหารค่าใช้จ่ายได้ยอดเยี่ยมแถมยังมีแผนจะขยายงานในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หากทุกอย่างยังโอเคแบบนี้ ผมก็คงถือหุ้นตัวนี้ไปเรื่อยๆ

แต่ตอนนี้คงไม่ซื้อเพิ่มแล้วเท่าที่มีหุ้นอยู่ในมือ (สัดส่วน 14.95%) ก็เยอะมากแล้ว ส่วนหุ้น ไอที ซิตี้ (IT) เริ่มซื้อลงทุนเมื่อ 5 ปีก่อน ชอบเพราะมองว่าอนาคตเทคโนโลยีจะอยู่คู่กับทุกคน ตอนนี้คนไทยยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้น้อยมาก มองว่าความต้องการคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ IT เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการทำธุรกิจสูงมาก ไม่มีหนี้สิน เงินสดเยอะมาก

"ผมชอบหุ้นลักษณะนี้มากคุ้มค่าต่อการลงทุน คิดดูขนาดเกิดวิกฤตซับไพร์ม ผมยังซื้อหุ้น IT เก็บไว้เลย ตอนนี้ประเมินราคาเหมาะสมในใจแล้ว ก็คงถือ (สัดส่วน 6.15%) ต่อไปเรื่อยๆ แต่อาจไม่ซื้อเพิ่มแล้ว"

สำหรับหุ้น บัตรกรุงไทย (KTC) นพ.พงศ์ศักดิ์ ถืออันดับ 5 จำนวน 5 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.94% หุ้น KTC เจ้าตัวบอกว่า เพิ่งซื้อมาปีนี้ (2554) เห็นว่าราคายังต่ำเมื่อเทียบกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

"ผมมองหุ้น KTC กำลังจะเป็นหุ้น "เทิร์นอะราวด์” จะกลับมากำไรมากๆ หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น และบริษัทนี้ตั้งสำรองลดลงจากปีที่ผ่านๆ มา ถามว่าจะซื้อเพิ่มอีกหรือไม่ ก็คงไม่แล้ว"

หุ้น จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล JAS ถืออันดับ 7 จำนวน 127 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.72% คุณหมอบอกว่า หุ้น JAS ซื้อมาเมื่อปี 2553 ที่ซื้อเพราะชอบ "เนื้อธุรกิจบรอดแบรนด์" วันที่ซื้อมองว่า ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจจะเติบโตสูงกว่านี้ ประเมินจากความต้องการใช้บรอดแบนด์ยังมีอยู่ค่อนข้างสูง ตอนที่ซื้อ (ปี 2553) ราคา "ยังไม่แพง" เมื่อเทียบกับอนาคต ตัวนี้จะเก็บเพิ่มหรือไม่ ยังไม่รู้..บอกไม่ได้

เจ้าของพอร์ตหุ้นพันล้านพูดถึงหุ้น โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) ถืออันดับ 14 จำนวน 37.33 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.86% ว่า ตัวนี้ลงทุนมานาน 4-5 ปีแล้ว ซื้อตอนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เหมือนกัน ช่วงนั้นราคาตกลงมาเยอะ

"ผมรักหุ้นตัวนี้ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์มักจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ HMPRO ถือเป็นศูนย์รวมอุปกรณ์ตกแต่งบ้านรายใหญ่ของเมืองไทย บริษัทนี้ผู้บริหาร (คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล) เขาทำงานเก่ง พยายามสร้างตราสินค้าของตัวเอง (เฮ้าส์แบรนด์) ตอนที่ซื้อหุ้น HMPRO สาขายังมีไม่มาก ตอนนี้ไปตรงไหนก็เจอแต่สาขาโฮมโปร จะซื้อหุ้นเพิ่มอีกหรือไม่ ยังไม่รู้เหมือนกัน"

ส่วนหุ้น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ถือหุ้นอันดับ 36 จำนวน 13 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.60% ตัวนี้ซื้อเมื่อปี 2553 ช่วงนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงเผา Central World พอดี ถามว่าไม่กลัวหรือ! ผมมองมันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น เดี๋ยวเขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่แล้วราคาหุ้นก็จะกลับมาเอง

นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า เซ็นทรัลพัฒนาถือเป็นบริษัทที่มีอนาคต บริษัทนี้ยังมีแรงเติบโตอีกมาก ลองคิดดูทุกห้างในเครือเซ็นทรัลมีผู้เช่าแล้วกว่า 95% และ 20 จังหวัดใหญ่ๆ ในเมืองไทยยังต้องการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง CPN มีโอกาสไปตั้ง สำหรับหุ้น อิโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) หรือ IRC ถือหุ้นอันดับ 8 จำนวน 3.6 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.80% นพ.พงศ์ศักดิ์ ไม่ได้พูดถึงเหตุผลในการซื้อ

“พอร์ตผมใหญ่ก็จริง แต่ไม่เคยมีห้องเทรดหุ้น VIP ที่ต้องมีคอมพิวเตอร์ 7-8 ตัว มีแต่สายตรงต่อถึงตัวมาร์เก็ตติ้ง ผมไม่เคยไปห้องค้าเลยเชื่อมั้ย!! เพราะไม่รู้จะไปทำไม การเทรดหุ้นมันไม่ใช่แนวทางของผม ขอเล่นหุ้นตามแบบฉบับเรียบง่ายของผมดีกว่า”

ปัจจุบัน นพ.พงศ์ศักดิ์ สนใจลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดหุ้นแถบเอเชีย เจ้าตัวมองว่าราคาหุ้นยังต่ำ เสี่ยงน้อย ถือว่าโอเคมาก แต่ตอนนี้ยังไม่เข้าใจในเนื้อธุรกิจและกฎระเบียบเท่าไร ลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูเรื่องภาษี และการโอนเงินด้วยว่าเป็นอย่างไร

"หากเลือกตัวหุ้นที่จะลงทุนได้แล้ว ผมคงหาเวลาไปเยี่ยมชมกิจการของเขา คงเข้าไปชิมลางก่อนสัก 5% ของพอร์ตลงทุน ถ้าประสบผลสำเร็จก็คงทยอยเพิ่มสัดส่วนไปเรื่อยๆ แต่คงใช้บริการซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เมืองไทยน่าจะปลอดภัยที่สุด"

ที่มีพอร์ตใหญ่ระดับ 2,000 ล้านบาท นพ.พงศ์ศักดิ์ พูดถ่อมตัวว่าไม่ได้เก่งกว่าคนอื่น มันเป็นโอกาสและจังหวะมากกว่า และไม่ได้หวังมากอบโกยผลประโยชน์จากใคร (รายย่อย) จริงๆ ไม่อยากออกสื่อเพราะทุกวันนี้คนมองภาพนักลงทุน “ติดลบ” คิดว่าจะเข้ามาเก็งกำไร

"ผมอยากบอกว่านักลงทุนสมัยนี้ฉลาดกันทุกคน เห็นได้จากกลุ่ม Value Investor ก่อนลงทุน พี่ๆ น้องๆ ทุกคนจะทำการบ้านกันอย่างหนัก ไม่ได้เข้ามาหาเงิน (ปั่นหุ้น) แล้วก็ไปเหมือนสมัยก่อน ผมว่า..ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว" นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

//www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20110524/391770/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%9E.%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 10:39:54 น.
Counter : 804 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.