โรคตาแดง ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)






ตาแดง

โรคตาแดงมีสาเหตุจากอะไร?

สามารถแยกสาเหตุตาแดงออกเป็น3 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. ตาแดงจากเชื้อไวรัสมักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโตมักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็วมีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัวมักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์

2. ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียจะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส

3.ตาแดงจากสาเหตุอื่นเช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสัมผัสกับฝุ่นละออง โรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันตามากน้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆอาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วยเป็นต้น

จะพูดถึงเฉพาะ‘โรคตาแดงจากติดเชื้อไวรัส เท่า นั้น เพราะพบได้บ่อยและช่วงนี้ กำลังแพร่ระบาด

ตาแดงจากไวรัส

ปัจจุบันมักเรียกการอักเสบของเยื่อตาที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส(Adenovirus)และ เอนเทโรไวรัส (Enterovirus) ว่า “โรคตาแดง” หรือ “ตาแดงชนิดติดต่อ”เนื่องจากโรคนี้ติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายมักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว เมื่อระบาดแต่ละครั้ง มีผู้คนติดโรคมากมายแต่เดิมทีโรคนี้มักเป็นในหน้าฝน หน้าน้ำท่วม เพราะทำให้เชื้อโรคกระจายได้ง่ายแต่ในระยะหลัง โรคนี้พบได้ตลอดปี เป็นแบบประปรายตลอดปี

เมื่อได้รับเชื้ออาจเกิดอาการตาแดงในวันรุ่งขึ้นไปจนถึง 2 สัปดาห์ก็ได้ โดยเริ่มรู้สึกระคายเคืองในตา น้ำตาไหลตาแดง มีความรู้สึกคล้ายมีผงหรือเม็ดทรายอยู่ในตา มักเป็นข้างเดียวก่อนถ้าไม่ระวังอาจลามไปตาอีกข้างในเวลาต่อมา ซึ่งพบเป็น 2ข้างได้ถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโดยทั่วไปมักจะมีน้ำตาออกมาเป็นน้ำใสๆหรือเป็นเมือกเล็กน้อย อาจมีหนังตาบวมแดงบริเวณเยื่อตาอาจพบเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายไปทั่ว

ความผิดปกติทั้งหมดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสจะอยู่ที่หนังตาและเยื่อตาเท่านั้น ส่วนของตาดำจะยังปกติดีจึงไม่มีผลต่อการมองเห็น โดยผู้ป่วยโรคนี้จะยังมองเห็นได้ปกติลักษณะที่สำคัญอีกประการของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสนี้มักจะพบการอักเสบและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองหน้าหูด้วย


ติดต่อได้อย่างไร? ป้องกันได้อย่างไร?

“โรคตาแดง” นั้นเกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรคซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือแล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใดและไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย

การดูแลป้องกันจึงควรแยกผู้ป่วยออกจากกลุ่มโดยเฉพาะผู้ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ในค่ายทหาร โรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีนักเรียนอยู่ประจำ

ป้องกันและควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในเขตจำกัด โดยการดูแลอนามัยส่วนบุคคลให้ดี (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน/สุขบัญญัติแห่งชาติ)หมั่นล้างมือ รักษาความสะอาดผ้าเช็ดหน้า (ควรใช้ทิชชู่สะอาดดีกว่าใช้ผ้า เช็ดหน้าเพราะดูแลการติดต่อได้ดีกว่า) เสื้อผ้า และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย

การรักษา

การรักษาตาแดงจากติดเชื้อไวรัสเนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาอะไรที่ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรงยาที่ใช้หยอดตาส่วนมาก คือใช้ยาหยอดปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและอาจใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาลดอาการระคายเคือง รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา เคืองตา

การใช้ผ้าชุบน้ำเย็น(รักษาความสะอาดทั้งผ้าและน้ำเสมอ) ประคบ จะช่วยให้อาการระ คายเคืองตาน้อยลงผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บตาเคืองตามาก แพทย์อาจสั่งยาหยอดตาประเภทมียาสเตียรอยด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะให้ชั่วคราว(อย่าซื้อยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะยามีผลข้างเคียงสูง เช่นเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียในลูกตาและโรคต้อหิน เมื่อใช้ไม่ถูกต้อง)

ถ้ามีขี้ตา ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด ใส่แว่นกันแดด เพื่อลดอาการเคืองแสง ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ พักผ่อนให้เต็มที่แม้จะไม่มีข้อห้ามในการใช้สายตาระหว่างที่เป็นตาแดงแต่การใช้สายตามากๆทำให้เคืองตา น้ำตาไหลมากขึ้น จึงควรลดการใช้สายตาลงบ้างหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ร่วมกับผู้อื่น

โดยทั่วไปโรคตาแดงจากติดเชื้อไวรัสจะหายได้เองใน1-2 สัปดาห์โดยที่สายตาจะกลับ มาปกติเหมือนเดิม


สรุป

สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็น การป้องกันโรคตาแดง

1. ไม่ใช้มือสัมผัสตา

2. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกันเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง

3. ไม่สัมผัสมือหรือตาผู้ป่วย

4. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งที่เผลอถูกตารวมทั้งก่อนและหลังหยอดตา

สำหรับ ผู้ที่เป็นโรคตาแดงแล้วสิ่งที่ควรปฏิบัติ ( การดูแลตนเอง และ การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ)

1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสน้ำตาขี้ตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดยา

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ

- ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น

4. ใช้กระดาษ หรือสำลีเช็ดขี้ตา แล้วทิ้งในถังขยะที่มิดชิด ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าเพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

5. เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน

6. หากเป็นโรคตาแดงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 3 วันเพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น

7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นเป็นเวลา 7วันหลังมีอาการเพื่อลดการแพร่เชื้อ

8. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

- เมื่อเป็นตาแดง ควรพบแพทย์เสมอ (เมื่อไม่มีจักษุแพทย์พบแพทย์ทั่วไปก่อนก็ได้)

- ควรรีบพบแพทย์ เมื่อ การมองเห็นผิดปกติ ตามัวเห็นภาพไม่ชัด มีขี้ตามากขี้ตาข้นมากเป็นหนอง มีไข้ หรือ เคืองตามาก

 โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis)   ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต  วว. จักษุวิทยา
https://haamor.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA/

การป้องกันและดูแลโรคตาแดง
https://www.dpc6pr.com/index.php?show=news&file=detail&id=646

โรคตาแดง วิธีรักษาโรคตาแดง
https://health.kapook.com/view4052.html

โรคตาแดง
https://www.chulalongkornhospital.go.th/chulahospital/index.php?option=com_content&task=view&id=42









.......................


ใครๆ ก็เคยตาแดงกันทั้งนั้น จำเป็นต้องรีบไปพบหมอหรือไม่? หรือนัยหนึ่งตาแดงเป็นโรคอันตรายหรือไม่? ควรรีบพบหมอในกรณีใดบ้าง?

"ตาแดง" ( Red eye )

โดย ศ.พญ.สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต

ตาแดงเป็นอาการที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบจักษุแพทย์ เกิดจากหลายสาเหตุ พบตาแดงได้ในหลายๆ โรคตา มีทั้งตาแดงที่อาจหายได้เอง หรือรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก ตลอดจนเป็นโรคตาที่ร้ายแรง หากรักษาไม่ทันหรือไม่ถูกต้อง ทำให้ตาบอดได้ เป็นภาวะตาแดงที่ต้องพบหมอทันที
ตาแดงไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการแสดงที่ออกมาในลักษณะที่เห็นคือ ตาขาว (sclera) ที่คลุมด้วยเยื่อบุตา (conjunctiva) บางๆ มีสีแดงกว่าปกติที่เคยหรือแดงมากกว่าคนอื่น หรือแดงมากกว่าตาอีกข้าง เกิดจากหลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ปัจจุบันที่นำมาใช้กันที่เรียกกันว่า “ โรคตาแดง ” นั้น หมายถึง เยื่อบุตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากเชื้อไวรัสที่มักจะมีการระบาดเป็นช่วงๆ ด้วยเหตุที่เป็นกันในคนหมู่มาก พบได้บ่อยจนเรียกกันติดปากว่า โรคตาแดง ในความเป็นจริงนั้น ตาแดงเป็นอาการแสดงที่พบได้ในหลายสภาวะ หลายโรค

ตาแดงที่เกิดจากสภาวะหรือโรคตาที่ไม่รุนแรงที่พบบ่อย ได้แก่


1. เลือดออกใต้เยื่อบุตา (subconjunctival haemorrhage) มักจะแดงเป็นปื้นใหญ่ๆ หรือเป็นหย่อมๆ ซึ่งสังเกตได้ง่ายว่าเป็นเลือด มีมากน้อยได้ มักเกิดจากอุบัติเหตุ ถูกกระแทกบริเวณเบ้าตา เปลือกตามักจะเขียวช้ำ แดงมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดหลอดเลือด เยื่อบุตาที่ฉีกขาด ภาวะนี้มักจะไม่มีอันตราย เลือดจะค่อยๆ แห้ง หายไปได้เอง แต่ควรตรวจตาว่ามีรอยช้ำหรือฉีกขาดของดวงตา เบ้าตา หรือไม่เสมอที่มีอันตรายมากกว่า ลำพังเลือดที่ออกไม่มีอันตราย ในบางรายการมีเลือดออกนี้อาจไม่มีประวัติอุบัติเหตุชัดเจน เพียง ไอ จาม กลั้นหายใจ เบ่ง ขยี้ตาก็อาจทำให้เกิดได้

