จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 บทเรียนสาธารณสุขไทย

แนวหน้า 9/05/2552


สัปดาห์ ที่ผ่านมามีภาวะโรคติดต่อที่เป็นข่าวไปทั่วโลกคือ ไข้หวัดใหญ่MEXICO จากไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 โดยมีกำเนิดจากเชื้อไข้หวัดของหมู ที่กลายพันธ์ โดยล่าสุดเปลี่ยนชื่อเพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่หมู เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009

ซึ่งยังคงสร้างความหวาดระแวง ไปทั่วโลกผ่านสื่อมวลชนนานาชาติ ออกข่าวทุกวันจนแทบทุกบ้านรู้จักชื่อดี แม้อาจไม่เข้าใจรายละเอียดของโรคมากนัก

และยังมีข่าวแปลกๆตามมาหลายรูปแบบ เช่น บีบีซีรายงานว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ขอให้แมนนี่ ปาเกียว ฮีโร่ขวัญใจชาวฟิลิปปินส์ ที่เพิ่งสยบ ริกกี้ ฮัตตัน นักชกอังกฤษในการแข่งขันไฟต์หยุดโลก ที่นครลาสเวกัส รัฐเนวาดา อย่าเพิ่งกลับประเทศ ด้วยเกรงว่าคณะจะนำเชื้อมาแพร่กับประชาชนจำนวนมหาศาลที่มารอรับ จนต้องเลื่อนงานฉลองเข็มขัดแชมป์โลกรุ่นไลต์เวลเตอร์เวตของไอบีโอไปก่อน เป็นที่ขัดใจของแฟนคลับทั่วประเทศอย่างมาก

องค์การอนามัย โลก เปิดเผยตัวเลขล่าสุดของผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเ อ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 พุ่งแตะ 1,893 คน ใน 23 ประเทศ (8 พค.)โดยประเทศที่ยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุด คือ เม็กซิโก และสหรัฐฯ

ในประเทศไทยเองแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีโรคนี้ปรากฏ แต่นับว่ามีความสำคัญ เพราะทำให้เกิดการเตรียมพร้อมของระบบสาธารณสุขต่อการระบาดของโรคใหญ่ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในโลกนี้ได้ในอนาคตอย่างจริงจัง และรัฐบาลยังได้โอกาสเป็นเจ้าภาพให้กลุ่มรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3มาประชุ มหารือเรื่องนี้ในไทยระหว่างวันที่7-8พค.ที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหานี้อีกด้วย



ศ. นพ.อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ ประธานวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 14 ราชวิทยาลัยฯที่ตั้งขึ้นโดยแพทยสภาได้ออกแถลงข่าวให้ความรู้นับแต่วันแรกๆ ของการระบาดโดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ง่ายๆ คือ


1. โรคนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ที่มีการเกิดแรกเริ่มจากหมูก่อนจะกลายพันธ์มาระบาดในมนุษย์และมีรายงานครั้ง แรกใน MEXICO โดยมีหลักฐานว่ามีผู้เสียชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวและมีความต้านทานต่ำ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่แข็งแรงดีก็มีรายงานการเสียชีวิตด้วยเช่นกัน


2. มีการระบาดต่อเนื่องในประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและมีรายงานกระจายไปทั่วโลก กว่า 23 ประเทศ ทำให้เกิดความ หวาดกลัว โรคเฉพาะเมื่อสื่อมวลชน กระจายข่าวสารไปทั่วโลกยิ่งเกิดการตระหนกมากขึ้น แม้การติดเชื้อจะมีจำนวนมากแต่การเสียชีวิตเกิดขึ้นไม่มากนัก


3. สามารถใช้ยาต้านไวรัสรักษาได้หากแพทย์วินิจฉัยได้ในระยะเริ่มต้น และประเทศไทยมีการเตรียมยาพร้อมจำนวนมากโดย องค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการ (นพ.วิทิต อรรถเวชกุล) ได้ให้ข้อมูลว่ามีสำรองไว้หลายแสนเม็ดเพียงพอหากเกิดการระบาดแน่นอนอุ่นใจ ได้ในระดับหนึ่ง


4. ระบบการป้องกันโรคระบาดถูกนำมาใช้ในสนามบินนานาชาติทั่วประเทศไทย โดยมีการจัดหาเครื่องสแกนอุณหภูมิเพื่อหาผู้ป่วยเป็นไข้ก่อน แล้วจึงมาแยกว่าเป็นจากเชื้อนี้หรือไม่

โดยมีการรายงานว่าสามารถตรวจแยกได้ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้นหากไม่พบหลักฐานว่าเป็นเชื้อนี้ก็สามารถกลับบ้านได้ โดยรอติดตามอาการอีก7วัน และยังไม่พบผู้ที่เป็นในขณะนี้


5. คนไทยผู้กลับมาจากพื้นที่ที่ระบาดแม้ว่าจะไม่มีไข้ ก็ต้องติดตามไป 7 วัน เช่นกัน โดยควรแยกตัวจากผู้อื่นโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ ก่อนจนแน่ใจ หากพ้น 7 วันไปแล้วถือได้ว่าปลอดภัย


6. กรณีหากคนไทยที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาดนั้น ถึงจะสบายดีก็มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แม้ว่าจะป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ไม่ได้ แต่ทำให้ลดโอกาสการเกิดไข้หวัดปกติซึ่งเกิดได้ง่ายกว่า จะได้ไม่เกิดปัญหาโดนกักตัวจากโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่นที่มีไข้ขึ้นได้โดยไม่จำเป็น

แต่อย่างไรก็ตามคำแนะนำนี้จะเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อผู้เดินทาง ดังนั้นควรพิจารณาเป็นรายๆ โดยปรึกษาแพทย์ เพื่อดูข้อบ่งชี้ว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่เสียก่อน


7.
ในพื้นที่ที่มีโอกาสติดเชื้อง่ายๆ ที่สำคัญได้แก่พื้นที่ ที่มีอากาศปิด เช่น ในรถปรับอากาศ ,ในเครื่องบิน ,ในโรงภาพยนตร์ ฯลฯ ในกรณีที่มีผู้ติดเชื้ออยู่สามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้การใช้ผ้าปิดปากและจมูก ป้องกันละอองเชื้อจากการไอ จาม จะช่วยลดอุบัติการณ์ได้ รวมถึงการล้างมือเมื่อสัมผัสพื้นที่สาธารณะต่างๆ ในที่ไม่แน่ใจความสะอาด ทั้งนี้ยังช่วยลดโรคติดต่ออื่นๆได้อย่างดีด้วย


8. กรณีมีผู้เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุและมีโอกาสเสี่ยง เช่น สัมผัสกับบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดควรจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป


บทเรียนครั้งนี้ สร้างความตื่นตัวต่อการระบาดของโรคในระดับโลก โดยเป็นครั้งแรกที่รุนแรงต่อจากการระบาดของไข้หวัดนกในปีที่ผ่านมา และส่งให้เห็นอิทธิพลของข่าวสารสุขภาพ ที่ให้ทั้งแง่บวกคือการให้ความรู้ รับรู้ และ ป้องกัน ถึงในเชิงลบ คือ การตื่นตระหนก หวาดกลัวนำไปสู่การกักกันและ ถูกรังเกียจได้ ดังเช่นในข่าวหลายกรณี


สำหรับ ทิศทางของการระบาดแม้ว่ามีผู้ให้ความเห็นว่าโรคนี้ไม่น่าจะเกิดในประเทศไทย เพราะอากาศร้อนไม่เหมาะสมนั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับและการระบาดจากหมูสู่คน หรือคนกลับไปสู่หมูก็ยังไม่มีรายงานมาก่อน แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต



ข้อมูล เพิ่มเติมท่านศึกษาได้ที่เว็บไซด์ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ //www.rcpt.org ที่ผมได้บันทึกการบรรยายของ ศ.นพ.อมรฯ เป็นเป็นไฟล์วีดีโอคลิปขนาด 9 นาทีไว้ให้แล้วครับ


สิ่งที่แพทยสภาคาดหวัง คือ สนับสนุนประชาชนให้เห็นความสำคัญของการติดตามข่าวสารสุขภาพ รวมถึงรู้จักนำมาคิด วิเคราะห์ข้อมูล ประยุกต์เพื่อใช้ดูแลป้องกันตนเองก่อนที่จะต้องใช้บริการของรัฐที่มีอยู่จำกัด โดยพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะมีบทบาทช่วยประชาชนมากในการนี้


ใน ท้ายสุดข้อที่ดีของการระบาดครั้งนี้ คือช่วยมาลดพื้นที่นำเสนอข่าวความขัดแย้ง บรรเทาความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการช่วยเยียวยาจิตใจของหลากผู้คนหลายสีในสังคมยุคนี้ได้อย่างหนึ่ง ครับ



นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นพ.อิทธพร คณะเจริญ
รองเลขาธิการแพทยสภา




เวบที่น่าสนใจ ..


เวบ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).. ภาพสวย ข้อมูลเพียบ มีคำถามที่พบบ่อย และ เวบบอร์ดให้สอบถามปัญหา ครบถ้วน ... เจ๋งมั๊ก ๆ

//www.flu2009thailand.com/



ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทาง การแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

//www.moph.go.th/flu/


สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

//beid.ddc.moph.go.th/th/index.php





( ปรับปรุงเวบลิงค์ที่น่าสนใจ )



Create Date : 21 พฤษภาคม 2552
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 17:59:07 น.
Counter : 2625 Pageviews.

25 comments
วิ่งข้างบ้าน 22,24,25,28-30 มิ.ย.2568/ผลวิ่งเดือนมิ.ย. สองแผ่นดิน
(4 ก.ค. 2568 22:52:24 น.)
มัทฉะกรีนที: เครื่องดื่มแห่งสุขภาพที่มากกว่าแค่รสชาติ สมาชิกหมายเลข 8540341
(4 ก.ค. 2568 16:50:00 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
  


เข้าไปอ่านที่ห้องไกลบ้าน ... ข้อมูลต่างจากในทีวี เยอะเลย ????




เอามาแปะ เพิ่ม ..


10 ชาติสู้หวัดใหญ่ลงขันวิจัย "วัคซีน"

ข่าววันที่ 7 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ



"ฮู"เตือนอาเซียนยังเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ 2009 ไทยระดมสมอง สธ.10 ชาติ สกัดไวรัสร้าย เคาะ 3 มาตรการสากล ร่วมลงขันวิจัยวัคซีน มั่นใจสต๊อกยา 10 ล้านเม็ดเพียงพอ "ธนาคารโลก" พร้อมสำรองเงินทุนผลิตยารักษาหากพบการระบาดในอาเซียน "มะกัน" เสือปืนไวเร่งผลิตวัคซีนต้านโรค ด้านยูเอ็น เตรียมถกแจกยาช่วยชาติยากจน



เมื่อวันที่ 7 พ.ค.52 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจา กการที่สถานประกอบการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หันมาดำเนินกิจกรรมต่างๆ เหมือนเดิมอีกครั้ง

ขณะเดียวกันทางการสหรัฐฯ โดยนายแอนโธนี เฟาซี ผอ.สถาบันโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ สังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) เปิดเผยต่อสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ หรือสภาคองเกรสว่า ขณะนี้กำลังเร่งพัฒนาเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างเร่งด่วนแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคณะนักวิทยาศาสตร์ สามารถแยกเชื้อไวรัส H1N1ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไวรัสของไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้แล้ว


ทั้งนี้ แม้สถานการณ์แพร่ระบาดจะเริ่มชะลอตัว และการพัฒนาวัคซีนมีความคืบหน้า แต่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยนายเคอิจิ ฟุคุดุะ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการของ WHO ออกมาเตือนให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ขอให้ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพราะถึงแม้สถานการณ์คลี่คลายลง แต่ก็ยังมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลกอยู่

อีกทั้งยังระบุว่า องค์การสหประชาชาติ (UN) มีกำหนดการประชุมร่วมกับบรรดาบริษัทผู้ผลิตยา ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ เพื่อหารือถึงการจัดหาวัคซีน สำหรับแจกจ่ายให้แก่กลุ่มประเทศชาติยากจน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม WHO ได้รายงานว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้ลุกลามไปใน 23ประเทศ มียอดผู้ป่วยรวม 1,893 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 31 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก

วันเดียวกันที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอาวุโส ของ 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย และอีก 3 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ร่วม 100 คน ซึ่งเป็นการประชุมสมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) เพื่อร่วม มือกันสกัดกั้นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ให้แพร่ระบาดสู่ประชากรอาเซียนรวมกว่า 500 ล้านคน

โดย พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัด สธ. พร้อมด้วย นพ.โธมัส พาลู หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ฝ่ายความร่วมมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ธนาคารโลกได้ ร่วมกันแถลงผลการประชุมว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ร่วมกัน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

มาตรการเฝ้าระวังโรค ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศพ.ศ.2548 เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อ และควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว,

มาตรการการควบคุมโรค กรณีที่พบผู้ป่วยเพื่อจำกัดวงของการแพร่ระบาดให้ได้เร็วและ แคบที่สุด

และ มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วย ด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว เพื่อลดการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้ในภูมิภาคอาเซียน มีสต็อกยาโอเซลทามิเวียร์ หรือยาทามิฟูล อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ 5 ล้านเม็ด ส่วนไทยได้เตรียมไว้ 5 ล้านเม็ด นอกจากนี้ จะร่วมกันพัฒนาวัคซีนสำหรับใช้ในภูมิภาคด้วย



"จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ จากศูนย์ควบคุมป้องกันโรค(CDC) ของสหรัฐอเมริกา และองค์การอนามัยโลก ระบุว่าเชื้อไวรัสนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยทางด้านพันธุกรรม ลักษณะการแพร่เชื้อ และด้านคลินิกเพื่อลดผลกระทบต่อคน โดยการให้การรักษาอย่างรวดเร็วและควบคุมอย่างทันการณ์

ซึ่งจากการนำเสนอมาตรการของประเทศอาเซียน และจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ในวันนี้ ล้วนยึดหลักเฝ้าระวังป้องกันตามมาตรฐานสากล และบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร โต้ตอบกระแสข่าวลือเกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของความร่วมมือกันเพื่อประชากรอาเซียน และประชากรโลก"

ด้าน นพ.โธมัส กล่าวเสริมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่ทางธนาคารโลก ก็ได้กันงบประมาณไว้แล้วเพื่อรับมือกับโรคระบาด และยังสามารถหาแหล่งทุนเพิ่มได้หากจำเป็น

ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับจาก WHO ก็มีเรื่องที่น่าเบาใจว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ จะมีการแพร่ระบาดประมาณ 3 เดือนใน 1 ปี ซึ่งเกิดขึ้นตามฤดูกาล ทำให้สามารถป้องกันและลดผลกระทบของโรคได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงเช้าก่อน การประชุม นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการกับ นายเฉิน ฉู่ รมว.สาธารณสุขของประเทศจีน โดยมีข้อตกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทางการจีน พร้อมสนับสนุนยาทามิฟูลแก่ทุกประเทศรวมทั้งสนับสนุนการผลิตวัคซีนให้กับไทย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และผลการเฝ้าระวังผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-7 พ.ค.52 ได้รับแจ้งผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค 18 ราย ในจำนวนนี้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ใช่ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 13 ราย และอยู่การเฝ้าระวังรอผลจากห้องปฏิบัติการ 5 ราย

//www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=104&nid=37669

โดย: หมอหมู วันที่: 21 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:52:06 น.
  

คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
ฉบับที่ 4
-------------------------------------------------

จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และในขณะนี้เริ่มพบผู้ป่วยในภูมิภาคเอเชียแล้ว ซึ่งจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 พบผู้ป่วยใน 29 ประเทศ จำนวน 3,440 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย)

กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามจัดระบบงานการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ ได้
สำหรับการป้องกันแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ กระทรวงสาธารณสุขเน้นมาตรการสำคัญ 3 ด้าน คือ

1) มาตรการสกัดกั้น การดำเนินที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศทุกแห่ง เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาภายในประเทศ

2) มาตรการค้นหาและแก้ไข การค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว และให้การวินิจฉัยรักษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ การจัดทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอ รวมทั้งการอบรมความรู้แก่ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังโรคในหมู่บ้าน และให้คำแนะนำการป้องกันโรคแก่ประชาชน และ

3) มาตรการเตรียมความพร้อมในวงกว้าง เน้นการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถป้องกันตนเองได้



เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาใกล้เปิดภาคเรียนของสถานศึกษาต่าง ๆ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขขอให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ประชาชนทั่วไป ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ และสถานศึกษา ดังนี้



คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

ขอให้ประชาชนมั่นใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาการที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ สร้างสุขนิสัยการป้องกันโรค โดยกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ

ถ้าป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เสมหะ ควรปิดปากจมูกเวลาไอโดยใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูและทิ้งลงถังขยะที่มีฝาปิด และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น


หากมีผู้รู้จักซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการป่วยเป็นไข้ภายใน 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ควรแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาทันที




คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค

• หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน

• ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจและให้การดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้

• สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วย ควรสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน

• ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป

• หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน

• ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น



คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา

• ขอให้ทางโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน

ขอให้สังเกตอาการตนเองจนครบ 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี

• ขอให้ครูประจำชั้นตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนและตรวจอาการนักเรียนในแต่ละวัน หากพบนักเรียนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีนักเรียนขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ

หากสงสัยว่าขาดเรียนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ (เขตกรุงเทพมหานคร แจ้ง โทร. 0 2246 0358 หรือ โทร. 0 2245 8106 นอกกรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์

• ขอให้โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการล้างมือ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ฯลฯ และรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนล้างมืออย่างถูกต้อง ซึ่งในชั้นต้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้ที่ห้องปฐมพยาบาล สำหรับให้นักเรียนที่ป่วยสวมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ


ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง


กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 10 พฤษภาคม 2552


โดย: หมอหมู (หมอหมู ) วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:17:34:24 น.
  

คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
ฉบับที่ 5
-------------------------------------------------

สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) องค์การอนามัยโลกรายงาน (ณ วันที่ 11พฤษภาคม 2552) พบผู้ป่วยใน 30 ประเทศ จำนวน 4,694 ราย เสียชีวิต 48 ราย (เม็กซิโก 45 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย และแคนาดา 1 ราย)

และแนะนำผู้ที่มีไข้หรือมีอาการไม่สบาย ให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อนจนกว่าจะหายเป็นปกติ

สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหากมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

วิธีปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้จำกัดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ รวมทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างดี


ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกแสดงว่า ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบโดยเฉพาะที่พบนอกประเทศเม็กซิโก ไม่ได้มีความรุนแรงมากดังที่วิตกกันในช่วงแรกที่เริ่มพบการระบาด

โดยมีลักษณะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ที่พบตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล

ส่วนผู้ป่วย 3 รายที่เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พบว่ามีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น

วันนี้ (12 พฤษภาคม 2552) กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงการพบผู้ป่วยที่ตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1เอ็น1) จำนวน 2 ราย ซึ่งติดเชื้อจากประเทศเม็กซิโก เริ่มมีไข้หลังจากเดินทางมาถึงประเทศไทย ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสครบชุด หายเป็นปกติไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว

ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้รับยาต้านไวรัสครบชุดและติดตามเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้ใดมีอาการป่วยแต่อย่างใด สามารถมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ


การที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งติดเชื้อมาจากต่างประเทศและเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยสามารถค้นหาผู้ป่วย ให้การรักษาและควบคุมป้องกันโรคได้รวดเร็ว โดยไม่มีการแพร่กระจายเชื้อในประเทศ แสดงว่าระบบงานของประเทศไทยสามารถจัดการได้ดี และประเทศไทยยังไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายจะต้องไม่ประมาท และคงระดับความตื่นตัวในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเต็มที่

ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ของประเทศ

ในระยะนี้กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งรัดการเฝ้าระวังโรค การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลผู้ป่วย การเผยแพร่ความรู้ส่งเสริมบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชน ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของของทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนทุกคนเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของความสำเร็จ ในการเฝ้าระวังและป้องกันและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค

กระทรวงสาธารณสุขจึงขอเน้นย้ำคำแนะนำสำหรับประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข และสถานศึกษา เพื่อความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (เอช 1 เอ็น 1) ของประเทศ ดังนี้



ประชาชนทั่วไป

• ควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

• สร้างสุขนิสัยป้องกันโรค โดยเน้นเรื่องกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และใช้หน้ากากอนามัยเมื่อมีอาการไอ

• ผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว ควรรีบไปพบแพทย์

• หากพบผู้ใกล้ชิดมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศภายใน 7 วัน ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


อาสาสมัครสาธารณสุข

• ขอให้เฝ้าระวังสังเกตประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนที่รับผิดชอบ หากพบผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศภายใน 7 วัน และรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

• เผยแพร่ความรู้และให้คำแนะนำ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข



โรงเรียนและสถานศึกษา

• เมื่อเปิดภาคเรียน ควรสำรวจนักเรียนเป็นประจำทุกวัน สังเกตอาการป่วยของนักเรียน ดูแลนักเรียนที่ป่วยอย่างถูกวิธี สอนและให้คำแนะนำวิธีรักษาสุขภาพและป้องกันโรคแก่นักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการป้องกันโรคในโรงเรียน ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ (ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 4)



ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง

กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 12 พฤษภาคม 2552
โดย: หมอหมู วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:17:39:12 น.
  

่ล่าสุด ๑๑ มิย ๕๒



คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)
ฉบับที่ 6
--------------------------------

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ(เอช1เอ็น 1) กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และขณะนี้ประเทศไทยพบการระบาดภายในประเทศแล้ว ซึ่งแม้ว่าผู้ป่วยโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง ใกล้เคียงกันกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดิมที่เกิดขึ้นตามปกติ อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเชื้อสายพันธุใหม่ คนทั่วไปไม่มีภูมิต้านทานโรค

สถานศึกษาเป็นแหล่งชุมชนกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาด และนำไปสู่การแพร่กระจายเชื้อโรคออกไปสู่ชุมชนได้ ดังนั้นเพื่อความาปลอดภัยของนักเรียน ครู อาจารย์ และเพื่อป้องกันการระบาดในสถานศึกษา กระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้คำแนะนำสถานศึกษาในการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอช1 เอ็น 1) ดังต่อไปนี้


1. คำแนะนำทั่วไปสำหรับสถานศึกษา :

• เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองติดโรค หรือแพร่โรคไปยังคนรอบข้าง

• แนะนำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นต้น หยุดเรียนและพักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก (ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) หรือหากมีอาการป่วยมาก ควรรีบไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์

• ก่อนเริ่มการเรียนในแต่ละวัน ควรตรวจสอบจำนวนนักเรียน หากพบเด็กขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าเด็กขาดเรียนจากอาการของไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์

• สังเกตอาการ เด็กนักเรียนในห้องเรียน หากพบเด็กป่วยด้วยอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ฯลฯ

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น ควรให้เด็กป่วยสวมหน้ากากอนามัย หรือใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอจาม และแยกเด็กป่วยให้อยู่ห้องพยาบาล รวมทั้งติดต่อให้ผู้ปกครองพากลับบ้าน เพื่อให้การดูแลรักษาเบื้องต้นและพักผ่อนที่บ้าน แต่หากเด็กมีอาการมากควรต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

• หากมีนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ จากการศึกษาหรือหาประสบการณ์การทำงานและท่องเที่ยว

ควรแนะนำให้เฝ้าติดตามอาการของตนเองอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 7 วัน โดยในระยะ 3 วันแรกควรพักอยู่ที่บ้านก่อนไปโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษา หรือเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ

และขอให้สถานศึกษาพิจารณาผ่อนปรนการลงทะเบียนหรือการเข้าเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งอาจอยู่ระหว่างการพักเฝ้าติดตามอาการอยู่ที่บ้าน หรือระหว่างได้รับการดูแลกรณีป่วยหลังเดินทางกลับจากต่างประเทศ


2. คำแนะนำกรณีพิจารณาปิดสถานศึกษา

ในการพิจารณาปิดสถานศึกษาเพื่อการชะลอการแพร่ระบาดของโรค ควรกำหนดกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีใช้ดุลยพินิจร่วมกันระหว่างผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ รวมทั้งเครือข่ายผู้ปกครอง โดยพิจารณาข้อมูลทางวิชาการ ผลการสอบสวนโรคและปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ

สถานการณ์ ก (A) : พบว่ามีนักเรียน หรือนิสิต นักศึกษา เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1 เอ็น 1) จำนวน 1 ราย หรือกลุ่มเล็ก ซึ่งทุกคนมีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่การระบาดของโรค

ซึ่งแสดงว่าติดเชื้อจากต่างประเทศ และไม่ใช่การแพร่เชื้อภายในประเทศ

แนวทางการดำเนินการ :

• ไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา

• ควรแจ้งผู้ปกครองให้รีบนำผู้ป่วยไปรับการวินิจฉัยโรคและการรักษาจากแพทย์

• หากแพทย์ผู้รักษาอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน ขอให้หยุดเรียนและอยู่กับบ้านหรือหอพัก เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ และกลับเข้าเรียนได้เมื่อหายป่วยแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง


สถานการณ์ ข (B) : พบว่ามีนักเรียน หรือนิสิต นักศึกษา เป็นผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) จำนวน 1 ราย หรือกลุ่มเล็ก และไม่มีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่ระบาดของโรค

ซึ่งแสดงว่าติดเชื้อภายในประเทศ และมีการแพร่เชื้อเกิดขึ้นในชุมชนภายในประเทศ

แนวทางการดำเนินการ :

• ควรพิจารณาปิดสถานศึกษาที่ผู้ป่วยศึกษาอยู่ โดยอาจปิดเฉพาะห้องเรียนที่มีผู้ป่วย ปิดทั้งชั้นเรียน หรือทั้งโรงเรียน ตามความจำเป็น

• ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ควรปิดเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ

• ศูนย์เด็กเล็กและสถานรับเลี้ยงเด็ก อาจจำเป็นต้องปิดเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน เพื่อให้พ้นระยะที่เด็กเล็กจะแพร่โรคให้ผู้อื่นได้ ซึ่งมักจะมีระยะเวลานานกว่าผู้ใหญ่

• ระดับอุดมศึกษา ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อพิจารณาปิดสถานศึกษาเป็นกรณีไป

• กรณีผู้สัมผัสโรคที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน มิได้อยู่สถานศึกษาเดียวกันกับผู้ป่วยรายแรก แต่มีกิจกรรมร่วมกันนานพอสมควร เช่น เป็นเพื่อนร่วมชั้นที่คลุกคลีใกล้ชิด แข่งกีฬาหรือรับน้องร่วมกัน ฯลฯ ภายใน 7 วัน นับจากวันสุดท้ายที่ผู้ป่วยมีอาการป่วย

o หากผู้สัมผัสโรครายนั้นมีอาการป่วย ให้หยุดเรียนไว้ก่อนและรีบไปพบแพทย์ ถ้าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า ไม่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ต้องปิดโรงเรียน

o หากผู้สัมผัสโรครายนั้นมีอาการป่วย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ (เอช1 เอ็น 1) ขอให้พิจารณาปิดโรงเรียนที่ผู้สัมผัสโรครายนี้เรียนอยู่ด้วย โดยใช้เกณฑ์การปิดสถานศึกษาเช่นเดียวกับข้างต้น


สถานการณ์ ค (C) : พบว่ามีนักเรียนหรือนิสิต นักศึกษา เป็นผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ (เอช1 เอ็น 1) เป็นกลุ่มใหญ่ และผู้ป่วยไม่มีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศที่เป็นพื้นที่การระบาด

ซึ่งแสดงว่ามีการระบาดอย่างกว้างขวางในสถานศึกษาแล้ว หรือในชุมชนอาจมีการระบาดด้วยในเวลาเดียวกัน

แนวทางการดำเนินการ :

• แนะนำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นต้น หยุดเรียนและพักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก (ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง) หรือหากมีอาการป่วยมาก ควรรีบไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์

• ควรพิจารณาปิดสถานศึกษาที่ผู้ป่วยศึกษาอยู่ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน โดยปิดเฉพาะห้องเรียนที่มีผู้ป่วย ปิดทั้งชั้นเรียน หรือทั้งโรงเรียน ตามความจำเป็น



3. คำแนะนำการทำความสะอาดในสถานศึกษา

เชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในเสมหะ น้ำลาย น้ำมูก ของผู้ป่วย และแพร่ไปยังผู้อื่น โดยผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง หรือรับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ลูกบิดประตู โทรศัพท์ แก้วน้ำ ฯลฯ โดยมือที่เปื้อนเชื้อไปขยี้ตา แคะจมูก หรือใส่เข้าปาก เชื้อจะสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือพื้นผิวได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จึงควรทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ โดยเฉพาะพื้นผิวที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาด อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ภายในห้องควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง


4. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน ยกเว้นบางรายอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดปอดบวม มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก และเสียชีวิตได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ( เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึม และพอรับประทานอาหารได้) สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ผู้ป่วย ผู้ปกครอง และผู้ดูแลผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

• ผู้ป่วยควรหยุดเรียน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ และกลับเข้าเรียนได้ เมื่อหายป่วยแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

• แจ้งทางโรงเรียนทราบ เพื่อจะได้ร่วมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในสถานศึกษา และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที

• ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์

• ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง

• เช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น

• ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด

• พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

• นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

• ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ปิดปาก และจมูก เวลาไอหรือ จามด้วยกระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อของตนเอง

ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ

หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ร่วมบ้านหรือร่วมห้อง (หากเป็นไปได้ ควรให้ผู้ป่วยนอนแยกห้อง)

รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หรือใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน

ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น

• หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


5. คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน

• ควรติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุขและสถานศึกษาเป็นระยะ

• แนะนำพฤติกรรมอนามัยให้แก่บุตรหลาน เช่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ การใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกัน การรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่

• แนะนำให้เด็กหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

• หากบุตรหลานของท่านมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูก และทิ้งลงถังขยะ และขอให้แจ้งทางโรงเรียนทราบ เพื่อจะได้ร่วมเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในสถานศึกษาและป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที

• ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นปกติเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าจะมีการปิดสถานศึกษาหรือมีการระบาดของโรค

• หมั่นพูดคุยกับบุตรหลาน ให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้บ้าง และตอบคำถามที่เด็กสงสัยเท่าที่เด็กในแต่ละวัยจะเข้าใจได้

• หากเด็กมีความรู้สึกกลัวหรือกังวล ควรแนะนำให้ระบายความรู้สึกของตนเองออกมา และตอบคำถาม รวมทั้งปลอบโยนให้คลายกังวล

• เด็กมักจะต้องการความรู้สึกปลอดภัยและความรัก หากบุตรหลานของท่านมีความกังวล ท่านควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ

• ดูแลมิให้บุตรหลานของท่านหมกมุ่นกับข้อมูล ข่าวสารสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มากเกินไป จนเกิดความกลัวหรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ


6. คำแนะนำสำหรับด้านการบริหารจัดการอื่นๆ เมื่อเกิดโรคในสถานศึกษา

• ควรจัดทำแนวทางปฏิบัติ สำหรับครู/อาจารย์ เมื่อมีการระบาดของโรค เช่น การแนะนำนักเรียนและผู้ปกครอง การติดตามนักเรียนในชั้นเรียนที่ป่วย เป็นต้น

• ควรจัดระบบการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง/นักเรียน

• มีผู้ประสานงานหลักของโรงเรียน เพื่อติดต่อประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่อย่างใกล้ชิด



7. แหล่งข้อมูลการติดต่อ เพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106, 0 2246 0358 และ 0 2354 1836

2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ท่านสามารถติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333

และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง


กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 11 มิถุนายน 2552
โดย: หมอหมู วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:17:46:05 น.
  
//beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=4933286&Itemid=240


โลกเริ่มเข้าสู่ภาวะการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกแล้ว
(ดัดแปลงจากคำแถลงการณ์ของผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก)

โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

12 มิถุนายน 2552



วันที่ 12 มิถุนายน 2552 (ตามเวลาในประเทศไทย) พญ.มากาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศยกระดับเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ จากระดับ 5 เป็นระดับ 6 ซึ่งหมายถึง การระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) เริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลกแล้วโดยมีการติดต่อจากคนสู่คน ณ ขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยันโรคนี้ มากกว่า 30,000 ราย ใน 74 ประเทศทั่วโลก

จากการประเมินสถานการณ์ ขณะนี้ พบว่า สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ถึงแม้ความรุนแรงของโรคในปัจจุบัน ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง และสามารถหายได้เอง แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในอดีตที่ผ่านมา ทำให้เชื่อได้ว่า อย่างน้อยในช่วงแรกของการระบาดครั้งนี้ จะมีความรุนแรงในระดับปานกลาง

ภาพรวมของผู้ป่วยจากการระบาดของโรคนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า

ผู้ป่วยมักเป็นกลุ่มที่มีอายุน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ที่มีการระบาดในวงกว้าง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอายุไม่เกิน 25 ปี ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต มักมีอายุระหว่าง 30-50 ปี

ซึ่งลักษณะเช่นนี้ มีความแตกต่างไปจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ที่ผู้เสียชีวิตมักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ ภาวะอ้วน และหญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเป็นอย่างมาก

การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ครั้งก่อนๆในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การระบาดกระจายไปทั่วโลกในเวลา 6-9 เดือน โดยในเวลานั้นการเดินทางส่วนใหญ่ ใช้ทางเรือหรือรถไฟ ดังนั้นประเทศต่างๆ ควรเตรียมรับมือกับการที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้

ส่วนประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างกว้างขวางไปแล้ว ควรเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของโรคระลอกที่สอง โดยควรเน้นหนักในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

สำหรับการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการและการสอบสวนโรคสำหรับพื้นที่ที่มีการ ระบาดในวงกว้างแล้ว ควรลดความสำคัญลง เพราะประโยชน์ที่ได้อาจไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ต้องทุ่มเทลงไป

องค์การอนามัยโลกกำลังประสานกับผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคนี้ อย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่า จะพยายามให้มีปริมาณวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ให้มากที่สุด ภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

ส่วนในระหว่างที่รอการผลิตวัคซีนนั้น ขอให้ใช้มาตรการด้านสาธารณสุขและชุมชนหรือมาตรการที่ไม่ใช้ยา/เวชภัณฑ์ (Non-pharmaceutical Intervention) เช่น การส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคล การจำกัดการชุมนุม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร่วมด้วย

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ยังคงแนะนำว่า ไม่ควรจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน

โดย: หมอหมู วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:17:50:28 น.
  

พอฟังข่าวทีวีเสร็จแล้วเราก็น้ำมูกไหลเลยค่ะ เพราะปกติจะแพ้ฝุ่น อากาศเย็นอยู่แล้วค่ะ
โดย: quilt วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:21:09:18 น.
  
เด็กเล็กๆ ต้องระวังเลยเชียว

เดี๋ยวนี้ พก เจลล้างมือติดตัวเลย อิอิ
โดย: ออย-โอ๊ด วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:14:39:04 น.
  
ขอบคุณค่ะ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:16:48:41 น.
  


คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)

ฉบับที่ 7

วันที่ 13 มิถุนายน 2552

--------------------------------

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และขณะนี้ประเทศไทยพบการระบาดภายในประเทศแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษา และสถานประกอบการ ซึ่งอาจแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้มีอาการคล้ายกันกับไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ธรรมดา ส่วนใหญ่มีอาการน้อยและหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล

สำหรับผู้ป่วยจำนวนไม่มากในต่างประเทศที่เสียชีวิต มักเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และหญิงมีครรภ์

สำหรับวิธีการติดต่อและวิธีการป้องกันโรค จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ธรรมดา กระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้คำแนะนำในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1 เอ็น 1) ดังต่อไปนี้


คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป

1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น

3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด

4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น

6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

1. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ

2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม

4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

5. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์



คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา

1. แนะนำให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพัก หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์

2. ตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนในแต่ละวัน หากพบขาดเรียนผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในห้องเรียนเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

3. แนะนำให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

4. หากสถานศึกษาสามารถให้นักเรียนที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ทุกคนหยุด เรียนได้ ก็จะป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดี และไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา แต่หากจะพิจารณาปิดสถานศึกษา ควรหารือร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะเรียน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่ อย่างเพียงพอ ในบางวันควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง



คำแนะนำสำหรับสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน

1. แนะนำให้พนักงานที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ พักรักษาตัวที่บ้าน หากมีอาการป่วยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์

2. ตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ขาดงานในแต่ละวัน หากพบขาดงานผิดปกติ หรือตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ในแผนกเดียวกัน และสงสัยว่าป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค

3. แนะนำให้พนักงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เฝ้าสังเกตอาการของตนเองเป็นเวลา 7 วัน ถ้ามีอาการป่วยให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน

4. ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่แนะนำให้ปิดสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงาน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

5. ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสจำนวนมาก เช่น โต๊ะทำงาน ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ราวบันได คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการใช้น้ำผงซักฟอกทั่วไปเช็ดทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง

จัดให้มีอ่างล้างมือ น้ำและสบู่อย่างเพียงพอ

ในบางวันควรเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

6. ควรจัดทำแผนการประคองกิจการในสถานประกอบการและสถานที่ทำงาน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดการระบาดใหญ่

(ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค //beid.ddc.moph.go.th)



แหล่งข้อมูลการติดต่อ เพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่

1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106 , 0 2246 0358 และ 0 2354 1836

2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333

และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
โดย: หมอหมู วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:16:45:22 น.
  


วันที่ 18 มิถุนายน 2552 18:33

แพทยสภาเตือนปชช.อย่าตื่นไข้หวัด ยันรักษาหายโดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กระทรวงสาธารณสุข -นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่างๆ เพื่อเตือนประชาชนไม่ให้ตื่นตระหนกต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ภายหลังจากที่มีประชาชนแห่ขอรับการตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่


นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้จากข้อมูลชัดเจนแล้วว่า ผู้ป่วยโรคไข้หวัด 1 ใน 3 จะป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ดังนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องตรวจยืนยันแล้ว เพราะโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไม่แตกต่างจากโรคไข้หวัดปกติและหายเองได้

ซึ่งการตรวจหาเชื้อจะจำเป็นเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง เช่น มีอาการไข้สูง ไอ หอบรุนแรง เพื่อหาแนวทางการรักษา และให้ยาที่ถูกต้องเท่านั้น

ดังนั้นประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนก และเสียเงินโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ก็รักษาหายได้หมด และที่ผ่านมาตรการต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก็เดินมาถูกทางแล้ว


พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีมีการนำเสนอข่าวโรงพยาบาลเอกชนฉวยโอกาสคิดค่าตรวจเชื้อแพงกว่าต้นทุนอย่างมากนั้น

เห็นว่า สาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งในช่วงที่มีการตรวจและต้องใช้น้ำยาตรวจจำนวนมาก ทางบริษัทจำหน่ายน้ำยาอาจมีการขึ้นราคาน้ำยาได้

อีกทั้งในแต่ละโรงพยาบาลยังมีค่าบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งนอกจากส่งตัวอย่างเชื้อตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัย บางแห่งยังมีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจเองได้ จึงทำให้ต้นทุนในการตรวจเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในเร็วๆ นี้ค่าตรวจจะลดลง เนื่องจากเชื้อไม่มีความรุนแรง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันเชื้อของผู้ที่ทำการตรวจ


“การตรวจนอกจากขึ้นอยู่กับแพทย์ ประชาชนที่เป็นคนไข้ก็มีส่วนในการตัดสินใจว่าจะตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือไม่

นอกจากนี้หากประชาชนคิดว่า สถานพยาบาลใดคิดค่าบริการแพงเกินไปให้ร้องเรียนต่อกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ให้เข้าไปตรวจสอบได้

เช่นเดียวกับกรณีที่มีการระบุว่า มีบางโรงพยาบาลโฆษณาว่ามีวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เพราะถือเป็นการหลอกลวงประชาชน เนื่องจากขณะนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ยังอยู่ระหว่างการวิจัย ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่าง 4 เดือน” พญ.ประสบศรี กล่าว

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าไม่น่าจะมีโรงพยาบาลโฆษณาดังกล่าว น่าจะเกิดความความใจผิดในเรื่องการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยมากกว่า



//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20090618/52634/แพทยสภาเตือนปชช.อย่าตื่นไข้หวัด-ยันรักษาหาย.html
โดย: หมอหมู วันที่: 19 มิถุนายน 2552 เวลา:16:22:16 น.
  

กระทู้ ของหมอแมว .. จากห้อง หว้ากอ ...

มีรายละเอียด ข้อมูล เกี่ยวกับ ไข้หวัดใหญ่ เพียบบบบบ แวะไปอ่านกันได้ ...


เมื่อคืนเพิ่งไปจิ้มคอเด็กตรวจไข้หวัด 2009 ... คืนนี้เลยเอาเรื่องราวมาฝาก

//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X7973976/X7973976.html

โดย: หมอหมู วันที่: 20 มิถุนายน 2552 เวลา:17:45:42 น.
  

//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=389535&lang=T&cat=

WHOยันยอดหวัด2009พุ่งทะลุ55,000ราย ใน108ปท.

26 มิย. 2552 07:44 น.

