In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 

ทฤษฎี VI (2)

การหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ หรือที่ภาษานักวิชาการเรียกว่า Intrinsic Value นั้น สำหรับ VI แล้ว มันน่าจะเป็นช่วงมากกว่าเป็นตัวเลขที่แน่นอนเพียงตัวเดียว หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องขึ้นไปอีก ก็คือ เราไม่พูดว่ามันควรมีค่ากี่บาทถึงกี่บาท แต่เรามักพูดว่ามันถูกหรือถูกมาก หรือมันแพงหรือแพงมาก การวัดความถูกความแพงของหุ้นนั้น ข้อมูลที่ VI นิยมใช้มากที่สุดน่าจะรวมถึงค่า PE หรือราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรของกิจการ ค่า PB หรือราคาหุ้นเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีของหุ้น ค่า DP หรือปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield และสุดท้ายก็คือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดของกิจการหรือค่า Market Cap. นอกจากนั้น VI บางคนก็ยังใช้ค่า PEG ซึ่งก็คือค่า PE หารด้วยอัตราการเจริญเติบโตของกำไรของบริษัทด้วย

หุ้นที่ถูกสำหรับ VI ก็คือหุ้นที่มีค่า PE หรือค่า PB ต่ำกว่าค่า PE หรือค่า PB เฉลี่ยของตลาดหรือมีค่า DP สูงกว่าค่า DPเฉลี่ยของตลาด VI ส่วนใหญ่มักจะดูค่า PE เป็นตัวหลักและดูค่า PB และDP เป็นตัวประกอบ
ประเด็นสำคัญก็คือ ค่า E หรือกำไรนั้น จะนำมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อกิจการมีความสม่ำเสมอของผลประกอบการเท่านั้น ส่วนบริษัทที่มีกำไรที่ไม่สม่ำเสมอนั้น จะต้องใช้กำไรเฉลี่ยในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา หรือใช้กำไรในปีที่ต่ำที่สุดในช่วง 3-4 ปีมาแทนกำไรในปีปัจจุบัน และในเกือบทุกกรณี ค่าของ Market Cap. จะเป็นตัวที่ใช้ตรวจสอบว่ามูลค่าตลาดของกิจการนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องมองดูขนาดของธุรกิจและศักยภาพของกิจการในอนาคตเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การดู Market Cap. นั้นค่อนข้างเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยประสบการณ์มาก

กรณีที่หุ้นเป็นกิจการที่มีคุณภาพสูง ค่า PE หรือ PB ที่จะบอกว่าหุ้นถูกอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้จากค่าเฉลี่ยของตลาด โดยที่คุณสมบัติของกิจการที่มีคุณภาพสูงอาจจะแสดงได้โดยตัวเลขหรือลักษณะการดำเนินการของกิจการดังต่อไปนี้คือ

1. กิจการนั้นมี ROE หรือผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงกว่าปกติ เช่นมากกว่า 20% ต่อปีอย่างต่อเนื่องยาวนาน

2.กิจการมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสูงกว่ากำไรทางบัญชีของบริษัท

3.บริษัทเป็น Dominant Firm หรือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมากอย่างน้อยกว่า 2-3 เท่าขึ้นไป

4.บริษัทสามารถขยายงานได้โดยใช้เงินลงทุนน้อยมาก ข้อนี้จะพบมากในบริษัทที่ขายทรัพย์สินทางปัญญาหรือบริการที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใหม่มาก

5.บริษัทสามารถปรับราคาขายสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ทันทีโดยไม่สูญเสียลูกค้าไป และสุดท้ายที่สำคัญก็คือ

6.บริษัทมีการเจริญเติบโตเร็ว อย่างน้อยเป็น 3 เท่าของการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ Premium หรือค่า PE ที่สูงขึ้นของกิจการที่มีคุณภาพสูงนั้น จะสูงขึ้นได้เท่าไรเป็นเรื่องที่บอกได้ยาก แต่ยิ่งบริษัทมีคุณภาพสูงขึ้นเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลาย ๆ ข้อดังกล่าวข้างต้น ค่า PE ก็มักจะมีค่าสูงทบทวีขึ้นไปมากขึ้น ในบางช่วงโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเอื้ออำนวย ค่า PE ของกิจการที่เป็น “Super Company” สามารถขึ้นไปสูงได้อย่างไม่น่าเชื่อและเกินกว่าราคาที่ Value Investor ส่วนใหญ่จะรับได้

โดยทั่วไปในกรณีที่กิจการเป็นบริษัทที่โตเร็ว VI บางคนก็จะยอมรับค่า PE ที่สูงขึ้นได้โดยมีเงื่อนไขว่า ค่า PE ที่สูงนั้นต้องไม่เกินอัตราการเจริญเติบโตของบริษัทโดยเฉลี่ยในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า นั่นก็คือ ค่า PEG ต้องไม่มากกว่า 1 เท่า