2. เยื่อบุตาอักเสบ เป็นได้ทั้งติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและภูมิแพ้ พบได้บ่อยและมีการระบาดเป็นพักๆ ในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนมากไม่รุนแรง รักษาได้ไม่ยาก ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรียจากเชื้อหนองใน (gonorrhea) ซึ่งปัจจุบันพบน้อยลงมาก

3. เยื่อบุตาแดงจากมีการอักเสบรอบข้าง เช่น เปลือกตาอักเสบ กุ้งยิง ถุงน้ำตาอักเสบ ตลอดจน ต้อลม ต้อเนื้อ

4. ตาแห้ง ฟิล์มน้ำตาผิดปกติ ทำให้ผิวตาแห้ง เยื่อบุตาแดงได้

5. ตาแดง จากการหยอดยาบางชนิด เช่น ยาชาหยอดตา ยาขยายม่านตา ยารักษาต้อหิน กลุ่มนี้มักจะหายได้เอง เป็นต้น




ตาแดงที่เป็นอาการแสดงของโรคตาที่ร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ตามัว ตาบอดที่พบบ่อย ได้แก่

1. การอักเสบ ตลอดจนมีแผลเปื่อย (ulcer) ที่กระจกตา (corneal ulcer) เกิดได้จากการติดเชื้อทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ในภาวะต่างๆ เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ ผงเข้าตา ใบไม้ กิ่งไม้บาดตา เป็นต้น การอักเสบของกระจกตา หากรักษาไม่ถูกต้องทำให้ตาบอดได้

2. ม่านตาอักเสบ ม่านตาเป็นส่วนสำคัญ หล่อเลี้ยงลูกตาภายใน อาจมีการอักเสบจากหลายสาเหตุ ซึ่งหากเพิกเฉย มีการอักเสบซ้ำๆ มักลงเอยด้วยต้อหิน ต้อกระจก ทำให้ตาบอดในที่สุด

3. ต้อหินเฉียบพลัน เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นตาแดงจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นชนิดรุนแรงหรือไม่รุนแรง มีข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้

1. มีประวัติ บุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ตัวเป็นก่อน น่าจะเป็นตาแดงจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่รุนแรงนัก ติดต่อกันได้ง่าย อาจปรึกษาหมอเพื่อยืนยันและแนะนำการปฏิบัติตนที่เหมาะสม

2. นอกจากตาแดงแล้ว มีอาการแพ้แสง (photophobia) ตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว ปวดตา ควรปรึกษาหมอทันที น่าจะเป็นจากโรคภายในดวงตาที่ร้ายแรง

3. ตาแดงเรื่อๆ แดงไม่มาก แดงมากบริเวณรอบๆ ตาดำ ไกลออกไปแดงน้อยลง เข้าลักษณะที่เรียกว่า ciliary injection *** บ่งถึงมีการอักเสบภายในที่รุนแรง ควรรีบปรึกษาหมอ

4. ตาแดงเข้ม แดงมากบริเวณร่อง (fornix) ซึ่งเป็นบริเวณที่เยื่อบุตา ที่บุใต้เปลือกตาพับลงมาทาบกับตาขาว และเมื่อใกล้ตาดำแดงน้อยลง เข้าลักษณะที่เรียก conjunctival injection เป็นลักษณะที่ไม่รุนแรง

5. ตาแดงที่ไม่มีขี้ตาเลย แต่เจ็บเคืองตามาก มักจะเป็นตาแดงจากโรคที่อันตราย ในทางตรงข้าม ตาแดง ที่มีขี้ตามักเป็นเพียงเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งส่วนมากไม่ค่อยมีอันตราย ยกเว้น กระจกตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ก็จะอันตรายแต่มีขี้ตาเยอะได้เช่นกัน

credit รูปจาก usercontent2.hubstatic.com, s-media-cache-ak0.pinimg.com

................................







Create Date : 16 กันยายน 2557
Last Update : 12 ตุลาคม 2560 0:53:45 น.
Counter : 15150 Pageviews.

2 comments
  
ขออนุญาติแชร์ข้อมูลทาง Facebook นะคะ
โดย: ืnarusaru (narusaru ) วันที่: 16 กันยายน 2557 เวลา:15:00:34 น.
  
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76

ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75

ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103


โดย: หมอหมู วันที่: 29 มกราคม 2559 เวลา:21:45:17 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด