bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย, สุโขทัย Thailand
พิกัด GPS : 17° 25' 50.34" N 99° 47' 10.97" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม




วัดใน entry นี้เป็นวัดอีกหนึ่งวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยที่มีความสวยงาม ใหญ่โต อลังการงานสร้างมากๆ และเป็นวัดที่เป็น TheMust - ห้ามพลาด เมื่อมาเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย



ที่ที่เราได้ไปเที่ยวกันมาแล้วก็มี



ประตูรามณรงค์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=10&group=44&gblog=2



วัดนางพญา

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=14&group=44&gblog=3



วัดหลักเมือง วัดหน้าเมือง และ วัดป่าอุดมสัก

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=19&group=44&gblog=4



วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=23&group=44&gblog=5





วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย




อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุโขทัยขึ้นไปประมาณ50กิโลเมตรสามารถเดินทางไปได้2เส้นทางคือจากจังหวัดพิษณุโลกวิ่งตรงขึ้นไปใช้เส้นทางหมายเลข101โดยไม่แยกเข้าตัวเมืองสุโขทัยหรือจะแยกเข้าตัวเมืองสุโขทัยแล้วใช้เส้นทาง1201วิ่งเลียบแม่น้ำยมขึ้นไปผ่านท่าอากาศยานสุโขทัยเส้นทางนี้จะค่อนข้างคดเคี้ยวตามลำน้ำยมแต่ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเลยถ้าวิ่งเส้น101จะต้องอ้อมขึ้นไปแล้ววกลงมาอีกทีครับแต่เส้นทางจะเป็นถนนที่ตรงมากกว่า


วัดเจดีย์เจ็ดแถวตั้งอยู่ในแนวแกนหลักของวัดใหญ่ๆในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก จากทางเข้าหลักของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดเจดีย์เจ็ดแถวจะตั้งอยู่ระหว่างวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่กับวัดมหาธาตุ (วัดช้างล้อม) อยู่ด้านหลังวัดนางพญา ชื่อ วัดเจดีย์เจ็ดแถว นี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านมาเรียกกันในภายหลังตามลักษณะเจดีย์ที่อยู่ในวัดที่มีมากมาย ส่วนชื่อจริงๆของวัดนี้ยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึง








เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งของวัดที่เป็นหนึ่งในแนวแกนหลักของวัดกลางเมืองศรีสัชนาลัย และขนาดของวัดที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่และสิ่งก่อสร้างต่างๆมากมายเกินกำลังของราษฎรธรรมดาจะอุปถัมภ์ ก็พอจะอนุมานได้ว่าคงเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย



จากพระราชวินิจฉัยในพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ว่า “วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้เป็นวัดใหญ่เพราะฉะนั้นจำจะต้องลองสันนิษฐานดูว่าเป็นของใคร นายเทียนกล่าวว่าวัดนี้เดิมเขาเรียกว่า วัดกัลยานิมิต เพราะว่านางพญาธิดาแห่งพระมหาธรรมราชา (บาธรรมราช)เป็นผู้สร้างขึ้น นายเทียนอ้างหนังสือที่ไฟไหม้นั้นเป็นพยานอีก”



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยว่าวัดนี้เป็นวัดที่สวยงามกว่าวัดอื่นๆ อาจจะเป็นวัดของกษัตริย์ และเจดีย์รายอื่นๆคงเป็นเจดีย์สำหรับบรรจะพระอัฐิของเจ้านาย (จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าเจดีย์รายต่างๆล้วนสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน เพราะมีการวางผังการสร้างอย่างสวยงามและสมดุลกัน)



วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีกำแพงศิลาแลง 2 ชั้น ชั้นนอกกว้าง 97.80 เมตร ยาว 145.50 เมตร ใช้การปักศิลาแลงแท่งใหญ่ๆลงในพื้นดินเรียกกันเป็นแถวจนเป็นกำแพงแล้วทับด้วยศิลาแลงก้อนสี่เหลี่ยมด้านบน ทำเป้นประตูทางเข้าตรงกันกับกำแพงชั้นในทั้ง 4 ประตู กำแพงชั้นในกว้าง 58.70 เมตร ยาว 94.80 เมตร ใช้การเรียงก้อนศิลาแลงเป็นกำแพงและซุ้มประตู มีซุ้มประตูทางเข้าตรงกันกับกำแพงชั้นนอก 4 ประตู ทุกด้วยทำซุ้มประตูยกเว้นด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเจาะเป็นทางเข้าแต่ไม่ได้ทำซุ้มประตู






