หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)



ประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

ด้วยกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ทุกอย่างล้วนเป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสำคัญ แต่นอกเหนือจากความพยายามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขแล้วหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ คือ “การได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย” ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันตระหนักหรือทราบมาก่อนว่า เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) ประกอบกับมาตรา7 (2) และ7 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 แพทยสภาจึงออกประกาศเรื่อง “หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ดังนี้

ข้อ 1 การเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งส าคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่าไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

ข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ผู้ป่วยพึงปฏิบัติตามระเบียบที่สถานพยาบาลกำหนดไว้

ข้อ 4 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 5 ผู้ป่วยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขหากมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ท่านสามารถให้คำแนะนำหรือใช้สิทธิร้องเรียนได้ตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลนั้นๆ

ข้อ 6 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า ห้องฉุกเฉินเป็นสถานที่ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ตกอยู่ใน “ภาวะเร่งด่วนและเป็นภยันตรายอันใกล้ต่อชีวิต” เป็นสำคัญ บุคลากรสาธารณสุขจะให้การรักษาตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์เป็นสำคัญ ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของบุคลากรในห้องฉุกเฉิน

ข้อ 7 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด” ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกับสถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอันมีค่าอย่างระมัดระวัง การกระทำการใดๆ ของผู้ป่วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอันมีค่า และส่งผลเสียร้ายแรงต่อการรักษาพยาบาลของตัวผู้ป่วยเอง รวมทั้งต่อผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 8 ผู้ป่วยพึงเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยท่านอื่นในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามกระทำการถ่ายรูป บันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งกระทำการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมิได้รับความยินยอมก่อน

ข้อ 9 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “เอกสารลงนามในการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาพยาบาล” เป็นเอกสารสำคัญที่ให้รายละเอียด ตลอดจนข้อจำกัดและความเสี่ยงของการรักษาพยาบาล ดังนั้นก่อนทำการลงนามในเอกสารดังกล่าว ผู้ป่วยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีความไม่เข้าใจใด ๆ ควรสอบถามผู้เกี่ยวข้องก่อนการลงนามทุกครั้ง

ข้อ 10 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า การละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้น อาจส่งผลเสียต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง และในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น ท่านอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์

ขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียด/ download เอกสารได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (https://tmc.or.th/) หรือกดที่ link ต่อไปนี้

 Infographic - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-2020-06-25-09-29-53.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-20200625153111.pdf

 ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/152/T_0005.PDF


ที่มา: แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2597320040532885?__tn__=-R

หมายเหตุ ประกาศนี้เป็นเพียง " แนวทางความเข้าใจ ขอความร่วมมือ โดยไม่มีโทษใดๆ " เพียงแต่ย้ำเตือนว่า หากมีการกระทำใดในสถานพยาบาล ที่ผิดกฎหมาย เช่น ทำลายข้าวของ ตีกันในห้องฉุกเฉิน อาจถูกลงโทษได้ "ตามที่กฎหมายฉบับอื่น" บัญญัติ  

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เรียงตามระยะเวลาที่ออกประกาศ
- สิทธิของผู้ป่วย  (๑๖ เมษายน ๒๕๔๑)
- สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘)
- หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓)

 
***********************************************

แพทยสภายัน ประกาศ 10 ข้อหน้าที่ผู้ป่วย ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อคดีทางการแพทย์
Thu, 2020-07-02 18:27 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2020/07/19680

“หมอประสิทธิ์” อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 แจงประกาศ 10 ข้อพึงปฏิบัติหน้าที่ผู้ป่วย แค่ขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลทางคดีทางการแพทย์ แต่เป็นประกาศที่ก่อประโยชน์ในการรักษาโรค เพราะไม่มีการปิดบังข้อมูลสุขภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ อาคารสภาวิชาชีพ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่1 กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ข้อว่า เป็นการมีการลงโทษ จำกัดสิทธิผู้ป่วย ทั้งที่แพทยสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ว่า หลังออกประกาศดังกล่าวอาจทำให้มีการตีความผิดไป ซึ่งต้องขอยืนยันว่าประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย และแพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แต่ที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นคำแนะนำ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการรักษาโรค

ยกตัวอย่างประกาศข้อที่ 2 ซึ่งระบุว่าผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง นั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และคนที่อยู่ใกล้ชิด อย่างเมื่อการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษาที่รพ.ศิริราช และไม่บอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา ทำให้ครั้งนั้นมีบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัวถึง 26 คน และหรือกรณีที่เราสอบถามว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ ก็เพื่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการตีกันของยานั้นๆ

หรือประกาศข้อที่ 10 ที่ระบุว่า ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้นอาจจะส่งผลต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง ในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในข้อนี้อาจจะทำให้เกิดการตีความและเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะมีบทลงโทษ ดังนั้นตนขอสื่อสารยืนยันว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่กรณีนี้ แพทยสภาเป็นห่วงว่าหากมีการกระทำอะไร เช่น ตีกันในรพ.แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ จะมีกฎหมายอื่นๆ ที่กำกับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีภาคประชาชนมีความกังวลว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์หรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์แน่นอน เพราะตัวประกาศไม่ได้ใช้คำว่า “ต้องปฏิบัติ” แต่ประกาศจะใช้คำว่า “พึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการแนะนำ การขอความร่วมมือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เหมือนกับที่ตอนนี้เราขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำก็จะเป็นผลดี ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดของคนนั้นๆ และช่วยลด หรือป้องกันการระบาดของโรคในสังคมไทย เป็นต้น

“ขอย้ำและบันทึกผ่านสื่อมวลชนว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์ เป็นเพียงประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ผลในการรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตัวผู้ป่วยเอง และเพื่อสังคม” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว.

**********************************************



คำประกาศ "สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ"ของผู้ป่วย ฉบับใหม่นี้ออกและรับรองโดย ๖ สภาวิชาชีพ ในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘

ดาว์โหลดไฟล์ pdfได้ที่ https://tmc.or.th/file_upload/files/news2_24858.PDF

FB  ittaporn kanacharoen


"ได้เวลา หมอ-คนไข้ จับมือร่วมรักษา เพื่อผลที่ดีกว่า" (High Resolution)

เรียนคุณหมอ และ คุณคนไข้ที่รัก
การรักษาจะได้ผลดี หมอต้องทราบว่าผู้ป่วยมีสิทธิ 9 ข้อ และ คนไข้ต้องร่วมมือในการรักษา โดยมีข้อพึงปฏิบัติ 7 ข้อ

ทุกอย่างต้องมีส่วนร่วมและเข้าใจกัน..ทั้งสองฝ่าย

เครดิต
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.964122083648598.1073743171.100001524474522&type=3&pnref=story&__mref=message

 
 
 


 
.............................................


สิทธิผู้ป่วย

แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข

ร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย 16 เมษายน 2541

สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคล ใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง หรือ รักษาผลประโยชน์ อันเป็นส่วนพึงได้ของบุคคลนั้น

สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึงความชอบธรรมที่ผู้ป่วยจะพึงได้รับเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
คำอธิบาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ เอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้
การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายรัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจาก ความแตกต่างด้าน ฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
คำอธิบาย ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุดตามฐานานุรูป โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งนี้ มิได้หมายรวมถึง สิทธิอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่าง ๆ และ บริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น

3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
คำอธิบาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการการดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายยกเว้นเป็นการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ตามข้อ 4

4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่


5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
คำอธิบาย ในสถานพยาบาลมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพต่าง ๆ หลายสาขาปฏิบัติงานร่วมกันในการช่วยเหลือ ผู้ป่วย ร่วมกับ บุคลากรผู้ช่วยต่าง ๆ หลายอาชีพ ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและความไม่เข้าใจแก่ ผู้ป่วยและ ประชาชนทั่วไป การกำหนดสิทธิข้อนี้ทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสอบถามข้อมูลที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดกัยของตนเอง โดยเฉพาะจากผู้ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ

6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการ
คำอธิบาย ปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจำนวนมากก็ยังมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการ สุขภาพผู้อื่นหรือไม่ให้ความร่วมมือในการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ การกำหนดสิทธิผู้ป่วยนี้จึงมีประโยชน์ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการ รับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะ ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนี้ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายอาญามาตรา 323 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ข้อบังคับแพทยสภาพ.ศ. 2526 ซึ่งถือว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์

8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
คำอธิบาย ข้อมูลที่ปรากฏในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่นในกรณีมีการประกันชีวิตหรือสุขภาพ

10. บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 



Create Date : 23 ธันวาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:36:07 น.
Counter : 18666 Pageviews.

6 comments
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
วิ่งข้างบ้าน 8,9,10,11,12,14 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(18 มิ.ย. 2568 22:42:00 น.)
ข้อเข่าเสื่อม VS กระดูกพรุน ต่างกันอย่างไร? หนึ่งเสียงในกทม.
(16 มิ.ย. 2568 09:46:37 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
  
แวะมาอ่านและโหวตให้หมอหมูค่ะ
โดย: noklekkaa (papagearna ) วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:10:58:16 น.
  
ใช้เวลากี่วันในการขอประวัติค่ะ
โดย: cartoon IP: 49.229.94.189 วันที่: 23 กันยายน 2558 เวลา:11:14:28 น.
  
“หน้าที่ผู้ป่วย” ไม่จำเป็นต้องมีจริงหรือ???

จนถึงขณะนี้ “สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ที่สภาวิชาชีพด้านสุขภาพได้ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยมีท่านอดีตปลัดกระทรวง “นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ลงนามรับรองและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้ผ่านตาสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณสองเดือนเศษ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากสถานพยาบาล บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นควรว่า “สิทธิย่อมต้องคู่กับหน้าที่” เสมอ ทั้งนี้ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ “เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย” และ “เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและประเทศชาติ” นั่นเอง แต่น่าเสียดายที่มีกลุ่มคนบางกลุ่ม (ซึ่งก็เป็นกลุ่มเดิม ๆ) ออกมาคัดค้านว่า “ผู้ปวยไม่จำเป็นต้องมีข้อพึงปฏิบัติ หรือไม่ต้องมีหน้าที่ใด ๆ” ถึงขนาดให้ยกเลิกข้อพึงปฏิบัติไปทั้งหมดทั้งสิ้น !! โดยกล่าวอ้างว่าไม่มีประเทศใด ๆ ที่กำหนดหน้าที่หรือความรับผิดชอบของผู้ป่วยไว้แต่อย่างใด ?!?

นานาอารยะประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ถึงขนาดบัญญัติให้ใช้คำว่า “หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วย” แทนคำว่า “ข้อพึงปฏิบัติ” ด้วยซ้ำไป เนื้อหานอกเหนือไปจากข้อพึงปฏิบัติที่สภาวิชาชีพได้บัญญัติไว้แล้ว ยังมีเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อเงินภาษีอากร ต่อทรัพยากรด้านสุขภาพอันเป็นของสาธารณะไว้อีกด้วย เช่น “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องแจ้งโรงพยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้องหากไม่สามารถไปตามนัดหมาย” เพราะเขามองว่าการผิดนัดโดยไม่บอกกล่าวเป็นการรอนสิทธิผู้ป่วยรายอื่นที่จะได้รับการรักษา หรือ “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลทั้งส่วนตัวและครอบครัวหากเป็นข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล” “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องถาม เมื่อไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา” “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องใช้ทรัพยากรด้านการรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องตามที่บุคลากรทางการแพทย์แนะนำ” (ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าการรักษานั้นได้มาฟรีหรือจ่ายเงินเองก็ตาม) “ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิต เพื่อให้ตนเองหายหรือดีขึ้นจากโรคตามที่แพทย์แนะนำ” (บทลงโทษคือต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหากพิสูจน์ทราบว่าไม่ทำตามที่แนะนำ) “ห้ามผู้ป่วยไปใช้ห้องฉุกเฉินโดยไม่มีความฉุกเฉินจริง ๆ ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจริง ๆ ได้รับการรักษาล่าช้า เสียชีวิตหรือพิการโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นเพิ่มภาระงานของบุคลากรที่ต้องอยู่เวรฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น หลายแห่งมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มหากพบว่าไปรับการรักษาโดยไม่ฉุกเฉินจริง ๆ