การซื้อหุ้นของ VI นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการขายหุ้น สำหรับคนที่ลงทุนในกิจการที่ดีเลิศแบบ Super Company อย่าง วอร์เรน บัฟเฟ ตต์นั้น เขาบอกว่าถ้าซื้อหุ้นถูกตัวแล้ว ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นเลย

เวลาที่ซื้อหุ้นของ VI ก็คือเมื่อเขาพบหุ้นที่มีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาหุ้นในตลาดมาก ตัวเลขชัดเจนนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคนและแต่ละหุ้นแต่โดยทั่วไปน่าจะไม่น้อยกว่า 20-30% และความแตกต่างนี้เรียกว่า Margin Of Safety ซึ่ง VI เชื่อว่าจะเป็นส่วนที่ “เผื่อ” เอาไว้ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือมีอะไรผิดพลาด หุ้นที่ซื้อโดยมี Margin Of Safety สูงก็ยังคงรักษามูลค่าของมันไว้ได้ พูดง่ายๆ ถ้าหุ้นตกลงไปจากราคาที่ซื้อ เราก็สามารถถือยาวและในที่สุดมันก็จะฟื้นตัวกลับมาได้

เวลาขายหุ้นสำหรับ VI นั้น ก็เช่นเดียวกับการซื้อหุ้น คือไม่ได้อิงกับภาวะเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้น และโดยทั่วไป การถือหุ้นมักจะเป็นระยะเวลาค่อนข้างยาวแม้ว่านิยามของคำว่ายาวของ VI แต่ละคนอาจจะต่างกันมาก เวลาของการขายหุ้นของ VI นั้นไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นเมื่อไรและจะขายเมื่อกำไรหรือขาดทุนเท่าไร แต่หลักๆ แล้วเขาจะขายในกรณีดังต่อไปนี้ 1.ตระหนักว่ากิจการหรือหุ้นที่ซื้อมานั้นตนเองวิเคราะห์ผิดพลาดเนื่องจากข้อมูลใหม่ที่ได้รับรู้มา 2.พื้นฐานของกิจการเปลี่ยนไปเนื่องมาจากเหตุผลต่างๆ ที่คาดไม่ถึง อย่างไรก็ตาม ข้อนี้ต้องระวังว่าไม่ใช่เรื่องที่เราเข้าใจผิดถึงพื้นฐานมาตั้งแต่แรก เพราะโดยทั่วไปพื้นฐานของกิจการนั้น มักเป็นเรื่องที่เปลี่ยนยาก ว่าที่จริง คำว่า “พื้นฐาน” ก็แปลว่า “เปลี่ยนยาก” อยู่แล้ว

3.ราคาหุ้นขึ้นไปเกินมูลค่าพื้นฐานแล้ว ซึ่งไม่ได้แปลว่าหุ้นขึ้นไปมากแล้ว เพราะการที่หุ้นขึ้นไปมากนั้นก็อาจจะไม่เกินพื้นฐานก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มูลค่าพื้นฐานของกิจการก็อาจจะเพิ่มขึ้นด้วยทำให้ราคาไม่เกินพื้นฐานแม้ราคาหุ้นจะขึ้นไปมาก 4.มีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจและมี Margin Of Safety สูงกว่ามากและเราไม่มีเงินสดเหลือ เราจึงต้องขายหุ้นตัวเดิมเพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นตัวใหม่ 5.ภาวะเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปมากจนทำลายพื้นฐานของกิจการ นี่ไม่ใช่เรื่องที่เศรษฐกิจถดถอยไปบ้างหรือการเมือง “วุ่นวาย” แต่น่าจะเป็นเรื่องของวิกฤติเศรษฐกิจหรือเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจไปในแนวทางที่ไม่ใช่ระบบตลาดเสรี เป็นต้น

By nives
//newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7463&user=nives




 

Create Date : 29 กันยายน 2552    
Last Update : 29 กันยายน 2552 12:18:38 น.
Counter : 466 Pageviews.  

