bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดวรเชษฐาราม (วัดวรเชษฐ์) ในเกาะเมือง อยุธยา, อยุธยา Thailand
พิกัด GPS : 14° 21' 25.23" N 100° 33' 11.96" E

ดูแผนที่เพิ่มเติม
 






ช่วงนี้ไม่ได้ออกไปเที่ยวที่ไหนเลยตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม  อยู่บ้านตลอดครับ  ออกไปหน้ารั้วบ้านยังไม่ค่อยออกไปเพราะก่อนเข้าประตูบ้านจะต้องพ่นแอลกอฮอร์ทั้งตัว  ถูเจลทีมือถึงข้อศอก  แล้วก็รีบเข้าไปล้างมือด้วยสบู่พร้อมกับร้องเพลง  “ช้าง  ช้าง  ช้าง”  2 รอบ  อิอิอิ
 
 
 
 
 
ช่วงนี้เลยเป็นการเคลียร์คลังรูปสถานที่ท่องเที่ยวที่เคยไปมา  (นาน)  แล้ว  แต่ยังไม่ได้เอามาโพสครับ
 
 


 
วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศกลับมาเที่ยววัดเก่าๆกันเหมือนเดิมนะครับ
 




 
 

วัดวรเชษฐาราม (วัดวรเชษฐ์)  อยุธยา
 
 



 

วัดวรเชษฐาราม  เดิมชาวบ้านเรียกว่า  วัดเจ้าเชษฐฺ  หรือ  วัดวรเชษฐ์  เป็นวัดร้าง   ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง  ตำบลประตูชัย  อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยอยู่ระหว่างวัดโลกยสุธาราม และวัดวรโพธิ์  ทางทิตะวันตกของพระราชวังโบราณ  ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าในสมัยอยุธยาซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังพระราชวังโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา  หรือที่เรียกว่า  “สวนกระต่าย”
 




ในสมัยกรุงศรีอยุธยา   
วัดวรเชษฐาราม   มีฐานะเป็นพระอารามหลวง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2136 
 




พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ถือเป็นเอกสารฉบับที่เก่าที่สุดฉบับหนึ่งที่พูดถึง  
วัดวรเชษฐาราม  โดยระบุว่า สมเด็จพระเอกาทศรถได้โปรดให้สร้าง ‘วัดวรเชษฐารามมหาวิหาร’  โปรดให้สร้างพระพุทธรูป  มหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  กุฏิ  กำแพงล้อมรอบ  และทรงนิมนต์พระสงฆ์อรัญวาสีหรือพระสายวัดป่ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้






 





พระอุโบสถ
 
 

พระอุโบสถตั้งขนานกับพระวิหาร  เหลือแต่ผนังเพราะก่อด้วยอิฐ  ส่วนเครื่องหลังคาพังลงหมดแล้ว


 
 
ยังคงหลงเหลือร่องรอยให้เห็นว่ามีการประดับตกแต่งผนังด้านหน้าพระอุโบสถด้วยเครื่องถ้วยชามเหมือนที่วัดมหาธาตุ









 
 




มีการเจาะช่องหน้าต่างให้มีลักษณะสอบด้านบน  ส่วนด้านล่างจะกว้างกว่าด้านบนนิดหน่อย  ซึ่งเป็นลักษณะยอดฮิตมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่  23  มาถึงปัจจุบัน  (ลองสังเกตตามบ้านเรือนไทยภาคกลางดูนะครับ  หน้าต่างจะมีลักษณะสอบบนแบบนี้แทบทั้งนั้น)













 
 ภานในพระอุโบสถมีแท่นสำหรับพระนั่ง












ใบเสมารอบพระอุโบสถคล้ายใบเสมาที่วัดพระศรีสรรเพชญ  คือเป็นหินทรายที่มีเนื้อละเอียด  แต่มีความหนาน้อยกว่า  และมีขนาดเล็กกว่า  น่าจะมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่  22  ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง  ทำให้เชื่อได้ว่า  วัดวรเชษฐาราม  สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ  แต่มีการบูรณะปฎิสังขรณ์พระอุโบสถสมัยถัดๆลงมา













พระประธานในพระอุโบสถปางมารวิชัยมีขนาดใหญ่กว่าขนาดพระอุโบสถมาก  คงเป็นสาเหตุให้ทำฐานชุกชีเตี้ยมากๆ  เพราะถ้าทำฐานชุกชีสูงกว่านี้เศียรพระคงทะลุขื่อบน
 
 









