bloggang.com mainmenu search
โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่งในสตรีวัยเจริญ

พันธ์ ในช่วงอายุเฉลี่ยประมาณ 25-35 ปี เป็นภาวะที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญ

อยู่ที่บริเวณอื่น ๆ นอกโพรงมดลูก เช่น ภายในกล้ามเนื้อมดลูก



(adenomyosis) รังไข่ (endometriotic cyst หรือ Chocolate cyst) อุ้งเชิงกราน

ลำไส้ใหญ่ หรือ อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น บริเวณผิวหนัง ปอด

เป็นต้น โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ

ผู้ที่เริ่มมีระดูตั้งแต่อายุน้อย และมีรอบระดูสั้นกว่าปกติ



โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้มีความผิดปกติอย่างไรได้บ้างความผิดปกติ

มีได้มากมายหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ ไม่มีอาการใด ๆ จนถึงอาการปวดอย่าง

รุนแรง จนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเรียน การทำงาน รวมทั้งอาจก่อให้

เกิดปัญหาครอบครัวได้ ซึ่งอาการที่พบได้ในผู้ที่เป็นเยื่อบุมดลูกผิดที่มีดังต่อไปนี้

1. ปวดประจำเดือน

2. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง

3. เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

4. มีบุตรยาก

5. ประจำเดือนผิดปกติ

6. ถุงน้ำรังไข่(Chocolate Cyst)

7. ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ มีเลือดปนตามรอบประจำเดือน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

ปัจจุบัน กลไกการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ตามทฤษฎี เชื่อ

ว่าโรคนี้เกิดจากการไหลย้อนกลับของระดูผ่านท่อนำไข่เข้าไปในช่อท้อง

ทำให้มีเลือดระดู และเซลล์เยื่อบุมดลูกไปเจริญผิดที่ในบริเวณต่างๆ

ภายนอกโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น

การวินิจฉัย โรคเยื่อบุมดลูกผิดที่

แพทย์จะทำการซักถามประวัติความเจ็บป่วย รวมทั้งการตรวจร่างกาย

ตรวจภายใน ร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวน์ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย

โรคนี้ นอกจากนี้การส่องกล้องตรวจภายในช่องท้อง(Diagnostic

laparoscopy)และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ถือเป็นมาตรฐาน

ในการวินิจโรคนี้ และสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งแพทย์จะ

เป็นผู้ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยรายใดที่มีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะรับ

การตรวจรักษาด้วยวิธีนี้ รวมทั้งพิจารณาถึงข้อควรระวังและภาวะ

แทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น หากท่านมีข้อสงสัยประการใด

ขอเชิญรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ท่านต่อไป

การรักษาโรคเยื่อบุมดลูกผิดที่

การรักษาจะต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ มากมายได้แก่ อายุ ของผู้ป่วย

สถานภาพสมรส ความต้องการมีบุตร ความรุนแรงของโรคและผลการ

รักษาที่เคยได้รับมาก่อน โดยการรักษาอาจจะเป็นการรักษาด้วยยา การ

ผ่าตัดหรือการรักษาร่วมกันทั้งสองวิธีซึ่งในรายละเอียดของการรักษา

ท่านสามรถขอรับคำปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้คำแนะนำและการรักษาที่

เหมาะสมสำหรับตัวท่านได้
Create Date :20 ธันวาคม 2553 Last Update :20 ธันวาคม 2553 10:42:05 น. Counter : Pageviews. Comments :3