ทฤษฎี VI (1)

Value Investment คืออะไร? นั่นเป็นคำถามที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ คำตอบที่ได้รับนั้นมักจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ “Value Investor” แต่ละคน ส่วนใหญ่แล้วคำตอบนั้นมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแนวความคิด “แบบ VI” ผมคิดว่าไม่มีคำตอบไหนที่จะอธิบายความหมายของ VI ได้อย่างสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะว่าแท้ที่จริงแล้ว VI นั้นเป็น “ปรัชญา” ที่อาจจะมีพื้นฐานจากแนวความคิดของ เบน เกรแฮม แต่หลังจากนั้นก็มีนักคิดและนักปฏิบัติคนอื่นที่ช่วยกันเสนอแนวความคิดเพิ่มเติมหลากหลาย

บางเรื่องก็แย้งกับแนวทางเดิมก็มีภาพรวมแล้ว พอจะบอกได้ว่าแนวทางแบบใดเป็นแบบ VI และแนวไหนไม่ใช่ และต่อไปนี้ก็คือความพยายามของผมที่จะรวบรวมแนวความคิดหลัก ๆ ของ VI ที่จะช่วยให้คนที่ยังสับสนว่าอะไรคือ VI และการลงทุนแบบ VI นั้นทำอย่างไร ผมอยากเรียกมันว่า “ทฤษฎี VI”

ทฤษฎี VI ของผมจะเริ่มจาก “โครงร่าง” ที่จะครอบคลุมประเด็นหลัก ๆ ของ VI ดังต่อไปนี้คือ ข้อแรก VI มองการลงทุนในหุ้นว่าคือการลงทุนในธุรกิจ พูดง่าย ๆ ซื้อหุ้นก็คือซื้อธุรกิจหรือถ้าจะให้ถูกต้องจริง ๆ ก็คือ ซื้อส่วนหนึ่งของธุรกิจ ไม่ใช่ซื้อกระดาษใบหนึ่งที่มีราคาขึ้นลงได้ ดังนั้น การวิเคราะห์หุ้นก็คือการวิเคราะห์ว่าธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ข้อสอง ต้องหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ซึ่งก็คือการหามูลค่าของธุรกิจ

นี่คือมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการที่ธุรกิจสามารถสร้างกระแสเงินสดให้เราได้ ไม่ใช่มูลค่าที่มีคนมาเสนอซื้อจากเรา ข้อสาม ซื้อหรือขายหุ้นเมื่อมีส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่แท้จริงกับราคาหุ้นในตลาด โดยที่ส่วนต่างนั้นมีมากพอ หรือเรียกว่ามี Margin Of Safety ข้อสี่ VI นั้นจะต้องมี EQ หรืออารมณ์ที่มั่นคง ไม่ถูกชักนำโดยจิตวิทยาสังคมหรือสภาวะของตลาดหลักทรัพย์ ข้อห้า ต้องควบคุมความเสี่ยง หรือเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม สุดท้ายก็คือ ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในมุมมองของ VI

ข้อแรกในเรื่องของธุรกิจนั้น VI จะพยายามแยกหุ้นออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้รู้ว่าคุณสมบัติทางธุรกิจของหุ้นนั้นเป็นอย่างไร การแยกแยะนั้นจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์อนาคตของกิจการได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น

การแบ่งกลุ่มของหุ้นที่ค่อนข้างกว้างก็คือแนวที่บัฟเฟตต์เรียกว่า กลุ่มหุ้น “ก้นบุหรี่” กับกลุ่มหุ้น “Super Company” โดยที่หุ้นก้นบุหรี่ก็คือหุ้นของบริษัทที่ไม่มีความสามารถโดดเด่นในการแข่งขัน ซึ่งทำให้ราคาของหุ้นอาจจะถูกมากจนอาจทำให้คุ้มค่าที่จะซื้อ ในขณะที่หุ้น Super Company นั้นเป็นหุ้นของกิจการที่มีความแข็งแกร่งมากและมี “ความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน” ซึ่งทำให้บริษัทสามารถทำกำไรดีกว่าปกติได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน หุ้นแบบหลังนี้ ถ้าเราสามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม มันก็จะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีได้เป็นเวลานาน

VI ชื่อดังอย่าง ปีเตอร์ ลินช์ เองได้เสนอการแบ่งกลุ่มบริษัทให้ละเอียดขึ้นเพื่อให้สามารถวิเคราะห์กิจการได้แม่นยำขึ้น เขาแบ่งกิจการออกเป็น 6 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแรก หุ้นโตช้า ซึ่งเขาบอกว่าไม่น่าสนใจลงทุน นี่น่าจะเป็นกลุ่มที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ตะวันตกดิน” กลุ่มสอง หุ้นแข็งแกร่ง นี่คือหุ้นของกิจการขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง เป็นหุ้นที่นักลงทุนเรียกว่าเป็น หุ้น “Blue Chip” หุ้นเหล่านี้จะโตไม่มากแล้ว คนลงทุนควรจะเน้นว่ามันจ่ายปันผลในอัตราที่ดีจึงจะน่าสนใจที่จะซื้อลงทุน

กลุ่มที่สาม คือหุ้นโตเร็ว นี่คือหุ้นที่มักจะมีขนาดเล็กลงมาแต่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นกิจการที่ยังมีความเสี่ยงและอาจจะไม่เข้มแข็งมาก แต่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้โดยรวมมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีเพราะราคาหุ้นจะปรับตัวไปสูงมากและเป็นเวลานาน

กลุ่มที่สี่ คือหุ้นวัฏจักร นี่คือกิจการที่มีผลประกอบการขึ้นและลงเป็นรอบ ๆ ที่ถ้าเราเข้าใจก็สามารถลงทุนซื้อและขายหุ้นในช่วงเวลาที่ถูกต้องได้ กลุ่มที่ห้า คือกลุ่มหุ้นฟื้นตัว นี่คือหุ้นของกิจการที่ประสบปัญหาหนักแต่กำลังฟื้นตัวหรือจะฟื้นตัวได้เนื่องจากเหตุผลบางประการเช่นบริษัทมีเงินสดมาก การซื้อหุ้นแบบนี้ก็จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากเมื่อกิจการฟื้นตัวแล้ว สุดท้าย หุ้นกลุ่มทรัพย์สินมาก นี่คือหุ้นของกิจการที่มีทรัพย์สินมากกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทและทรัพย์สินนั้นมีค่าจริง การลงทุนในหุ้นมีทรัพย์สินมากมักจะมีความปลอดภัยสูง

การแบ่งกลุ่มบริษัทนั้น สำหรับ VI คงไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับว่าเขาเข้าใจธุรกิจมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นข้อถกเถียงมากว่าเป็นแนวของ VI หรือไม่ก็คือในกรณีของ บิล มิลเลอร์ ซึ่งประกาศตัวว่าเป็น VI คนหนึ่ง แต่เขาลงทุนในหุ้นกลุ่มไฮเทคมากและประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้ง ๆ ที่หุ้นไฮเทคนั้น สำหรับ VI ส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นหุ้นในกลุ่มของ Growth Investor ซึ่งไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องของราคาถูกแพงของหุ้นซึ่งขัดกับแนวความคิดหลักของ VI ที่เน้นว่าต้องซื้อเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพื้นฐานเสมอ

บิล มิลเลอร์ เถียงว่า หุ้นที่เขาลงทุนนั้น แท้ที่จริงแล้วไม่ได้แพงเลยเมื่อมองถึงกระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการเหล่านั้นจะทำได้ในอนาคตที่อาจจะไกลออกไปหน่อยแต่ก็เป็นกระแสเงินสดที่มากและน่าจะคาดการณ์ได้เมื่อคำนึงถึงธรรมชาติของธุรกิจของหุ้นไฮเทคที่เขาซื้อเหล่านั้น

หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์กิจการนั้น นอกจากการที่ต้องพยายามจัดกลุ่มแล้ว เราต้องเข้าใจว่าบริษัทนั้น “หากิน” อย่างไร อะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาวและปัจจัยเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงได้เร็วและมากน้อยแค่ไหน การเข้าใจตัวธุรกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญมากของการลงทุนแบบ VI และก่อนที่จะลงทุนนั้น นักลงทุนจะต้องสามารถบอกเล่าเรื่องราวสั้น ๆ ที่ครอบคลุมหัวใจสำคัญของการดำเนินงานของธุรกิจหรือ “Story” ว่าทำไมหุ้นตัวนั้นถึง “น่าลงทุน”

By nives
//newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7429&user=nives




 

Create Date : 29 กันยายน 2552    
Last Update : 29 กันยายน 2552 12:17:15 น.
Counter : 572 Pageviews.  

ช่องทางการลงทุนหลังเกษียณอายุการทำงาน (ตอนที่1)

ถึงแม้ว่าระบบของตลาดการเงินในปัจจุบันจะพัฒนาและก้าวหน้าไปมากขึ้น จนทำให้นักลงทุนมีทางเลือกสำหรับการลงทุนที่ค่อนข้างหลากหลาย
อีกทั้งยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่ในบางครั้งผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ มักจะมาพร้อมๆ กับความเสี่ยงที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ความเสี่ยงดังกล่าวย่อมไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนบางประเภท ที่ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูงได้ เช่น นักลงทุนที่อยู่ในวัยเกษียณอายุการทำงานครับ

และโดยธรรมชาติของนักลงทุนที่อยู่ ในวัยเกษียณอายุการทำงานแล้วนั้น เม็ดเงินที่สามารถนำมาลงทุนได้ก็คือ เงิน เก็บสะสมที่ได้มาจากการทำงานนั่นเอง ดังนั้นนักลงทุนในกลุ่มนี้จำเป็นที่ต้องหา ช่องทางในการลงทุนที่จะสามารถรักษาเงินต้นไว้ไม่ให้หดหายไป พร้อมๆ กับการสร้างผลตอบแทนเพื่อเป็นรายได้สำหรับการใช้จ่ายในช่วงที่ไม่มีรายได้อื่นใดเพิ่มเติมเข้ามาด้วยครับ วิธีในการตัดสินใจเพื่อเลือกลงทุนจึงแตกต่างกับนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ และต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซา แนวทางเพื่อการลงทุนของนักลงทุนที่อยู่ในวัยเกษียณอายุการทำงานไปแล้วนั้น อาจจะเขียนเป็นภาพกว้างๆ ได้ดังนี้ครับ

ตราสารที่ปราศจากความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนนั้น สามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ ประเภทด้วยกัน เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคา (Price Risk) ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืนจากการลงทุน (Default Risk) หรือความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ซึ่งไม่ว่านักลงทุนจะเลือกลงทุนในทางเลือกใดก็ตาม ย่อมต้องพบเจอกับความเสี่ยงอย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่งครับ เช่น การซื้อหุ้นสามัญ อาจจะต้องพบเจอ กับภาวะที่ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงลดลงจนต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาในตอนแรก และส่งผลทำให้ขาดทุนในที่สุด หรือแม้แต่การซื้อหุ้นกู้ ก็อาจจะต้องพบกับปัญหาที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ ผิดนัดไม่ยอมชำระดอกเบี้ย รวมถึงไม่สามารถคืนเงินต้นให้แก่นักลงทุน ซึ่งสำหรับนักลงทุนที่อยู่ในวัยเกษียณอายุการทำงานนั้น การลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ

ทั้งนี้ เราจะถือว่าตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นตราสารระยะสั้นหรือยาว ถ้าหากว่าเราถือครองตราสารตัวนั้นๆ ไว้จนกระทั่งถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว ตราสารตัวดังกล่าวถือได้ว่าเป็นตราสารที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่รับชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืน (Default Risk) หรือความเสี่ยงที่ราคาของตราสารจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป (Interest Rate Risk) ดังนั้นทางเลือกที่ง่ายที่สุดสำหรับการลงทุนในตราสารที่แทบจะ ไม่มีความเสี่ยงเลยในปัจจุบันก็คือ การฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ และการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐนั่นเองครับ

ระยะเวลาในการลงทุนที่ไม่ยาวจน เกินไป

การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือแม้แต่การฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ในบางครั้ง มักจะมีเรื่องของระยะเวลาในการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การฝากเงินแบบประจำ 2 ปีนั้น จะทำให้นักลงทุนไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ในช่วงก่อนระยะเวลา 2 ปีได้ (แต่ถ้าจำเป็นต้องถอนออกมาก่อนกำหนด ก็จะทำให้ไม่ได้รับอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้) หรือการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ถ้าหากว่านักลงทุนทำการขายพันธบัตรดังกล่าวก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน ก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้ในที่สุดแล้วตราสารตัวดังกล่าวจะไม่ถือเป็นตราสารที่ปราศจากความเสี่ยงตามความหมายที่เราได้กล่าวไว้ในตอนต้นด้วยครับ

แต่ในปัจจุบัน การลงทุนในตราสารทางการเงินเหล่านี้ นักลงทุนสามารถที่จะเลือกช่วงของระยะเวลาเพื่อการลงทุนได้ตามความเหมาะสมของตนเอง ทั้งนี้นักลงทุนที่อยู่ในวัยเกษียณอายุการทำงานแล้ว ควรจะเลือกลงทุนในช่องทางที่ไม่ใช้เวลาในการลงทุนยาวจนเกินไปนัก เช่น การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) ที่มีอายุประมาณ 5 ปี หรือพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ที่เพิ่งเปิดขายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปในช่วงที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้สูงอายุ เนื่องจากผลตอบแทนที่สูงและระยะเวลาของการลงทุนที่ไม่ยาวมากนัก

กลับมาติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับ ช่องทางต่างๆ สำหรับการลงทุนเมื่อเกษียณอายุการทำงานแล้วได้ใหม่ในสัปดาห์หน้า นะครับ

รายงานโดย :สุชาติ ธนฐิติพันธ์
//www.posttoday.com/stockmarket.php?id=68987




 

Create Date : 29 กันยายน 2552    
Last Update : 29 กันยายน 2552 12:15:45 น.
Counter : 581 Pageviews.  

