การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
(ดัดแปลงจาก เอกสารของ สมาคมโรครูมาติซึม )

ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ มีบ่อยครั้งที่แพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ส่งแล็ป) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแพทย์ยืนยันการวินิจฉัย ประเมินความรุนแรงของโรค วางแผนและติดตามการรักษา บทความชิ้นนี้จะให้ความรู้คร่าว ๆ ถึงความสำคัญของการตรวจทางห้องปฏิบัติการแต่ละอย่าง

ทำไมจึงต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ? เราจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ

1. ยืนยันการวินิจฉัย เนื่องจากโรคกลุ่มข้ออักเสบประกอบด้วยโรคต่าง ๆ มากกว่า 100 ชนิด โรคข้ออักเสบบางอย่างมีอาการและอาการแสดงคล้ายกันมาก หรือ อาจมีอาการแสดงในระบบอื่น ๆ นอกจากข้อ ร่วมด้วย การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงช่วยแพทย์ในแง่ยืนยันการวินิจฉัยและให้ทราบถึงการมีอาการของโรคในอวัยวะอื่น ๆ

2. ติดตามผลการรักษาและติดตามอาการของโรค เนื่องจากโรคข้ออักเสบส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง และ มักจะมีอาการสงบหรือการกำเริบสลับกันไป การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะช่วยแพทย์ให้ทราบถึงความรุนแรงของโรค และการรักษาว่าได้ผลดีหรือไม่ เพื่อจะปรับวิธีการรักษาให้เหมาะสม

3. ติดตามผลข้างเคียง ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียงด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่า ยาจะมีความสามารถในการระงับ ข้ออักเสบได้ดีก็ตาม แต่ก็มีผลข้างเคียงต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบเลือด ตับ ไต เป็นต้น การตรวจทางห้อง-ปฏิบัติการจะทำให้แพทย์ทราบถึงภาวะข้างเคียงที่เกิดขึ้น และสามารถปรับการรักษาให้เหมาะสมได้


การตรวจเลือด

1. การตรวจความเข้มข้นของเลือดและเม็ดเลือด ในขณะที่มีการอักเสบเรื้อรังของร่างกาย จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการซีดได้เล็กน้อย จำนวนเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อการอักเสบ หรือการติดเชื้อที่ยารักษาโรคข้ออักเสบบางชนิดจะทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น เกล็ดเลือดในร่างกายจะช่วยให้เลือดในร่างกายแข็งตัว ยาหลายชนิดทำหน้าที่กดไขกระดูกทำให้เกล็ดเลือดต่ำได้

2. การตรวจอีเอสอาร์ (ESR) เป็นการวัดอัตราการตกของเม็ดเลือดแดง ค่าที่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงการอักเสบของร่างกาย ถ้ายิ่งมีค่าน้อย (เม็ดเลือดแดงตกเร็ว) แสดงว่ายิ่งอักเสบมาก

3. การตรวจหน้าที่ตับ เป็นการตรวจวัดหน้าที่การทำงานของตับ และบ่งบอกถึงปริมาณที่ตับถูกทำลาย เนื่องจาก ยาหลายชนิดมีพิษต่อตับ ในขณะเดียวกัน ถ้าตับทำหน้าที่บกพร่อง ก็อาจทำให้การทำลายยาของร่างกายไม่เป็นปกติ เกิดยาสะสมในร่างกาย และเกิดเป็นพิษจากยาได้

4. การตรวจหน้าที่ไต เป็นการตรวจการทำงานของไต ยารักษาโรคข้ออักเสบบางชนิดอาจมีพิษต่อไต เพราะ ไตเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่ทำหน้าที่ขับยาออกจากร่างกาย ในกรณีที่ไตบกพร่องจะทำให้ยาคั่งและเป็นพิษต่อร่างกายได้

5. การตรวจเอ็นซัยม์กล้ามเนื้อ โรคข้ออักเสบบางชนิดจะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อร่วมด้วย การตรวจเอ็นซัยม์กล้ามเนื้อจะเป็นการบ่งบอกถึงความรุนแรงที่กล้ามเนื้อถูกทำลายจากการอักเสบ และยังใช้ติดตามผลการรักษาได้ด้วย

6. การตรวจหากรดยูริก ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์จะพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งกรดยูริกนี้จะตกตะกอนเป็นผลึกสะสมอยู่ตามข้อต่าง ๆ และก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น แต่ผู้ที่มีกรดยูริกสูงไม่จำเป็นเสมอไปที่จะเป็นโรคเก๊าท์ จะถือว่าเป็นโรคเก๊าท์ เมื่อมีระดับกรดยูริกสูงร่วมกับอาการและอาการแสดงของช้ออักเสบ

7. การตรวจหาสารรูมาตอยด์ เป็นการตรวจหาสารโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะตรวจพบได้ประมาณร้อยละ50-80 การตรวจพบสารโปรตีนชนิดนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค แต่การตรวจพบสารโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ในโรคข้ออักเสบอื่น ๆ หรือโรคติดเชื้อบางอย่าง โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้เป็น โรครูมาตอยด์ก็ได้ และมีผู้ป่วยโรครูมาตอยด์บางส่วนที่อาจตรวจไม่พบสารรูมาตอยด์ก็ได้

8. การตรวจหาสารแอนตี้บอดี้ต่าง ๆ เป็นการตรวจหาสารโปรตีนในเลือดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย การตรวจพบสารนี้เป็นการบ่งบอกว่าร่างกายได้สร้างสารเคมีต่อต้านเนื้อเยื่อของร่างกายเอง สารนี้มีอยู่หลายชนิดและสามารถพบได้ในกลุ่มอาการโรคข้ออักเสบหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แพทย์จะใช้การตรวจสารเหล่านี้ในการยืนยันการวินิจฉัยและติดตามการรักษา


การตรวจปัสสาวะ

เนื่องจากโรคข้ออักเสบหลายชนิดอาจมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการแสดงทางไตได้ การตรวจปัสสาวะจึงเป็นการดูว่าผู้ป่วยมีไตอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ ยาที่ใช้ในการรักษาบางชนิดอาจมีผลต่อการทำงานของไต ในบางครั้งแพทย์อาจทำการเก็บตรวจปัสสาวะของผู้ป่วยทั้งวัน เพื่อตรวจดูปริมาณสารต่าง ๆ ที่ไตขับออกมาตลอดทั้งวัน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความรุนแรงของโรคและตัดสินใจรักษาได้อย่างเหมาะสม


การตรวจ น้ำไขข้อ

การตรวจ น้ำไขข้อเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ โดยเฉพาะจะมีประโยชน์ในการช่วยแยกโรคข้ออักเสบว่าเป็นจากการติดเชื้อ หรือเป็นจากผลึกเกลือต่าง ๆ


การตรวจทางภาพรังสี

มีความสำคัญในการช่วยการประเมินสภาพของข้อว่าข้อได้ถูกทำลายไปในขบวนการอักเสบของข้อมากน้อยเพียงใด และอาจช่วยในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคบางอย่าง ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงทางภาพรังสีจะค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานาน เป็นเหตุให้แพทย์ต้องตรวจภาพรังสีซ้ำเป็นระยะ ๆ


การตรวจชิ้นเนื้อ

ส่วนใหญ่แพทย์จะสามารถทำการตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบได้ไม่ยากนัก แต่ในบางกรณีที่การวินิจฉัยไม่แน่นอน แพทย์อาจต้องทำการตัดตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและช่วยในการรักษา

การตรวจชิ้นเนื้อ เช่น การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุข้อในกรณีข้ออักเสบ การตรวจกล้ามเนื้อในกรณีกล้ามเนื้ออักเสบ การตัดตรวจผิวหนังและเส้นประสาทในกรณีผิวหนังอักเสบหรือเส้นประสาทอักเสบ การตรวจชิ้นเนื้อกระดูกในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระดูก เป็นต้น

แถม ...
การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไร แปลผลอย่างไร ... by drcarebear (นำมาฝาก)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-12-2011&group=4&gblog=93

 



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2567 21:41:14 น.
Counter : 10572 Pageviews.

3 comments
"น้ำตาลในผลไม้" แหล่งพลังงานจากธรรมชาติ และมีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม เหมียวกุ่ย
(29 มิ.ย. 2568 10:19:02 น.)
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
วิ่งข้างบ้าน 8,9,10,11,12,14 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(18 มิ.ย. 2568 22:42:00 น.)
Note: 40 Mins (250 Cals) peaceplay
(14 มิ.ย. 2568 03:58:30 น.)
  

//www.doctor.or.th/node/5884

นิตยสาร หมอชาวบ้าน เล่ม : 359
เดือน-ปี :03/2552
คอลัมน์ :คุยกับ หมอ 3 บาท
นักเขียนหมอชาวบ้าน :นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์

ผู้เขียนจำวลีที่ว่า "มัวเบ่งทางแล็บ บัดซบจริงกู" ของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี ซึ่งสื่อมวลชน ยกย่องเป็นราษฎรอาวุโส นักวิชาการกล่าวถึงในนามปัญญาชนสยาม และบรรดาแพทย์ทั้งหลายยกย่องท่านเป็นหนึ่งในบรมครูแพทย์ ซึ่งท่านได้ให้ข้อคิดว่าปัจจุบันหมอจะให้ความสำคัญกับผลตรวจจากห้องปฏิบัติการหรือแล็บ (lab) หรือตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ มากกว่าการซักประวัติตรวจร่างกายเสียอีก

บรมครูแพทย์ที่ยังมีชีวิต อยู่ยังมีอีกหลายท่าน แต่ที่ผู้เขียนชื่นชมเป็นพิเศษคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา และศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง ท่านสุดท้ายนี้คงเป็นที่คุ้นเคย ในฐานะที่เป็นบิดาของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของแพทย์ที่ทำ งานโดยใช้ความรู้และทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียดก่อนใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) เอกซเรย์ และอื่นๆ เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัย

พูดกันเล่นๆ ว่านิยมไฮทัช - โลเทค (High touch - Low tech) ที่ต้องบอกว่าพูดเล่นๆ เพราะบางคนอาจเข้าใจว่า High touch แปลว่าลูบข้างบน และถ้าไปเจอกับ Low touch ก็จะยิ่งหวาดเสียวไปกันใหญ่ แต่ความหมายจริงๆ ที่ต้องการสื่อคือ ให้หมอใช้มือตรวจผู้ป่วยให้ มากกว่าการเน้นไปที่ผลตรวจจากเครื่องมือแพงๆ โดยละเลยความรู้และทักษะการตรวจร่างกายไป

สำหรับวลี "มัวเบ่งทางแล็บ บัดซบจริงกู" ของอาจารย์ประเวศ วะสี นั้น ท่านได้เตือนสติถึงพฤติกรรมของหมอที่ใช้ทักษะในการซักประวัติและตรวจร่างกายน้อยเกินไป แต่จะไปมุ่งที่ผลแล็บ หรือผลตรวจจากเครื่องมืออื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ยิ่งปัจจุบันมีการตรวจแล็บมากมาย ถ้าใช้ถูกก็เป็นคุณ ใช้ผิดก็เกิดโทษ ใช้ฟุ่มเฟือยก็สิ้นเปลือง ใช้บ่อยเกินไปก็จะทำให้ใช้สมองน้อยลง และถ้าใช้แล้วมีความผิดพลาดก็จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

ผู้ป่วยมีสิทธิ์เลือกหรือไม่?

โดยจรรยาแพทย์และสิทธิของผู้ป่วย ย่อมต้องให้ ผู้ป่วยมีสิทธิ์เลือก แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก หมอมักจะอ้างว่าไม่มีเวลาอธิบาย หรืออธิบายยากเพราะเป็นวิชาการแพทย์ที่ซับซ้อน

มีความจำเป็น แค่ไหน?

เป็นคำถามที่บางครั้งก็ดูกวนใจหมอ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่พึงตระหนักเมื่อจะทำอะไรกับร่างกาย ลำพังตรวจแค่อุจจาระ-ปัสสาวะก็ไม่เท่าไหร่ ตรวจเลือดก็ต้องเจ็บตัว ตรวจเอกซเรย์ก็โดนกัมมันตภาพรังสี ส่องกล้องหรือสวนหลอดเลือดก็เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น ดังนั้นการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษควรทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น

ไม่ ตรวจได้ไหม?

อันนี้ยิ่งกวนใจหมอยิ่งกว่า เพราะเป็นการปฏิเสธสิ่งที่หมอต้องการจะทำ แต่ผู้ป่วยก็ควรที่จะพิทักษ์สิทธิของตน โดยขอหมอให้อธิบายและชี้แจงข้อดีข้อเสีย รวมทั้งความจำเป็นในการตรวจพิเศษต่าง ๆ (โดยเฉพาะที่ต้องใส่เครื่องมือเข้าสู่ร่างกาย) หมอที่ดีจะเต็มใจให้ข้อมูลและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเลือก รวมถึงแนะนำหนทางที่ดีที่สุด โดยต้องเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดด้วย

อย่างไรก็ตาม หากโชคร้ายเจอหมอที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ตัวเอง อาจแสดงความไม่พอใจถ้าผู้ป่วยปฏิเสธ และข้อมูลที่สื่อออกมาอาจยิ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจมากขึ้น

แล้วจะทำอย่างไร?

ในเมื่อหมอได้ชี้แจง "ข้อเท็จจริง" หรือ "เหมือนจริง" ว่าจำเป็นต้องตรวจพิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ คงต้องพิจารณาดูให้รอบคอบ หากยังสงสัยหรือไม่สบายใจก็คงต้องขอโอกาสในการปรึกษาหมอท่านอื่น (second opinion) เพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจ

อย่าลืมว่าร่างกายเป็น ของเราและมีอยู่หนึ่งเดียว การที่จะทำอะไรกับร่างกายต้องรอบคอบ เพราะบางครั้งผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสียนะครับ

โดย: หมอหมู วันที่: 20 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:23:06 น.
  


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4

โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7

โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9

โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1

เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php

เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php

โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:23:57:37 น.
  

การแปลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไร แปลผลอย่างไร ... by drcarebear (นำมาฝาก)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-12-2011&group=4&gblog=93
โดย: หมอหมู วันที่: 30 ตุลาคม 2567 เวลา:21:39:29 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด