bloggang.com mainmenu search

ข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุทำให้ปวดข้อเข่า ที่สำคัญในผู้สูงอายุ อาการปวดที่เกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อม เกิดจากสาเหตุ
1.แรงที่กดผ่านผิวข้อเข่า ถ้าน้ำหนักตัวมาก แรงกดก็มากจะทำให้ปวดเวลาลุก ยืน เดิน นั่งเฉยๆ จะไม่ปวด

2.การอักเสบของข้อเข่าเกิดจากการใช้งานหรือมีกิจกรรมที่งอเข่ามากๆ เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ นั่งยองๆ ขี่จักรยานอานเตี้ย ขึ้นลงบันไดมากๆ ทำให้ผิวข้อเข่ากดดันมาก เกิดอาการอักเสบของข้อเข่า จะทำให้มีอาการปวดถึงแม้จะไม่ลุกยืน เดิน บางรายอาจมีอาการเข่าบวมร้อน

3.ภาวะกล้ามเนื้อเอ็นรอบเข่าตึงตัว บางรายเมื่อเกิดภาวะการอักเสบมักจะงอเข่าไว้ หรือเดินมาก ทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ เข่าตึงตัว เกร็ง ทำให้มีอาการปวดได้
หลักการรักษา
1.ลดแรงกดที่ผ่านผิวข้อ โดย
-ลดน้ำหนักตัว ถือเป็นหัวใจของการรักษาก็ว่าได้ ผู้ป่วยบางรายข้อเข่าเสื่อมมาก แต่น้ำหนักน้อย อาจทำให้ไม่มีอาการปวดได้
-ใส่อุปกรณ์เสริมพยุงข้อ
-ใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า

2.ลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น
-ใช้ยาลดอักเสบ
-ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด
-พักให้เดินน้อยลงในระยะที่มีอาการอักเสบ

3.ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ เอ็นรอบข้อเข่า
-ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด
-นวดและยืดกล้ามเนื้อ

4.ปฏิบัติตนให้ถูกต้อง โดย
-หลีกเลี่ยงการเดินมากๆ ขึ้นลงบันไดมาก นั่งยองๆ ขัดสมาธิ พับเพียบ เพราะจะเพิ่มแรงเครียดในข้อเข่า ทำให้เข่าอักเสบปวดได้
-ให้บริการกล้ามเนื้อ ที่จะช่วยประคองข้อเข่า โดยการบริหารดังนี้
-นอนเหยียดเข่า เกร็งเข่ากดกับเตียง นับค้างไว้ 6 วินาที แล้วปล่อย เกร็งเท่าที่ไม่เจ็บ ทำจาก 10 ครั้ง ค่อยๆ เพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ อาจใช้ผ้าขาดหรือขวดรองใต้
-ใช้หมอนรองใต้เข่า เหยียดเข่าตรงจากท่างอ เกร็งเข่าค้างไว้ 6 วินาที แล้วงอเข่าลงเหมือนเดิม ทำเริ่มต้น 10 ครั้ง ค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งเท่าที่ทำได้
-นอนชันเข่าด้านตรงข้ามกับที่เจ็บ ยกขาด้านที่เจ็บขึ้นตรงๆ ท่าเข่าเหยียดตรงสูงประมาณ 45 ํ - 60 ํ ทำเริ่มต้น 10 ครั้ง ค่อยเพิ่มเท่าที่ทำได้
- เมื่ออาการปวดเข่าทุเลาแล้ว จึงเริ่มบริหารโดยใช้หมอนรองใต้เข่าในท่านอน ผูกน้ำหนักไว้ที่ข้อเข่าประมาณ ฝ ก.ก. เริ่มจาก 5 - 10 ครั้งก่อน ถ้าไม่เจ็บจึงค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งไป เท่าที่ไม่เจ็บ
-ให้ยืนเกร็งเข่างอเข่าเล็กน้อย คล้ายท่ายืนรำมวยจีน แล้วยืดตัวขึ้นให้เข่าตรงทำสลับกัน เท่าที่ทำได้
-ในคนไข้ที่ไม่มีอาการปวดหลัง ให้บริหารท่านั่งได้โดยนั่งพิงเก้าอี้ เริ่มเหยียดเข่าตรง เกร็งไว้ค้าง 6 วินาที ค่อยๆ ทำจาก 10 ครั้ง เพิ่มจำนวนเท่าที่ทำได้ ถ้าทำได้ดีแล้วให้เอาน้ำหนักผูกข้อเท้าเริ่มจาก ฝ ก.ก. ค่อยๆ เพิ่มทั้งจำนวนครั้ง แล้วจึงค่อยเพิ่มน้ำหนักขึ้น ถ้าทำแล้วเจ็บเข่ามากขึ้น แสดงว่าบริหารมากไป ให้ลดจำนวนครั้งและน้ำหนักลง

ข้อควรระวัง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าทั้งสองข้าง ในการบริหารท่านอน ที่ใช้หมอนรองใต้เข่าไม่ควรยกขาพร้อมกันทั้งสองข้าง ควรทำทีละข้าง เพราะอาจทำให้มีอาการปวดหลังได้

หัวใจในการรักษาเรื่องข้อเข่าเสื่อมนี้ก็คือ ควรจะลดน้ำหนัก หมั่นบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยืดกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงตัว ระวังกิจกรรมประจำวัน จะช่วยให้ท่านใช้เข่าไปได้อีกนาน ส่วนในรายที่เข่าเสื่อมมากหรือขาโก่งมาก อาจจำเป็นรักษาด้วยการผ่าตัด

Create Date :29 มีนาคม 2554 Last Update :29 มีนาคม 2554 9:31:27 น. Counter : Pageviews. Comments :1