bloggang.com mainmenu search
ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุแต่พบบ่อยมากในช่วงอายุ 2-6 ปี

ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ ซึ่งอาจทำให้มี

สติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น หัวใจโต หรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

สาเหตุ

ส่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมทอลซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดี

นอยด์ที่อยู่หลังจมูก มีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ

ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่เด็กอ้วนเกิน

ไปทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้น หรือพบในเด็กที่มีลักษณะ

โครงหน้า คาง ลิ้นและคอผิดปกติทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น

แคบกว่าปกติ

อาการ

เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับตรงข้าม

กับขณะตื่นที่หายใจ ปกติดี อาการหายใจลำบากสังเกตุได้จากการที่เด็ก

หายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อหายใจมากกว่าปกติ ขณะที่หายใจเข้า

หน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น บางคนมีอาการกระสับกระส่ายเหมือน

หายใจไม่เข้า นอนในท่าแปลกๆ อ้าปากหายใจ ปากซีดเซียว เสียงกรน

ขาดหายเป็นช่วงๆ ทั้งๆ ที่เด็กกำลังหายใจอยู่ ปัสสาวะราดรดที่นอน พ่อ

แม่บางรายกลัวลูกหายใจไม่เข้า ถึงต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูกหรือเขย่า

ปลุกให้ลูกตื่นตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มีสมาธิสั้นหรือผลอย

หลับบ่อยๆ
Create Date :03 ธันวาคม 2553 Last Update :3 ธันวาคม 2553 15:12:24 น. Counter : Pageviews. Comments :2