มองเผินๆเหมือนพระพุทธรูปจะแย้มพระโอษฐ์นะครับ  แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะปูนบริเวณพระโอษฐ์กระเทาะหลุดออกไป  จึงมองเผินๆเหมือนกับว่ากำลังแย้มพระโอษฐ์อยู่ครับ






 
 


 

พระวิหาร  และ  พระเจดีย์ประธาน
 


 
พระวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าพระเจดีย์ประธาน  เป็นอาคารทรงเกือบๆจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีมุขทางด้านหน้า  มีทางขึ้นอยู่ติดกับมุขทั้ง  2  ข้าง  พระประธานในพระวิหารชาวบ้านเรียกกันว่า 
“หลวงพ่อหน้าบึ้ง”












 
เจดีย์ประธาน  เป็นเจดีย์ทรงลังกา  หรือระฆังขนาดใหญ่  มีลักษณะอ้วนป้อมบนฐานเตี้ย ศิลปะอยุธยาตอนกลาง  ตั้งอยู่บนฐานไพทีสูง


 
 
แม้จะได้รับการปฏิสังขรณ์มาแล้วในอดีต ดูได้จากฐานด้านล่างที่ถูกก่ออิฐหุ้มฐานเอาไว้  แต่ปัจจุบันมีการเปิดให้เห็นฐานด้านในบางส่วนที่เคยถูกก่อหุ้ม  แต่ก็ยังรักษารูปแบบที่เทียบได้กับเจดีย์ทรงระฆังรุ่นเก่า  เช่น  วัดมเหยงคณ์  (สร้างเมื่อ พ.ศ. 1981)  หรือวัดพระศรีสรรเพชญ์  (สร้างเมื่อ พ.ศ. 2035)  รูปแบบนี้ยังถูกใช้กับเจดีย์ในศิลปะอยุธยาอีกร้อยปีถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองโดยที่รูปร่างไม่ได้แตกต่างกันมากนัก  ก่อนที่เจดีย์จะมีรูปทรงที่ผอมเพรียวมากขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย  ดังนั้นอายุของเจดีย์นี้จึงอาจต้องตีอายุกันกว้างๆไว้ก่อน  คือพุทธศตวรรษที่ 20 – 22
















 
ด้านหลังพระอุโบสถและด้านซ้ายสุดชนกำแพงแก้ว  มีซากอาคารหลงเหลืออยู่  2  แห่ง






 
 





และที่ริมกำแพงแก้วหน้าวัดมีเจดีย์อยู่คู่หนึง  ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน  แม้ส่วนบนจะหักหายไปเหลือแต่ฐาน  แต่การที่เจดีย์ทั้งสององค์นี้ใช้ฐานสิงห์  ฐานสิงห์นี้ถือเป็นหนึ่งในฐานเอกลักษณ์ที่นิยมกันมากๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย  อีกทั้งการที่เจดีย์ยังมีการย่อมุมไม้ 20  (ย่อมุมไม้เป็นคำที่ใช้อธิบายการหยักมุม ย่อมุมไม้ 20 หมายความว่ามีทั้งหมด 20 มุม หรือก็คือด้านละ 5 มุมนั่นเอง)  การทำย่อมุมมากๆ  นี้ก็เป็นเอกลักษณ์ของสมัยอยุธยาตอนปลายเช่นกัน  ดังนั้นอายุของเจดีย์คู่นี้จึงอยู่ที่พุทธศตวรรษที่ 23    
 


 
อาคารทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วเอาไว้  โดยมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณ  และมีกำแพงแก้วอีกชั้นหนึ่ง
 





 
 



มีข้อสันนิษฐานมากมายว่า  วัดวรเชษฐาราม  แห่งนี้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  แต่ก็ยังไม่เป็นที่แจ้งชัดว่าจริงตามข้อสันนิษฐานหรือไม่  เจ้าของบล็อกเลยยังไม่เอาข้อถกเถียงเหล่านั้นมาใส่ในบล็อกนะครับ









ขอขอบคุณท่านที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ที่ทำให้การท่องเที่ยวของเรามีสาระขึ้นมากเลยครับ


 
 
วัดวรเชษฐาราม วัดวรเชษฐาราม (ในเมือง) อยุธยา วัดวรเชษฐาราม (ในเกาะ)
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯ


วัดวรเชษฐาราม


วัดวรเชษฐาราม

 
 

















133134135


 
Create Date :01 ธันวาคม 2564 Last Update :1 ธันวาคม 2564 11:02:33 น. Counter : 1361 Pageviews. Comments :20