‘Information Ratio’ เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราคุยกันไปแล้วกับวิธีการหนึ่งในการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (RiskAdjusted Return) คือ Sharpe’s Ratio ซึ่งคำนวณได้ไม่ยาก และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ โดย Sharpe’s Ratio เป็นการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง 1 หน่วย ยิ่งค่า Sharpe’s Ratio ที่ได้มีค่าสูง (ค่ายิ่งสูงยิ่งดี) จะหมายถึงการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนดีกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง 1 หน่วย สำหรับสัปดาห์นี้เรามารู้กันมากขึ้นอีกนิดกับอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยเราในการตัดสินใจลงทุน “Information Ratio”

Information Ratio (Info Ratio หรือ IR) เป็นวิธีการหนึ่งที่เเสดงถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบเเทน (Return) ที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Standard Deviation) โดยการหาค่า Information Ratio นั้น มีหลักคิดไม่แตกต่างจาก Sharpe’s Ratio แต่อาจซับซ้อนกว่าเล็กน้อย (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.aimc.or.th) แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะโดยหลักคิดแล้วเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ คือ Information Ratio เท่ากับ Return-Benchmark เเละหารด้วย Standard Deviation การคิดคำนวณและประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นอย่างไรตามมาดูกันเลยครับ

อันดับแรกเรามารู้จักผลตอบเเทน (Return) กัน ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึงอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเราลงทุนในกองทุนรวม เราจะได้หน่วยลงทุนมา สิ่งที่เราสนใจคือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value หรือ NAV) ต่อ 1 หน่วยการลงทุน ว่าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเราสามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ง่ายๆ คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ReturnT) เท่ากับ NAV ณ วันที่ต้องการดูอัตราผลตอบแทน (NAVT) ลบ NAV ณ วันที่ต้องการเปรียบเทียบ (NAVT-n) และหารอีกครั้งด้วย NAVT-n เท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return) เป็นเท่าไร

อันดับต่อมาเรามารู้จักเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) กัน Benchmark นั้นใช้ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนที่เราลงทุนกับค่าเฉลี่ยของตลาด ซึ่งหากกองทุนรวมได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า Benchmark แล้ว ก็หมายความว่า บลจ.นั้นบริหารกองทุนรวมได้ดี และผลตอบแทนของกองทุนรวมนั้นชนะตลาด Benchmark ที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น ต้องมีลักษณะการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้นๆ ยกตัวอย่างหากเราลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) หรือที่เรียกว่า “กองทุนรวมหุ้น” Benchmark ที่เหมาะสม คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SET Index หรือ SET 50 Index หรือหากเราลงทุนใน “กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว” Benchmark ที่เหมาะสม คือ TBDC Government Bond Index (Total Return Index) เป็นต้น (ศึกษาข้อมูล Benchmark เพิ่มเติมได้ที่ //www.aimc.or.th) เมื่อเรารู้ว่าควรใช้ Benchmark อะไรเพื่อเปรียบเทียบกับกองทุนที่เราลงทุน เราก็นำ Benchmark ตัวนั้นมาหาเป็นอัตราผลตอบแทนของ Benchmark (Benchmark ReturnT) โดยนำ Benchmark ณ วันที่ต้องการดูอัตราผลตอบแทน (BenchmarkT) ลบ Benchmark ณ วันที่ต้องการเปรียบเทียบ (BenchmarkT-n ) และหารอีกครั้งด้วย BenchmarkT-n

ที่นี้เราก็นำ Return ของกองทุนที่เราลงทุนมาเปรียบเทียบ (ลบ) กับ Benchmark Return ซึ่งจะได้ค่าอัตราผลตอบแทนเปรียบเทียบ (Relative Return) แล้วเราก็หา Relative Return ในแต่ละช่วงที่เราต้องการเปรียบเทียบ เช่น 1 ปี แล้วนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาเฉลี่ย ซึ่งจะได้ค่าอัตราผลตอบแทนเปรียบเทียบโดยเฉลี่ย (Average Relative Return) ซึ่งค่านี้บอกเราว่าโดยรวมแล้ว Return ของกองทุนที่เราลงทุนไปนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่า Benchmark Return แต่อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว การดูเพียง Return อย่างเดียวไม่เพียงพอ เราต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้วย

สำหรับ Standard Deviation หรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวัดความเสี่ยงที่เเสดงถึงความผันผวน (Volatility) หรือการเเกว่งตัวขึ้นลงของผลตอบเเทนนั้น ก็หาได้ไม่ยาก สามารถใช้วิธีการหา Standard Deviation ทั่วๆ ไปในการคำนวณ (ผลรวมกำลังสองของส่วนต่างระหว่างค่า Relative Return กับ Average Relative Return ในแต่ละช่วงที่เราต้องการเปรียบเทียบ เช่น 1 ปี แล้วนำมาเฉลี่ยหลังจากนั้นถอนรากที่สอง) ที่นี้เราก็จะได้ค่า Standard Deviation หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า Tracking Error ที่ใช้สำหรับคำนวณค่า Information Ratio เมื่อเราได้ข้อมูลต่างๆ แล้ว เราก็หา Information Ratio ได้ง่ายๆ สมมติว่าเราได้ค่า Average Relative Return = 0.0687% Tracking Error = 1.3249% ดังนั้น Information Ratio = 0.0687%/1.3249% = 5.188%

