ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) ![]() ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา ศ.คลินิกเกียรติคุณ น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขเปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้ซิกา (Zika Fever) ว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้ซิกาครั้งแรกในปี 2555 จนถึงปี 2558พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 5 คน ส่วนในปี 2559 พบผู้ป่วยแล้ว 1 คนยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกโรคนี้ส่วนใหญ่ป่วยแล้วหายได้เอง ไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตมีปัญหาเฉพาะกับหญิงตั้งครรภ์ โดยข้อมูลจากต่างประเทศบ่งชี้ว่าอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดมาพิการได้ ซึ่งคล้ายกับกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโรคอื่นๆ เช่นโรคหัดเยอรมัน ทั้งนี้ประเทศไทยมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการและความพร้อมด้านการดูแลรักษา ตลอดจนการควบคุมแมลงพาหะนำโรค คือยุงลายซึ่งเป็นชนิดเดียวกับพาหะนำโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และไข้เหลือง สำหรับสถานการณ์โรคไข้ซิกา ประเทศไทยพบครั้งแรก พ.ศ.2555พบกระจายทุกภาคและมีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย สาเหตุหลักเกิดจากโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัดและช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ เช่น การแพร่ผ่านการถ่ายเลือดแพร่จากจากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ ด้านการรักษาโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนและยังไม่มียารักษาเฉพาะ จึงต้องรักษาตามอาการคำแนะนำสำหรับประชาชน คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้งหรือทายากันยุงซึ่งเป็นการป้องกันควบคุมโรคเช่นเดียวกับไข้เลือดออก หากประชาชนมีอาการไข้ ออกผื่นตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีสมองเล็กหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคไข้ซิกา(ประเทศในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียน)ขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัดหากเป็นหญิงตั้งครรภ์ก่อนเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์ ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย มีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ ให้ไปพบแพทย์ทันที ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะการรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ................................................ ไข้ซิกา (ZikaFever) โรคไข้ซิกา (Zikafever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika Virus-ZIKV) ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี,ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีมียุงลาย ( เช่น Ae. Africanus, Ae. Apicoargenteus, Ae.Luteocephalus, Ae. Aegypti เป็นต้น)เป็นพาหะนำโรค ไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๐(ค.ศ. ๑๙๔๗) จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่ าชื่อซิกา ประเทศยูกันดาและแยกเชื้อได้จากคนในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ (ค.ศ. ๑๙๖๘) ณ ประเทศไนจีเรีย มีระยะฟักตัว ๔-๗วัน จากนั้นจะมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา, วิงเวียน , เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ถึง ๒๕๓๕ มีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศกลุ่มแอฟริกา ได้แก่ ยูกันดา, แทนซาเนีย,อียิปต์, อัฟริกากลาง สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบองในส่วนของเอเชียมีรายงานพบใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์,ไทย, เวียดนามและอินโดนีเซีย ล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)ได้รายงานการระบาดของไข้ซิกา ในหมู่เกาะแยป ในประเทศไทยมีผู้รายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีชนิดทำลายล้างไวรัสซิกาในผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓) และล่าสุด มีรายงาน ผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดาซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา ๒๑ มกราคม-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖และมีอาการภายหลังจากเดินทางกลับถึงประเทศแคนาดาเป็นเวลา ๔ วัน โดยเริ่มป่วย วันที่๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวดข้อ ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika virus) ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคยังเฝ้าระวังโรคนี้อยู่ การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อทำได้ ๒ วิธี ดังนี้ ๑)การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธี พีซีอาร์เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังจากที่ เริ่มมีอาการเจ็บป่ วย ซึ่งไม่ควรเกิน๙ วันหลังมีอาการ และ ๒) การตรวจหาแอนติบอดีชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า ซึ่งเป็นพัฒนาวิธีโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา โดยเก็บตัวอย่าง ๒ ครั้งครั้งแรกในวันที่เริ่มมีอาการ และตัวอย่างที่สองห่างจากตัวอย่างแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขโดยฝ่ายอาโบไวรัส มีแผนการที่จะติดตั้งวิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติโรคไข้ซิกาในเร็วๆนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้ องกันเฉพาะ การรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย
ฝ่ายอาโบไวรัส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมควบคุมโรคเตรียมทำประกาศเตือนโรคไข้ซิกาเพื่อให้ปชช.ตระหนักในมาตรการป้องกันหลังไต้หวันตรวจพบชายไทยติดเชื้อ //www.springnews.co.th/global/268318 รายงานของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของไต้หวันระบุว่า พบชายวัย 24 ปีรายหนึ่งซึ่งเดินทางจากประเทศไทยมาถึงสนามบินนานาชาติเถาหยวน ตั้งแต่วันที่ 10มกราคมที่ผ่านมา และถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองคนเข้าเมืองกักตัวไว้ หลังสงสัยว่าอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อันตราย กระทั่งผลการตรวจออกมาปรากฏว่าชายวัยรุ่นรายนี้อาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยเป็นเวลานาน 3 เดือนก่อนเดินทางมายังประเทศไต้หวันเพื่อทำงาน มีเชื้อไวรัสซิกา (Zika) ซึ่งศูนย์ควบคุมโรคหรือดีซีดี กำหนดให้เป็นโรคที่ต้องแจ้งเตือนประเภทที่2 หรือแพทย์ต้องรายงานการพบเชื้อภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการออกคำเตือนไปยังประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้รวมไปถึงแถบทะเลแคริบเบียนหลังจากมีการแพร่กระจายของโรคในภูมิภาคนี้เมื่อปลายปีก่อนขณะเดียวกันก็มีการเฝ้าระวังในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซียฟิลิปปินส์และมัลดีฟส์นอกเหนือจากไต้หวันแล้วยังมีรายงานยืนยันการพบเชื้อไวรัสซิกาที่สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี ประเทศหมู่เกาะในแอฟริกาและพบในคนไข้ที่เดินทางเข้าทวีปยุโรป แคนาดาและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทั้งนี้ ไวรัสซิกาเป็นไวรัสที่มีลักษณะคล้ายกับไวรัสไข้เหลือง เดงกี เวสต์ไนล์ และไข้สมองอักเสบโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นตามตัว แขนขาเยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดตามข้อ ทั้งอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะทำได้ด้วยการรักษาตามอาการเท่านั้น ..........................................
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ไข้ซิกา ภัยใหม่จากยุงลายตัวเก่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ภญ. มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิขาจุลชีววิทยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่28/01/2559
หากจะพูดถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะหลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออกขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันมีโรคอื่นๆอีกมากที่เมื่อก่อนแทบไม่เคยได้ยินชื่อ แต่กลับก่อให้เกิดการระบาดในหลายประเทศไวรัสซิกา (Zika) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดไวรัสที่ใครๆ ต้องถามชื่อซ้ำอีกครั้งชนิดนี้แทบจะไม่เคยมีบทบาทในประเทศไทยแต่กลับเป็นเชื้อที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวังไวรัสชนิดนี้กำลังระบาดอย่างหนักในแถบประเทศอเมริกาใต้ รวมถึงหมู่เกาะแปซิฟิกและ Cape Verde ในแอฟริกา จากรายงานขององค์การอนามัยโรคภูมิภาคอเมริกา (Pan Americans Health Organization;PAHO) พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้ซิกาแล้วใน20 ประเทศ ดังนี้ บาร์เบโดส โบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์เฟรนซ์เกียนา กัวเดอลุป กัวเตมาลา กายอานา เฮติ ฮอนดูรัส เกาะมาร์ตีนิก เม็กซิโกปานามา ปารากวัย เปอร์โตริโก ซูรินาเม เกาะเซนต์มาร์ติน และเวเนซูเอลา
ไวรัสซิกาจัดเป็นไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ(RNA) สายเดี่ยว อยู่ในตระกูล Flavivirus เช่นเดียวกับไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) ที่ก่อให้เกิดไข้เลือดออกและไวรัส Japaneseencephalitis ที่ก่อโรคไข้สมองอักเสบส่วนชื่อซิกา (Zika) เป็นชื่อป่าในประเทศยูกันดาซึ่งเป็นสถานที่แรกที่แยกเชื้อได้จากลิงRhesus ที่ทำมาศึกษาในปีพ.ศ. 2490การระบาดของไวรัสชนิดนี้มียุง Aedesaegypti เป็นพาหะซึ่งเป็นยุงลายบ้านในประเทศเขตร้อนและเป็นยุงที่เป็นพาหะของไวรัสไข้เลือดออกด้วยสำหรับประเทศไทยมีรายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีต่อไวรัสซิกาในผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯเมื่อปีพ.ศ.2506 หลังจากนั้นมีรายงานผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดาซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา 21 มกราคมถึง 2 กุมภาพันธ์ 2556โดยพักในกรุงเทพฯ และภูเก็ต และมีอาการบนเครื่องบินขณะเดินทางกลับแคนาดาภายหลังได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่า เป็นการติดเชื้อไวรัสซิกานอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยชาวไทยที่เดินทางไปไทเปถูกตรวจพบเชื้อที่สถานีตรวจคัดกรองไข้ สนามบินนานาชาติเถาหยวน ไต้หวันและขณะนี้ได้รับการรักษาแล้ว อย่างไรก็ตามต้องยืนยันว่าโรคไข้ซิกานี้ไม่ใช่โรคใหม่ ในประเทศไทยมีรายงานการตรวจพบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ๕ ราย และพบกระจายอยู่ทุกภูมิภาค ผู้ติดเชื้อนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการและหายเองได้มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่อาจแสดงอาการได้ และมักแสดงอาการภายหลังได้รับเชื้อนี้4-7 วัน อาการแสดงทั่วไป ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบตาแดง ปวดข้อ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วันส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ไม่มีความจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากการติดเชื้อนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ทำให้มีความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิดมีขนาดศีรษะที่เล็กผิดปกติ (microcephaly)หรือเสียชีวิตได้ การที่อาการแสดงเบื้องต้นของไข้ซิกาถึงแม้จะความรุนแรงน้อยกว่าแต่ก็มีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกอีกทั้งยังมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้จึงต้องมีการให้นิยามเพื่อความชัดเจน โดยผู้ป่วยสงสัยหมายถึงผู้ป่วยที่มีไข้และมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 3 อาการ ดังนี้ 1) ออกผื่น 2)ปวดข้อ และ 3) ตาแดง และผลการตรวจไวรัสเดงกี ไวรัสชิคุนกุนยาโดยวิธี PCR และไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน โดยวิธี ELISA IgM ให้ผลลบ และผู้ป่วยยืนยัน หมายถึงผู้ป่วยสงสัยและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสซิกาในเลือดหรือตรวจพบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสซิกา อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเฉพาะสำหรับป้องกันโรคดังกล่าวจึงมีคำแนะนำให้เลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง และดูแลจัดการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในที่พักอาศัยยุงชนิดนี้เป็นยุงหากินกลางวันจึงต้องระวังการถูกกัดการรักษามักเป็นการรักษาตามอาการ ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการสูญเสียน้ำหากมีไข้ให้ยาพาราเซตามอล และหลีกเลี่ยงยาแอสไพรินรวมถึงใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบในกลุ่ม NSAIDs เนื่องจากอาจส่งผลให้เลือดออกในอวัยวะได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ควรพึงระวังการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นจากการถูกยุงกัดในช่วงที่ติดเชื้อด้วย
เอกสารอ้างอิง Centers for Disease Control and Prevention.Zika virus. [Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom: //www.cdc.gov/zika/ The Virology Association (Thailand).[Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom: //www.thaiviro.org/association/index.php/virology-education.html World Health Organization. Zika virus.[Internet]. [cited 2016 Jan 25]. Availablefrom://www.paho.org/hq/index.php?option=com_topics&view=article&id=427&Itemid=41484 ......................... ![]() *** ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิก *** ถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้ออา ข้อมูลเพิ่มเติม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค //203.157.15.110/boe/zika.php คำถาม - คำตอบ ไวรัสซิกากับหญิงตั้งครรภ์ สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค คําถามที่พบบ่อย โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus infection)
ไข้ซิกา (Zika Fever) - สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข //nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=34 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา Hfocus.org //www.hfocus.org/content/2016/01/11560 ดาวน์โหลด pdf โรคไข้ซิกา (Zika virus disease) โดย ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยา //203.157.15.110/boe/getFile.php?id=MzMx&lbt=YmZk&rid=ZmlsZXNfdXBsb2FkL25ld3M= ไข้ซิกา ภัยใหม่จากยุงลายตัวเก่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. มัลลิกา ชมนาวัง ภาควิขาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล //www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/301/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2 ......................................... อัพเดต ๒ กพ. ๕๙ #โรคไข้ซิกา (Zika Fever ) ระบาดแล้วนะครับ องค์การอนามัยโลก (WHO ) ประกาศให้ไวรัสซิกา ซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างหนั และ ประเทศไทย ของเราก็ทันสมัยเหลือเกิน โดยหลังจากองค์การอนามัยโลก โรคนี้ติดต่อโดย ยุงลายเป็นพาหะ นะครับ กัดคนป่วย แล้วมากัดเรา เราก็ติดเชื้อนะครับ อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร ดูจาก infographic ด้านล่างนี้นะครับ ![]() เครดิต เฟส แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว ................. แถม โรคนำมาฝาก .. โดย ยุงลาย ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118 ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง ) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116 ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ... //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75
![]() ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ โดย: nokyungnakaa
![]() |
บทความทั้งหมด
|
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116
ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38
ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110
ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118
ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105
จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76
ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79
ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75
ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103