ร่วมรณรงค์ " วันงดสูบบุหรี่โลก " ... ข้อมูลดี ๆ สื่อแจกฟรี มีเพียบ (พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560)


เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตราย­ของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่­ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสู­บ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลกได้ตระหนัก­ถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อกา­รไม่สูบบุหรี่ที่ใช้ชื่อว่า World Spidemic ซึ่งสื่อถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นเหมือนโรคร­ะบาดที่ระบาดอยู่ทั่วโลก โดยในวันงดสูบบุหรี่โลกในแต่ละปี ก็จะมีคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกที่แตกต่างก­ันออกไป



กลยุทธ์รับมือการเลิกสูบบุหรี่
1. เลิกโดยเด็ดขาดทันทีทันใด จะเห็นผลดีกว่าการลดปริมาณ หากเราสามารถอดทนได้ใน 2-3 วันแรก โอกาสเลิกสูบบุหรี่ก็จะเป็นไปได้สูง
2. ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อสร้างกิจกรรมระหว่างการเว้นว่างเพื่อสูบบุหรี่ แต่การออกกำลังกายกลับเป็นการกระตุ้นและ ซ่อมแซมร่างกายที่เสียหายจากบุหรี่อีกด้วย
3. หายใจช้าๆ ลึกๆ และ หลีกเลี่ยงสุรา ชา หรือกาแฟ เพราะจะทำให้เกิดอาการอยากสูบบุหรี่
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดิมๆ ที่จะก่อให้เกิดการสูบบุหรี่
5. สามารถใช้หมากฝรั่งเคี้ยวระหว่างวัน เพื่อทำให้รู้สึกปากไม่ว่างได้
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรเข้าสายด่วนเลิกบุหรี่ ได้ที่ 1600









รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 2553 โดย สสส.
//youtu.be/HTmSzG9ih28

รณรงค์เรื่องของบุหรี่ สสส.
//youtu.be/hNb7wAJlksw




มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.
www.ashthailand.or.th
https://www.smokefreezone.or.th/




สื่อรณรงค์ แจกฟรี มีเพียบ
https://www.smokefreezone.or.th/media.php?direct_id=40









**************************************************



“พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560”

ปัญหาการบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชน ทำให้ป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โดยคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้ กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ยังทำให้นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เสพติดไปตลอดชีวิต รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่สูงถึง 74,884 ล้านบาท

กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกประการคือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ และแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาดังกล่าว

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบอยู่เดิม 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับใช้มานานกว่า 25 ปี สำหรับ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีมาตรการสำคัญที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ดังนี้

1.กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

2.ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

3.ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่
ได้แก่
วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
สถานพยาบาลและร้านขายยา
สถานศึกษาทุกระดับ
สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ซึ่งหากเจ้าของพื้นที่หรือผู้ดูแลไม่แจ้งความเพื่อดำเนินคดีก็จะมีความผิดปรับ 3,000 บาท

4.กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต

5.ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรม CSR อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ

6.ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองบุหรี่ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น

7.ห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน

8.เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่เป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท

9.กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท


"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560" - ราชกิจจานุเบกษา,
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/039/27.PDF

"พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560", ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค,
https://www.facebook.com/pg/LawcenterDDC/photos/?tab=album&album_id=1887939478120107

ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.trc.or.th/th/ศูนย์ข้อมูล/trc-publication/trc-infographic/item/648-ไขข้อข้องใจพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ-พ-ศ-2560.html

สาระสำคัญ พรบ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560,
https://www.riskcomthai.org/2017/detail.php?id=35903&m=media&gid=1-004-004

คกก. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.2676392675709725&type=3

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
www.ashthailand.or.th

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
อาคาร 11 ชั้น 5 88/21 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2590 - 3818
https://btc.ddc.moph.go.th/th/index.php
https://ddc.moph.go.th/th/site/office/view/btc
https://www.facebook.com/Thaiantitobacco/
ดาวโหลด
https://btc.ddc.moph.go.th/th/download2.php?type=3

กรมควบคุมโรค ศูนย์กฏหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมผลิคภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐
https://law.ddc.moph.go.th/lawbtc.php
https://btc.ddc.moph.go.th/th/laws-th.php?type=8

***********************************************







 



Create Date : 31 พฤษภาคม 2557
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2563 15:03:56 น.
Counter : 12621 Pageviews.

1 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
วันนี้ไปหาหมอ ดูแลดี แต่..... เขียนประวัติเราลงคนอื่น.. newyorknurse
(13 มิ.ย. 2568 02:37:18 น.)
ผักสลัดสามารถทานเป็นอาหารหลักแทนข้าวได้หรือไม่? สมาชิกหมายเลข 8733766
(10 มิ.ย. 2568 11:40:41 น.)
  
