สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
แม่กินยา...ลูกกินนม

คนนะไม่ใช่เหล็ก! ต่อให้เป็นคุณแม่ซูเปอร์มัมขนาดไหน ก็ต้องมีวันเจ็บไข้ได้ป่วยกันบ้างล่ะน่า ถ้าเป็นคุณแม่คนใหม่ที่ยังให้นมลูกอยู่แล้วเกิดไม่สบายต้องอาศัยหยูกยาละก็ อย่ามัวแต่กังวลใจ รีบอ่านคำแนะนำต่อไปนี้เลยจ้ะ

คุณแม่ที่ให้นมลูกเอง แล้วเจ็บป่วยจำเป็นจะต้องกินยา แต่กลัวว่ายาจะตกค้างและถูกขับออกทางน้ำนมไปมีผลเสียหายต่อลูก อย่ากังวลไปเลยค่ะ เพราะไม่ใช่ยาทุกชนิดที่จะถูกขับออกมาทางน้ำนมในปริมาณมากจนมีผลต่อลูก แต่มียาเพียงบางชนิดเท่านั้นที่หากแม่ได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ควรงดให้นมลูก แต่ถ้าคุณแม่เกิดจำเป็นต้องกินยาในระหว่างที่ให้นมลูก วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัยมีดังนี้ค่ะ

ยากินได้

ยาที่ใช้กินเพื่อรักษาโรคทั่วๆ ไป เช่น หวัด เจ็บคอ ยาลดไข้ แก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก วิตามิน และยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับแม่และลูกที่กินนมแม่ ยกเว้นยาปฏิชีวนะที่ชื่อ "เตตร้าซัย
คลิน" ซึ่งมีผลให้ฟันของทารกเปลี่ยนสี เป็นสีเทาจุด ๆ

ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เช่น อินซูลิน (ยารักษาโรคเบาหวาน) จะไม่ถูกขับออกทางน้ำนมเลย หรือยาที่ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือดชื่อ วอร์ฟาริน จะจับตัวกับโปรตีนในกระแสเลือด จึงไม่ถูกขับออกมาทางน้ำนมเช่นกัน

ยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ และยาลดไข้แก้ปวด ไม่มีผลต่อการให้นมลูก คุณแม่ยังคงให้ลูกกินนมแม่ได้ แต่ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในหัวข้อต่อไปค่ะ

ก่อนกินยาต้อง...

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ายาที่กินเข้าไปจะไม่มีการขับออกมาทางน้ำนม หรือถูกขับออกมาน้อยมากจนไม่มีผลต่อทารก แต่ในระยะยาวเรายังไม่ทราบว่า ทารกที่เคยได้รับยาผ่านทางน้ำนมแม่จะเป็นเช่นไร จะเกิดภาวะภูมิไวเกินไปต่อยานั้นในอนาคตหรือไม่ ดังนั้นแม่ให้นมลูกควรกินยาเท่าที่จำเป็น และให้มีปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่สำคัญที่สุดคือควรปรึกษาคุณหมอก่อนกินยาทุกครั้ง และบอกคุณหมอให้ทราบด้วยว่ากำลังให้ลูกกินนมแม่อยู่ คุณหมอจะได้พิจารณาเลือกใช้ตัวยาที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมได้น้อย

หรืออีกทางหนึ่งคุณแม่อาจถามคุณหมอว่า การเจ็บป่วยนี้จำเป็นต้องใช้ยากินหรือไม่ ถ้าเลี่ยงได้แล้วไปใช้ยาเฉพาะที่ เช่น ยาทา หรือยาหยอดแทนได้หรือไม่

แต่หากเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นจะต้องใช้ยากินจริง ๆ ก็มีข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่ดังนี้ค่ะ

