bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : แหล่งโบราณสถานคูบัว ราชบุรี, ราชบุรี Thailand
พิกัด GPS : 13° 29' 10.12" N 99° 50' 8.63" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม





ราชบุรีมักเป็นจังหวัดที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอ ค่าที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯมากเกินไปความจริงแล้ว ราชบุรี ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญที่ไม่อยากให้พลาดด้วยระยะทางที่ไม่ห่างจากกรุงเทพมากนักสามารถไปเช้า – กลับเย็นได้สบายมากๆสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรีก็มีหลากหลายทั้งวัดวาอาราม ทั้งตลาดน้ำโบราณสถาน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับเด็กๆ และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ



เจ้าของบล็อกได้เคยลองจัดone daytrip ไปเที่ยวราชบุรี ในวันเสาร์หนึ่งต้นๆหน้าฝนได้เที่ยวหลายที่มากเลยครับ เช่น พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ราชบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดหน้าพระธาตุโบสถ์วัดเพลง วัดโน้น วัดนี้มีสถานที่หนึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบโบราณสถานที่น่าสนใจจะพาไปเที่ยวในวันนี้ครับ




โบราณสถานบ้านคูบัว ราชบุรี




การเดินทางไปโบราณสถานบ้านคูบัว เดินทางไปไม่ยากเลยครับ จากกรุงเทพฯใช้ถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าจังหวัดราชบุรีแต่ไม่ต้องเข้าไปในตัวเมืองนะครับ มุ่งหน้าต่อไปทางแยกวังมะนาวทางไปจังหวัดเพชรบุรี เมื่อมาถึงแยกเข้าถนนสาย 1010 หรือแยกนิรันดร์ ให้เลี้ยวซ้ายแล้ววิ่งตรงไปจนเห็นสะพานลอยข้ามแยกแรก เราขึ้นสะพานไป พอเห็นสะพานลอยข้ามแยกที่สองเราไม่ต้องขึ้นนะครับให้ชิดซ้ายวิ่งเลนคู่ขนานแล้วไปเลี้ยวขวาใต้สะพานลอยเข้าถนนสาย 3339 (การเลี้ยวขวาตรงนี้ค่อนข้างยุ่งยากนิดนึงครับต้องเลี้ยวซ้ายแล้วเลี้ยวขวาเพื่อข้ามทางรถไฟแล้ววนไปขวาครับ)จากนั้นขับตรงมาตามถนนสาย 3339 ประมาณ 3กิโลเมตร จะเห็นป้ายร้าน “เจ๊ออนน่าวัด”อยู่ทางขวามือ ให้เลี้ยวขวาตรงร้านอาหารเจ๊ออนน่าวัดเลยขับตรงไปนิดนึงเลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าวัดคูบัวขับตรงมาอีกหน่อยนึงให้เลี้ยวซ้ายตรงสามแยก เลยไปนิดก็เป็นทางเข้าวัดโขลงสุวรรณคีรีที่ตั้งของโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแหล่งโบราณสถานบ้านคูบ้วครับสามารถจอดรถได้ในบริเวณวัดเลยครับ ที่จอดรถกว้างขวางมากๆ





















ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับแหล่งโบราณสถานบ้านคูบัว กันก่อนนะครับ แหล่งโบราณสถานบ้านคูบัว หรือ เมืองโบราณคูบัว เป็นเมืองเก่าตั้งแต่ยุคทวาราวดีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากเมืองโบราณคูบัวไม่สามารถกำหนดเขตเมืองได้เหมือนกับเมืองโบราณที่อื่นๆเพราะคูเมืองที่ลช้อมรอบเมืองไว้ตื้นเขินไปหมดแล้วเฉพาะเขตกำแพงเมืองโบราณคูบัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวตามแนวเหนือใต้ขนาด 800x 1200 เมตร จากการศึกษาขุดค้นพบ โบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธทั้งนิกายเถรวาทและมหายานที่มีอิธิพลของศิลปะของช่างสมัยราชวงศ์คุปตะประเทศอินเดีย เช่น เศียรพระพุทธรูป แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมามากกว่า 1,000 ปี นอกจากนั้นยังขุดพบรูปพระโพธิสัตว์เทวดาหรือบุคคลชั้นสูง บุคคลสามัญ อมนุษย์ จำพวกยักษ์ ครุฑ และสัตว์ต่างๆเศษภาชนะดินเผา แวดินเผา ตะคัน ตะเกียงดินเผาที่ประทับลวดลาย ลูกกระสุนเบี้ยดินเผานอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้เครื่องประดับและอาวุธต่างๆที่ทำจากหิน แก้วโลหะ เช่น ตุ้มหู แหวน กำไล ลูกปัด หินบด เป็นต้นโบราณวัตถุเหล่านี้มีรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นหลักฐานโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบในเขตเมืองคูบัวและบริเวณใกล้เคียงทำให้สันนิษฐานได้ว่าเมืองคูบัวเจริญอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๖












ปัจจุบันภายในเขตกำแพงเมืองจะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านคูบัวเหนือหมู่บ้านคูบัวใต้ บ้านระหนอง บ้านตะโก บ้านสระโบสถ์ และบ้านโพธิ์งามและจากการขุดค้นทางโบราณคดีตั้งแต่ปี 2504จนถึงปัจจุบันบนโบราณสถานทั้งที่ตั้งอยู่ภายนอกและภายในคูเมือง  67 แห่งในจำนวนนี้กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งแล้วจำนวน 23 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นซากฐานสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นสืบเนื่องกับพุทธศาสนาส่วนโบราณวัตถุจะเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครและที่จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัวซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรีนี่เองครับเสียดายว่าวันที่เจ้าของบล็อกไปจิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัวปิดซะแร๊วคงเป็นเพราะเจ้าของบล็อกไปถึงโบราณสถานบ้านคูบัวเย็นเกินไปครับเอาไว้คราวหน้าเจ้าของบล็อกจะไปใหม่ครับ









จากการขุดค้นซากโบราณสถานที่หลงเหลือให้เห็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือโบราณสถานหมายเลข  18 ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรีนี่เองครับ สันนิษฐานว่าเป็นซากวิหารโบราณที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของเมืองโบราณ 









“ฐานวิหาชั้นล่างสุดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน (เป็นโบราณสถาน 1 ใน 2แห่งที่ใช้ศิลาแลงเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง) ผนังด้านเหนือและใต้ของวิหารมีมุขขนาดเล็กยื่นออกมาด้านละ ๓ มุขผนังทางด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลังวิหารมีมุขเล็ก ยื่นออกมาตรงกลาง ฐานชั้น ๒ก่อด้วยอิฐเป็นฐานบัวโค้ง ถัดขึ้นไปเป็นช่องซุ้มรูปสี่เหลี่ยมประดับปูนปั้นชั้นต่อไปเป็นฐานหน้ากระดานรองรับซุ้มสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อขึ้นไปเป็นเสาประดับผนังรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ระหว่างเสาเป็นซุ้มส่วยบนของฐานเป็นลานประทักษิณขนาดใหญ่มีฐานก่ออิฐยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านทิศตะวันตกทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารห่างออกไปประมาณ๙ เมตร มีฐานอาคารขนาดเล็กแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลักษณะของฐานจะเป็นอิฐก่อเรียงซ้อนกัน๓ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นซุ้มรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยรอบด้านละ ๑๖ ซุ้มมีร่องรอยการฉาบปูนสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยหลัง”











Chubby Lawyer Tour ................. เที่ยวไป.............. ตามใจฉัน





SmileySmileySmiley

Create Date :31 กรกฎาคม 2558 Last Update :31 กรกฎาคม 2558 9:29:40 น. Counter : 6583 Pageviews. Comments :13