ย้ำบุหรี่ไฟฟ้า ทำคนสูบเพิ่ม-เลิกยาก อันตรายกว่า แนะไทยคงมาตรการเป็นสินค้าผิดกฎหมาย
Mon, 2019-07-01 06:58 -- hfocus

ผอ.ศูนย์วิจัยควบคุมยาสูบ ม.แคลิฟอร์เนีย ห่วง "บุหรี่ไฟฟ้า" โหมโฆษณาฉ้อฉล อ้างปลอดภัย ช่วยเลิกบุหรี่ได้ ยันไม่จริง ซัดทำให้คนสูบเพิ่ม-เลิกยาก แถมอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา ก่อโรคปอดอุดกั้น-หลอดลมอักเสบสูงกว่า 1.8 เท่า ฝุ่นผงเล็กกว่า ดูดซึมเข้าร่างกายง่ายกว่า แนะรัฐบาลไทยคงมาตรการเป็นสินค้าผิดกฎหมาย

ศ.ดร.สแตนตัน แกลนซ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและศึกษาด้านการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา กล่าวในเวทีเสวนา E-Cigarette : Back to the Future ในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 "Tobacco and Lung Health" ว่า อุตสาหกรรมยาสูบอยู่เบื้องหลังและสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า โดยพยายามล็อบบี้ให้เกิดการขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลพยายามระงับการขายและไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ บุหรี่ไฟฟ้ามีหลายรูปแบบเพื่อเชิญชวนให้อยากสูบ แต่หลักการทำงานจะคล้ายกัน คือ ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า จะมีแบตเตอรี่ แทงค์บรรจุนิโคตินและน้ำยา และฮีทคอยล์ในการสร้างความร้อนจนเกิดไอระเหย ซึ่งต่างจากบุหรี่ธรรมดาที่ใช้ไฟจุดและความร้อนทำให้เกิดควัน

ศ.ดร.สแตนตัน กล่าวว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงว่า อุตสาหกรรมยาสูบกำลังพยายามโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าอย่างหนัก อย่างสหรัฐอเมริกามีการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าแบบไร้ควัน และออกแคมเปญต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ทำให้คนเข้าถึงและตลาดเติบโตขึ้น นอกจากนี้ ยังปรับปรุงผลิตภัณฑ์เป็นแบบซอฟต์นิโคติน ทำให้เกิดการติดนิโคตินได้ง่ายขึ้น โดยที่ผ่านมามีการอวดอ้างผลวิจัยว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้และปลอดภัยกว่าถึง 95% ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง เพราะไม่ได้มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจน อีกทั้งเป็นการดำเนินการวิจัยโดยมีบริษัทบุหรี่อยู่เบื้องหลัง

อย่างกรณีที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าให้สารพิษน้อยกว่า แม้จะน้อยกว่าจริงแต่ก็ยังเป็นสารพิษ และการรับไปนานๆ จำนวนมากก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบฝุ่นผงที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา จะพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเกิดฝุ่นผงขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงอันตรายกว่า ส่วนการเกิดโรคต่างๆ ก็ไม่ได้ต่างกัน ทั้งโรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และหลอดลมอักเสบ

"บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดหัวใจได้เช่นกัน เพราะทำให้การขยายตัวของหลอดเลือดลดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจขึ้นได้ ซึ่งอัตราการเกิดโรคหัวใจจากบุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเพิ่มขึ้นมาก ยิ่งสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็จะยิ่งมากขึ้น ส่วนอันตรายต่อปอดเกิดขึ้นทั้งจากน้ำยา นิโคติน สารให้กลิ่นรสต่างๆ รวมถึงโลหะหนักที่เกิดจากความร้อน จึงยิ่งอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดา โดยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหลอดลมอักเสบสูงกว่าบุหรี่ธรรมดา 1.8 เท่า ขณะที่การสูบทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าพบว่า ก่อให้เกิดโรคมะเร็งช่องปากได้" ศ.ดร.สแตนตัน กล่าว

ศ.ดร.สแตนตัน กล่าวว่า การที่บริษัทบุหรี่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นโดยระบุว่า ช่วยให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้ ทั้งที่เป็นสินค้าหลักนั้น จึงไม่ใช่ตรรกะทางการค้า สอดคล้องกับการเก็บข้อมูลในวัยรุ่นอเมริกันที่พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้การสูบบุหรี่ธรรมดาลดลง แต่กลับทำให้เพิ่มขึ้น และควบคุมการบริโภคยาสูบได้ยากขึ้น ซึ่งผลจากการแพร่หลายของบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าทำให้ผู้ใหญ่ที่หยุดบุหรี่ได้ 1 คน แต่กลับมีวัยรุ่นติดบุหรี่ไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 80 คน เพราะคนที่ติดอยู่แล้วเลิกไม่ได้ แต่มีคนกลุ่มใหม่ติดเข้ามา ทั้งยังทำให้คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ธรรมดา เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วก็หันเข้ามาสูบบุหรี่ธรรมดาอีก

"บุหรี่ไฟฟ้าทำให้การควบคุมยาสูบทำได้ยากขึ้น ทำให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้น้อยลง ขยายการระบาดของการสูบยาสูบเพิ่มขึ้น และทำให้อากาศของคนที่ไม่สูบบุหรี่มีสิ่งแปลกปลอม โดยเสนอว่ารัฐบาลไทยยังควรให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และควรให้ความรู้ประชาชนในการหยุดสูบบุหรี่ และให้ความรู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้หยุดสูบบุหรี่ยากขึ้น และทำให้เกิดการสูบบุหรี่ทั้งสองชนิด" ศ.ดร.สแตนตัน กล่าว

https://www.hfocus.org/content/2019/07/17318


โดย: หมอหมู วันที่: 1 กรกฎาคม 2562 เวลา:14:48:18 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด