bloggang.com mainmenu search


โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการมีกรดยูริคในเลือดสูงซึ่งเป็นผล

จากพันธุกรรมและภาวะแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการสะสมภายในข้อต่างๆ ของ

ร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน



ระดับกรดยูริคในเลือดควรเป็นเท่าไหร่?


ผู้ชาย    ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผู้หญิง   ควรมีกรดยูริคในเลือดน้อยกว่า 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร



เพราะเหตุใดกรดยูริคจึงสูง?

สาเหตุที่กรดยูริคสูงขึ้นนั้น อาจเป็นผลมาจาก

1.ไตไม่สามารถขับกรดยูริคได้ตามปกติ โดยอาจเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม ไต

เสื่อมหรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

2. การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยพิวรีนถูกเผาผลาญให้กลายเป็น

กรดยูริคในเลือด

3.มีโรคหรือภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย ทำให้เกิดการสลายตัวของเซลล์และ

อวัยวะที่ผิดปกติ



ปฏิบัติตัวอย่างไร?

1.หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากส่งผลให้กรดยูริคใน

เลือดสูงขึ้น รวมทั้งลดการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย

2.
ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในผู้ที่น้ำหนักเกินควรลดน้ำหนักให้อยู่

ในเกณฑ์ปกติ

3.
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง อันก่อให้เกิดระดับกรดยูริคใน

เลือดสูง

4.
ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์

โดยเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอต่อความต้องการ

ของร่างกาย เพื่อป้องกันการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน

5.
ควรหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารผัดที่ใส่น้ำมันมากๆ

และเนื้อสัตว์ติดมัน เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูงทำให้การขับกรดยูริคลดน้อยลง

6.
เลือกปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่ง ตุ๋น ต้ม ย่าง หรือผัดที่ใช้น้ำมันน้อย เพื่อลดการรับประทานไขมันจากอาหาร

7.
ไม่ควรรับประทานน้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตสมากเกินไป

เพราะสามารถทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูง

8.
ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย



อาหารพิวรีนน้อย (0 – 15 มิลลิกรัม/อาหาร 100  กรัม)  สามารถรับประทานได้

ข้าวแป้ง : ข้าวขาว ขนมปัง สาคู ข้าวโพด แครกเกอร์ ก๋วยเตี๋ยว  มักกะโรนี พาส

               ต้า มันฝรั่ง มันเทศ

ผัก        : ผักต่างๆ (ยกเว้นบางชนิดที่มีพิวรีนมากและส่วนของยอดผัก)

ผลไม้    : ผลไม้ต่างๆ น้ำผลไม้

นม        : นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย

ไขมัน     : น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร เนย

อื่นๆ       : น้ำส้มสายชู วุ้น เจลาติน พุดดิ้ง คัสตาร์ด เครื่องเทศชนิดต่างๆ



อาหารพิวรีนปานกลาง (50 - 150มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม)  ลดปริมาณลง

ข้าวแป้ง  : ข้าวโอ๊ต ข้าวแดง ข้าวที่ไม่ขัดจนขาว บิสกิต ยอดข้าวสาลี

ผัก         : ใบขี้เหล็ก หน่อไม้ สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำปลี เมล็ดถั่วลันเตา

เนื้อสัตว์  : เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ปลากะพง ปลาทูน่า ปลาแซลมอล ปู แฮม

               ปลาหมึก

ไขมัน     : ถั่วลิสง


อาหารพิวรีนสูง (มากกว่า150 มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม)  ควรหลีกเลี่ยง

ข้าวแป้ง  : ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

ผัก         : กระถิน ชะอม ยอดตำลึง ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง เห็ด

เนื้อสัตว์  : ไข่ปลา เครื่องในสัตว์ ปลาไส้ตัน ปลาแอนโชวี่ ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์

               ดีน ปลาแมคเคอเรล 
ปลากระตัก กุ้ง  หอย ห่าน

อื่นๆ       : น้ำสกัดจากเนื้อ น้ำต้มกระดูก น้ำเกรวี่ น้ำซุป  ซุปก้อน น้ำปลา กะปิ

                 ยีสต์



สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16

www.ram-hosp.co.th

www.facebook.com/ramhospital

Create Date :16 พฤษภาคม 2557 Last Update :16 พฤษภาคม 2557 15:14:32 น. Counter : 1739 Pageviews. Comments :2