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงาน ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิด A H1N1 ปรับปรุงครั้งที่ 53

ในขณะนี้ พุ่งสูงเป็น จำนวน 55,867 ราย ใน 108 ประเทศ และมีผู้เสียชีวิต 238 ราย

ซึ่งประเทศ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ สหรัฐ จำนวน 21,449 ราย รองลงมาคือ เม็กซิโก 7,847 ราย แคนาดา 6,457 ราย ชิลี 4,315 ราย สหราชอาณาจักร 2,905 ราย ออสเตรเลีย 2,857 ราย อาร์เจนตินา 1,213 ราย จีน 906 ราย ญี่ปุ่น 893 ราย สเปน 539 ราย


ส่วนยอดผู้ติดเชื้อในไทย ที่องค์การอนามัยโลก ยืนยันแล้ว จำนวน 774 ราย


โดยยอดผู้ติดเชื้อในไทยที่ได้รับการยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งสิ้น 1,054 ราย



ด้านยอดผู้เสียชีวิต จากการยืนยันขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ เม็กซิโก 115 ราย สหรัฐ 87 ราย แคนาดา 15 ราย อาร์เจนตินา 7 ราย ชิลี 4 ราย โคลัมเบีย ออสเตรเลีย และ โดมินิกัน ประเทศละ 2 ราย ส่วนกัวเตมาลา คอสตาริก้า สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ ประเทศละ 1 ราย

ด้านตัวเลขผู้เสียชีวิต ที่มีรายงาน จากสำนักข่าวต่างประเทศ รวมแล้ว 15 ประเทศ โดย มาเลเซีย ฮอนดูรัส ตูนิเซีย เป็นประเทศล่าสุดที่พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส AH1N1 ส่วนประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรายแรก ที่ยังไม่ได้มีการยืนยัน จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ โครเอเชีย อิหร่าน กัมพูชา อินโดนีเซีย เซอร์เบีย และล่าสุด ที่ อิรักพบรวดเดียว 6 ราย ซึ่งรวมอย่างไม่เป็นทางการ มีผู้ติดเชื้อแล้วในขณะนี้ 114 ประเทศทั่วโลก



//thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255206260100&tb=N255206

สธ.เผยยอดผู้ป่วยหวัดใหญ่ 2009 เพิ่มอีก 78 รายวันนี้ แต่หายดีหมดแล้วเหลือเพียง 22 ราย

กระทรวง สาธารณสุข เผย ยอดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 78 รายวันนี้ แต่หายดีหมดแล้วเหลือเพียง 22 ราย ที่อยู่โรงพยาบาล ด้านพลทหารฝึกใหม่และผู้ป่วยอาการหนักทั้ง 2 ราย อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ (26 มิ.ย.52) กระทรวงสาธารณสุขได้ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยยืนยันป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มอีก 78 ราย

ทำให้ไทยมียอดผู้ป่วยสะสมรวม 1,132 รายแล้ว

แต่ทั้งหมดหายดีและกลับบ้านหมดแล้ว เหลือเพียง 22 ราย ที่ยังต้องรอดูอาการอยู่ที่โรงพยาบาล

ซึ่งในส่วนของพลทหารที่รอดูอาการเมื่อวานนี้ 200 คนนั้น วันนี้ได้รับรายงานแล้วว่าอาการดีขึ้นทั้งหมด ไม่มีอาการน่าเป็นห่วง

ส่วนผู้ป่วยทั้งหญิงวัย 57 ปี และพลทหารฝึกใหม่ ที่สัตหีบ ที่มีอาการรุนแรงจากโรคแทรกซ้อนนั้น แพทย์รายงานว่า ขณะนี้อาการดีขึ้นตามลำดับ

สำหรับการควบคุมการระบาดในพื้นที่ค่ายทหารขณะนี้กระทรวงฯ สามารถคลายกังวลลงได้แล้ว เพราะกระทรวงกลาโหมได้รับไปดูแล จึงทำให้ไม่ห่วง แม้พื้นที่ค่ายทหารจะมีลักษณะที่เหมาะต่อการกระจายของเชื้อ เนื่องจากมีคนอยู่รวมกันอย่างใกล้ชิดจำนวนมาก แต่การที่ทหารมีวินัยดี จึงไม่จำเป็นต้องห่วง
โดย: หมอหมู วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:19:51:53 น.
  


//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1246900305;start=0


หัวข้อ 43250: เปิด สมุดปกเขียว ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 (จำนวนคนอ่าน 162 ครั้ง)


กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำ "คู่มือประชาชน รู้เท่าทันเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009" (สมุดปกเขียว) เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แก่ประชาชน


การแพร่ติดต่อ

โรค ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะแพร่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ผ่านการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปในร่างกายในระยะ 1 เมตร เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย

แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อน เชื้อโรค เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เพราะเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา และปาก

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วัน ก่อนมีอาการป่วย โดยช่วงป่วย 3 วันแรกจะสามารถแพร่เชื้อได้มากที่สุด และระยะแพร่เชื้อมักจะไม่เกิน 7 วัน



อาการป่วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน มีน้อยรายที่จะมีอาการหลังจากเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายนานถึง 7 วัน

โดยอาการป่วยจะใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะมีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และอาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน

แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรง คือจะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

ทั้งนี้อัตราผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะใกล้เคียงกับ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลหรือไข้หวัดใหญ่ธรรมดา คือ ร้อยละ 0.1-1



การรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีอาการไอ มีน้ำมูก หรือมีไข้ต่ำๆ และรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และสามารถดูแลรักษาตนเองที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล จึงไม่ควรวิตกกังวลมากนัก นอกจากนั้น ควรทำความเข้าใจกับโรคนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง รวมทั้งสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ และเบาหวาน เป็นต้น) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้มีโรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้หญิงมีครรภ์ ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้การรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ซึ่งเป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วัน หลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาที่ดี



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

1. หากมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูง ไม่ซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ควรทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมากๆ งดดื่มน้ำเย็น

2. ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

3. ใช้กระดาษทิชชู่ ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอจาม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น

4. หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์


คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไปในชีวิตประจำวัน

1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

2. ไม่ใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ร่วมกับผู้อื่น

3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด (น่าจะเป็นข้อที่ 1 และ แก้เป็น ให้อยู่ห่างผู้ที่มีอาการหวัดเช่น ไอ จาม อย่างน้อย 1 เมตร และให้ใส่หน้ากากอนามัยทันทีเมื่อมีอาการหวัดเช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล แม้จะยังไม่มีไข้)

4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ นม ไข่ ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางทุกครั้งในการทานอาหารร่วมกัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลาน านโดยไม่จำเป็น

6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด


ส่งโดย: InuyaRuoku


โดย: หมอหมู วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:33:48 น.
  


//www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1246956358

ทางเลือกทางรอด ปลอดหวัด2009 โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

จากมติชนออนไลน์วันนี้
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif06070752&am p;sectionid=0132&day=2009-07-07


1.ทำไมต้องระวังไข้หวัดใหญ่ 2009

"ไข้หวัดใหญ่ 2009 ติดต่อง่าย เร็ว ดี เก่งมาก อาจจะเก่งกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

-ไข้หวัดใหญ่ 2009 โจมตีทุกกลุ่มอายุ ไม่เฉพาะเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ หรือคนแก่อายุมากกว่า 65 ปี หรือกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หลอดลมอ่อนแอ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ไตไม่ดี เป็นต้น แต่ยังติดได้ดีในเด็กโต วัยรุ่น จนถึงผู้ใหญ่ที่แข็งแรง 20-50 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวด้วย



2.จริงหรือไม่ที่ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะเกิดโรคที่รุนแรงเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัว

ไม่จริง รายงานการวิเคราะห์ไข้หวัดใหญ่ 2009 จากประเทศเม็กซิโกในช่วงหนึ่งเดือนของการระบาด พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ไม่มีโรคประจำตัวทั้งสิ้น และเกิดปอดบวมต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจนถึงเสียชีวิต


3.การรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด มีประโยชน์หรือไม่

ไม่มีประโยชน์ใด ๆ เพราะไข้หวัดใหญ่ 2009 มีอาการตั้งแต่ อาการ ไอ จาม ครั่นเนื้อ ครั่นตัว โดยไม่มีไข้ก็ได้

การเฝ้าดูสถานการณ์ต้องดูที่ผู้ป่วยที่มาด้วยไข้หวัดใหญ่จริงๆ และเริ่มมีอาการมากขึ้นจากไข้หวัดธรรมดา เช่น ปวดเมื่อยทั้งเนื้อ ทั้งตัว ไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก 2-3 วัน มีอาการของระบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย หรืออาการทางสมอง เช่น ซึม นอนมากขึ้น ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจดำเนินรุนแรงขึ้น จนมีปอดบวม หายใจไม่ได้ จนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิต



4.การเฝ้าดูสถานการณ์ของผู้ป่วยอาการมากขึ้นเช่นนี้มีประโยชน์อะไร

มีประโยชน์ในการดูความเก่งกาจของไวรัสในการยกระดับ และแนวโน้มที่จะระบาดเป็นระลอกสอง เช่น ไข้หวัดใหญ่ลามโลกปี 1918 (H1 N1) ปี 1957 (H2 N2) 1968 (H3 N2) ซึ่งในระลอกสอง อาจพบความรุนแรงมากขึ้นจากอัตราเสียชีวิต 5-15% กลายเป็น 60-80% ทั้งนี้ โดยเทียบอัตราการตายในกลุ่มที่เริ่มมีอาการรุนแรง ไม่ใช่นับรวมผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยเข้าไปด้วย นอกจากนั้น การติดตามจำนวนของผู้ป่วยในแต่ละวันที่มีอาการมากแม้ไม่ถึงขนาดปอดบวมหรือต้ องใส่เครื่องช่วยหายใจก็จะช่วยทำให้ประเมินสถานการณ์ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ที่จะได้อีกประการหนึ่งคือการปรับตัวของโรงพยาบาลในการเตรียมพร้อมร องรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การเตรียมยา จัดสถานที่อุปกรณ์ และบุคลากรในการดูแลผู้ป่วย


5.มาตรการที่ต้องพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบัน ควรเป็นอย่างไร

สร้างความชัดเจนในประเด็นต่างๆ ที่จะสื่อถึงประชาชน ในการขอความร่วมมือ ไปจนถึงการกำหนดมาตรการภาคบังคับ

"ต้องกันผู้มีโอกาสแพร่เชื้อ ไม่ให้มีโอกาสแพร่ไปสู่ผู้อื่น คนที่มีอาการ ไอ จาม น้ำมูกไหล หวัดแบบไหนก็ตาม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ต้องอยู่บ้าน ในบ้านต้องจัดสัดส่วนแยกเท่าที่จะทำได้ ทุกคนในบ้านต้องใส่หน้ากาก ล้างมือแบบถูกต้องเป็นประจำ แยกถ้วยชามแก้วน้ำ ใช้ช้อนกลาง และเฝ้าดูอาการ หากอาการมากขึ้นต้องนำส่งโรงพยาบาล

"เมื่อหยุดงาน หยุดเรียน ปิดสถานที่มีการระบาดตามระยะเวลาที่เหมาะสมเช่น 7 วันซึ่งนับรวมระยะที่คนที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่ให้คนอื่นได้ตั้งแต่ยังไม่แส ดงอาการจนมีอาการแล้ว (แต่ถ้ามีอาการแทรกเช่นปอดบวมระยะแพร่เชื้อก็จะนานกว่านั้น) ที่สำคัญ ต้องกำชับที่การหยุดนั้น ให้คนหยุดอยู่บ้าน ไม่ใช่ไปดูหนัง เดินช็อปปิ้ง

"การล้างมือ ถ้าไม่มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ใช้น้ำและสบู่ได้ เชื้อที่อยู่ในละอองฝอยจากการไอจามสามารถอยู่บนพื้นผิวเครื่องใช้ได้นานถึง 2 ชั่วโมง"



6. อาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ 2009

อาการมีได้ทั้งระบบทางเดินหายใจแบบน้อยๆ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไม่มีไข้ก็ได้จนถึงเหนื่อยหอบหายใจเร็ว และปอดบวม แต่อาจพบอาการแบบอื่นๆ โดยไม่มีไอหรือน้ำมูกไหล แต่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดกระดูกร่วมกับไข้หรือมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ความดันต่ำ หน้ามืด หรือมีแต่ อาการทางสมอง ซึม ไม่รู้ตัวก็ได้


7.ใครที่ควรต้องตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009

เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ในขณะนี้ส่วนใหญ่หายเองได้ จึงควรตรวจภายใน

"ผู้มีโรคประจำตัว โรคปอด หลอดลม เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคไต อัมพฤกษ์ ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ที่มีอาการทุกระดับ ไม่จำกัดความรุนแรง

"เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี ไม่จำกัดความรุนแรง

"เด็กอายุมากกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 65 ปี เฉพาะที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น

"แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางสาธารณสุข ไม่จำกัดความรุนแรง เพราะจะเป็นตัวการแพร่เชื้อแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ในการระบาดที่เม็กซิโก พบว่าในโรงพยาบาลโรคปอดแห่งหนึ่งในเดือนแรก มีหมอ พยาบาลติดเชื้อถึง 22 ราย"

การตรวจไม่ควรเจาะจงเฉพาะไข้หวัดใหญ่ 2009 ต้องแยกว่า ผู้ป่วยมีอาการจากแบคทีเรีย ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไข้หวัดนกหรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการให้ยา Tamiflu และประเมินสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ลามประเทศ


8.การปิดโรงเรียน ปิดสถานที่ทำงานที่มีคนติดเชื้อ มีประโยชน์หรือไม่

มีประโยชน์ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความสามารถสูงในการแพร่จาก 1 คน ไปยังอีก 2-3 คน และคนที่ได้รับเชื้อยังแพร่ให้ผู้อื่นได้ในช่วง 2-3 วันแรกที่ยังไม่แสดงอาการ ดังนั้น แม้ดูอาการปกติก็ยังสามารถถ่ายทอดเชื้อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อปิดโรงเรียน ที่ทำงาน นักเรียน คนในที่ทำงานนั้นๆ ต้องอยู่บ้านโดยเคร่งครัด อยู่บ้านเป็นสัดส่วน อย่างน้อย 7 วัน จนแน่ใจ ไม่ใช่ใช้ช่วงเวลานั้นไปเที่ยว เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัวสูง


9.ยา Tamiflu จะให้บุคคลใดบ้าง

ผู้มีอาการน้อยจนเหมือนหวัดธรรมดา เช่น ไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไม่ต้องใช้ยา แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้น คือไข้สูงไม่ลด พาราเซตามอลเอาไม่อยู่ รายละเอียดในข้อ 3. จึงจำเป็นต้องได้ยา

การให้ยาโดยไม่จำกัด นอกจากจะมีผลข้างเคียง ซึ่งมีอันตราย เช่น มีอารมณ์ผิดปกติจนถึงฆ่าตัวตาย เป็นต้น ที่สำคัญคือยังทำให้เชื้อดื้อยาเร็วขึ้น หากมีการระบาดจริง และรุนแรง จะเป็นปัญหาอย่างมาก


10.ถ้าไม่มีเงินซื้อหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จะทำอย่างไร

การใช้ผ้าเช็ดหน้า กระดาษทิชชู่ ปิดปาก จมูก เมื่อมีอาการหวัดอย่างเคร่งครัด ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ เป็นทางออกที่ดี ไม่ต้องสิ้นเปลืองเพิ่ม ไวรัสจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับละอองฝอยซึ่งทั่วไปมีขนาดมากกว่า 8 ไมครอน และการปิดปากด้วยผ้าหรือกระดาษสามารถลดการแพร่ได้ระดับหนึ่ง

ที่สำคัญอีกประการคือต้องพยายามละเว้นนิสัยเอามือที่ไม่ได้ล้าง และสัมผัสโต๊ะ ลูกบิดหรือเครื่องใช้ที่มีเชื้อไปป้ายตา จมูก ปาก จนทำให้ติดเชื้อได้



11.การอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ปลอดภัยหรือไม่

มีการศึกษาพบว่าถ้าเครื่องปรับอากาศมีการหมุนเวียนจากอากาศภายนอก 100% มีโอกาสติดเชื้อเพียง 1.8% ถ้าใช้อากาศภายนอก 30-70% มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้นเป็น 13-16%


ส่งโดย: InuyaRuoku






โดย: หมอหมู วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:38:11 น.
  