ด้านหน้ามีพระวิหารขนาด 11 ห้อง กว้าง 16 เมตร ยาว 47.80 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและหลัง เห็นทีบันไดทางขึ้นข้างหน้า 2 ข้าง ซ้าย – ขวา แต่บันไดข้างไม่มีแน่ครับ บันไดหลังจะมีหรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับเพราะสายตามัวแต่ไปโฟกัสอยู่ที่พระเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์กับเจดีย์ราย จากการขุดแต่งและบูรณะกรมศิลปากรพบร่องรอยของไฟไหม้บริเวณแท่นบูชาและพระประธาน เพราะพบเศษปูน สำริด และขี้เถ้าอยู่เป็นจำนวนมาก









เจดีย์ประธานของวัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ หรือทรงดอกบัวตูมขนาดใหญ่ ฐานพระเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดยาวด้านละ 13.50 เมตร มีระเบียงคด (มีหลังคาคลุม) ล้อมรอบ มีแท่นบูชาตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศ เฉพาะด้านหน้า (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) มีขนาดใหญ่กว่าทางด้านอื่นๆ และยังเชื่อมต่อกับท้ายวิหารอีกด้วย มีฐานเขียงขนาดใหญ่ตั้งซ้อนกันเป็นชั้นสูง 3 ชั้น สอบเล็กน้อยเพื่อรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานแว่นฟ้าซ้อนกันค่อนข้างสูง ชั้นเรือนธาตย่อมุมไม้ยี่สิบ ยอดทำเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงบัวตูม ส่วนบนของทรงดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเรียวขึ้นไปเรียกว่า “ปลี”






เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ หรือทรงดอกบัวตูมนี้ถือเป็นศิลปะสุโขทัยแท้ๆ ที่ศิลปินในสมัยสุโขทัยคิดขึ้นและไม่พบว่ามีการสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยต่อมาอีกเลย






สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่าอาจจได้แบบอย่างมาจากเจดีย์จีน (ถะ) แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับกระบวนงานช่างของไทยด้วยทรงเห็นภาพเจดีย์แบบจีนจากภาพที่ฝังศพแบบโบราณในหนังสือ “อินลัสเตรทเต็ด ลอนดอนนิวส์” (ค.ศ.1928) ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงอยู่บ้าง ประกอบกับในสมัยสุโขทัยได้มีการติดต่อกับจีนอย่างใกล้ชิด






ศาตราจารย์ศิลปะ พีระศรี มีความเห็นในแง่ของศิลปะว่าอาจจะได้รับแบบอย่างมาจากสถาปัตยกรรม “ซาราเซน (SaracenicStyle) เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับยอดสุเหร่าหรือมัสยิด (mosque) ของมุสลิมหรือชาวอาหรับ






ศาสตรจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้ให้ความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “อิทธิพลอินเดียต่อศิลปะไทย” ในหนังสือ IndianArt & Letters (ค.ศ.1950) ว่าโครงสร้างของเจดีย์แบบนี้ดูเหมือนว่าจะมาจากรูปทรงของโกศบรรจุพระบรมอัฐิ






มร.กริสโวลด์ มีความเห็นไว้ในหนังสือ Towardsa History of Sukhodaya Art ว่า พญาเลอไทยคงจะได้แบบอย่างมาจากเจดีย์จำลองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของลังกาซึ่งเป็นรูปดอกบัวตูม






ที่น่าสนใจที่สุดเป็นความเห็นของ ดร.ธนธร กิตติกานต์ ในหนังสือ “มหาธาตุ” หน้า 136 – 138 ที่เห็นว่ารูปแบบของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมน่าจะมาจาก “โจม” หรือ “ขระโจม” ซึ่งเป็นภาชนะท้องถิ่นชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นทรงพุ่มคล้าย “อูบ” หรือ “ขระอูบ” ซึ่งเป็นภาชนะเครื่องเขินของล้านนา หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏใน จารึกพ่อขุนรามพล (หรือพญารามพระอนุชาของพญาลิไท) มีข้อความว่า



