bloggang.com mainmenu search
เกิดจากมีการตีบแคบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ที่ไปเลี้ยง

กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียงกับความต้องการของหัวใจ

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้มีการตีบแคบของหลอดเลือดคือโรคหลอดเลือดแดง

แข็ง(atherosclerosis) โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ ความดัน


โลหิตสูง การสูบบุหรี่ และมีไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

อีก เช่น เป็นโรคเบาหวาน กรรมพันธุ์ เพศชาย โรคอ้วน หรือขาดการออก

กำลังกาย ฯลฯ ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากขึ้น ในผู้

ป่วยบางรายการอุดตันของหลอดเลือดอากเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่หลอด

เลือดแดงแข็ง เช่น มีการอักเสบของหลอดเลือด, หลอดเลือดหดตัว, ยาบาง

ชนิด หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดโคโรนารีย์ตั้งแต่เกิด เป็นต้นอาการ

ของโรคอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ อาการเจ็บหน้าอก (angina pectoris)

ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั่นเอง อาการเจ็บหน้าอกนี้มี

ลักษณะเฉพาะคือ จะเจ็บบริเวณกลางหน้าอกและอาจเจ็บร้าวไปที่แขนด้าน

ใน, คอ, กราม หรือหัวไหล่ทั้งสองข้าง แต่ในบางครั้งอาจเป็นข้างเดียวก็ได้

(มักจะเป็นข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา) อาการเจ็บมักจะเป็นแบบกดทับ, จุก

แน่น, แสบ, หรือเหมือนถูกบีบรัด มากกว่าเจ็บแบบถูกเข็มแทง, เจ็บแปล๊บๆ

หรือชาๆ อาการเจ็บหน้าอกนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นช่วงกล้ามเนื้อหัวใจต้องการ

เลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ เช่น ออกกำลังกาย เดินหรือวิ่งเร็วๆ เดินขึ้นที่สูง

ชันหรือขึ้นบันได หรือขณะเบ่งอุจจาระ เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ

มากขึ้นภายหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ, โดนอากาศเย็น, อาบน้ำเย็น

หรืออยู่ในที่อากาศเบาบาง แต่ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการขณะพักอยู่เฉยๆ

หรือแม้กระทั้งขณะนอนหลับก็ได้

อาการเจ็บหน้าอก หรือ angina นี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 5-10 นาที ถ้าได้พัก

จากกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือได้รับยาอมใต้ลิ้นแล้วก็มักจะดีขึ้น

ทำให้ผู้ป่วยบางรายคิดว่าอาการที่เป็นนั้นไม่ได้รุนแรงอะไรและไม่ได้รับการ

รักษาที่เหมาะสม โดยทั่วๆ ไปอาการเจ็บหน้าอกนี้จะเป็นๆหายๆ และอาการ

มักจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการคงที่อยู่หลายปีก็ได้ ที่น่า

กลัวและอันตรายมากที่สุดคือเมื่อเป็นโรคนี้แล้วมีโอกาสเกิดภาวะหลอด

เลือดแดงอุตตันทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial

infarction) หรือหัวใจวายได้โดยง่าย ผู้ป่วยรายใดมีโอกาสเกิดภาวะ

แทรกซ้อนดังกล่าวมากหรือน้อย แพทย์สามารถพิจารณาดูได้จากประวัติ,

การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษบางอย่าง เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้า

หัวใจ (EKG), การเดินสายพานทดสอบ(exercise stress test) หรือในบาง

รายอาจจำเป็นต้องได้รับการสวนหัวใจและฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ (cardiac

catheterization & coronary angiography) เพื่อประเมินความรุนแรงของ

โรคหรือประกอบการพิจารณาวิธีการรักษาด้วย

ข้อควรทราบอีกประการหนึ่งในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนี้

บางครั้งจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ และการตรวจหลายๆอย่างประกอบกันจึง

จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง การตรวจร่างกายทั่วๆไป หรือการ

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือ

พยากรณ์โรคได้ ดังนั้นถ้ามีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดควร

ได้รับการตรวจหรือแนะนำจากแพทย์ทันที และถ้ายังมีข้อสงสัยควรปรึกษา

กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจโดยตรง


ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉลียบพลัน (acute myocardial infrction)

เป็นอาการแสดงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอีกอย่างหนึ่ง เกิดจากมีการอุด

ตันของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ขึ้นทันทีทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงด้วย

หลอดเลือดเส้นนั้นตายอย่างเฉียบพลัน การอุดตันนี้มากาว่า 90 % เกิดจาก

ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นใหม่บริเวณที่มีรอยโรคหลอดเลือดแดงแข็งอยู่เดิม อาจเกิด

ขึ้นบริเวณที่มีการตีบมากหรือน้อยก็ได้ ผิดกับ อาการเจ็บหน้าอกจากกล้าม

เนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีการเจ็บหน้าอกเมื่อมีการตีบของหลอดเลือด

มากกว่า 70 % ขึ้นไปอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้จะมี

อาการเจ็บหน้าอกเช่นเดียวกันกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแต่อาการ

เจ็บจะรุนแรงและนานกว่า โดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บหน้าอกชนิดนี้จะอยู่นาน

กว่า 30 นาทีขึ้นไปและมักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เหงื่อแตก, หน้ามืด

เป็นลม หรือ คลื่นไส้อาเจียน การอุดตันของหลอดเลือดนี้ถ้าได้รับการแก้ไข

ภายในเวลาน้อยกว่า 6 ชั่วโมง อาจช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เลี้ยงด้วยหลอด

เลือดนั้นไม่เสียไปทั้งหมดได้ (และจะดีมากถ้าสามารถแก้การอุดตันได้

ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ) การแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดใน

ปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด และการทำ

บอลลูนขยายหลอดเลือดทันที (primary PTCA) การให้ยาละลายลิ่มเลือด

สามารถให้ได้ในโรงพยาบาลแทบทุกแห่ง แต่การขยายหลอดเลือดทันทีด้วย

บอลลูนสามารถทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่มีเครื่องมือและบุคคลา

กรพร้อมเท่านั้น

ภาวะหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์อุดตันนี้ประมาณ 50% จะเกิดขึ้นในขณะพัก

และสามารถเกิดในขณะหลับได้พอๆ กับขณะออกกำลังกายหนักด้วย ยังไม่

เป็นที่ทราบแน่นอนว่าอะไรเป็นสาเหตุเสริมให้เกิดภาวะนี้แต่ก็พบได้บ่อยๆ ว่า

มักจะเกิดภายใน 1 เดือนหลังจากมีความไม่สบายใจมากๆหรือมีการ

เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิตช่วงเวลาที่พบได้บ่อยได้แก่ ในช่วงเช้า,บ่ายแก่ๆ

และช่วงหัวค่ำ (เวลาเช้าประมาณ 9.00 น. จะพบได้บ่อยมากที่สุด) การ

วินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องได้รับการ

รักษาโดยการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันนั้นให้ได้โดยเร็ว จึงจะสามารถช่วยให้

กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายให้น้อยที่สุด ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายไปมากเท่าไรก็จะ

ยิ่งเป็นผลเสียมากขึ้นเท่านั้น เพราะกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่เหลืออยู่จะไม่

สามารถทำงานทดแทนได้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนี้นับเป็นภาวะที่อันตรายและต้องได้รับ

การรักษาอย่างรีบด่วนเพราะเราพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะเสียชีวิตก่อนมาถึงโรง

พยาบาลประมาณ 20 % และผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลที่ได้รับการรักษาแล้ว

ยังมีอัตราตายสูงถึง 5-10 % ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตนี้ประมาณ 50 % จะเสีย

ชีวิตภายใน 1 –2 ชั่วโมงแรก และประมาณ 70 – 80 % จะเสียชีวิตภายใน

24 ชั่วโมงข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและมีโอกาสจะเสียชีวิตได้ง่าย

ประกอบด้วย

1. อายุมาก โดยเฉพาะถ้ามีอายุ มากว่า 65 ปีขึ้นไป

2. ตำแหน่งหรือบริเวณที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจซีกซ้ายด้านหน้า จะมีอัตราเสี่ยงสูง

3. มีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือช้อค

4. มีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย

5. เคยมีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อนโดยเฉพาะเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจโต

6. เป็นโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับปอด

7. ผลการตรวจพิเศษบางชนิด เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือผลการตรวจเลือดบ่งบอกว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง

การรักษาหรือป้องกันด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวมานี้อาจมีผลทำให้การพยากรณ์

ของโรคดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็นด้วย การระวัง

ป้องกันและการดูแลรักษาตัวของผู้ป่วยเองจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นได้

และนำไปสู้การพยากรณ์โรคที่ดีหรือทำให้ความรุนแรงของโรคน้อยลงได้ต่อไป
Create Date :24 ธันวาคม 2553 Last Update :24 ธันวาคม 2553 11:52:19 น. Counter : Pageviews. Comments :1