1. ถามคุณหมอว่าจะต้องกินยากี่วัน และยานั้นจะมีอันตรายต่อลูกหรือไม่ เพราะการกินยาแค่ 2-3 วัน ย่อมมีผลต่อลูกน้อยกว่าการกินยาติดต่อกันนานๆ เพราะในกรณีที่แม่ต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีการสะสมของยาในร่างกายลูกที่กินนมแม่ได้ เช่น แม่ที่ต้องกินยาแอสไพริน แอสไพรินจะถูกขับออกมาทางน้ำนมปริมาณสูงสุดในช่วง 10-20 นาที หลังกินยา เพราะฉะนั้นลูกที่กินนมแม่จะได้รับแอสไพรินสะสมเพิ่มขึ้นทุกวันจนเป็นอันตรายได้

2. ควรเลือกเวลากินยาเพื่อให้ยาผ่านถึงลูกให้น้อยที่สุด ยาส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระแสเลือดสูงสุดหลังจากกิน 1-3 ชั่วโมง ดังนั้นอาจเลือกเวลากินยาในช่วงที่ลูกหลับนานๆ หรือคุณแม่กินยาทันทีหลังจากที่ให้นมลูก และพยายามยืดเวลาการให้นมมื้อต่อไปให้นานพอ เพื่อเว้นระยะห่างของมื้อนมให้พ้นช่วงที่ยังมียาอยู่ในกระแสเลือดระดับสูงสุด

3. ถามคุณหมอว่ายานี้อาจมีผลทำให้ลูกเกิดอาการผิดปกติอะไรบ้าง เช่น ง่วงซึม อาเจียน ร้องผิดปกติ ผื่น ท้องเสีย ถ้าสังเกตว่าลูกมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะได้หยุดยาได้ทันท่วงที

แม่กินยาเหล่านี้ "ต้องงดให้นม"

มียาบางชนิดที่ถูกขับออกมาทางน้ำนมในปริมาณมาก คุณแม่ไม่ควรให้ลูกกินนม ถ้าต้องกินยาต่อไปนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานค่ะ

ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยาโปรแซค ซึ่งจะทำให้ทารกซึม หรือ ลิเธียม ซึ่งจะถูกขับออกทางน้ำนมถึง 1/2 หรือ 1/3 ของระดับยาในกระแสเลือด หากลูกได้รับยาเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบประสาทได้

ยาต้านมะเร็งและยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ หรือไซโคลสปอริน ยาเหล่านี้จะฆ่าเซลล์มะเร็ง อาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกายของลูกได้

เออร์โกตามีน เป็นยารักษาโรคปวดหัวไมเกรน ทำให้ทารกท้องเสีย อาเจียน และชักได้

อะทีนอล เป็นยาลดความดันโลหิต และป้องกันไมเกรน ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของทารกช้าลง ต้องระวังเป็นพิเศษในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือไตทำงานผิดปกติ

การรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีต่างๆ เช่น ไอโอดีน 131

โบรโมคริปตีน เป็นยายับยั้งฮอร์โมนโปรแล็กติน จึงทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง

ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องกินยาเหล่านี้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1-2 สัปดาห์ คุณแม่อาจจะบีบน้ำนมเก็บแช่แข็งไว้ก่อนที่จะเริ่มกินยา พอเริ่มกินยาก็บีบน้ำนมทิ้งเป็นระยะ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายยังคงผลิตน้ำนมต่อ เพื่อว่าหลังจากที่คุณแม่หยุดยาและยานั้นถูกขับออกจากตัวแม่หมดแล้ว จะยังคงมีน้ำนมให้ลูกได้ต่อไป

โดยสรุปก็คือ แม่ให้นมลูกควรใช้ยาให้น้อยที่สุด และก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงคุณสมบัติของยานั้น ๆ และวิธีปฏิบัติตัวในระหว่างที่ต้องกินยาและให้นมลูกไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และความสบายใจของคุณแม่ จะได้หายป่วยเร็ว ๆ และกลับมาให้นมลูกได้ตามปกติอย่างที่เคยเป็นค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจาก//women.kapook.com/view12389.html


Create Date : 02 พฤษภาคม 2553
Last Update : 2 พฤษภาคม 2553 8:03:43 น. 0 comments
Counter : 2326 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.