bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ราชบุรี, ราชบุรี Thailand
พิกัด GPS : 13° 32' 28.03" N 99° 49' 3.47" E

ดูแผนที่เพิ่มเติม


 





พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  ราชบุรี
 




 
ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช  ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี  ใกล้กับหอนาฬิการิมแม่น้ำแม่กลอง
 
 


 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  โดดเด่นด้วยอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นประมาณปี  พ.ศ.  2465  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพื่อใช้เป็นที่ว่าการเมืองราชบุรีและที่ว่าการมณฑลราชบุรี  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2476  มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  อาคารหลังนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนใช้เป็นศาลากลางจังหวัดราชบุรี 
 
 


 
ในปี  พ.ศ.  2524  ได้มีการสร้างศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังใหม่และย้ายส่วนราชการไปที่ศาลากลางหลังใหม่  กรมศิลปากรจึงได้ขอใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่าเพื่อจัดตั้งเป็นอาคารนิทรรศการถาวร    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปี  กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเรื่อยมา  จนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2534  สมเด็จกษิษฐาธิราชเจ้า  กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ
 
 



อาคารนิทรรศการถาวร  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดีเด่น  ประจำปี  พ.ศ. 2548  โดย  สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ 
 
 
















อาคารนิทรรศการถาวร 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี    เป็นอาคารชั้นเดียว  4  หลัง  ล้อมรอบสนามหญ้า  (inner court) 
 
 


เป็นอาคารก่ออิฐ  ฉาบปูน  ชั้นเดียว  ยกพื้นสูง  ผนังด้านนอกทึบ  ไม่มีระเบียง  หลังคาทรงปั้นหยา  มุงกระเบื้องว่าว 
 


 
จุดเด่นอยู่ที่มุขกลาง  ที่ยื่นออกมาเป็นทางสำหรับเทียบรถ  ผนังมุขทำเป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เรียงชิดกันข้างละ  3  ต้น  รับกับคานเครื่องประดับหน้าบันทรงโค้งหลายตอนแบบตะวันตก  กลางหน้าบันประดับปูนปั้นรูปครุฑ 
 



 
ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้เกล็ด  ด้านบนเป็นช่องแสง  ระหว่างช่องหน้าต่าง  ประตู  ประดับลายปูนปั้น
 



























 
 
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง  ได้แก่









 
 



          1. สภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดงแหล่งกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติประเภท ดิน หิน แร่ธาตุและรูปจำลอง ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ( กาญจนบุรีและเพชรบุรี ) โดยมีตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ ดิน หินแร่ อัญมณี และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดราชบุรีจัดแสดงประกอบ
 














 
          2. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในจังหวัดราชบุรี เรียงลำดับตามยุคสมัยดังต่อไปนี้
 



2.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงหลักฐานที่สำคัญของโบราณคดีของมนุษย์ในยุคที่มีการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบริเวณจังหวัดราชบุรี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ รวมทั้งเครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ กระดูกสัตว์ต่างๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา กลองมโหระทึก และโครงกระดูกมนุษย์ เป็นต้น
 
 
2.2 ราชบุรีในวัฒนธรรมทวารวดี จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานต่างๆ ของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 โดยเฉพาะเรื่องราวของเมืองโบราณคูบัว และเทือกเขางู
 

 
2.3 ราชบุรีในวัฒนธรรมเขมร จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร หรือ “ลพบุรี” ที่ปรากฏในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีโบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องจัดแสดงนี้ ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี พบที่บริเวณโบราณสถานจอมปราสาท เมืองโบราณโกสินารายณ์ เป็น 1 ในจำนวน 5 องค์ ที่พบในดินแดนประเทศไทย
 
 

2.4 ราชบุรีในสมัยสุโขทัย - ธนบุรี จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-24 จากหลักฐานชื่อเมืองราชบุรีที่ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ราชบุรีเป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่านและเส้นทางการเดินทัพในสมัยอยุธยา โดยจัดแสดงหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เครื่องถ้วยจีนและเครื่องปั้นดินเผา
 
 

2.5 ราชบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วง พ.ศ. 2325 - 2475 แสดงถึงความสำคัญของเมืองราชบุรี ในด้านการเมืองการปกครองการพัฒนาท้องถิ่น ต่อเนื่องจากสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7)
 


















 
          3. เผ่าชนชาติพันธุ์วิทยาของจังหวัดราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชนชาติพันธุ์ของจังหวัดราชบุรี ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์เป็นลักษณะเด่นของจังหวัด กลุ่มชนเหล่านี้มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณีที่แต่ละชาติพันธุ์ยังคงยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม ชาติพันธุ์เหล่านี้ ได้แก่ ชาวไทยพื้นถิ่นภาคกลาง ชาวไทยจีน ชาวไทยยวน ชาวไทยมอญ ชาวไทยกะเหรี่ยง ชาวไทยลาวโซ่ง ชาวไทยลาวเวียง และชาวไทยเขมรลาวเดิม














 







 
             4. มรดกดีเด่น แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


 
4.1 มรดกดีเด่นทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ปูชนียวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประเพณีวัฒนธรรม เทศกาลงานประเพณีอาหารพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
 


 
4.2 มรดกดีเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ เช่น อุทยานหินเขางู โป่งยุบ แก่งส้มแมว เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
 


 
4.3 บุคคลสำคัญ ได้แก่ บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดในด้านต่าง ๆ เช่น ปูชนียบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญทางด้านทหาร การเมืองและการปกครอง รวมทั้งบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและศิลปินเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ



















 
          5. ราชบุรีในปัจจุบัน  จัดแสดงในสภาพทั่วไปของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณูปการ การอุตสาหกรรม การเกษตร ประชากรและที่สำคัญคือ พระราชกรณียกิจแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อจังหวัดราชบุรี อาทิเช่น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี โครงการศึกษาวิธีฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เป็นต้น
 
 




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี  เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
 



ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท (เด็กเข้าชมฟรี) ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3232 1513 โทรสาร  0 3232 7235
 
 







ขอขอบคุณท่านผู้มีอุปการคุณข้อมูลนะครับ




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี – เที่ยวราชบุรี.com
 

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี – ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี – museum Thailand 


 
รีวิว !!! " พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี" – หมอยารีวิว


 
 

 



 
134135136



 
 
Create Date :06 มิถุนายน 2566 Last Update :6 มิถุนายน 2566 8:42:55 น. Counter : 997 Pageviews. Comments :17