bloggang.com mainmenu search

“หากคุณเป็นเบาหวาน และมีแผลที่เท้ายังมีวิธีการอีกมากที่ช่วยคุณได้

ให้โอกาสกับตัวคุณและขาของคุณสักนิดก่อนที่คุณจะตัดสินใจตัดขา ”

   ..ผู้เป็นเบาหวานประมาณร้อยละ15 จะเกิดแผลที่เท้า และร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขาสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 จะมีผู้เป็นเบาหวานประมาณ 2.1ล้านคน และจะมีผู้ที่ถูกตัดเท้าถึง 27,300 คน หรือประมาณ 3-4 คนต่อวัน มีผู้เป็นเบาหวานจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ตัวเองว่ากำลังเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลายตีบหรือจะเกิดแผลเบาหวานที่เท้าเข้าให้แล้วและมีคนอีกจำนวนมากที่หลงไปว่าอาการดังกล่าวที่ตัวเองเป็นนั้น ไม่ร้ายแรง ที่ไหนได้แล้วทุกอย่างมันก็สายเกินแก้ไปเสียแล้ว ทั้งๆ ที่ควรจะป้องกันหรือรักษาขาไว้ได้ ถ้ารู้ตัวเสียแต่เนิ่นๆ


       สัญญาณเตือนว่าจะเกิดแผลเบาหวานที่เท้า ได้แก่ ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
สีผิวของขาจะคล้ำขึ้นบางรายอาจจะซีด คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้ เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน เล็บหนาตัว เกิดแผลเรื้อรังที่เท้า หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว  ผู้เป็นเบาหวานนอกจากมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ขาตีบตันแล้วตัวโรคเบาหวานเองยังทำให้เท้าชาอีกด้วย เมื่อเกิดแผลที่เท้า ก็มักถูกปล่อยปละละเลยเพราะแผลไม่เจ็บปวด จนทำให้แผลลุกลาม  อาการเริ่มแรกของหลอดเลือดส่วนปลายตีบอาจไม่มีอาการใดๆเมื่อมีการตีบตันมากขึ้นจะเริ่มมีปัญหาการปวดที่ขาเวลาเดินได้ซักระยะหนึ่งจนจำเป็นต้องหยุดพัก ต่อเมื่อการตีบตันเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มเดินได้น้อยลงเพราะความปวดอาจมีแผลเกิดขึ้นซึ่งแผลรักษาไม่หายด้วยการรักษาปกติจนไปถึงนิ้วเท้าดำ ตายเสียขาได้  มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีอาการปวดขาใดๆ เลยจนกระทั่ง เกิดแผลไม่หาย หรือนิ้วเท้าดำตายซึ่งโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแผลอาจจะลุกลาม มีการติดเชื้อจนถึงขนาดต้องตัดขาบางรายมีการติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การตัดนิ้วเท้าหรือ ตัดเนื้อตายเพียงอย่างเดียว มักไม่ทำให้แผลหายแต่กลับยิ่งทำให้แผลลุกลามมากขึ้น ถึงขั้นเสียขาได้ ดังนั้นโรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องจึงจะหายและรักษาขาไว้ได้

โดยทั่วไปในคนที่เป็นเบาหวานแล้วมีแผลเกิดขึ้นแพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายโดยยังทำการตรวจพิเศษอีกอย่างหนึ่งควบคู่ไปด้วย นั่นคือตรวจวัดความดันของหลอดเลือดที่ขาเทียบกับที่แขนหรือที่เรียกว่า ABI ซึ่งจะเป็นการคัดกรองผู้ป่วยว่ามีภาวะหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันหรือไม่โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0.9-1.4  ซึ่งหากพบว่าค่า ABI ต่ำกว่า 0.9 แสดงว่าผู้ป่วยอาจจะมีภาวะหลอดเลือดตีบตันเกิดขึ้น  แต่ถ้าต่ำกว่า0.4หมายความว่าโอกาสที่ผู้ป่วยจะต้องถูกตัดขานั้นค่อนข้างสูงแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ทั้งนี้หากพบความผิดปกติดังกล่าวศัลยแพทย์อาจจะพิจารณาส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมโดยการอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดด้วยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CTScan)หรือตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRIซึ่งจะทำให้เห็นตำแหน่งของการตีบตันได้อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์สำหรับวางแผนการรักษาลำดับต่อไป

สำหรับวิธีการรักษาหลอดเลือดส่วนปลายตีบโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวดนี้ ตอนนี้เทคโนโลยีการรักษาด้วยการใส่สายสวนหลอดเลือดมีความก้าวหน้าไปค่อนข้างมากจากเดิมที่ทำได้แค่นำบอลลูนเข้าไปขยายในเส้นเลือดที่มีการตีบจุดสั้นๆเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำได้มากกว่าแม้จะมีการตีบตันสนิทเป็นระยะทางที่ยาวขึ้น ซึ่งการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดไม่ต้องดมยาสลบ ทั้งยังฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ความสูญเสียที่ผู้ป่วยเบาหวานได้รับจึงได้นำนวัตกรรมการรักษาแผลเบาหวานที่เท้าที่เกิดจากโรคหลอดเลือดตีบตัน โดยมีทางเลือกอยู่หลายวิธี ผู้ป่วยที่การตีบตันเพียงเล็กน้อยอาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยารักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพมากขึ้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่มากขึ้นเช่นการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด การผ่าตัดตัดต่อ bypass เส้นเลือดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาได้

ปัจจุบันวิทยาการด้านการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดรุดหน้าไปมากจากเดิมทำได้เพียงขยายหลอดเลือดที่ตีบเป็นความยาวสั้นๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำได้แม้ในผู้ป่วยที่มีการตันของหลอดเลือดที่มีระยะทางยาวๆได้ จนทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด  ข้อดีของการรักษาด้วยการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดมีข้อดีมากมาย อาทิผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลเกิดขึ้นมีเพียงรูเข็มเล็กๆที่ผิวหนังบริเวณที่เจาะเท่านั้น เจ็บเพียงเล็กน้อยคล้ายการเจาะเลือด ไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยาสลบเพียงแค่ฉีดยาชาบริเวณตำแหน่งที่จะเจาะหลอดเลือดเท่านั้นก็สามารถทำได้ หลังจากทำผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้นไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนานเป็นสัปดาห์เหมือนผ่าตัด สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายจากการผ่าตัด

หากคุณตรวจพบว่ามีปัญหาหลอดเลือดส่วนปลายตีบตันอย่านิ่งนอนใจเพราะนั่นอาจนำมาซึ่งความสูญเสียกับตัวคุณ และขาของคุณ

ด้วยปรารถนาดีจาก

คลินิกรักษาแผลเบาหวานที่เท้า

รพ.รามคำแหง


Create Date :26 มิถุนายน 2555 Last Update :26 มิถุนายน 2555 14:18:30 น. Counter : 2303 Pageviews. Comments :2