bloggang.com mainmenu search
คำถามที่ถามบ่อย ๆ หลังการถ่างขยายหลอดเลือด
** ขดลวดสามารถเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง หรือเป็นสนิมได้หรือไม่
….. เมื่อวางในตำแหน่งนั้นแล้ว ขดลวดจะไม่เคลื่อนออกนอกจากที่ นอกจากนั้นขดลวดจะไม่เป็นสนิม เพราะทำด้วยโลหะชนิดพิเศษที่ไม่ผุกร่อน

** สามารถเดินผ่านเครื่องตรวจสอบโลหะเมื่อมีขดลวดอยู่ในตัวได้หรือไม่
…..ได้ โดยไม่ต้องกังวลใดๆ เนื่องจากขดลวดผลิตจากโลหะที่ไม่ได้เป็นแม่เหล็ก

** จะกลับไปทำงานได้เมื่อไร
….. ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลับไปทำงานได้ภายใน 2 – 3 วัน หลังจากการถ่างขยายหลอดเลือด

** จะเป็นอย่างไร ถ้ายังรู้สึกเจ็บหน้าอกอยู่
….. ถ้าผู้ป่วยยังเจ็บอยู่ควรแจ้งแพทย์ผู้ที่เชี่ยวชาญของผู้ป่วย หรือศูนย์ดำเนินการทันที

** สามารถเข้ารับการตรวจ MRI หรือสแกนด้วยวิธีอื่นในขณะที่มีขดลวดอยู่ในตัวได้หรือไม่
….. ได้ โดยไม่มีการรบกวนกันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามก่อนที่จะรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีเหล่านี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีขดลวดอยู่

** เล่นกีฬาได้หรือไม่
….. ได้ แต่ต้องระวัง แพทย์จะบอกผู้ป่วยให้ทราบว่า กีฬาชนิดใดที่ผู้ป่วยสามารถเล่นได้และผู้ป่วยสามารถเล่นได้เมื่อไร

** ควรเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารอย่างไร
..... ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานอาหารที่มีไขมันและเกลือต่ำ รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากขึ้น และไม่บริโภคอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณเกินความต้องการ

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพหัวใจหลังการถ่างขยายหลอดเลือด
3 ข้อ ควรปฏิบัติ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ใส่ใจตรวจสุขภาพ ตามคำแนะนำของแพทย์
- ไม่ออกกำลังกายหักโหม และทำกิจกรรมหนัก ในระยะแรก
4 ปัจจัยเสี่ยง ควรควบคุมดูแล
- น้ำหนักตัวและความอ้วน
- ระดับไขมันในเลือด
- ระดับน้ำตาลในเลือด (เบาหวาน)
- ระดับความดันโลหิต
4 พฤติกรรม ควรปรับเปลี่ยน
- รับประทานอาหารที่มีไขมัน และเกลือต่ำ รับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากขึ้น และไม่บริโภคอาหารที่มีแคลอรี่ปริมาณมากเกินความต้องการ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้การดูแลของแพทย์
- หยุดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
- ควบคุมอารมณ์และความเครียด ไม่ให้เครียดนาน
ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานยา
- ผู้ป่วยต้องรัปประทานยาตามคำแนะนำแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- อย่าหยุดยาใดๆ ด้วยตัวเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง การหยุดยาบางอย่าง อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อโรคที่ท่านเป็นได้
- หากผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงจากยาที่รับประทาน เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีเลือดออกง่ายผิดปกติ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว ควรแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลทราบ
- หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกซ้ำขึ้นมาอีก โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกของการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการใส่ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบ
ข้อควรปฏิบัติ ในการตรวจสุขภาพหัวใจ
- ท่านควรจะเจาะเลือดเพื่อติดตามผลของยาต้านเกล็ดเลือด และเจาะไขมันตามแพทย์สั่ง
- ควรเก็บรักษาใบนัดตรวจซ้ำของแพทย์ไว้เป็นอย่างดีรวมทั้งกำหนดนัดหมายเจาะเลือด
- ควรปรึกษาแพทย์โรคหลอดเลือดหัวใจของท่าน หากมีความจำเป็นต้องรับการตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- ควรปรึกษาแพทย์โรคหลอดเลือดหัวใจหรือแพทย์ประจำตัวของท่าน หากมีความจำเป็นต้องทำฟันในช่วง 1 เดือนแรก ภายหลังจากการถ่างขยายหรือใส่ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจ
ข้อควรในการปฏิบัติตัวในการออกกำลังและทำกิจกรรมต่างๆ
- ห้ามกลั้นหายใจ เบ่งถ่าย หรือเบ่งปัสสาวะ
- ห้ามผลัก ดัน ดึง หรือถือของหนักเกิน 5 กิโลกรัม ภายใน 1 เดือนแรก
- หากต้องเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ควรรอเวลานี้
….. ว่ายน้ำ 3 – 4 สัปดาห์
….. เล่นกอล์ฟ 4 สัปดาห์
….. ขับรถ 2 สัปดาห์
….. มีเพศสัมพันธ์ เริ่มได้ทันทีถ้าพร้อม
….. ทำงาน ระดับเบา 4 สัปดาห์, ระดับปานกลาง 6 สัปดาห์, ระดับหนัก 8 – 10 สัปดาห์

//www.ram-hosp.co.th
Create Date :03 กุมภาพันธ์ 2553 Last Update :3 กุมภาพันธ์ 2553 10:53:54 น. Counter : Pageviews. Comments :2