ในสิงคโปร์มีกฎหมายระบุว่า “อวัยวะของผู้วายชนม์ ถือเป็นสมบัติของชาติ” ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตคนอื่นได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอการยินยอม แต่ก็ยังเปิดช่องหากไม่มีความประสงค์จะบริจาค โดยเจ้าตัวต้องแสดงความไม่ยินยอมเป็นเอกสารแจ้งต่อทางการตั้งแต่ยังมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมคือ เจ้าตัวจะเสียสิทธิด้านการรักษาพยาบาลในขณะยังมีชีวิตอยู่ (กฎข้อนี้ไม่ยกเว้นแม้ว่าจะนับถือศาสนามุสลิม) ในมาเลเซียระบุว่า “พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาสุขภาพให้ดี” เช่นไม่ทานสุรา ไม่ทานJunk food ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศและบุคลากรไม่ต้องรับภาระหนักโดยไม่จำเป็น !!! “พลเมืองต้องยอมรับการแซงชั่นด้วยมาตรการทางกฎหมายสุขภาพหากรัฐเห็นว่าจำเป็นเพื่อผลประโยชน์ต่อชาติ” ประเทศสังคมนิยมอย่างจีนก็ยังระบุว่า “ผู้ป่วยและญาติต้องให้เกียรติและปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างสุภาพและเหมาะสม” หากมีการละเมิดสิทธิบุคลากรโดยไม่มีเหตุอันควรจะถูกลงโทษถึงขนาดจำคุกกันเลยทีเดียว ประเทศสวีเดนระบุว่า “หากปฏิบัติตนไม่สุภาพต่อบุคลากร ผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายออกจากสถานพยาบาลและให้ไปรับการรักษาที่อื่นเอง”

น่าเสียดายที่บางกลุ่มกล่าวอ้างโดยยกกรณีตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ว่าข้อพึงปฏิบัติไปรอนสิทธิผู้ป่วยในการเปิดเผยความลับนั้น หากไม่ใช่เพราอคติ ทำนองว่า “ค้านทุกเรื่อง” ก็อาจเป็นเพราะทำความเข้าใจดีพอ เหตุเพราะมีกฎหมายหลายฉบับคอยอุดช่องโหว่ในประเด็นนี้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับอันได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งในการฟ้องละเมิดหากใครไปเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ที่สำคัญคือ “พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ถึงกับกำหนดบทลงโทษทางอาญากับผู้ป่วย ว่าหากไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรจะเปิดเผย แล้วส่งผลร้ายต่อคนอื่น ผู้ป่วยหรือญาติจะมีความผิดทางอาญาเลยทีเดียว” การกล่าวอ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลนี้แล้วจะตกเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์นั้น ดูจะเป็นการแสดงออกที่เกิดจากความไม่รู้ เหตุเพราะทุกวันนี้บุคลากรหาได้มองโรคนี้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างในอดีต สถานพยาบาลและหน่วยงานรัฐต่างพากันรณรงค์และให้ความรู้ในการปฏิบัติงาน การป้องกันตนเอง และการอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างดี ในชีวิตจริงจะเห็นบุคลากรยืนพูดคุยโอภาปราศัยกับผู้ติดเชื้อ ไม่ต่างกับการพูดคุยกับคนทั่วไปแต่อย่างใด ที่สำคัญในปัจจุบันมีโรคติดต่อร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าการติดเชื้อ HIV อีกมากมาย เช่น ไข้กาฬหลังแอ่น หวัดนก เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนป้องกันได้ยาก และอัตราตายสูงมากกว่าการติดเชื้อ HIV แบบเทียบกันไม่ติดเลย

จนถึงขณะนี้ สถานพยาบาล และบุคลากรการแพทย์ที่ให้การบริบาลรักษาผู้ป่วยอย่างเกินกำลัง ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ป่วยได้รับทราบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อมิให้ประเทศไทยถูกเรียกว่า “คนป่วยของเอเชีย” อีกต่อไป ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ คสช.ได้ย้ำตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้ามาปฏิรูปประเทศว่า “คนไทยทุกคนต้องเคารพสิทธิของคนอื่น และตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบไปพร้อม ๆ กัน” ...แต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวกลับเดินสวนทางโดยไปยื่นคัดค้านต่อ รมต. สาธารณสุข “นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร” ว่าไม่ต้องการ “ข้อพึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายความว่า จะขอเอาแต่สิทธิโดยปฏิเสธหน้าที่ใด ๆ นั่นเอง ทำให้อดวิตกไม่ได้ว่าหากครอบครัวส่วนใหญ่ของประเทศพร่ำสั่งสอนลูกหลานให้เรียกร้องเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่นนี้ ประเทศชาติจะมีอนาคตเช่นไร ? ลูกหลานของเราจะอยู่กันอย่างไร ?

คนที่น่าจะให้คำตอบได้ชัดเจนที่สุดคือ ท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากเห็นว่า ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ใด ๆ แล้ว ก็เพียงแค่ใช้อำนาจตาม ม. 44 ยกเลิกไปได้เลย....

เครดิต Methee Wong
https://www.facebook.com/methee.wong.7/posts/1166391753388387

โดย: หมอหมู วันที่: 17 ตุลาคม 2558 เวลา:14:46:28 น.
  
หน้าที่ผู้ป่วย' ไม่จำเป็นต้องมีจริงหรือ ?

*****************************************

รบกวนสร้างความเข้าใจมากขึ้น เพื่อสุขภาพของคนทั้งประเทศ โดยสัปดาห์นี้ขอนำข้อความของคุณหมอ Methee wong ในเฟซบุ๊กมาอธิบายครับ

จนถึงขณะนี้ "สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย" ที่สภาวิชาชีพด้านสุขภาพได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมีอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ลงนามรับรองและประกาศให้สาธารณชนรับทราบ ได้ผ่านตาสาธารณชนมาเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากสถานพยาบาล บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นควรว่า "สิทธิย่อมต้องคู่กับหน้าที่" เสมอ

ทั้งนี้ประกาศฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ "เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย" และ "เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะและประเทศชาติ" นั่นเอง อาจมีกลุ่มคนบางกลุ่มออกมาคัดค้านว่า "ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีข้อพึงปฏิบัติ หรือไม่ต้องมีหน้าที่ใดๆ" ถึงขนาดให้ยกเลิกข้อพึงปฏิบัติไปทั้งหมดทั้งสิ้น โดยกล่าวอ้างว่า ไม่มีประเทศใดที่กำหนดหน้าที่หรือความรับผิดชอบของผู้ป่วยไว้แต่อย่างใด

นานาอารยประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ถึงขนาดบัญญัติให้ใช้คำว่า "หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ป่วย" แทนคำว่า "ข้อพึงปฏิบัติ" เนื้อหานอกเหนือไปจากข้อพึงปฏิบัติที่สภาวิชาชีพได้บัญญัติไว้แล้ว ยังมีเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อเงินภาษีอากร ต่อทรัพยากรด้านสุขภาพอันเป็นของสาธารณะไว้อีกด้วย

เช่น "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องแจ้งโรงพยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้องหากไม่สามารถไปตามนัดหมาย" เพราะเขามองว่า การผิดนัดโดยไม่บอกกล่าวเป็นการรอนสิทธิผู้ป่วยรายอื่นที่จะได้รับการรักษา หรือ "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลทั้งส่วนตัวและครอบครัว หากเป็นข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล" "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องถาม เมื่อไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา" "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องใช้ทรัพยากรด้านการรักษาอย่างเหมาะสมถูกต้องตามที่บุคลากรทางการแพทย์แนะนำ" (ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าการรักษานั้นได้มาฟรีหรือจ่ายเงินเอง) "ผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้ตนเองหายหรือดีขึ้นจากโรคตามที่แพทย์แนะนำ" (บทลงโทษคือ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหากพิสูจน์ทราบว่าไม่ทำตามที่แนะนำ) "ห้ามผู้ป่วยไปใช้ห้องฉุกเฉินโดยไม่มีความฉุกเฉินจริง" ทั้งนี้เพราะจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจริงได้รับการรักษาล่าช้า เสียชีวิต หรือพิการโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระงานของบุคลากรที่ต้องอยู่เวรฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น หลายแห่งมีการเรียกเก็บเงินเพิ่ม หากพบว่าไปรับการรักษาโดยไม่ฉุกเฉินจริง

ในสิงคโปร์มีกฎหมายระบุว่า "อวัยวะของผู้วายชนม์ ถือเป็นสมบัติของชาติ" ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตคนอื่นได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องรอการยินยอม แต่ก็ยังเปิดช่องหากไม่มีความประสงค์จะบริจาค โดยเจ้าตัวต้องแสดงความไม่ยินยอมเป็นเอกสารแจ้งต่อทางการตั้งแต่ยังมีชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามคือ เจ้าตัวจะเสียสิทธิด้านการรักษาพยาบาลในขณะยังมีชีวิตอยู่ (กฎข้อนี้ไม่ยกเว้นแม้ว่าจะนับถือศาสนาอิสลาม)

ในมาเลเซียระบุว่า "พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ต้องรักษาสุขภาพให้ดี" เช่น ไม่ดื่มสุรา ไม่กิน Junk food ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศและบุคลากรไม่ต้องรับภาระหนักโดยไม่จำเป็น! "พลเมืองต้องยอมรับการแซงก์ชั่นด้วยมาตรการทางกฎหมายสุขภาพ หากรัฐเห็นว่าจำเป็นเพื่อผลประโยชน์ต่อชาติ"

ประเทศสังคมนิยมอย่างจีนก็ยังระบุว่า "ผู้ป่วยและญาติต้องให้เกียรติและปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างสุภาพและเหมาะสม" หากมีการละเมิดสิทธิบุคลากรโดยไม่มีเหตุอันควร จะถูกลงโทษถึงขนาดจำคุกกันเลยทีเดียว

ประเทศสวีเดนระบุว่า "หากปฏิบัติตนไม่สุภาพต่อบุคลากร ผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายออกจากสถานพยาบาล และให้ไปรับการรักษาที่อื่นเอง"

น่าเสียดาย ที่บางกลุ่มอาจไม่เข้าใจ โดยยกกรณีตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ว่าข้อพึงปฏิบัติไปรอนสิทธิผู้ป่วยในการเปิดเผยความลับนั้น ความจริงมีกฎหมายหลายฉบับคอยอุดช่องโหว่ในประเด็นนี้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความลับอันได้จากการปฏิบัติหน้าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งในการฟ้องละเมิดหากใครไปเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ที่สำคัญคือ "พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติถึงกับกำหนดบทลงโทษทางอาญากับผู้ป่วยว่า หากไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรจะเปิดเผยแล้วส่งผลร้ายต่อคนอื่น ผู้ป่วยหรือญาติจะมีความผิดทางอาญาเลยทีเดียว"

การกล่าวอ้างว่า การเปิดเผยข้อมูลนี้แล้วจะตกเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์นั้นน่าจะเกิดจากความไม่รู้ เหตุเพราะทุกวันนี้บุคลากรหาได้มองโรคนี้น่าเกลียดน่ากลัวอย่างในอดีต สถานพยาบาลและหน่วยงานรัฐต่างพากันรณรงค์และให้ความรู้ในการปฏิบัติงาน การป้องกันตนเอง และการอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดี ในชีวิตจริงจะเห็นบุคลากรยืนพูดคุยโอภาปราศรัยกับผู้ติดเชื้อไม่ต่างจากการพูดคุยกับคนทั่วไปแต่อย่างใด ที่สำคัญในปัจจุบันมีโรคติดต่อร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าการติดเชื้อเอชไอวีอีกมากมาย เช่น ไข้กาฬหลังแอ่น หวัดนก เป็นต้น โรคเหล่านี้ล้วนป้องกันได้ยาก และอัตราตายสูงมากกว่าการติดเชื้อเอชไอวีแบบเทียบกันไม่ติดเลย

จนถึงขณะนี้ สถานพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ที่ให้การบริบาลรักษา ผู้ป่วยอย่างเกินกำลัง ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ป่วยได้รับทราบรายละเอียดดังกล่าว เพื่อมิให้ประเทศไทยถูกเรียกว่า "คนป่วยของเอเชีย" อีกต่อไป ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ย้ำตั้งแต่เริ่มแรกที่เข้ามาปฏิรูปประเทศว่า "คนไทยทุกคนต้องเคารพสิทธิของคนอื่น และตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน"

การคัดค้านต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ว่า ไม่ต้องการ "ข้อพึงปฏิบัติ" ซึ่งหมายความว่า จะขอเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ใดๆ นั่นเอง ทำให้อดวิตกไม่ได้ว่า หากเรียกร้องเอาแต่สิทธิ โดยปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นนี้ ประเทศชาติจะมีอนาคตเช่นไร? ลูกหลานของเราจะอยู่กันอย่างไร ?

