In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
‘Information Ratio’ เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราคุยกันไปแล้วกับวิธีการหนึ่งในการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (RiskAdjusted Return) คือ Sharpe’s Ratio ซึ่งคำนวณได้ไม่ยาก และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ โดย Sharpe’s Ratio เป็นการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง 1 หน่วย ยิ่งค่า Sharpe’s Ratio ที่ได้มีค่าสูง (ค่ายิ่งสูงยิ่งดี) จะหมายถึงการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนดีกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง 1 หน่วย สำหรับสัปดาห์นี้เรามารู้กันมากขึ้นอีกนิดกับอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยเราในการตัดสินใจลงทุน “Information Ratio”

Information Ratio (Info Ratio หรือ IR) เป็นวิธีการหนึ่งที่เเสดงถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบเเทน (Return) ที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Standard Deviation) โดยการหาค่า Information Ratio นั้น มีหลักคิดไม่แตกต่างจาก Sharpe’s Ratio แต่อาจซับซ้อนกว่าเล็กน้อย (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.aimc.or.th) แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะโดยหลักคิดแล้วเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ คือ Information Ratio เท่ากับ Return-Benchmark เเละหารด้วย Standard Deviation การคิดคำนวณและประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นอย่างไรตามมาดูกันเลยครับ

อันดับแรกเรามารู้จักผลตอบเเทน (Return) กัน ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึงอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเราลงทุนในกองทุนรวม เราจะได้หน่วยลงทุนมา สิ่งที่เราสนใจคือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value หรือ NAV) ต่อ 1 หน่วยการลงทุน ว่าเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเราสามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ง่ายๆ คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ReturnT) เท่ากับ NAV ณ วันที่ต้องการดูอัตราผลตอบแทน (NAVT) ลบ NAV ณ วันที่ต้องการเปรียบเทียบ (NAVT-n) และหารอีกครั้งด้วย NAVT-n เท่านี้ก็จะรู้แล้วว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return) เป็นเท่าไร

อันดับต่อมาเรามารู้จักเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) กัน Benchmark นั้นใช้ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนที่เราลงทุนกับค่าเฉลี่ยของตลาด ซึ่งหากกองทุนรวมได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า Benchmark แล้ว ก็หมายความว่า บลจ.นั้นบริหารกองทุนรวมได้ดี และผลตอบแทนของกองทุนรวมนั้นชนะตลาด Benchmark ที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้น ต้องมีลักษณะการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกองทุนรวมในแต่ละนโยบายการลงทุนนั้นๆ ยกตัวอย่างหากเราลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) หรือที่เรียกว่า “กองทุนรวมหุ้น” Benchmark ที่เหมาะสม คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ SET Index หรือ SET 50 Index หรือหากเราลงทุนใน “กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว” Benchmark ที่เหมาะสม คือ TBDC Government Bond Index (Total Return Index) เป็นต้น (ศึกษาข้อมูล Benchmark เพิ่มเติมได้ที่ //www.aimc.or.th) เมื่อเรารู้ว่าควรใช้ Benchmark อะไรเพื่อเปรียบเทียบกับกองทุนที่เราลงทุน เราก็นำ Benchmark ตัวนั้นมาหาเป็นอัตราผลตอบแทนของ Benchmark (Benchmark ReturnT) โดยนำ Benchmark ณ วันที่ต้องการดูอัตราผลตอบแทน (BenchmarkT) ลบ Benchmark ณ วันที่ต้องการเปรียบเทียบ (BenchmarkT-n ) และหารอีกครั้งด้วย BenchmarkT-n

ที่นี้เราก็นำ Return ของกองทุนที่เราลงทุนมาเปรียบเทียบ (ลบ) กับ Benchmark Return ซึ่งจะได้ค่าอัตราผลตอบแทนเปรียบเทียบ (Relative Return) แล้วเราก็หา Relative Return ในแต่ละช่วงที่เราต้องการเปรียบเทียบ เช่น 1 ปี แล้วนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาเฉลี่ย ซึ่งจะได้ค่าอัตราผลตอบแทนเปรียบเทียบโดยเฉลี่ย (Average Relative Return) ซึ่งค่านี้บอกเราว่าโดยรวมแล้ว Return ของกองทุนที่เราลงทุนไปนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่า Benchmark Return แต่อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว การดูเพียง Return อย่างเดียวไม่เพียงพอ เราต้องให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้วย

