bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : พระราชวังจันทรเกษม อยุธยา - ตอนที่ 2, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 21' 56.18" N 100° 34' 29.00" E

ดูแผนที่เพิ่มเติม











 
พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา  





ตอนที่ 2   พลับพลาจัตุรมุข
 
 




 
อ่านประวัติ 
พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา  ได้ที่
 
 






พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา – ประวัติ

 
 


 
บล็อกที่แล้วได้เล่าถึงประวัติ  พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา  ไปแล้วนะครับ  ในบล็อกนี้จะพาไปชมโบราณสถานที่สำคัญแห่งที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ภายใน  พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา  กันครับ
 




 

กำแพงพระราชวัง
 


 
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง
 
 


 

กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐ มีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน แต่เดิมนั้นคาดว่ามีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง






 
 
 

 
 

พลับพลาจัตุรมุข
 

 


ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆกับกำแพงด้านหน้า  ในสมัย ร.4  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างอาคารพลับพลาทรงจตุรมุขแฝด    โดยสร้างบนรากฐานของพลับพลาจัตรุมุขเดิมเพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและที่ประทับในเวลาเดียวกัน   ภายในตั้งแต่งพระแท่นเศวตรฉัตรทำนองเดียวกันกับที่ประทับพระมหากษัตริย์
 




ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  5  พลับพลาจัตุรมุขชำรุดทรุดโทรม  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้พระยาไชยวิชิต  ผู้รักษากรุงเก่าซ่อมครั้งหนึ่งและใช้เป็นศาลาว่าการเมืองกรุงเก่า
 




 
ในปี  พ.ศ.  2447  ใช้เป็นที่ตั้งอยุธยาพิพิธภัณฑสถานจนถึงรัชกาลที่  7  โปรดเกล้าฯ  ให้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง  โดยให้พระยาโบราณราชธานินทร์เป็นผู้ดูแล  การซ่อมคราวนี้ได้รื้อองค์พลับพลาลงทั้งหมด  ได้มีการใช้คอนกรีตแทนเครื่องไม้ซึ่งเป็นของเดิม  และขยายองค์พลับพลาให้สูงขึ้นอีก  1  ศอก
 




 
พลับพลาองค์นี้เป็นพลับลาแบบ  ฉมุข  หรือพลับพลาจัตรุมุขแฝด  (พลับพลาแบบจัตรุมุข  2  หลัง  เชื่อมเข้าด้วยกัน)    ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขด้านละ  3  มุข  ตรงกลางเชื่อมมุขด้านหนึ่งเข้าด้วยกันเป็นทางเดิน  ตั้งอยู่บนชาลา  ใกล้กำแพงด้านหน้าตรงประตูด้านตะวันออก  มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
 



 
ฐานขององค์พลับพลามีขนาดกว้าง  18.50  เมตร  ยาว  31.30  เมตร  หลังคามุงกระเบื้อง  ประดับช่อฟ้า  ใบระกา  หางหงส์  หน้าบันตกแต่งด้วยลายพระราชลัญจกรปูนปั้นซึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการบูรณซ่อมแซมหน้าบันโดยเปลี่ยนจากหน้าบันที่จำจากปูนปั้นเป็นไม้แกะสลัก  แต่ยังคงลวดลายเดิมไว้ทุกประการ 























 
 

หน้าบันด้านหน้ามุขกลาง  (ด้านทางเข้า)
 


 

ลายพระราชลัญจกรพระราชโองการใหญ่  ขอบลายเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์  ลายภายในตอนบนเป็นอักษร  120  เป็นอักษรพราหมณ์  อ่านว่า  โอม  ตอนล่างเป็นอักษรขอม  ถัดลงมาเป็นพระราชลัญจกรสยามโลกัคราช  ที่ขอบที่ลายเบญจราชกกุธภัณฑ์  ในขอบลายมีอักษรขอม  4  บรรทัด  แปลความได้ว่า 
 
 



ใบประทับตรานี้ของอัครราชาโลกสยามผู้สั่งสอนสรรพชนในแว่นแคว้น 
 
 



โดยพระราชลัญจกรทั้งสองสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 









หน้าบันมุขด้านเหนือ
 

 

ลายพระราชลัญจกรครุฑพ่าห์  เป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ  กรอบนอกเป็นวงกลมเรียกว่าองค์เดิม  ใช้เป็นตราประจำแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน  ถือเป็นตราพระราชลัญจกรสำหรับพระมหากษัริย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มพระราชลัญจกรที่เป็นของเก่า  อันประกอบด้วยพระราชลัญจกรมหาโองการ  พระราชลัญจกรครุฑพ่าห์  และพระราชลัญจกรหงส์พิมาน   และพระราชลัญจกรไอยราพต  ตามหนังสือเรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตำแหน่งเรียบเรียงโดยพระยาอนุมานราชธน


 
 