แวะมาอ่าน เอาความรู้ครับ
โดย: vcomsci วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:02:20 น.
  


คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น1)
ฉบับที่ 8 วันที่ 9 กรกฎาคม 2552

ปัจจุบันการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอช1เอ็น 1) ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคมีความรุนแรงปานกลาง ประเทศไทยส่วนใหญ่พบในกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีรายงานมากกว่า 60 จังหวัดแล้ว ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน นักศึกษา รองมาเป็นคนวัยทำงาน

คำแนะนำทั่วไป

ประชาชนทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจโรคที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยการติดตามข้อมูลคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุข รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ไข่ นม นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า ถ้าจำเป็นควรใช้กระดาทิชชูจะปลอดภัยกว่า

ดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวที่ป่วยได้ และป้องกันไม่แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โดยการหยุดเรียน หยุดงาน ปิดปากจูกเวลาไอจามด้วยกระดาษทิชชู สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้มากที่สุด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะมีอาการป่วยใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นทุกปี คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย

มีรายงานอาการสมองอักเสบ 4-5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) จะมีอาการทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยน้อยราย (5%) ที่มีอาการป่วยรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) นั้นพบว่า

ส่วนใหญ่ (70%) เป็นกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเลือด ไต เบาหวาน ฯลฯ) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคมะเร็ง ฯลฯ) โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์

อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่ง (30%) ที่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถสอบสวนหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จึงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ทันที



การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน

หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้

• ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ

• แจ้งสถานศึกษาหรือที่ทำงานทราบ เพื่อจะได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที

• ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์

• ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง

• เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่น

• ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด

• พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

• นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

• หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที


การแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน

• ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกห้องจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ

• รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง

• ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น

• ปิดปากจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่หรือบ่อยๆ

• ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย

• ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย

• คนอื่น ๆ ควรอยู่ไกลจากผู้ป่วยประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน




เว็บไซด์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ เรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

//beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=2110271&Itemid=242

//beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_frontpage&Itemid=28

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชั้น 4 อาคาร 8 กรมควบคุมโรค (ตึกสถาบันราชประชาสมาสัย) ถนนติวานนท์ จ.นนทบุรี โทร. 02 590 3275 โทรสาร. 02 590 3397

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

//www.moph.go.th/flu/


Call Center 24 ชั่วโมง

• ศูนย์ปฏิบัติการ กระทรวงสาธารณสุข ห้องประชุม 2 ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Call Center 1422 , โทรสาร 02 - 590 1993

• ศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994

• ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค อาคาร 2 ชั้น 3 ตึกกรมควบคุมโรค

Call Center 02 - 590 3333 โทรสาร 02 - 590 3308

• e-Mail: moc@health.moph.go.th



แจ้งการระบาด หรือขอรับเอกสารและคำแนะนำ :=

1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเขตในพื้นที่
- กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 02 245 8106, 02 246 0358 และ 02 354 1836
- สำนักระบาดวิทยา โทรศัพท์ 02 590 1882
- สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ โทรศัพท์ 02 590 3238

2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

3. ข้อมูลเพิ่มเติม

- เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

- เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ //beid.ddc.moph.go.th

- เว็บไซต์สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค //epid.moph.go.t


โดย: หมอหมู วันที่: 16 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:33:04 น.
  

กระทู้รวมคำถาม-ตอบเจลล้างมือ โดยคุณ ลูกเป็นขี้เกียจ

//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8089242/X8089242.html#55


วิธีทำเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรค

//www.archeep.com/invention/prd_oct_08.html
โดย: หมอหมู วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:01:54 น.
  


//beid.ddc.moph.go.th/th/images/news/hcw_160709.doc


การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในสถานพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข
ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2552

การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขยายไปในหลายประเทศทั่วโลกจนได้รับรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน สำหรับประเทศไทยปัจจุบันพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษา ค่ายทหาร เรือนจำ และในครอบครัวและคาดว่าจะมีการแพร่ระบาดไปทุกจังหวัดภายในกลางเดือนกรกฎาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อในสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลด้วย โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญตามหลักการของ Isolation Precautions, Standard Precautions, Droplet Precautions และ Respiratory Hygiene and Cough Etiquette ดังนี้


สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1. ควรแยก Influenza OPD ออกจาก OPD สำหรับผู้ป่วยอื่น ควรเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีผู้คนพลุกพล่าน สะดวกในการขนส่งผู้ป่วยและสามารถเคลื่อนย้ายเอกซเรย์เคลื่อนที่เข้ามาถึงได้โดยง่าย โดยจัดระบบเป็น One Stop Service ในพื้นที่เดียวกัน ตั้งแต่การทำบัตร คัดกรอง ตรวจรักษา เอกซเรย์ ให้สุขศึกษา จ่ายเงินและรับยา รวมทั้งสถานที่ดูแลผู้ป่วยก่อน admit เป็นผู้ป่วยใน เป็นต้น

2. เป็นห้องที่โล่งที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติได้ จัดให้มีทิศทางลมให้พัดจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยและระบายออกภายนอกหรือให้มีพัดลมระบายอากาศช่วย มีอ่างล้างมือ และน้ำยาล้างมือแห้งอย่างเพียงพอ

3. จัดระบบการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความรุนแรงของอาการ ควรจัดแยกพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยอาการหนักแยกจากผู้ป่วยอาการน้อย ผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือรุนแรงต้องให้ได้รับการดูแลรักษาก่อน

4. ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการตรวจทุกราย ควรได้รับหน้ากากอนามัย และน้ำยาล้างมือแห้ง (เจลล์ล้างมือ) นอกเหนือจากยาที่จำเป็นอื่นๆ ตามอาการ โดยสั่งเป็น Standing Order


หอผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1. จัดหอผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 แยกจากหอผู้ป่วยอื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

2. ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนน้อย ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเดี่ยวที่มีห้องน้ำในตัว และ ปิดประตู

3. ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนมาก ให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกแล้วว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อยู่รวมกันในหอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward)

คุณลักษณะของหอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward)

3.1 มีการระบายอากาศที่ดี พื้นผิวเรียบทำความสะอาดง่าย มีอ่างล้างมือและห้องน้ำแยก

3.2 มีถังขยะติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยทุกคน และเจลล์ล้างมือไว้ท้ายเตียงทุกเตียง

3.3 จัดระยะห่างระหว่างเตียง 1-2 เมตร อาจมีม่านกั้นระหว่างเตียงซึ่งทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย

3.4 มีพื้นที่และอุปกรณ์เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยวิกฤต

3.5 มีพื้นที่สำหรับถอดเครื่องป้องกันร่างกายที่ปนเปื้อนแล้วซึ่งควรอยู่ใกล้หรือหน้าประตูห้องผู้ป่วย

3.6 Nurse Station ควรอยู่นอกห้องผู้ป่วย แต่ต้องสังเกตอาการผู้ป่วยได้โดยง่าย เช่น มีบานกระจกใสหรือโทรทัศน์วงจรปิด



เครื่องป้องกันร่างกาย (Personal Protective Equipment : PPE)

1. PPE ประกอบด้วย mask (N 95 หรือ Medical/ surgical mask) , ถุงมือ , เสื้อกาวน์ , แว่นป้องกันตา (goggles) โดยมีจุดเน้นในระยะการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

ใช้ Medical/ Surgical Mask ในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจทุกคน กรณีต้องทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ดูดเสมหะ พ่นยา ฟื้นชีพ หรือการดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอมาก ควรใช้ N 95

ถุงมือ ใช้เฉพาะเมื่อต้องแตะสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วย/ศพ และต้องเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งที่จะดูแลผู้ป่วยรายอื่น

เสื้อกาวน์ และ แว่นป้องกันตา (goggles) ให้ใช้กรณีที่ทำกิจกรรมที่เสี่ยง

2. การใช้PPE ใน Cohort Ward ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน PPEในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ยกเว้นถุงมือซึ่งต้องเปลี่ยนเสมอเมื่อต้องเปลี่ยนไปดูแลผู้ป่วยรายอื่น

3. ใช้ N-95 Mask และ Goggle เสมอในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง ในห้อง/หอผู้ป่วยแยกโรค ห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยวิกฤต

4. ควรฝึกซ้อมการใช้ PPE ทั้งการใส่และถอด PPE ให้ถูกต้อง



การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1. จำกัดการเคลื่อนย้ายเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

2. จัดเส้นทางที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ให้ผ่านฝูงชน โดยมีผู้รับผิดชอบดูแลเส้นทางและต้องแจ้งบุคลากรปลายทางที่จะรับผู้ป่วยเพื่อสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสม และกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณนั้น

3. บุคลากรที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วย สวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสมของลักษณะการสัมผัส ได้แก่ mask , ถุงมือ

4. สวมหน้ากากอนามัย (Medical/ surgical mask) ให้ผู้ป่วยเสมอ (หากผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ) เมื่อจะต้องเคลื่อนย้าย

5. หากต้องมีการเคลื่อนย้ายโดยรถพยาบาล บุคลากรที่นำส่งจะต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม และปฏิบัติ Infection Control Practice อย่างเคร่งครัด

6. การทำความสะอาดรถพยาบาลหลังจากส่งผู้ป่วยแล้ว ให้เช็ดพื้นผิวห้องโดยสารผู้ป่วยด้วยน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ

หากบริเวณใดเปรอะเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งให้เช็ดออกให้มากที่สุด ด้วยกระดาษชำระแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ จากนั้นเช็ดบริเวณนั้นด้วย 0.5% Sodium hypochlorite ทิ้งไว้ 15 นาที หรือเช็ดด้วย 70% Alcohol


ผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย

1. เก็บผ้าที่ใช้แล้วภายในห้องผู้ป่วย ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย ให้ใส่ในถุงขยะติดเชื้อแล้วส่งห้องบริการผ้า

2. บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผ้า ต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกาย เช่น เสื้อกาวน์ , mask (Medical/ surgical mask) และ ถุงมือ

3. ซักผ้าด้วยน้ำร้อน > 71 องศาเซลเซียส หรือใส่ผงฟอกขาว

4. อบผ้าให้แห้งก่อนนำกลับมาใช้อีก



เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย

- เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยควรแยกออกจากผู้ป่วยอื่นๆ และควรเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ซ้ำให้พิจารณาทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อตามลักษณะของอุปกรณ์นั้น ซึ่งแบ่งเป็น Critical items , semi-critical items และ non-critical items

กรณีใช้เครื่องช่วยหายใจ
- มี Filter ที่ Expiratory Port
- ควรใช้ Closed circuit suction



อุปกรณ์รับประทานอาหาร

1. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารในเครื่องล้างจาน ซึ่งใช้น้ำร้อนและน้ำยาล้างจาน หากไม่มีเครื่องล้างจานบุคลากรต้องสวมถุงมือยางในการทำความสะอาดอุปกรณ์

2. หากมีญาติเฝ้าผู้ป่วย ไม่ควรให้ญาติรับประทานอาหารในห้องผู้ป่วย

3. อาจใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง



ขยะ

- ขยะในห้องแยกหรือหอผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ให้ถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งให้ดำเนินการทำลายตามมาตรการสำหรับขยะติดเชื้อ



บุคลากรในสถานพยาบาล
ควรได้รับการเตรียมความพร้อม ดังนี้

1. ได้รับการอบรมความรู้ เรื่องไข้หวัดใหญ่มาแล้ว และมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ทั้งในระยะก่อนและระยะวิกฤตได้ดี

2. ได้รับการอบรม และฝึกปฏิบัติในเรื่อง Infection Control Practices มาแล้ว

3. พิจารณาให้ได้รับ หรือมีภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่

4. สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าตอบแทน จัดอาหารให้ระหว่างปฏิบัติงาน

5. ห้ามบุคลากรที่มีลักษณะต่อไปนี้ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้แก่

1) ป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันและเรื้อรัง

2) ผู้กำลังตั้งครรภ์

3) มี Cardiovascular disease ได้แก่ congenital valvular disease , rheumatic valvular disease , ischemic heart disease , congestive heart failure

4) Malignancy

5) Renal failure

6) มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ป่วยเป็น HIV/ AIDS , ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้ควรจัดให้บุคลากรดังกล่าวปฏิบัติงานที่ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่



การจำแนกและหมุนเวียนบุคลากร

1. ควรแยกบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยใน Influenza area และ non-influenza area เพื่อลดความเครียดของบุคลากร ควรมีการหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่เป็นช่วงๆ ประมาณ 1 เดือน หากบุคลากรดังกล่าวไม่มีข้อห้าม ในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

2. ก่อนย้ายบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยใน Influenza area ไปปฏิบัติงานใน non-influenza area ควรให้พัก 3 วัน เพื่อรอดูอาการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เนื่องจากอาจอยู่ในระยะฟักตัวของโรคทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

3. จัดเตรียมทีมบุคลากรเสริมจากแผนกอื่น โดยให้การอบรมเรื่องความรู้พื้นฐาน และ การป้องกันการแพร่เชื้อก่อนปฏิบัติงาน

การเฝ้าระวังบุคลากร

1. จัดให้มีการลงนาม วัน เวลา ลักษณะการสัมผัสของบุคลากรทุกคนที่เข้าปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

2. จัดให้มีระบบเฝ้าระวังอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล โดยบุคลากรทุกคนต้องวัดอุณหภูมิและสังเกตอาการของตนเอง (จัดทำแบบฟอร์มบันทึกตนเอง) หากมีอาการไข้หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต้องหยุดงาน และ แยกตนเองจากผู้อื่น รวมทั้งไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป

3. จัดให้มีระบบการคัดกรอง มิให้บุคลากรที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เข้าไปดูแลผู้ป่วยทั้งใน Influenza Ward และ Non-Influenza Ward