สำหรับ Standard Deviation หรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวัดความเสี่ยงที่เเสดงถึงความผันผวน (Volatility) หรือการเเกว่งตัวขึ้นลงของผลตอบเเทนนั้น ก็หาได้ไม่ยาก สามารถใช้วิธีการหา Standard Deviation ทั่วๆ ไปในการคำนวณ (ผลรวมกำลังสองของส่วนต่างระหว่างค่า Relative Return กับ Average Relative Return ในแต่ละช่วงที่เราต้องการเปรียบเทียบ เช่น 1 ปี แล้วนำมาเฉลี่ยหลังจากนั้นถอนรากที่สอง) ที่นี้เราก็จะได้ค่า Standard Deviation หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า Tracking Error ที่ใช้สำหรับคำนวณค่า Information Ratio เมื่อเราได้ข้อมูลต่างๆ แล้ว เราก็หา Information Ratio ได้ง่ายๆ สมมติว่าเราได้ค่า Average Relative Return = 0.0687% Tracking Error = 1.3249% ดังนั้น Information Ratio = 0.0687%/1.3249% = 5.188%

เราใช้ค่า Information Ratio อย่างไร ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจกันมากขึ้น สมมติมีกองทุนรวมหุ้น 2 กองทุน ช่วง 1 ปีที่ผ่านมากองทุนที่ 1 ให้ผลตอบแทน 41.25% Standard Deviation 19.97% ขณะที่กองทุนที่ 2 ให้ผลตอบแทน 31.85% Standard Deviation 13.01% จะเห็นว่ากองทุนที่ 1 ให้ผลตอบเเทนสูง เเต่เมื่อมาดูที่ค่า Standard Deviation นั้น จะพบว่าสูงถึง 19.97% ซึ่งอย่าลืมว่า ถ้าค่า Standard Deviation สูงนั้น ก็หมายความว่ากองทุนนี้ให้ผลตอบเเทนผันผวนมาก (ความเสี่ยงมาก) เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนคงจะเลือกลงทุนในกองทุนที่ 2 เนื่องจากกองทุนที่ 2 ให้ผลตอบแทนน้อยกว่ากองทุนที่ 1 ก็จริง เเต่ในเเง่ของ Standard Deviation นั้น จะพบว่ากองทุนที่ 2 นั้นมีความผันผวนของอัตราผลตอบเเทนต่ำกว่ากองทุนที่ 1 เเต่ข้อมูลเพียงเท่านี้อย่าเพิ่งด่วนตัดสิน เพราะยังมีค่า Information Ratio ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง สมมติเราหาค่า Information Ratio ของกองทุนที่ 1 ได้ 0.98% ของกองทุนที่ 2 ได้ 0.21% นั้นหมายความว่าภายใต้ความเสี่ยงที่เท่ากัน กองทุนที่ 1 ให้ผลตอบแทน 0.98% ซึ่งน่าลงทุนมากกว่ากองทุนที่ 2 ที่ให้ผลตอบแทน 0.21% นั่นเอง

นักลงทุนไม่ต้องกังวลว่าจะหาข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจากที่ไหนดี ท่านสามารถหาข้อมูลทั้งหมดได้ที่ //www.aimc.or.th ซึ่งทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุนมีข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนทั้งหมด มีการคิดค่า Standard Deviation เเละค่า Information Ratio ไว้แล้ว โดยหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์และเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจลงทุน เลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม หรือผู้ที่ลงทุนอยู่เเล้ว มีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น แล้วพบกันในครั้งต่อไปครับ

รายงานโดย :สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
//www.aimc.or.th,www.thaimutualfund.com
//www.posttoday.com/stockmarket.php?id=61472


Create Date : 13 สิงหาคม 2552
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 0:53:10 น. 0 comments
Counter : 1284 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.