หน้าบันด้านหลังมุขใต้
 
 
 

ลายพระราชลัญจกรสังข์พิมาน  เป็นรูปสังข์บนแว่นฟ้าในวิมานรูปปราสาทสามยอด  สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงพระอินทร์ผู้ทรงวิชัยยุตสังข์
 
 


 

หน้าบันด้านหน้ามุขใต้
 
 
 

ลายพระราชลัญจกรหงส์พิมาน   เป็นรูปหงส์ประทับอยู่ในวิมานรูปปราสาทสามยอด  กรอบนอกเป็นวงกลม  ถือเป็นตราพระราชลัญจกรสำหรับพระมหากษัตริย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นพระราชลัญจกรที่เป็นของเก่า   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่าหงส์พิมานน่าจะหมายถึงพระพรหม  เทพเจ้าผู้ทรงหงส์เป็นพาหนะ
 



 
 






หน้าบันด้านหลังมุขเหนือ
 
 

ลายพระราชลัญจรไอยราพต  เป็นรูปช้างสามเศียร  บนหลังช้างเป็นบุษกประดิษฐานอุณาโลม  แวดล้อมด้วยฉัตร  4  คัน  กรอบนอกเป็นวงกลมเรียกกันว่า  องค์ใหญ่  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่าไอยราพตสื่อความหมายถึงพระอินทร์เทพผู้ทรงช้างเอราวัณเป็นพาหนะ
 
 






หน้าบันด้านหลังมุขกลาง
 
 
 

ลายพระราชลัญจรกมหาโลโต  ในกรอบสี่เหลี่ยมตัวอักษรจีนอ่านได้ว่า  “เสียมโหลกิกอ๋อง” 
 
 



(เสียมโหล  =  สยาม  อ๋อง  =  กษัตริย์  ;  เจ้าของบล็อก)
 
 



ตามประวัติเป็นตราที่ได้รับจากจักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยอยุธยา
 




 
(ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาเมื่อเริ่มมีการค้ากับจีนเราจะติดต่อค้าขายกับจีนโดยตรงไม่ได้  จักรพรรดิจีนจะไม่ยอมค้าขายกับเรา  เราต้องไปติดต่อผ่าน  (คนกลาง)  อาณาจักรริวกิว  หรือปัจจุบันคือเมืองโอกินาว่า  ประเทศญี่ปุ่น  จนเมื่อจักรพรรดิจีนยอมที่จะค้าขายโดยตรงกับไทยจึงมอบตรามาให้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์  :  เจ้าของบล็อก)

 



 
ถัดลงมาเป็น
พระราชลัญจรมังครคาบก้ว  หรือมังกรเล่นแก้ว  เป็นตราพระราชลัญจรที่ไม่ปรากฏที่มา  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงสันนิษฐานจากลวดลายว่าอาจจะเป็นของเก่าที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่  1  และมีหลักฐานว่าในรัชกาลที่  2  เคยถูกใช้ควบคู่กับพระราชลัญจกรไอยราพต   ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่  5  ได้พระราชทานตราพระราชลัญจรนี้ให้เป็นตราสำหรับโบราณคดีสโมสร
 










 
สิ่งที่สำคัญที่ที่สุดที่จัดแสดงอยูภายใน 
พลับพลาจัตุรมุข   คือ  พระราชอาสน์สำหรับประทับนั่ง  (ราบ)  ของ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและนพปฎลมหาเศวตฉัตร












พระแท่นบรรทม
 









 
พระราชยาน

 
 







และเครื่องราชูปโภคและเครื่องใช้ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่งของหลายอย่างเป็นของตะวันตกครับ  เช่น  แชนเดอเลีย  หม้อกรองน้ำ  และเครื่องใช้ส่วนพระองค์หลายอย่างครับ




















 
นอกจากนี้  พลับพลาจัตุรมุข  พระราชวังจันทรเกษม  อยุธยา  ยังเคยเป็น  location  ในการถ่ายทำภาพยนต์และละครหลายๆเรื่อง  ที่เห็นชัดๆ  คือละครโทรทัศน์เรื่อง 
ศรีอยุธยา  ครับ
 
 
 
 
 
 

 ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีสำหรับข้อมูลครับ



 
 

พระราชวังจันทรเกษม - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 
พระราชวังจันทรเกษม – พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง กรมศิลปากร

 
พระราชวังจันทรเกษม – สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

 
พระราชวังจันทรเกษม – museum Thailand

 
เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เที่ยวทิพย์) ตอนที่ ๕ - สมาชิกหมายเลข 2898082

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม:Chantharakasem National Museum :  FB  Kenniegallery

 
https://www.sookjai.com/index.php?topic=47802.0;wap2







 
139135136



 
Create Date :01 เมษายน 2567 Last Update :1 เมษายน 2567 9:59:12 น. Counter : 423 Pageviews. Comments :16