สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

กินปรับพันธุกรรม




เรื่องที่ฮอตในวงการโภชนาการช่วงนี้คือ เรื่องของอาหารที่มีผลต่อยีนซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของมนุษย์ได้ในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงการทำงานที่สัมพันธ์กันของยีน อาหาร และไลฟ์สไตล์ของคนเรา และเชื่อว่าปัจจัยทั้ง 3 นี้มีผลต่อสุขภาพคือ


คนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ธาลัสซีเมีย ดาว์นซินโดรม ตาบอดสี อาหารจะควบคุมยีนให้มีลักษณะเปลี่ยนไปจึงส่งผลต่อความรุนแรงของโรค และมีส่วนในการปรับปรุงยีนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาวต่อรุ่นลูกรุ่นหลาน

คนที่พ่อแม่มีโรคทางพันธุกรรม แต่ตัวเองยังไม่เป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน มะเร็ง การ กินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการอาจกระตุ้นการเกิดโรคได้ ในทางกลับกันหากได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการที่ถูกต้องอาจจะเปลี่ยนโครงสร้างของยีนให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรค และอาจลดความเสี่ยงในรุ่นลูกหลานได้มากขึ้นด้วย

ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มมีการตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับอาหารและแนะนำให้บริโภคอาหารตามยีนแล้ว ในประเทศไทยจะมีที่โรงพยาบาลเอกชนและศูนย์สุขภาพความงามชั้นนำ แต่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยนักวิจัยจะใช้ข้อมูลในรหัสของยีนเป็นเครื่องมือในการเลือกอาหารที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานของยีน เปรียบเสมือนเรามีแผนที่สุขภาพที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีเลิศไปตลอดชีวิต


ยีนดียีนไม่ดี

ในความเป็นจริงคนเรามีทั้งรหัสพันธุกรรมดีและไม่ดีฝังอยู่ในยีน และในหลายๆ กรณี เราสามารถปรับเปลี่ยนรหัสเหล่านี้ได้ด้วยการเลือกกินอาหารที่ดี จริงอยู่ยีนกำหนดจุดด้อยหรือความอ่อนแอของสุขภาพทำให้เราป่วย แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อากาศที่เราหายใจ และสารพิษที่ได้รับล้วนแต่มีผลต่อชีวิตและสุขภาพของเรา ฉะนั้นหากรู้ได้ว่าเรามียีนแบบไหน ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์ตามยีนได้


7 อาหารบำรุงยีน

บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ ผักแขนง
สารอาหาร : สารกลูโคไซในเลท (Glucosinelates)
ประโยชน์ : กระตุ้นการทำงานของยีนที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ซึ่งหากยีนทำงานดีอยู่แล้ว แต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารพิษหรือกินยาหลายชนิด ร่างกายอาจขจัดสารพิษออกได้ไม่เต็มที่

ถั่วเหลือง
สารอาหาร : สารเจนนิสทีน (Genistein)
ประโยชน์ : กระตุ้นยีนที่ทำหน้าที่เพิ่มระดับเอชดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลที่ดีในเลือด

ไวน์แดง
สารอาหาร : เรสเวอราทอล (Resueratral)
ประโยชน์ : กระตุ้นการทำงานของยีนที่ป้องกันเนื้อเยื่อถูกอนุมูลอิสระทำลาย

มะเขือเทศ
สารอาหาร : สารไลโคฟีน
ประโยชน์ : ชะลอการทำงานของยีนที่กระตุ้นเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส
สารอาหาร : กรดกวามาไลโนเลนิก
ประโยชน์ : ลดการทำงานของยีนที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และเซลล์เนื้องอกที่อันตราย

ขมิ้น
สารอาหาร : เคอร์คิวมิน
ประโยชน์ : ช่วยยับยั้งยีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ

ปลาทะเลน้ำลึกหรือแฟลกสีด
สารอาหาร : โอเมก้า 3
ประโยชน์ : ช่วยชะลอยีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ


ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่า อาหารมีผลต่อการทำงานของยีน และไม่มีอาหารชนิดใดชนิดเดียวที่จะเหมาะกับทุกคน สำหรับคนที่ไม่มีโรคทางพันธุกรรม ก็สามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้เป็นแผนที่สร้างสุขภาพดีได้เช่นกันค่ะ




 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2552
1 comments
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2552 9:51:18 น.
Counter : 739 Pageviews.

 

 

โดย: น้องเมย์น่ารัก 22 กรกฎาคม 2557 11:14:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
23 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.