bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดชมชื่น ศรีสัชนาลัย สุโขทัย, สุโขทัย Thailand
พิกัด GPS : 17° 25' 41.50" N 99° 48' 21.49" E

ดูแผนที่เพิ่มเติม
 




บล็อกนี้และบล็อกต่อไปซัก  2 - 3 บล็อก  จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยครับ  โดยเฉพาะโบราณสถานในอำเภอศรีสัชนาลัยกับอำเภอเมืองสุโขทัยครับ
 
 




 

วัดชมชื่น  ศรีสัชนาลัย  สุโขทัย
 
 




 
จริงๆแล้ววัดพื้นที่ของ
วัดชมชื่นกับพื้นที่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง  (ในบล็อกที่แล้ว)  เป็นพื้นที่เดียวกัน  และยาวไปจนถึงวัดเจ้าจันทร์  ซึ่งจะลงเป็นบล็อกถัดไปนะครับ  พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานอยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  9  จนมาถึงอารยธรรมทวาราวดี  ขอม  จนมาถึงสุโขทัย






 
หลักฐานการอาศัยอยู่ของผู้คนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  9  ปรากฏอยู่  ณ  พื้นที่หน้า
วัดชมชื่น  คือ  อาคารอนุรักษ์หลุมขุดค้นวัดชมชื่น  ภายในมีโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ  15  โครง  ในระดับชั้นดินลึก  7 – 8  เมตร
 
 



แต่ .......
 


 
 
เจ้าของบล็อกขอข้ามไปนะครับ  เนื่องจากเป็นคนที่กลัวผีมากกกกก  .....  อย่าว่าแต่เข้าไปชมเลยครับ  ถ่ายรูปโครงกระดูกก็ยังไม่กล้าถ่ายมาเลย  กลัวจะเห็นอะไรๆที่มากกว่าสิ่งที่ถ่ายมา  เลยขอข้ามหลุมขุดค้นไปเที่ยววัดชมชื่นกันเลยนะครับ  อิอิอิ
 






 

วัดชมชื่น  เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์และมรดกโลกทางวัฒนธรรม
 
 


 

วัดชมชื่น  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม  ทางทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง  ราว  400  เมตร  ใกล้ๆกันมีโบราณสถานที่สำคัญนอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยตั้งอยู่อีกแห่งคือ  วัดเจ้าจันทร์
 




 
ในบริเวณ 
วัดชมชื่น  มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์  โถใส่อัฐิของมนุษย์  และเครื่องปั้นดินเผา  แกละแม้ว่าสิ่งก่อสร้างต่างๆในวัดชมชื่นจะมีลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัย  แต่จากการศึกษาและขุดแต่งบริเวณฐานพระวิหารและการสำรวจและศึกษารูปแบบภายในเจดีย์ประธาน  น่าจะมีการสร้างสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยทับลงไปบนปรางค์แบบขอมมาก่อน 





รูปแบบสัณนิษฐานของโบราณสถาน  
วัดชมชื่น






 
 
 




รอบเขตพุทธาวาสของวัดชมชื่น  มี
กำแพงแก้วโดยรอบ  มีประตูเข้าหลักๆ  2  ประตู  อยู่ทางทิศเหนือและทิอใต้  (ประตูเปิดลงสู่แม่น้ำยม)  ซุ้มประตูก่อแบบย่อมูม  สัณนิษฐานว่าคงทำเป็นซุ้มโค้งแหลมแบบที่นิยมในสมัยสุโขทัย  ส่วนทางเข้าด้านหน้า  (เจ้าของบล็อกคาดว่า .... )  คงเปิดกำแพงแก้วเป็นทางเข้าหลักในภายหลัง  เพราะถ้ายืนถ่ายรูปจากตรงที่เปิดกำแพงแก้วหน้าพระวิหารจะเห็นวัดชมชื่นเต็มตามมากกว่า






 
 
 
 






พอเดินเข้ากำแพงแก้วจะเห็น
พระวิหารอยู่ด้านหน้าสุดคือ  เป็นวิหารโถงขนาด  6  ห้อง  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มีมุขยื่นออกมากที่ด้านหน้าและทำทางขึ้นตรงกลาง  นอกจากนั้นยังทีบันไดสำหรับขึ้นพระวิหารด้านข้างมุขทั้งสองข้างอีกด้วย 







 
 










ถ้าลองลังเกตุดีๆจะเห็นว่าถ้าเราเดินขึ้น
พระวิหารตรงมุขกลางจะเข้าไปในพระวิหารไม่ได้  เพราะจากมุขกับภายในพระวิหารจะมีแถวศิลาแลงขวางอยู่  ต้องไปใช้บันไดตรงข้างๆมุขกลางทั้งสองข้างถึงจะเข้าไปภายในพระวิหารได้  (ถึงคำบรรยายจะบอกว่าเป็นวิหารโถงคือไม่มีกำแพงรอบ  แต่แถวของศิลาแลงที่ขวางอยู่ก็สูงเกินกว่าจะก้าวข้ามไปได้)  ทำให้คิดไปได้ว่ามุขกลางน่าจะใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ  เช่น  พระพุทธรูป  (เหมือนหลายๆวัดในปัจจุบันก็นิยมประดิษฐานพระพุทธรูปที่หน้าทางเข้าพระวิหาร)
 



 
 






ฐานพระวิหาร  ทำเป็นรูปบัวคว่ำ  จากการขุดแต่งและบูรณะวิหารพบว่ามีฐานวิหารรูปบัวคว่ำซ้อนอยู่ภายในฐานวิหารที่เราเห็นในปัจจุบันอีกชั้นหนึ่ง  แสดงว่าวิหารหลังนี้มีการสร้างซ้อนทับกัน ๒ ครั้ง 








 

 
 
เสาภายในพระวิหารแกนเป็นศิลาแลงซอนกันแล้วโกลนเป็นเสา  ฉาบปูน  ทำเป็น  8  เหลี่ยม  ยังหลงเหลือร่องรอยของช่องสำหรับสอดเครื่องหลังคาที่ทำด้วยไม้ให้เห็นอย่างชัดเจน


















 
สุดพระวิหารทำเป็น 
มณฑป  กุฎี  หรือ  กุฎาคาร (Cella-shrine หรือ Ku-dee)  คล้ายเป็นห้องทึบอยู่ท้ายวิหาร  มีส่วนฐานเชื่อมติดกัน 
 



 
เป็นมณฑปทรงจั่วแหลม  หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลี่ยมเข้าหากันจนเป็นรูปจั่วแหลม  ด้านหน้าทำเป็นซุ้มทรงสูงทั้ง  2  ข้าง 





ในมณฑปมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายในเต็มพื้นที่  ส่วนด้านหลังของมณฑปทำเป็นซุ้มจระนำเคยมีพระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานอยู่  แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว
















 


 


 
ส่วนบนของมณฑปยังคงหลงเหลือร่องรอยของปูนปั้นสำหรับประดับตกแต่งอยู่หลายจุด  บางจุดก็เห็นว่าเคยมีปูนปั้นประดับตกแต่งเป็นลวดลาย  “บัวคอเสื้อ”  ที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา  บางจุดก็เห็นได้ชัดเพราะยังคงมีปูนปั้นตกแต่งอยู่
 
 
 

 
 
 







เจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงระฆัง  ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลง  ฐานเขียงชั้นล่างสุดมีซุ้มพระตรงกึ่งกลางทั้ง  4  ด้านและบริเวณมุม  พร้อมกับมีแทนสักการะ  คล้ายกับเจดีย์ของลังกาและล้านนา 










 
 










ถัดขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถา  3  ชั้น  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์แบบลังกาในสมัยสุโขทัย  ยังคงหลงเหลือร่องรอยการประดับตกแต่งชั้นมาลัยแต่ละชั้นด้วยกลีบบัว














ส่วนบนตั้งแต่ชั้นบัลลังก์หักพัง  มีปล้องไฉนส่วนยอดตกอยู่ใกล้ๆองค์เจดีย์










 
 
 
ดร.ฌ็อง บัวสเซอลีเย่  นักประวัติศาสตร์ชื่อดังสันนิษฐานว่าเจดีย์ประธานของวัดน่าจะสร้างครอบทับปราสาทศิลาแลง ซึ่งกลายเป็นห้องบรรจุพระธาตุไป  เนื่องจากพบอาคารสี่เหลี่ยมมีซุ้มคล้ายปรางค์แบบขอมอยู่ภายในองค์เจดีย์
 
 
 
 
 
 ใกล้ๆกับเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดเล็กอีกหนึ่งหลัง










 
 
 
 
 
 



ขอขอบคุณท่านที่มีรายนามต่อไปนี้ที่ทำให้การท่องเที่ยวของเรามีสาระมากขึ้นครับ




Human Excellence – 32. วัดชมชื่น – ศรีสัชนาลัย

 
อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย – วัดชมชื่น

 
www.siamfreestyle.com – วัดชมชื่น

 
www.prapayneethai.com – แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น













 
อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม 
“ทนายอ้วนพาเที่ยว”
 


Chubby Lawyer Tour  -  ทนายอ้วนพาเที่ยว
 
 



Chubby Lawyer Tour ………………….. เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน






 
139135137
 
Create Date :31 มกราคม 2565 Last Update :31 มกราคม 2565 14:06:33 น. Counter : 1007 Pageviews. Comments :21