เราใช้ค่า Information Ratio อย่างไร ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจกันมากขึ้น สมมติมีกองทุนรวมหุ้น 2 กองทุน ช่วง 1 ปีที่ผ่านมากองทุนที่ 1 ให้ผลตอบแทน 41.25% Standard Deviation 19.97% ขณะที่กองทุนที่ 2 ให้ผลตอบแทน 31.85% Standard Deviation 13.01% จะเห็นว่ากองทุนที่ 1 ให้ผลตอบเเทนสูง เเต่เมื่อมาดูที่ค่า Standard Deviation นั้น จะพบว่าสูงถึง 19.97% ซึ่งอย่าลืมว่า ถ้าค่า Standard Deviation สูงนั้น ก็หมายความว่ากองทุนนี้ให้ผลตอบเเทนผันผวนมาก (ความเสี่ยงมาก) เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนคงจะเลือกลงทุนในกองทุนที่ 2 เนื่องจากกองทุนที่ 2 ให้ผลตอบแทนน้อยกว่ากองทุนที่ 1 ก็จริง เเต่ในเเง่ของ Standard Deviation นั้น จะพบว่ากองทุนที่ 2 นั้นมีความผันผวนของอัตราผลตอบเเทนต่ำกว่ากองทุนที่ 1 เเต่ข้อมูลเพียงเท่านี้อย่าเพิ่งด่วนตัดสิน เพราะยังมีค่า Information Ratio ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง สมมติเราหาค่า Information Ratio ของกองทุนที่ 1 ได้ 0.98% ของกองทุนที่ 2 ได้ 0.21% นั้นหมายความว่าภายใต้ความเสี่ยงที่เท่ากัน กองทุนที่ 1 ให้ผลตอบแทน 0.98% ซึ่งน่าลงทุนมากกว่ากองทุนที่ 2 ที่ให้ผลตอบแทน 0.21% นั่นเอง

นักลงทุนไม่ต้องกังวลว่าจะหาข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจากที่ไหนดี ท่านสามารถหาข้อมูลทั้งหมดได้ที่ //www.aimc.or.th ซึ่งทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนมีข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนทั้งหมด มีการคิดค่า Standard Deviation เเละค่า Information Ratio ไว้แล้ว โดยหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์และเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจลงทุน เลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม หรือผู้ที่ลงทุนอยู่เเล้ว มีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น แล้วพบกันในครั้งต่อไปครับ

รายงานโดย :สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
//www.aimc.or.th,www.thaimutualfund.com
//www.posttoday.com/stockmarket.php?id=61472




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2552    
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 0:53:10 น.
Counter : 1284 Pageviews.  

Paul Tudor Jones II

เพิ่งอ่านมาจากหนังสือเล่มนึง ปลื้มมากพี่น้องเอ๊ย
อันนี้เป็นบทสัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว(2008) สักวันจะเป็นแบบนี้บ้าง คอยดู

What’s so special about macro hedge fund managers?

I love trading macro. If trading is like chess, then macro is like three-dimensional chess. It is just hard to find a great macro trader. When trading macro, you never have a complete information set or information edge the way analysts can have when trading individual securities. It’s a hell of a lot easier to get an information edge on one stock than it is on the S&P 500. When it comes to trading macro, you cannot rely solely on fundamentals; you have to be a tape reader, which is something of a lost art form. The inability to read a tape and spot trends is also why so many in the relative-value space who rely solely on fundamentals have been annihilated in the past decade. Markets have consistently experienced “100-year events” every five years. While I spend a significant amount of my time on analytics and collecting fundamental information, at the end of the day, I am a slave to the tape and proud of it.

Is it possible to teach someone to be a tape reader — what some might call a trend follower or technical analyst?

Certain people have a greater proclivity for it because they don’t have the need to feel intellectually superior to the crowd. It’s a personality thing. But a lot of it is environmental. Many of the successful macro guys today, they’re all kind of in my age range. They came from that period of crazy volatility of the late ’70s and early ’80s, when the amount of fundamental information available on assets was so limited and the volatility so extreme that one had to be a technician. It’s very hard to find a pure fundamentalist who’s also a very successful macro trader because it is so hard to have a hit rate north of 50 percent. The exceptions are in trading the very front end of interest rate curves or in specializing in just a few commodities or assets.

What’s your take on the next generation of managers?

I see the younger generation hampered by the need to understand and rationalize why something should go up or down. Usually, by the time that becomes self-evident, the move is already over. When I got into the business, there was so little information on fundamentals, and what little information one could get was largely imperfect. We learned just to go with the chart. Why work when Mr. Market can do it for you? These days, there are many more deep intellectuals in the business, and that, coupled with the explosion of information on the Internet, creates the illusion that there is an explanation for everything and that the primary task is simply to find that explanation. As a result, technical analysis is at the bottom of the study list for many of the younger generation, particularly since the skill often requires them to close their eyes and trust the price action. The pain of gain is just too overwhelming for all of us to bear!

You’re not necessarily a fan of hiring people straight out of business school.

Today there are young men and women graduating from college who have a tremendous work ethic, but they get lost trying to understand the logic behind a whole variety of market moves. While I’m a staunch advocate of higher education, there is no training — classroom or otherwise — that can prepare for trading the last third of a move, whether it’s the end of a bull market or the end of a bear market. There’s typically no logic to it; irrationality reigns supreme, and no class can teach what to do during that brief, volatile reign. The only way to learn how to trade during that last, exquisite third of a move is to do it, or, more precisely, live it — a sort of baptism by fire. One has to experience both the elation and fear as markets move five and six standard deviations from conventional definitions of value.

How will macro investing fare over the next five years?

The macro space will be great. I think we’re going into one of those slow or zero-growth periods in the U.S., which will give us a lot of volatility.

Will hedge funds do as well as they have done in the past?
Average returns will drop. The amount of money that was made by hedge funds in the past two decades was so outsize relative to anything in civilization in the past couple of centuries that it naturally attracted the best intellectual capital in the world. As a result, the inefficiencies that existed in the ’70s and ’80s and even the ’90s are not as readily seen. But in this business there will also always be that upper tier — that top 10 or 20 percent of managers who will outperform everyone else.

What experience had the biggest impact on your career?

Trading commodity markets back in the late ’70s — when they were still extraordinarily volatile — allowed me to experience repeated bull and bear markets across a variety of different instruments. Remember, in agricultural markets the cycle can be just 12 months. I lost my stakes a couple of times, which taught me risk control and risk management. Losing those stakes in my early 20s gave me a healthy dose of fear and respect for Mr. Market and hardwired me for some great money management tools. Oh, incidentally and by necessity, I became a pretty good fundraiser, which has helped me in the not-for-profit world.

Who’s had the biggest influence on your career?

My first boss and mentor, Eli Tullis, of New Orleans. He was the largest cotton speculator in the world when I went to work for him, and he was a magnificent trader. In my early 20s, I got to watch his financial ups and downs and how he dealt with them. His fortitude and temperament in the face of great adversity were great examples of how to remain cool under fire. I’ll never forget the day the New Orleans Junior League board came to visit him during lunch. He was getting absolutely massacred in the cotton market that day, but he charmed those little old ladies like he was a movie star. It put everything in perspective for me.

What was your single best trade or investment?

Probably buying March put options on the Japanese stock market in early February of 1990. The volatility was an absurd 5 percent, owing to the newness of the options market, with which many Japanese had little experience. Much like the U.S. stock market just before the 1929 crash, the Japanese stock market in early 1990 was following the same price pattern with remarkably similar fundamentals and valuations that provided enormous profit opportunities in a truncated period of time. I actually felt sorry for the people who were on the other side of that trade when I was buying those puts.

Your biggest missed chance?

I missed the subprime opportunity of 2007, and it rankles me every time I hear the term. We have studiously avoided mortgages at Tudor specifically because it is a big-carry game that does not adequately compensate for the inherent tail risk. That unfamiliarity, though, came with a huge opportunity cost.

Is the price of oil high for fundamental reasons, or are hedge fund managers and Wall Street driving it up?

It’s a very bullish supply-and-demand situation, and the peak oil theory is probably correct. But the run-up in prices is now bringing in an enormous amount of speculative, nontraditional capital such as pension funds and university endowments — principally through index products. Commodities have been the worst-performing asset class behind stocks, bonds and real estate for the past 200 years, but Wall Street doesn’t highlight that long history when selling commodity index instruments today. Instead, it shows a chart of the bull market of the past 12 years to rationalize why some pensioner should be long cattle futures in the derivatives markets as part of a basket. I am sure they were using similar logic about tulips three centuries ago. Oil is a huge mania, and it’s going to end badly. We’ve seen it play out hundreds of times over the centuries, and this is no different. It’s just the nature of a rip-roaring bull market. Fundamentals might be good for the first third or first 50 or 60 percent of a move, but the last third of a great bull market is typically a blow-off, whereas the mania runs wild and prices go parabolic.

Should hedge funds be more closely regulated?

I selfishly do not want to be regulated, but I understand the necessity of it.

— Interview by Stephen Taub
//www.iimagazine.com/Article.aspx?ArticleID=1964189&p=3




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2552    
Last Update : 4 สิงหาคม 2552 14:22:14 น.
Counter : 5562 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.