bloggang.com mainmenu search


ภัยเงียบ...หลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง !

"
ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการล่วงหน้ามารู้ตัวอีกทีก็มีสิทธิ์ตีบสนิทแล้วต้องยกประโยชน์ให้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าสามารถรักษาอาการได้มีประสิทธิภาพกว่าแต่ก่อนแม้จะตีบสนิทแล้วก็ตามช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานเหมือนเมื่อก่อน"

ภาวะ...หลอดเลือดหัวใจตีบถือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างมากหากเกิดการตีบแบบเฉียบพลันซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการหรือสัญญาณแจ้งล่วงหน้า เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกแต่สำหรับบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆว่าจะรู้ตัวก็พบว่าเกิดการตีบตันที่รุนแรงถึงขั้นตีบสนิทซึ่งทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากมากขึ้น

นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิมอายุรแพทย์โรคหัวใจเปิดเผยเกี่ยวกับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ตีบสนิทว่าสมัยก่อนการรักษาภาวะหลอดเลือดตีบตันในกลุ่มที่ตีบสนิทนั้นเป็นไปได้ยากด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ อาทิแพทย์ไม่สามารถมองเห็นเส้นเลือดตรงส่วนปลายต่อส่วนที่อุดตันจึงต้องใช้ “ ลวดตัวนำ” ซึ่งค่อนข้างแข็งเป็นพิเศษสอดผ่านเข้าไปในเส้นเลือดแล้วจึงสอดบอลลูนเข้าไปถ่างขยายบริเวณที่มีการอุดตันซึ่งหากเกิดการตีบมากโอกาสสำเร็จก็จะค่อนข้างน้อย ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาจึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัดบายพาสเป็นส่วนใหญ่

แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้นเช่นลวดตัวนำที่ใช้มีลักษณะที่เล็กลงกว่าปกติผ่านใต้รอยอุดตันได้ง่ายขึ้นและแข็งขึ้นกว่าปกติสามารถควบคุมปลายของลวดตัวนำได้ง่ายขึ้นเพราะฉะนั้นโอกาสที่จะทำแล้วผ่านตรงจุดที่อุดตันไปได้ก็จะมีมากขึ้นส่งผลให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

นอกจากวิวัฒนาการของลวดตัวนำแล้วบอลลูนที่ใช้ก็มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้นเช่นกันหรือแม้แต่หัวกรอเพชรที่ใช้ขจัดสิ่งที่มาอุดตันในหลอดเลือดก็ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามไปด้วยนอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายกับสกรูซึ่งสามารถหมุนขันเข้าไปตามเส้นเลือดเหมือนการขันสกรูได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆดังกล่าวล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจที่เกิดการตีบสนิทนั้นประสบผลสำเร็จมากขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัดทำบายพาสซึ่งวิธีทำบอลลูนขยายหลอดเลือดถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกปลอดภัยและผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้

สำหรับผู้ที่รู้ตัวว่ามีภาวะหลอดเลือดตีบตันแต่ยังไม่ได้ทำการรักษานั้นนพ.วสันต์ได้ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไปลดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงหัวใจมาก เช่น ออกกำลังหนักๆ วิ่งขึ้นบันไดแต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และต้องไม่รับประทานมากเกินไป รวมทั้งพยายามควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด ความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่กับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบต่อไปได้

สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999
www.ram-hosp.co.th
www.facebook.com/ramhospital

Create Date :10 มิถุนายน 2556 Last Update :10 มิถุนายน 2556 13:35:53 น. Counter : 1655 Pageviews. Comments :1