สายด่วนไข้หวัดใหญ่ (Influenza Hotline) ของสถานพยาบาล

ในสถานการณ์การระบาดซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก การจัดตั้งสายด่วนไข้หวัดใหญ่ (Influenza Hotline) ของสถานพยาบาลจะช่วยแบ่งเบาภาระของสถานพยาบาล โดยลดจำนวนผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่จะมารับบริการที่สถานพยาบาลได้
หน้าที่ของสายด่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีดังนี้

1. คัดกรองผู้ป่วย โดยให้คำปรึกษาแก่ประชาชนที่สงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ซักถามอาการเพื่อแนะนำให้เข้ามารักษาในสถานพยาบาล หรือ ดูแลตนเองที่บ้านหากมีอาการเพียงเล็กน้อย

2. ติดตามอาการผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการตรวจหรือจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว โดยผ่านความเห็นจากแพทย์ว่าผู้ป่วยคนใดที่ควรติดตามทางโทรศัพท์

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ควรเป็นพยาบาลแนะแนว หรือ เวชกรรมสังคม โดยให้โทรติดตามอาการทุกวันจนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม และ สอบถามอาการผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องกลับมาพบแพทย์ เช่น ไข้สูงเกิน 2-3 วัน ไอมาก เจ็บหน้าอก เหนื่อย อ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน เป็นต้น กรณีในต่างจังหวัดอาจใช้การเยี่ยมบ้านแทน

3. ลงทะเบียน ชื่อ, ที่อยู่ผู้ป่วยที่โทรเข้ามายังสายด่วน และประสานข้อมูลไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเสริมในการประเมินสถานการณ์การระบาด



คำแนะสำหรับผู้ป่วย

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาล


1. แนะนำให้ปฏิบัติเรื่องการทำความสะอาดมือ (Hand Hygiene) อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการติดต่อของโรค และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนสารคัดหลั่ง

2. ให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบุคคลอื่นอยู่ร่วมห้อง หากทำไม่ได้ให้ใช้กระดาษทิชชูปิดปาก , จมูก เวลามีอาการจามหรือไอ แล้วทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะติดเชื้อที่มีฝาปิด



คำแนะนำสำหรับญาติ / ผู้เข้าเยี่ยม

1. จำกัดการเยี่ยมเฉพาะที่จำเป็น มีสมุดบันทึกรายชื่อญาติที่เข้าเยี่ยมและวันเวลาที่เข้าเยี่ยม

2. ห้ามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน / เรื้อรัง, โรคหัวใจ , ตั้งครรภ์ , ภูมิคุ้มกันบกพร่อง , อายุมากกว่า 55 ปี เข้าเยี่ยมผู้ป่วยในInfluenza Ward

3. ญาติต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ medical / surgical mask เสื้อกาวน์แขนยาว หากจะแตะต้องเลือด สารคัดหลั่งของผู้ป่วย ให้สวมถุงมือ

4. มีคำแนะนำให้ปฏิบัติ hand hygiene และ personal hygiene อย่างเคร่งครัด

5. ถอดเครื่องป้องกันร่างกายในห้อง anteroom หรือหากไม่มีห้อง anteroom ให้ถอดก่อนออกจากห้องผู้ป่วย

6. มีคำแนะนำให้ผู้เข้าเยี่ยมสังเกตอาการตนเองว่ามีไข้, อาการผิดปกติทางเดินหายใจหรือไม่ หลังเยี่ยมครั้งสุดท้ายภายใน 7 วัน หากมีความผิดปกติให้มาพบแพทย์ นอกจากนี้โรงพยาบาลต้องจัดให้มีระบบรายงานการป่วยของญาติดังกล่าวไปยังหน่วยงานด้านระบาดวิทยาต่อไป

7. สำหรับ Non-Influenza Ward ควรจำกัดการเยี่ยมเช่นเดียวกัน และห้ามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดเข้าเยี่ยมโดยเด็ดขาด

8. ห้ามการเยี่ยมข้ามเขตระหว่าง Influenza Ward และ non-influenza Ward



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน
แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ดังนี้

1. ให้ปฏิบัติ hand hygiene อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะการติดต่อของโรค

2. ต้องสวมผ้าปิดปาก ปิดจมูกตลอดเวลา นอกจากเวลารับประทานอาหารและทำกิจธุระส่วนตัว

3. เวลาไอต้องปิดปาก จมูก ด้วยกระดาษชำระ หลังจากนั้นต้องล้างมือทุกครั้ง

4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลในครอบครัว, ไม่ควรไปในที่ชุมชน และให้หยุดงาน หยุดเรียน จนกว่าจะพ้นระยะการติดต่อของโรค คือ 7 วันหลังไข้ลงในผู้ใหญ่ และ 14 วันในเด็กนับตั้งแต่วันเริ่มมีอาการ

5. หากมีอาการมากขึ้น เช่น ไข้สูงเกิน 2-3 วัน ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อย อ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ อาเจียน หรือ ถ่ายอุจจาระมาก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที



ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศพ

1. บุคลากรที่จัดการเกี่ยวกับศพต้องปฏิบัติตาม Standard Precautions อย่างเคร่งครัด สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วย

2. บรรจุศพในถุงห่อหุ้มศพที่ทำด้วยวัสดุกันน้ำเช็ดด้านนอกถุงด้วย 70% Alcohol ก่อนนำออกจากห้องผู้ป่วย

3. พนักงานเคลื่อนย้ายศพ ต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกาย ได้แก่ medical / surgical mask , ถุงมือ , กาวน์กันน้ำหรือผ้ากันเปื้อนพลาสติก

4. เก็บศพในตู้เย็น แช่ศพ ใส่ศพในโลงที่ผนึกอย่างแน่นหนาก่อนเคลื่อนย้ายศพออกจากสถานพยาบาล

5. นำศพไปฝังหรือเผาโดยเร็ว

6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากศพ หากต้องสัมผัสศพ ต้องล้างมือหลังสัมผัสเสมอ



การผ่าศพพิสูจน์ (Autosy)

1. ควรทำในห้องที่เป็น negative air pressure room หรือมีการระบายอากาศที่ดี (อย่างน้อย 12 Air Change per Hour)

2. บุคลากรต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกาย คือ N95 mask , goggles , กาวน์กันน้ำ, ถุงมือ, หมวกคลุมผม

3. กระทำโดยระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยมีหลักการดังนี้
3.1 จำกัดบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด
3.2 ใช้อุปกรณ์เท่าที่จำเป็น หากเป็นอุปกรณ์ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งจะดีกว่า
3.3 การส่งต่ออุปกรณ์ต้องใช้ถาดเพื่อป้องกัน sharp injuries
3.4 หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดฝอยละออง เช่น การใช้เลื่อยไฟฟ้า
3.5 หากจะต้องทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง (aerosolization) ควรทำใต้น้ำโดยเฉพาะการผ่าปอดและลำไส้
3.6 ระมัดระวังการกระเด็นของสารคัดหลั่งจากศพ


โดย: หมอหมู วันที่: 19 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:37:14 น.
  
CPG สำหรับไข้หวัดใหญ่ 2009 อัพเดทล่าสุด 18 กค. 52

//beid.ddc.moph.go.th/th/images/news/18-July%20CPG%20update.pdf

สรุปแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 อาการรุนแรง ให้ยาต้านไวรัสเลย ไม่ต้องรอผล

กลุ่มที่ 2 อาการไม่รุนแรงแต่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ยาต้านไวรัสเร็วที่สุด lab ส่งตามความจำเป็น

กลุ่มที่ 3 อาการไม่รุนแรงและไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้ยาต้านไวรัสแต่ให้กลับมาหาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

โดย: หมอหมู วันที่: 20 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:48:41 น.
  
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009

ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน
11 กรกฎาคม 2552


ประเด็นสำคัญสำหรับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ขณะนี้คือ การเสนอข้อมูลของหลายส่วนไม่ตรงกันและไม่อิงตามหลักฐานที่ปรากฏทั้งจากข้อมูลประสบการณ์ของประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา รวมถึงหลักฐานที่พบในประเทศไทยเอง

อีกส่วนหนึ่งคือการเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ไม่ตอบความกังวลของประชาชน และสร้างความมั่นใจในมาตรการต่าง ๆ เท่าที่ควร


1. มาตรการที่สื่อสารเพื่อลดการแพร่กระจาย การติดต่อง่าย การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งประเทศในเวลาอันสั้น

ดังนั้นไม่ว่ามาตรการ การปิดปาก จมูก เวลาไอ จาม ล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้วนได้ประโยชน์ ต้องรณรงค์พร้อมกัน เป็นการปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดีต่อตนเองและสังคม พิสูจน์ว่าได้ผลในการป้องกันมาแล้ว เช่น กรณีโรคซาร์ในฮ่องกง

ไม่ควรเลือกนำเสนอเฉพาะการใส่หน้ากาก


2. ตัวเลขอัตราการตาย การคำนวณร้อยละของอัตราการเสียชีวิต ต้องทราบจำนวนที่แท้จริงของคนที่ติดเชื้อทั้งหมด

ไม่ได้ใช่ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อเท่าที่ตรวจได้มาคำนวณ เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อนี้ในประเทศไทยที่ทราบขณะนี้น่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ทำให้ไปแสดงตัวเลขอัตราการตายที่พุ่งสูงขึ้นจนเกิดความตระหนกตกใจ เช่น การมีตัวเลขสูงถึง0.4%

อาจทำให้กระทบภาพรวมของประเทศ ทั้ง ๆ ที่ความจริงน่าจะต่ำกว่านั้นอย่างมาก เช่นคาดการณ์การติดเชื้อขณะนี้น่าจะเป็นที่กว่าแสนราย การรายงานตัวเลขต่าง ๆ จึงมีปัญหาเมื่อนำมาสื่อสารทั้งหมด เพราะขึ้นกับกระบวนการได้มาของข้อมูลที่อาจไม่ได้มีความชัดเจน แม้แต่จำนวนผู้เสียชีวิต ที่หากไม่ได้มีความพยายามในการสื่อสารไปยังโรงพยาบาลหรือแหล่งข้อมูล ถึงกรอบการประเมินสาเหตุการตาย กรณีที่พบก็อาจไม่ทราบจำนวนที่แท้ เช่นกัน


3. การอ้างอิงข้อมูลตัวเลขควรบอกถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ว่าเป็นการคาดการโดยอาศัยอาการอย่างเดียวหรือมีข้อพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ

เช่น มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลแต่ละปีหลายแสนคน และเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าปีละ 300-400คนทุกปี อาจสะท้อนเพื่อให้เห็นว่าการเสียชีวิตจาก H1N1 ขณะนี้คือเรื่องปกติ ไม่น่าตกใจ

แต่รายงานของนายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักด์ และคณะ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ระหว่าง ปี พ.ศ. 2546-2549 รายงานผู้ป่วยที่มีลักษณะของไข้หวัดใหญ่มีมากกว่า 10,000 ราย แต่พิสูจน์ว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จริงเพียง 2075รายและเสียชีวิตเพียง 22 รายใน สามปี โดยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทั้งหมด


4. การสกัดกั้นผู้ป่วยจากต่างประเทศ ด้วยการตรวจคัดกรองไข้ที่สนามบินนานาชาติต่าง ๆ

แม้ดูเสมือนไม่มีประโยชน์ แต่ก็พบว่าประเทศท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในเอเซีย เช่นสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม ยังปฏิบัติอย่างเข้มงวด และมีการตรวจซ้ำสามถึงสี่รอบ และดูแลผู้ที่ตรวจพบอย่างชัดเจนไม่ให้ไปแพร่เชื้อ อาจทำให้นักท่องเที่ยวอื่นและชาวไทยเกิดความเชื่อมั่นมาตรการของประเทศนั้น ๆ และที่สำคัญคือการเฝ้าระวังเชื้อจากต่างประเทศที่แปลกไป เช่นดื้อยา Tamiflu เป็นต้น



5. ลักษณะที่อาจเป็นอาการเฉพาะตัวของไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้แก่

a. ระบบทางเดินอาหาร : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
b. กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยรุนแรง
c. เมื่ออาการเริ่มรุนแรงขึ้น จะมีความดันเลือดต่ำ จนช็อค
d. ลักษณะการทำงานของไตน้อยลง อาจพบตั้งแต่มีอาการเริ่มรุนแรงขึ้น
e. อาการทางสมองอาจพบบ่อยกว่าไข้หวัดตามฤดูกาล

6. ภาวะของโรคที่มีความรุนแรงจนปอดบวมและเสียชีวิต

ภาวะดังกล่าวอาจไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มเสี่ยงตามปกติ เท่านั้น(อันหมายถึง ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 5ปี และมากกว่า 65ปี หรือกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด ไต ตับ หัวใจ ความดันเลือดสูง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วย HIV หรือเป็นผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สตรีมีครรภ์ ผู้มีความผิดปกติทางสมอง แขนขา กล้ามเนื้อ อันอาจทำให้การหายใจไม่ปกติ)

แต่พบการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิตในกลุ่มบุคคลปกติอายุ 5-65ปี ได้ กลุ่มคนอายุ 5-65 ปี ที่เสียชีวิต ไม่จำเป็นต้องมีโรคประจำตัวก็ได้ มีก็ได้ ทั้งนี้พบว่ากลุ่มอายุดังกล่าวที่เสียชีวิตมีโรคประจำตัวประมาณร้อยละ 45-64 หรือครึ่งหนึ่งอาจแข็งแรงดีก็ได้

นอกจากนั้นในเม็กซิโกผู้มีอายุมากกว่า 65ปี แม้มีปอดบวมแต่กลับมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าหนุ่มสาวที่มีอาการปอดบวมเช่นกัน จากรายงานผู้ป่วยในเม็กซิโก พบว่าร้อยละ 87 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ในกลุ่มอายุ 5-59 ปี และร้อยละ 71 มีปอดบวมรุนแรงได้ ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผู้เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มดังกล่าวเพียงร้อยละ 17 และมีปอดบวมรุนแรงร้อยละ 32

ผู้เสียชีวิตในประเทศไทยหลายรายอายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเสียชีวิต อาจเกิดจากการวินิจฉัยไม่ทันการ การได้รับยาช้า แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปรากฏการที่ผู้ป่วยแข็งแรงอายุน้อย เกิดอาการปอดบวมรุนแรงและรวดเร็วเช่นนี้เป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ
ดังนั้นต้องไม่ประมาท