ที่หมอขอยกคำอธิบายของคุณหมอ methee wong มานี่ ไม่ได้เข้าข้างหมอด้วยกัน แต่เรียนพวกเราทุกคนอย่ามองในแง่ลบทั้งหมด มีอะไรที่ช่วยกัน ต้องทำ การดูแลตนเอง การบอกข้อมูล ยาทุกชนิดที่เข้ามาอยู่ในคลังไม่ว่าหมอจ่าย ซื้อกินเอง ต้องบอกให้หมด ในเรื่องเอชไอวีนั้น ถ้าไม่บอก การรักษาจะผิดหมดและเกิดผลร้ายครับ

จะให้ไหว้หรือกราบก็ยอมครับ ภาวะสาธารณสุขขณะนี้ก็เต็มกลืนจนจะล่มสลายแล้วครับ !

ผู้เขียน : ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


//www.hfocus.org/content/2015/11/11311
โดย: หมอหมู วันที่: 1 ธันวาคม 2558 เวลา:13:44:32 น.
  
แพทยสภาได้ออกประกาศ ที่ 50/2563 ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ป่วยถึงความสำคัญของการให้ความร่วมมือในกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวัง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 152 ง วันที่ 29 มิถุนายน 2563)

ขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียด/ download เอกสารได้ที่เว็บไซต์แพทยสภา (https://tmc.or.th/) หรือกดที่ link ต่อไปนี้

Infographic - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-2020-06-25-09-29-53.pdf

ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
https://tmc.or.th/Media/media-20200625153111.pdf

ประกาศแพทยสภา - หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา
//www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/152/T_0005.PDF


ที่มา: แพทยสภา
https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/2597320040532885?__tn__=-R

หมายเหตุ ประกาศนี้เป็นเพียง " แนวทางความเข้าใจ ขอความร่วมมือ โดยไม่มีโทษใดๆ " เพียงแต่ย้ำเตือนว่า หากมีการกระทำใดในสถานพยาบาล ที่ผิดกฎหมาย เช่น ทำลายข้าวของ ตีกันในห้องฉุกเฉิน อาจถูกลงโทษได้ "ตามที่กฎหมายฉบับอื่น" บัญญัติ

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เรียงตามระยะเวลาที่ออกประกาศ
- สิทธิของผู้ป่วย (๑๖ เมษายน ๒๕๔๑)
- สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘)
- หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓)

***********************************************

แพทยสภายัน ประกาศ 10 ข้อหน้าที่ผู้ป่วย ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อคดีทางการแพทย์
Thu, 2020-07-02 18:27 -- hfocus team
https://www.hfocus.org/content/2020/07/19680

“หมอประสิทธิ์” อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 แจงประกาศ 10 ข้อพึงปฏิบัติหน้าที่ผู้ป่วย แค่ขอความร่วมมือ ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลทางคดีทางการแพทย์ แต่เป็นประกาศที่ก่อประโยชน์ในการรักษาโรค เพราะไม่มีการปิดบังข้อมูลสุขภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ อาคารสภาวิชาชีพ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่1 กล่าวถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่องหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 10 ข้อว่า เป็นการมีการลงโทษ จำกัดสิทธิผู้ป่วย ทั้งที่แพทยสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ว่า หลังออกประกาศดังกล่าวอาจทำให้มีการตีความผิดไป ซึ่งต้องขอยืนยันว่าประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย และแพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย แต่ที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อเป็นคำแนะนำ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการรักษาโรค

ยกตัวอย่างประกาศข้อที่ 2 ซึ่งระบุว่าผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง นั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค และคนที่อยู่ใกล้ชิด อย่างเมื่อการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษาที่รพ.ศิริราช และไม่บอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา ทำให้ครั้งนั้นมีบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัวถึง 26 คน และหรือกรณีที่เราสอบถามว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่ ก็เพื่อการพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการตีกันของยานั้นๆ

หรือประกาศข้อที่ 10 ที่ระบุว่า ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้นอาจจะส่งผลต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง ในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในข้อนี้อาจจะทำให้เกิดการตีความและเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะมีบทลงโทษ ดังนั้นตนขอสื่อสารยืนยันว่าไม่ได้หมายความเช่นนั้น แต่กรณีนี้ แพทยสภาเป็นห่วงว่าหากมีการกระทำอะไร เช่น ตีกันในรพ.แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ จะมีกฎหมายอื่นๆ ที่กำกับอยู่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีภาคประชาชนมีความกังวลว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์หรือไม่ ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์แน่นอน เพราะตัวประกาศไม่ได้ใช้คำว่า “ต้องปฏิบัติ” แต่ประกาศจะใช้คำว่า “พึงปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการแนะนำ การขอความร่วมมือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เหมือนกับที่ตอนนี้เราขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำก็จะเป็นผลดี ในการป้องกันการติดเชื้อโควิดของคนนั้นๆ และช่วยลด หรือป้องกันการระบาดของโรคในสังคมไทย เป็นต้น

“ขอย้ำและบันทึกผ่านสื่อมวลชนว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีความทางการแพทย์ เป็นเพียงประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ผลในการรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตัวผู้ป่วยเอง และเพื่อสังคม” ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว.


โดย: หมอหมู วันที่: 3 กรกฎาคม 2563 เวลา:15:05:48 น.
  
ประกาศแพทยสภาที่ 50/2563 เรื่อง หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

ด้วยกระบวนการรักษาพยาบาลภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น ทุกอย่างล้วนเป็นไปเพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บป่วยและทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสำคัญ แต่นอกเหนือจากความพยายามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขแล้วหนึ่งในปัจจัยสำคัญอันจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ คือ “การได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย” ซึ่งหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจไม่ทันตระหนักหรือทราบมาก่อนว่า เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลอย่างยิ่งต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (1) ประกอบกับมาตรา7 (2) และ7 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 แพทยสภาจึงออกประกาศเรื่อง “หน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ป่วย” ดังนี้

ข้อ 1 การเอาใจใส่และดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งส าคัญที่สุดในกระบวนการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเห็นว่าไม่อาจทำตามคำแนะนำดังกล่าวได้ ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทราบโดยทันที เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

ข้อ 2 ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ “ที่เป็นจริงและอยู่ในความรับรู้” ของผู้ป่วยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะได้รับทราบข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดอันจะเป็นประโยชน์ต่อการให้การรักษาพยาบาลและป้องกันมิให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 3 ผู้ป่วยพึงปฏิบัติตามระเบียบที่สถานพยาบาลกำหนดไว้

ข้อ 4 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่าการใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิผู้ป่วยตามที่กำหนดไว้ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 5 ผู้ป่วยพึงหลีกเลี่ยงการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและบุคลากรสาธารณสุขหากมีกรณีที่ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ท่านสามารถให้คำแนะนำหรือใช้สิทธิร้องเรียนได้ตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลนั้นๆ

ข้อ 6 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า ห้องฉุกเฉินเป็นสถานที่ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ตกอยู่ใน “ภาวะเร่งด่วนและเป็นภยันตรายอันใกล้ต่อชีวิต” เป็นสำคัญ บุคลากรสาธารณสุขจะให้การรักษาตามลำดับความเร่งด่วนทางการแพทย์เป็นสำคัญ ดังนั้นพึงหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของบุคลากรในห้องฉุกเฉิน

ข้อ 7 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด” ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมร่วมกับสถานพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอันมีค่าอย่างระมัดระวัง การกระทำการใดๆ ของผู้ป่วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอันมีค่า และส่งผลเสียร้ายแรงต่อการรักษาพยาบาลของตัวผู้ป่วยเอง รวมทั้งต่อผู้ป่วยท่านอื่น

ข้อ 8 ผู้ป่วยพึงเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยท่านอื่นในสถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามกระทำการถ่ายรูป บันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งกระทำการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมิได้รับความยินยอมก่อน

ข้อ 9 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า “เอกสารลงนามในการให้ความยินยอมเพื่อรับการรักษาพยาบาล” เป็นเอกสารสำคัญที่ให้รายละเอียด ตลอดจนข้อจำกัดและความเสี่ยงของการรักษาพยาบาล ดังนั้นก่อนทำการลงนามในเอกสารดังกล่าว ผู้ป่วยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือมีความไม่เข้าใจใด ๆ ควรสอบถามผู้เกี่ยวข้องก่อนการลงนามทุกครั้ง

ข้อ 10 ผู้ป่วยพึงตระหนักว่า การละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามรายละเอียดข้างต้น อาจส่งผลเสียต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเอง และในบางกรณี หากเกิดความเสียหายต่อสถานพยาบาลหรือผู้ป่วยท่านอื่น ท่านอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์
โดย: หมอหมู วันที่: 4 กรกฎาคม 2563 เวลา:13:20:10 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด