ปัญหาดวงตาจากจอคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม) ![]() ![]() ปัญหาดวงตาจากจอคอมพิวเตอร์ คนที่เล่นอินเทอร์เน็ตประจำ อ่านข้อความบนจอคอมพิวเตอร์ที่มีพื้นหลังสีขาวจะรู้สึกแสบตามาก ควรจะปรับ contrast ให้ลดต่ำลง ปรับสีพื้นหลังเป็นสีเขียวเข้มและสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดมาก หากเป็นจอคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ดูแล้วรู้สึกจ้า เคืองตามาก ให้ใช้แผ่นกรองแสง ขณะนั่งอ่านข้อความหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ตาเราจะกะพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกะพริบตาปกติจะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) หากรู้สึกล้า ปวดตา ควรหยุดพักทันที การเล่นอินเทอร์เน็ต แต่ละครั้งไม่ควรมากกว่า 45-60 นาที ควรมีช่วงพักไปมองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต) ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ บางคน อาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้มองเห็นระยะไกลมัวไปได้ การจัดวางคอมคอมพิวเตอร์ ก็ควรทำให้ถูกท่าทาง คือ วางจอในระดับต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม (ระดับของกึ่งกลางจอภาพ) ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนมถึงระดับเอว ระยะห่างจากหน้าจอประมาณ 1 ฟุต นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย ------------------------------------------------------------------- ![]() นักเขียนรับเชิญ : พญ.จุฑาไล ตันฑเทิดธรรม Fri, 01/12/2538 - 00:00 — somsak การใช้คอมพิวเตอร์กับสายตา การใช้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เราอาจใช้คอมพิว- เตอร์ในการบันทึกข้อมูล ต้นหาข้อมูลและอื่น ๆ สำหรับเด็กมักใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม ซึ่งเด็กบางคนก็เล่นติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย จึงมีคำถามมากมายว่าการใช้คอมพิวเตอร์มีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มีอันตรายต่อสายตา หรือมีผลทำให้เกิดโรคตา หรือมีอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ หรือไม่ คำถามนี้คงยากที่จะให้คำตอบที่แน่ชัดลงไปร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่มีข้อมูลบางอย่างซึ่งคิดว่าน่าจะรู้ไว้ มีผู้ทำการทดลองในผู้ที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่าหรือเท่า กับ 2 ชั่วโมง พบว่าจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น มีสายตาพร่ามัวเป็นพัก ๆ รู้สึกตาแห้ง แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ปรับภาพในระยะใกล้ไกลได้ไม่ดี ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ อย่างไรก็ตามคนที่ทำงานใกล้ ๆ เช่น อ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ แม้ไม่ใช้จอคอมพิวเตอร์ก็อาจมีอาการเหล่านี้ได้ ทำไมคนที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จึงมีอาการปวดตา ไม่สบายตา ทั้งนี้ เนื่องจากการทำงานที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จำเป็นต้องอาศัยการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตา เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานก็มีการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา เช่นเดียวกับการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อแขนขาเวลาที่เราวิ่งนาน ๆ การเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาจะแสดงออกมาในรูปของการปวดตา เมื่อยตา อยากจะหลับตา นอกจากนี้ ในคนปกติจะมีการกะพริบตาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้น้ำตากระจายหล่อเลี้ยงทั่วลูกตา แต่ในเวลาที่เราทำงาน เช่น อ่านหนังสือ หรือดูจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะน้อยลง ทำให้น้ำตาระเหย ออกไปมากกว่าปกติ ลูกตามีน้ำหล่อเลี้ยงตาน้อยกว่าปกติทำให้กระจกตาแห้ง เราจึงรู้สึกแสบตา รู้สึกว่าตาแห้งหลับตาได้ลำบาก หรือในรายที่เป็นมาก ๆ อาจเกิดแผลขนาดเล็ก ๆ ที่กระจกตาได้ ปัญหาเรื่องน้ำตานี้หากเป็นสาวสำนักงานที่ใส่คอนแทคเลนส์ จะมีปัญหานี้มากกว่าคนที่ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ เพราะการใส่คอนแทคเลนส์ต้องอาศัยน้ำตาเป็นอย่างมาก การใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้มีผลต่อเรื่องสายตาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง หากท่าทางที่ใช้นั่งทำงานไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังงอ เอียงคอ หรือเอียงไหล่ ก็ทำให้มีอาการได้ง่ายขึ้น และมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือแม้แต่ปวดศีรษะได้ จะเห็นว่าการนั่งทำงานระยะใกล้เป็นเวลานานจะทำให้มีอาการผิดปกติได้ ทั้งในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และไม่ใช้ ได้มีผู้ทำการทดลองว่า ใน 2 กลุ่มนี้จะมีอาการผิดปกติแตกต่างกันหรือไม่ ผลปรากฏว่า อาการเมื่อยล้า ปวดหัวไหล่ อาการเมื่อยตา ปวดคอ ปวดหลัง และเคืองตา พบในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า แต่อาการอย่างอื่น เช่น ตาแดง ปรับสภาพใกล้ไม่ชัด ไม่แตกต่างกันใน 2 กลุ่มนี้ หากการใช้จอคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดอาการเหล่านี้จริง อะไรคือ สาเหตุ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยให้สัตว์ทดลองอยู่ในบริเวณใกล้กับจอภาพ คอมพิวเตอร์เป็นเวลา นาน ๆ พบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนไฮโปทาลามัสลดลง เขามีความเชื่อว่าคลื่นไฟฟ้าที่กระจายออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้ลดลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ และการทำงานของ อวัยวะต่าง ๆ นอกจากสมมติฐานนี้แล้วยังมีผู้เสนอว่าอาจเกิดจากคลื่นไฟฟ้า ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ ที่มา: //www.doctor.or.th/node/4007 //www.doctor.or.th/node/1640 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: หน่อยอิง
![]() นักเขียนรับเชิญ : พญ.จุฑาไล ตันฑเทิดธรรม Fri, 01/12/2538 - 00:00 — somsak การใช้คอมพิวเตอร์กับสายตา การใช้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เราอาจใช้คอมพิว- เตอร์ในการบันทึกข้อมูล ต้นหาข้อมูลและอื่น ๆ สำหรับเด็กมักใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม ซึ่งเด็กบางคนก็เล่นติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย จึงมีคำถามมากมายว่าการใช้คอมพิวเตอร์มีอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มีอันตรายต่อสายตา หรือมีผลทำให้เกิดโรคตา หรือมีอันตรายต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ หรือไม่ คำถามนี้คงยากที่จะให้คำตอบที่แน่ชัดลงไปร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด แต่มีข้อมูลบางอย่างซึ่งคิดว่าน่าจะรู้ไว้ มีผู้ทำการทดลองในผู้ที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่าหรือเท่า กับ 2 ชั่วโมง พบว่าจะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น มีสายตาพร่ามัวเป็นพัก ๆ รู้สึกตาแห้ง แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ปรับภาพในระยะใกล้ไกลได้ไม่ดี ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ อย่างไรก็ตามคนที่ทำงานใกล้ ๆ เช่น อ่านหนังสือเป็นเวลานาน ๆ แม้ไม่ใช้จอคอมพิวเตอร์ก็อาจมีอาการเหล่านี้ได้ ทำไมคนที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จึงมีอาการปวดตา ไม่สบายตา ทั้งนี้ เนื่องจากการทำงานที่ใช้สายตาในระยะใกล้ จำเป็นต้องอาศัยการหดเกร็งของกล้ามเนื้อตา เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานก็มีการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา เช่นเดียวกับการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อแขนขาเวลาที่เราวิ่งนาน ๆ การเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาจะแสดงออกมาในรูปของการปวดตา เมื่อยตา อยากจะหลับตา นอกจากนี้ ในคนปกติจะมีการกะพริบตาเป็นระยะ ๆ เพื่อให้น้ำตากระจายหล่อเลี้ยงทั่วลูกตา แต่ในเวลาที่เราทำงาน เช่น อ่านหนังสือ หรือดูจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะน้อยลง ทำให้น้ำตาระเหย ออกไปมากกว่าปกติ ลูกตามีน้ำหล่อเลี้ยงตาน้อยกว่าปกติทำให้กระจกตาแห้ง เราจึงรู้สึกแสบตา รู้สึกว่าตาแห้งหลับตาได้ลำบาก หรือในรายที่เป็นมาก ๆ อาจเกิดแผลขนาดเล็ก ๆ ที่กระจกตาได้ ปัญหาเรื่องน้ำตานี้หากเป็นสาวสำนักงานที่ใส่คอนแทคเลนส์ จะมีปัญหานี้มากกว่าคนที่ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ เพราะการใส่คอนแทคเลนส์ต้องอาศัยน้ำตาเป็นอย่างมาก การใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานาน ๆ ไม่ได้มีผลต่อเรื่องสายตาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลัง หากท่าทางที่ใช้นั่งทำงานไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังงอ เอียงคอ หรือเอียงไหล่ ก็ทำให้มีอาการได้ง่ายขึ้น และมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือแม้แต่ปวดศีรษะได้ จะเห็นว่าการนั่งทำงานระยะใกล้เป็นเวลานานจะทำให้มีอาการผิดปกติได้ ทั้งในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และไม่ใช้ ได้มีผู้ทำการทดลองว่า ใน 2 กลุ่มนี้จะมีอาการผิดปกติแตกต่างกันหรือไม่ ผลปรากฏว่า อาการเมื่อยล้า ปวดหัวไหล่ อาการเมื่อยตา ปวดคอ ปวดหลัง และเคืองตา พบในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า แต่อาการอย่างอื่น เช่น ตาแดง ปรับสภาพใกล้ไม่ชัด ไม่แตกต่างกันใน 2 กลุ่มนี้ หากการใช้จอคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดอาการเหล่านี้จริง อะไรคือ สาเหตุ จากการศึกษาในสัตว์ทดลองโดยให้สัตว์ทดลองอยู่ในบริเวณใกล้กับจอภาพ คอมพิวเตอร์เป็นเวลา นาน ๆ พบว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนไฮโปทาลามัสลดลง เขามีความเชื่อว่าคลื่นไฟฟ้าที่กระจายออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้ลดลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีผลต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ และการทำงานของ อวัยวะต่าง ๆ นอกจากสมมติฐานนี้แล้วยังมีผู้เสนอว่าอาจเกิดจากคลื่นไฟฟ้า ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ ที่มา: //www.doctor.or.th/node/4007 //www.doctor.or.th/node/1640 โดย: หมอหมู
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|