“...พ่อขุมรามพลได้เมืองศรีสัชนาไลยนี้คืนโสด เขาพี่น้องส...คน... เป็นขุนกว้าน อยู่ได้สี่เดือนจึงสอมยอดพระธาตุ เอาทองนพคุณโสรม เอาไพฑูรย์ใส่เป็นโจม สุดบ ... ดพ่อขุนรามพลเข้าเมืองศรีสัชนาไลยหากให้แก่พี่น้อง แก่ฝูงทวยทหารได้สามแสนคน”



นอกว่านั้นในตำนานพระธาตุแช่แห้งยังระบุเลยว่าภาชนะนี้สำหรับใส่พระธาตุเท่านั้น






ส่วนเจดีย์รายมีจำนวนทั้งหมด 26 องค์ มีรูปแบบต่างกันเพราะได้รับอิทธิพลจากที่ต่างๆ เช่น ลังกา พุกาม และศรีวิชัย
















มีเจดีย์รายอยู่ 2 องค์ ที่มีรายละเอียดโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ เจดีย์ประจำมุมทางทิศเหนือ (เจดีย์รายหมายเลข 3 อยู่ด้านหลังเจดีย์ประธานด้านติดกับถนนผ่ากลางอุทยานฯ) เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมียอดเป็นทรงกลมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะพุกาม มีการประดับซุ้มด้วยลวดลายฟักเพกา ตกแต่งท้องไม้ด้วยลายกากบาท สถูปิกะ (ยอดเล็กทั้ง 4) เป็นทรงสี่เหลี่ยมตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายกลีบบัว องค์ระฆังแต่งด้วยรัดอก องค์ระฆังทำเปฌนซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยพระพุทธรูปปางเปิดโลก พระพุทธรูปปางประทานอภัย พระพุทธรูปปางลีลา แต่ไม่มีองค์ไหนสมบูรณ์สมบูรณ์







เจดีย์รายอีกองค์ที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือเจดีย์ประจำด้านอยู่ด้านหลังของเจดีย์ประธานพอดี (เจดีย์รายหมายเลข 33) เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัยยอดในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมียอดเป็นทรงกลม มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างศิลปะเขมร ล้านนา และศิลปะสุโขทัย องค์ระฆังของเจดีย์ทำเป็นห้อง “ครรคฤหะ” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหน้ามีประตูสำหรับเข้าสู่ห้องคูหา ด้านข้างมีซุ้มปีกนก 2 ซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดเล็ก ด้านในห้องคูหาหรือห้องครรคฤหะประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานอภัย ภายในคูหายังมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยใช้สีแบบเอกรงค์ (สีเดียว) นับเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 แต่ปัจจุบันเลือนแทบจะไม่เห็นร่องรอยแล้ว








ด้านหลังของเจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งโดยทั่วไปแล้วในสมัยสุโขทัยจะไม่นิยมสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2501 พระพุทธรูปองค์นี้ยังมีสภาพสมบูรณ์อยู่กรมศิลปาการจึงได้จำลองแบบเอาไว้ ภายหลังมีคนร้ายเข้ามาลักลอบตัดเศียรพระพุทธรูปไป กรมศิลปากรจึงทำการบูรณะโดยการถอดแบบพิมพ์จากแบบจำลองนำมาต่อเติมให้สมบูรณ์โดยจะเห็นว่าส่วนที่ถอดมาจากแบบจำลองมีความใหม่กว่าส่วนของพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม







เมื่อเดินออกไปนอกกำแพงแก้วจะพบกับสระน้ำโบราณ กับพระอุโบสถ (ไม่ได้ถ่ายรูปมาครับ)






เมื่อวนกลับมาที่บล็อกท่องเที่ยวอีกครั้งรอพบกับวัดอีกหนึ่งวัดที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยนะครับ







ขอบคุณ code เพลงจากบล็อก  "ป้ากล้วย"  ครับ






อีกช่องทางหนึ่งในการติดตามการท่องเที่ยวแบบตามใจทนายอ้วนครับ



ทนายอ้วนพาเที่ยว - ChubbyLawyer Tour



https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/






Chubby Lawyer Tour …………… เที่ยวไป...........ตามใจฉัน






SmileySmileySmiley

Create Date :29 มิถุนายน 2559 Last Update :29 มิถุนายน 2559 17:30:44 น. Counter : 5967 Pageviews. Comments :11