เนื่องจากประวัติศาสตร์การเกิดโรคลักษณะนี้ในช่วงปีพ.ศ. 2461 (คศ.1918) ที่รู้จักกันว่าไข้หวัดสเปน ที่คร่าชีวิตผู้คนหลายสิบล้านคน พบว่าผู้มีอายุ 20-40 ปี มีอัตราการตายมากกว่ากลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ไข้หวัด 1918 นั้น เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่และลักษณะการระบาดรวดเร็วเช่นกัน ในระลอกแรกมีผู้เสียชีวิตประมาณ ร้อยละ 5 แต่ระลอกที่สองการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60-80 โดยทางหลักการคำว่าระลอกที่สองอาจมีระยะห่างจากรอบแรกตั้งแต่สองเดือนถึงหนึ่งปีหรือมากกว่า

ประเด็นนี้ไม่ใช่การคาดการณ์ว่าต้องเกิดลักษณะดังกล่าว แต่จำเป็ นต้องเฝ้าระวังทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ก็ตาม อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมให้การรักษาทันทีด้วยความไม่ประมาท


7. อาการทางสมอง

แม้จะพบอาการทางสมองในไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่เป็นจำนวนน้อยมาก การติดตามระยะนานกว่าสามปีที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ไม่พบผู้ป่วยมีอาการทางสมองเลย ที่พบมีรายงานจะมาจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และประเทศในยุโรป ตุรกี ในญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 มีการประมาณการณ์ที่พบเด็กมีอาการทางสมองประมาณ 100-200รายต่อปี แต่ไข้หวัดใหญ่ 2009 พบแล้วในประเทศไทยในสามเดือนเท่านั้น เป็นสัญญาณอีกอย่างหนึ่งที่ต้องจับตามอง

อาการทางสมองมีอาการตั้งแต่ เพ้อ สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว หรือมีแขน ขา อ่อนแรง หรือมีอาการ ตาเหล่ ตาเข ทั้งนี้สาเหตุอาจเกิดได้จากเชื้อเข้าไปในสมองจริง ๆ ซึ่งการตรวจ ต้องตรวจ น้ำไขสันหลัง หรือเกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อทำให้มีภาวะวิปริตของเซลล์สมอง ตั้งแต่สมองบวม จนกดเนื้อสมองข้างเคียง หรือเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานเกินควร ทำลายเนื้อสมองตนเอง ซึ่งมีได้สองสภาวะ คือเกิดในบริเวณเนื้อสมองส่วนใต้ลงมาจากเปลือกสมองที่เป็นส่วนสีขาว หรือเกิดในเนื้อใจกลางสมองและก้านสมอง

การรักษาต้องแยกสภาวะเหล่านี้ออกจากกัน นอกจากนั้นการใช้ยา Tamiflu ก็มีผลข้างเคียง เกิดอาการสับสน ชัก ไม่รู้สึกตัวหรืออาการซึมเศร้า ฆ่าตัวตายได้เช่นกัน



จากลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว การระบาดที่รวดเร็ว และโอกาสที่อาจมีการยกระดับความรุนแรงมากกว่านี้

มาตรการใดที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มประกาศต้องมีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

1. แยกผู้มีอาการออกจากผู้อื่นโดยเด็ดขาด ตั้งแต่มีอาการหวัด ไอ น้ำมูก แม้ไม่มีไข้ก็ตามหยุดงาน อยู่บ้าน สวมหน้ากาก อยู่ในห้องปิดประตู หรือถ้าอยู่ห้องรวมพยายามอยู่ห่างกันตลอดเวลาอย่างน้อย 1 เมตร คนที่เฝ้าดูแลควรจำกัดเพียงคนเดียว เพื่อลดโอกาสติดกันทั้งบ้าน แยกภาชนะจาน ชาม แก้วน้ำ หน้ากาก หรือกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วควรแยก และทำลายทิ้ง คนในบ้านควรสวมหน้ากากด้วยเช่นกัน และต้องล้างมือเพื่อทำลายไวรัสที่ติดมือ แล้วเอามือ นิ้ว ขยี้ตา แคะจมูก เข้าเยื่อบุปากได้ ถ้าอาการมากขึ้นต้องรีบพบแพทย์

2. ผู้มีอาการน้อยเหมือนไข้หวัดธรรมดา ไม่ต้องตื่นตกใจ ไม่ต้องรีบไปโรงพยาบาลและไม่จำเป็นต้องพยายามพิสูจน์ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือไม่

เพราะการไปโรงพยาบาลขณะนี้ เสี่ยงต่อการพาตัวไปติดเชื้อของจริง หรือแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นที่ไม่ได้เป็น เพราะถ้าอาการไม่มากจะหายเองได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ตกอยู่ในกลุ่มนี้ แต่การแพร่เชื้อให้ผู้อื่น อาจมีอาการรุนแรงได้

3. ผู้มีอาการยกระดับจากไข้หวัดธรรมดาต้องพบแพทย์
ได้แก่ ไข้ไม่ลด สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในวันที่สองหรือวันที่สาม ปวดกล้ามเนื้อมากขึ้น หรือมีอาเจียน ท้องเสีย เพลียมาก หรือมีอาการปวดหัวมากขึ้น หรือมีซึม ในเด็ก ไม่กิน ไม่เล่น ซึม รีบไปโรงพยาบาล

4. รายงานจากห้องปฏิบัติการต้องเร็วและครอบคลุม
การตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้รองรับจำนวนตัวอย่างมหาศาลของผู้ติดเชื้อทุกคนได้ยาก หากไม่จำกัดและคัดกรอง และตรวจทุกรายที่ต้องการตรวจ จะทำให้ในรายที่มีความจำเป็นต้องทราบผลด่วนไม่ได้รับผลการตรวจเร็วพอ และมีผลต่อการรักษาได้และนำมาแสดงภาพสถานการณ์จริงที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือ

จึงควรคัดกรองและไม่ส่งตรวจรายที่มีอาการหวัดธรรมดาและหายเองได้ที่มีจำนวนมากออก จะช่วยทำให้ห้องปฏิบัติการสามารถทำงานในส่วนสำคัญได้ อันหมายถึงผู้มีความจำเป็นในช่วงโอกาสทอง ในระยะสอง สามวันแรก หลังจากมีอาการ

ผู้ที่ต้องได้รับการตรวจและทราบผลเร็วที่สุด ได้แก่

ก. ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าอาการน้อยหรือมาก

ข. ผู้ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ถ้ามีอาการมากกว่าหวัดธรรมดา แม้ไม่มีโรคประจำตัวก็ตาม

ค. บุคลากรสาธารณสุขที่มีโอกาสสัมผัสโรคและแพร่ให้คนไข้ ไม่ว่าอาการจะมากหรือน้อย

การตรวจต้องแยกได้ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล ไข้หวัดใหญ่2009 หรือไม่ เพื่อทราบการเกิดโรคที่แท้ แต่ถ้าทราบผลตรวจทัน การใช้ยา Tamiflu จะถูกต้องมากขึ้น ตัดการใช้เพราะความกลัว และอาจทำให้การดื้อยาเร็วขึ้น ลดผลข้างเคียง และโอกาสแพ้ยา ที่มีรายงานอยู่มากแต่ด้วยความรุนแรง รวดเร็วของไข้หวัดใหญ่2009 อาจจำเป็นต้องให้ยาTamiflu ไปก่อนโดยไม่ทราบผลเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสม


5. ข้อมูลสถานการณ์แต่ละวันทั่วประเทศในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรงปานกลางขึ้นไป

การนำข้อมูลจากทั่วประเทศที่ส่งให้กระทรวงสาธารณสุขมาแยกแยะอาการและแจ้งให้ทราบทั่วไปจะก่อให้เกิดการรับทราบสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันแก่บุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง อาจมีประโยชน์ในการร่วมมือแก้ไข ที่สำคัญช่วยในการพิจารณาความพร้อมของบุคลากร ห้องICU เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

ข้อมูลความพร้อมนี้มีรายงานโดยวีระศักดิ์จงกล พรทิพย์ และวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ตีพิมพ์ในวารสารโรคติดเชื้ออุบัติใหม่เดือนมีนาคม2552 และแต่ละสถานพยาบาลควรกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหวัดที่มีรับบริการที่เป็นขั้นตอนชัดเจน เพื่อลดโอกาสแพร่แก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิตที่สามารถทำได้


6. วิเคราะห์กลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยที่ติดเชื้ออาการระดับกลางถึงรุนแรง

การที่ได้ทราบกลุ่มเสี่ยงจะทำให้บริการจัดการการให้วัคซีนในอนาคตได้ดี และทำให้ทราบว่าประเทศไทยมีลักษณะของโรคเหมือนเม็กซิโกหรือสหรัฐ มากเพียงใด ที่วัยแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว เกิดปอดบวมและเสียชีวิตได้ทั้งนั้น เมื่อมีวัคซีนซึ่งได้รับการตรวจสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัยแล้ว จัดสรรให้กลุ่มเหล่านี้ได้เหมาะสม


7. การปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และอาจทำได้ และต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

หากนโยบายที่ต้องการสกัดกั้นการแพร่เชื้อ ต้องพิจารณาประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การปิดนั้น ก่อนปิดต้องมีการสื่อสารข้อมูลอย่างเข้มงวด ชัดเจนแก่ผู้จะหยุดมาที่สถานที่นั้น เช่นนักเรียน คนทำงาน เป็นต้น ว่าอย่างน้อยสองวันแรกขอให้อยู่บ้าน และใส่หน้ากากเพื่อไม่ให้แพร่แก่คนในบ้านเพราะถ้าติดโรคมาแล้วประมาณสองวันจึงแสดงอาการ ถ้ามีอาการหวัดใด ๆให้หยุดอยู่บ้านจนหาย

หากรุนแรงขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาล หากไม่มีอาการอาจอนุโลมให้ออกจากบ้านได้

ที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าที่บ้านมีผู้ป่วย หรือผู้เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เพราะขณะนี้ ทราบชัดว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง คือผู้มีโรคประจำตัว และมีภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องแยกผู้หยุดและยังไม่แน่ใจว่าเป็นโรคจากผู้มีความเสี่ยงในบ้าน


สถานการณ์ในประเทศไทยอาจเหมือน หรือต่างจากประเทศต้นตอ เช่น เม็กซิโก สหรัฐ อาเจนติน่า ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้ ต้องมีการวิเคราะห์เกาะติดภาพรวมข้อมูลผู้ป่วย อย่างชัดเจน มีเป้าหมาย เพื่อการจัดการภายในประเทศจะเป็นไปอย่างเหมาะสม พร้อมตามสถานการณ์ที่แท้ ไม่ใช่สร้างความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น

ที่สำคัญคือให้ความรู้ความเข้าใจ ขอความร่วมมือจากกลุ่มที่เกี่ยวข้อง สื่อสารแบบชัดเจนในแนวปฏิบัติระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ประชาชน ไปจนสถานพยาบาลประเภทต่าง ๆ การเลือกปฏิบัติตามข้อแนะนำของประเทศใดประเทศหนึ่งอาจต้องพิจารณาบริบทที่แตกต่าง ตามความเหมาะสมของประเทศไทย


โดย: หมอหมู วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:44:22 น.
  
//www.thairath.co.th/today/view/23303

ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009....เสียชีวิตจากการรักษาช้าจริงหรือ?

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน เปิดประเด็นสงสัย

ประกาศ ของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ระบุว่า ผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า... หลังป่วยแล้วถึง 6 วัน ทำให้การให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี

คุณ หมอธีระวัฒน์ บอกว่า คณะอนุกรรมการวิชาการ ที่ ศ.นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้ทักท้วงและขอให้มีการนำเสนอว่า...การรักษาดังกล่าวแท้จริงแล้วอาจจะมี ความสมเหตุสมผล

"ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวในระยะแรก เช่น วันที่หนึ่ง...สอง...สาม อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ไข้ไม่สูง หรือลดลงได้เมื่อกินพาราเซตามอล"

ไม่มีอาการเหนื่อยหรือเพลีย กินอาหารได้ เดินหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งเริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 หรือ 5

การ รักษาคือการให้ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เริ่มให้ในวันที่ 5 และ 6 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม...และเป็นการให้ยารักษาภายใน 1-2 วัน หลังจากอาการรุนแรงขึ้น โดยสำนักระบาดวิทยาจะต้องแจ้งให้อนุกรรมการวิชาการทราบโดยละเอียด

ถ้ากระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ยารักษาผู้ป่วยทุกรายหลังจากเริ่มมีอาการแรก เช่น จาม ไอ ไข้ เล็กน้อย...ภายใน 2 วัน ทั้งหมด

หมายความว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องรักษาคนที่มีอาการหวัดทุกประเภท ไปทั้งหมด เพราะไม่สามารถรอตรวจว่าเป็นไข้หวัดชนิดใดได้ ซึ่งอาจมีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 เพียงส่วนหนึ่ง...ไม่ใช่สัดส่วนที่มากเท่าที่คิด

โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในต่างจังหวัดขณะนี้ คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า ไม่ได้หนาแน่นเท่ากรุงเทพฯ

นโยบาย นี้...เท่ากับว่า แต่ละเดือนอาจมีคนไข้เป็นหวัดไปพบแพทย์ ที่คลินิก ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ คนละ 10 แคปซูล (วันละสองแคปซูล นาน 5 วัน) เป็นหมื่น...เป็นแสนคน

และแต่ละคน อาจกลับมาเป็นหวัดซ้ำอีกในอีก 2-4 สัปดาห์ต่อมา ก็ต้องได้รับยาอีกใช่หรือไม่?



คุณ หมอธีระวัฒน์ ย้ำว่า ถ้าเรายังไม่สามารถบอกได้ภายใน 3-4 ชั่วโมง หลังจากผู้ป่วยมาตรวจว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือไม่ และ

ตัดสินใจว่าจะให้ยาได้อย่างเหมาะสม ก็จำต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลจากอาการทางคลินิก เริ่มตั้งแต่...

อาการขณะนั้นดำเนินจากอาการน้อย...เป็นเริ่มรุนแรงขึ้น มีไข้ 38 องศา...

จากเดิมที่เคยดีขึ้นเมื่อกินพาราเซตามอล กลับไม่มีผล

และยัง มีอาการหนึ่งใน 5 ประการหรือไม่ ได้แก่

ปวดเมื่อยเนื้อตัวจนแทบไม่อยากเคลื่อนไหว,
ปวดหัวพาราเอาไม่อยู่,
เหนื่อยเพลียจนไม่อยากลุก,
เบื่ออาหารของชอบอยู่ตรงหน้าก็ไม่อยากกิน,
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียบ่อยครั้งขึ้น

"หากร่วมกับอาการไอจนเหนื่อย หรือจนเจ็บหน้าอกเฉพาะที่ ยิ่งเป็นสัญญาณว่าต้องได้รับการรักษาด้วยยาโดยเร็ว"

นี่คือการรักษาที่สมเหตุสมผลที่สุด ตามสภาพข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้... ในบริบทของประเทศไทย




แม้ ว่า ทุกคนจะอุ่นใจว่ามีหลักประกัน...เป็นหวัดจะได้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ 2009 เร็วภายในสองวัน แต่ต้องไม่ลืมว่ายังมีคนที่เป็นหวัด...ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล กี่หมื่นราย ที่มีอาการ...แต่ไม่รุนแรง

ผู้ป่วยเหล่านี้ หายเองภายใน 3-4 วัน โดยไม่ต้องใช้ยารักษาใดๆ นอกจากพารา คลอเฟน (chlorpheniramine) และไม่ควรได้ยาไข้หวัดใหญ่ 2009

เป็นเหตุผล...ที่มีคำแนะนำให้นอนพักอยู่กับบ้าน สังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลง

ประเด็นน่าสนใจ...ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าการใช้ยาต้องระมัดระวัง และรัดกุม...เพื่อระวังการดื้อยา

แต่ การกระจายยาให้คลินิกทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าจะได้ยาเร็วๆ...ทั้งที่กลุ่มป่วยเหล่านี้ ไม่ได้เป็น และอาจเข้าใจว่าต้องได้ยาทันทีที่มีอาการหวัด

ผลที่ตาม มา...คุณหมอทั่วประเทศจะกล้าปฏิเสธการสั่งยาให้ผู้ป่วยหรือ แม้ในร้อยคน...พันคนที่เป็นหวัดมาหา อาจมีแค่รายหนึ่งที่อาการรุนแรงหนักขึ้น... เกิดเสียชีวิต ก็คงต้องถูกฟ้องร้องแน่

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า การดำเนินการดังกล่าว อาจไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ตามคาด เพราะอีกพุธถัดมา และถัดมาที่ประกาศผู้เสียชีวิตด้วยอัตราที่คงเดิม

หรือกลับมากขึ้น...ก็จะต้องหาเหตุมาอธิบายกันอีก และจะแก้ด้วยวิธีใดกันต่อดี?



ประเด็น การดื้อยา การแพร่ของเชื้อดื้อยาที่บอกว่า...บ้านเราไม่มี ทั้งๆที่ไม่เคยติดตามผล จะมีโอกาสพบได้เร็วขึ้นหรือไม่ คือแขนงปัญหาใหม่ ที่น่าสนใจ

นับรวมไปถึงอาการข้างเคียง...การแพ้ยา เมื่อใช้กันมากขึ้นมหาศาล ก็มีโอกาสพบได้ ผลเหล่านี้จะมีการรองรับอย่างไร มีใครนึกถึงหรือยัง?

ประการ ต่อมา ถ้าผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ใหม่ได้รับยาอย่างสมเหตุสมผล... ไม่ช้า แต่ก็ยังเสียชีวิต ก็ต้องหันมาพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าเรื่องเชื้อในผู้เสียชีวิต มีความผิดปกติไปจากเชื้อทั่วไป หรือไม่...อย่างไร

"เชื้อดื้อยาหรือไม่? คุณภาพยาที่ผลิต? กระบวนการประกันคุณภาพเป็นไปอย่างเหมาะสมอย่างไรบ้าง..."

แต่ ถ้า...ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งหมด เกิดจากการรักษาช้าจริง สิ่งที่ต้องปฏิบัติแรกสุดคือ ให้ความรู้ ให้รับทราบปัญหา สถานการณ์ที่ชัดแก่ประชาชนและแพทย์

"สร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อป่วยและไม่ป่วย...ที่ชัดเจนอีก โดยไม่ตกใจกับตัวเลขการตาย เพราะคาดการณ์ไว้แล้ว"

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า การรู้...ไม่ได้ทำให้กลัวเสมอไป การรู้... ทำให้ตระหนักและปฏิบัติตามมากขึ้น

ที่สำคัญ...ให้แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมแก่แพทย์ พยาบาลโดยด่วน ไม่ใช่ให้แพทย์ที่ปกติ ก็รักษาหวัดธรรมดามาช้านาน และหวัดก็คือหวัด

" เวลาในชีวิตประจำวันที่มักหมดไปกับภาระต่างๆ มากมาย รวมทั้งคนเป็นหวัดที่ไปขอตรวจมากขึ้น ต้องตามข่าวการแถลงของกระทรวง รัฐมนตรี หาแนวทางปฏิบัติเอาจากสื่อต่างๆ ที่ปราศจากรายละเอียดทางการแพทย์



หรือ ต้องรู้เองว่า ต้องหาเอาจากการเข้าเว็บของกระทรวง ทั้งๆที่เกิดมา ไม่เคยเข้า และเหมาเอาว่า...ใครไม่รู้ว่ากระทรวงประกาศเรื่องราวใดไปแล้ว... น่ะมันแย่"

ถ้า ทั้งแพทย์ ประชาชน เข้าใจสถานการณ์ สิ่งที่ควรปฏิบัติตรงกัน หากเคราะห์ร้ายโรคไข้หวัด 2009 รุนแรงมากขึ้น จนโรงพยาบาลรับมือไม่ไหว

ถึงวันนั้น...จึงจะถึงเวลาที่แพทย์คลินิกต่างๆ จะต้องเข้าช่วยในการเริ่มรักษาอย่างรับทราบแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์อย่างดีมาแล้ว

ความ จริงที่ต้องเน้นย้ำ...ควรเน้นแนวปฏิบัติในการคัดกรอง ให้คำแนะนำการปฏิบัติสังเกตอาการกับคนเป็นหวัดอาการน้อยๆ ที่จะดูแลตัวเอง...รับรู้ว่าอาการอย่างนี้ส่งตัวเองไปโรงพยาบาลได้แล้ว และมีการส่งต่อที่ดี

จุดที่คนเป็นหวัดส่วนใหญ่ไปแสวงหาการรักษา บำบัดอาการโดยปกติของชีวิตก่อนการระบาดนี้ คือคลินิกทั้งหลายและสถานีอนามัย...หน่วยบริการปฐมภูมิ

"และไม่อยาก ให้ลืมว่า...คนไทยชอบไปซื้อพารา คลอเฟน รักษาตัวเองจากร้านยาที่ไม่รู้มีเภสัชกรหรือเปล่า เพื่อความเร็ว สะดวก ถูก...มาตลอดชีวิต จุดที่คนไปก่อนเหล่านี้ ต้องได้รับความรู้เพื่อร่วมช่วยด้วยเช่นกัน"

ประเทศไทยพลาดโอกาสทอง มานานเกือบสามเดือน ตั้งแต่เริ่มมีผู้ป่วยรายแรกที่กระทรวงสาธารณสุขให้ข่าวว่า ไข้หวัดพันธุ์นี้ไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา...หายเองได้

ทำให้พลาด โอกาสเตรียมการให้ความรู้ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ล่วงหน้า...และเมื่อเกิดมีผู้เสียชีวิตก็พยายามชี้ว่า การตายในคนอายุน้อย วัยทำงานนั้นเป็นเพราะมีโรคประจำตัว



ท้ายที่สุด...ก็ต้องยอมรับว่า ใน 65 ราย...มี 24 ราย ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และไม่มีโรคประจำตัว

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ทิ้งท้ายว่า เมื่อไหร่ สาธารณสุขประเทศไทยจะหยุดใช้นักการเมือง...ข้าราชการการเมืองสอนวิชาแพทย์ เสียที จะได้ไม่มีแพทย์ หรือนักวิชาการมาเที่ยวยุ่งเสนอนั่นนี่ ไม่ตรงกับท่านให้น่ารำคาญ...

โดย: หมอหมู วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:16:26:38 น.
  

นำมาฝาก จากไทยคลินิก

การระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในหญิงตั้งครรภ์

//www.who.int/csr/disease/swineflu/notes/h1n1_pregnancy_20090731/en /index.html


31 ก.ค. 2009 | เจนีวา -- การวิจัยดำเนินการในสหรัฐอเมริกา และเผยแพร่ เมื่อ 29 กรกฎาคม ใน The Lancet [1] ได้ให้ความสนใจไปยังการเพิ่มความเสี่ยงอย่างรุนแรงหรือเจ็บป่วยร้ายแรงในหญิ งตั้งครรภ์เมื่อติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งแพร่หลายทั่วไป.

ในหลายประเทศที่ประสบการระบาดกระจายทั่วไวรัสเหมือนกัน ก็มีรายงานการเพิ่มความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงที่สองและที่สาม ของการตั้งครรภ์ และยังได้รับการรายงาน การเพิ่มความเสี่ยงของการตายของทารกหรือ การแท้ง


เพิ่มความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์

หลักฐานจากการระบาดครั้งก่อน พบว่าในระหว่างระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หญิงมีครรภ์ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น.

ในการระบาดในปัจจุบันความเสี่ยงของหญิงมีครรภ์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ยังพบอีกว่ามีผลกระทบต่อกลุ่มอายุน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการระบาดในระหว่างฤดูกาล.

องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ในบริเวณที่มีการระบาด แพทย์พึงเฝ้าระวัง อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์



องค์การอนามัยโลกกับคำแนะนำสำหรับการรักษา

การให้ยาต้านไวรัส oseltamivir ควรให้โดยเร็วที่สุดเมื่อมีการติดเชื้อ. การให้ยา oseltamivir จะเป็นประโยชน์สูงสุด เมื่อให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากที่มีอาการติดเชื้อ, แพทย์ควรเริ่มต้นการรักษาทันทีและไม่รอผลการปฏิบัติการทดสอบ.

การเริ่มรักษาที่ช้ากว่า48 ชั่วโมงก็ยังอาจมีประโยชน์ ยา oseltamivir ลดความเสี่ยงของโรคปอดบวม(สาเหตุของการเสียชีวิตที่ติดเชื้อในคนที่รายงานบ่ อยที่สุด) และลดความจำเป็นที่ต้องนอนโรงพยาบาล.

องค์การอนามัยโลกได้เพิ่มเติมคำแนะนำ เมื่อมีวัคซีน ควรพิจารณาให้ในกลุ่มของหญิงตั้งครรภ์ก่อน

สัญญาณอันตรายในผู้ป่วย-Danger signs in all patients

ทั่วโลก,ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ พบมีอาการน้อย และหายเองภายในหนึ่งสัปดาห์โดยไม่ต้องให้ยาใดๆ

การตรวจสอบจากหลายประเทศ ยังไม่มีหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแพร่กระจายไวรัสหรือทำให้เจ็บป่วยรุนแรง.

นอกเหนือจากความเสี่ยงเพิ่มในครรภ์หญิง ความเสี่ยงจะเพิ่มในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่โรคปอดเรื้อรัง (รวมทั้งโรคหืด), โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวานและ คนที่ได้ยากดภูมิต้านทาน. บางศึกษาเบื้องต้นพบความอ้วนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอ้วนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม.

อย่างไรก็ตาม ส่วนน้อยพบว่าคนปกติที่อายุน้อยกว่า 50 ปี อาจเกิดปอดบวมที่ทำลายเนื้อเยื่อที่ปอดและเกิดการล้มเหลวของหลายอวัยวะ. ยังไม่พบปัจจัยที่สามารถคาดการณ์รูปแบบของโรคที่มีความรุนแรงนี้ได้

แพทย์และผู้ให้การดูแลที่บ้าน จะต้องมีการแจ้งให้เฝ้าระวังสัญญาณอันตราย

เมื่อสัญญาณอันตรายใดๆต่อไปนี้ปรากฏในบุคคลที่มีการยืนยันหรือสงสัยการติดเช ื้อ H1N1 :

1. -การหายใจถี่ขึ้นทั้งในระหว่างการออกกำลังกายหรือในขณะที่พัก

2. -การหายใจลำบาก

3. -ปลายนิ้ว ริมฝีปากเขียว

4. -เสมหะเป็นเลือด หรือเปลี่ยนสีไม่ใส

5. -เจ็บหน้าอก

6. -ซึมลง

7. -ไข้สูงที่คงเกิน 3 วัน

8. -ความดันโลหิตต่ำ

ในเด็ก อันตรายสัญญาณรวมถึง การหายใจเร็วหรือลำบาก ซึมไม่ร่าเริง ยากในการที่ทำให้ตื่นขึ้น และไม่ต้องการที่จะเล่น.

________________________________

[1] Jamiesan DG et al. H1N1 2009 influenza virus infection during pregnancy in the USA. Lancet 2009; published online July 29, 2009

ส่งโดย: porncvan
โดย: หมอหมู วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:18:22:41 น.
  



เอาความรู้มาฝาก ...


จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .. บทเรียนสาธารณสุขไทย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76


9 วิธีง่ายๆ ที่จะดูแลตัวเองให้พ้นจากไข้หวัด 2009 และช่วยลดการระบาด

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8162915/L8162915.html


.....สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009....( ศจ.นพ.ธีระวัฒน์ ) และ แนวทางดูแลรักษาผู้ป่วย

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8147316/L8147316.html#18


ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009....เสียชีวิตจากการรักษาช้าจริงหรือ ??? ... ศจ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8154944/L8154944.html#1


รายงาน หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 5 ส.ค. 2552{แตกประเด็นจาก L8162915}

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8169325/L8169325.html


สดจากกระทรวงฯ แนวทางดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8170022/L8170022.html


ถึงสื่อมวลชนทุกท่าน ผมจะบอกความจริงเรื่อง ไข้หวัด 2009 ให้ทราบ

//www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A8060907/A8060907.html


แนะนำบล๊อก เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ....ว่าง ๆ ก็แวะไปอ่านกัน สวยงามและได้ความรู้

//iloveh1n1flu.blogspot.com/


เวบ ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).. ภาพสวย ข้อมูลเพียบ มีคำถามที่พบบ่อย และ เวบบอร์ดให้สอบถามปัญหา ครบถ้วน ... เจ๋งมั๊ก ๆ

//www.flu2009thailand.com/


โดย: หมอหมู วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:17:03:27 น.
  
ขอบคุณบทความดีๆ อย่าลืมใส่ ผ้าปิดจมูก กันนะคะ
โดย: Aussie angel วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:47:35 น.
  
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76

ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75

ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103


โดย: หมอหมู วันที่: 29 มกราคม 2559 เวลา:21:45:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด