เด็กจมน้ำ .. ตะโกน โยน ยื่น - คู่มือการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด




ข้อมูลข่าวสาร เอกสารเผยแผ่ เกี่ยวกับ การป้องกันการจมน้ำในเด็ก สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
https://www.thaincd.com/2016/mission4?tid=37

ปิดเทอมฤดูร้อน 75 วัน พบเด็กจมน้ำเสียชีวิต 127 คน
(วันที่ 1 มีนาคม – 14 พฤษภาคม 2560)
https://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12640&gid=1-015-009

ริมปิง บ้านเรา ..ป้องกัน อุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.461096180680581.1073741852.146082892181913&type=3






“ 5 มีนาคม ร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ”
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1243133159033647&set=pcb.1243133419033621&type=3

วันนี้ (3 มีนาคม 2559) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานแถลงข่าวรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ “ปิดล็อค...เด็กจมน้ำตายต้องเท่ากับศูนย์” พร้อมเปิดกิจกรรมรณรงค์และเยี่ยมชมจุดสาธิตมาตรการการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ
จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,219 คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์
สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออก ถึง 14 เท่าตัว
จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549-2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากจมน้ำ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 – 2558) กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อย ได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือแม้แต่สระว่ายน้ำภายในบ้านของตนเอง ซึ่งพบว่าเด็กเล็กมักจะจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเล็กน้อยประมาณ 1-2 นิ้วเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากผู้ดูแลเด็กทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เข้าห้องน้ำ ทำกับข้าว คุยโทรศัพท์ เปิด-ปิดประตูบ้าน เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ประกอบกับขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในบ้าน ซึ่งไม่คิดว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจะเป็นอันตรายเพราะมีระดับน้ำเพียงเล็กน้อย โดยกลุ่มเด็กเล็ก มักเดินตามเป็ดหรือสุนัข และพลัดตกลงไปในน้ำในบ่อน้ำ รอบๆบ้านได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก จากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) เป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงสุด ในบางปีมีจำนวนสูงเกือบ 400 คน ส่วนเดือนที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดคือเมษายน เฉลี่ย 134 คน โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนในปี 2558 ที่ผ่านมา มีข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 250 คน จึงขอให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้ความระมัดระวังและร่วมมือกันป้องกันไม่ ให้เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
การจมน้ำเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เด็กไทยจึงไม่ควรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 “เด็กจมน้ำเสียชีวิตต้องเท่ากับศูนย์” โดยได้กำหนดกลยุทธ์ “ทีมผู้ก่อการดี” ดำเนินงานแบบสหสาขา ครอบคลุมทุกมาตรการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัว และร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กไทย ไม่เฉพาะช่วงปิดเทอม แต่ต้องดำเนินงานตลอดทั้งปี โดยปีที่ผ่านมามีทีมผู้ก่อการดีทั้งสิ้น 335 ทีม

สำหรับมาตรการป้อง**การป้องกัน**เน้นใน 2 กลุ่มสำคัญ ได้แก่
1.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 5 ปี) คือ “เทน้ำ กั้นคอก ปิดฝา เฝ้าดูตลอดเวลา” ดังนี้
เทน้ำ ทิ้งหลังใช้งาน ฝัง/กลบหลุมหรือร่องน้ำที่ไม่ได้ใช้งาน
กั้นคอก จัดให้มีสถานที่เล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กซึ่งห่างไกลจากแหล่งน้ำ โดยมีลักษณะแบบคอกกั้นเด็ก มีรั้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ในทุกครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีควรใช้คอกกั้นเด็ก เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันเด็กเล็กจมน้ำแล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ เช่น รถทับ ไฟฟ้าช็อต พลัดตกหกล้ม โดยเฉพาะเมื่อผู้ปกครองทำกิจกรรมอื่นๆชั่วคราว ซึ่งคอกกั้นเด็กสามารถทำได้เองง่าย เช่น ไม้ไผ่ ท่อพีวีซี เป็นต้น
ปิดฝา ภาชนะใส่น้ำ กะละมัง โอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ
เฝ้าดูตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ ที่สำคัญเปลี่ยนความคิดว่าคอกกั้นเด็กคือที่ขังเด็ก เพราะเราไม่ได้นำเด็กไว้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เราติดภารกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเสี้ยวนาทีชีวิตของลูกหลาน

2.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี) คือ“ลอยตัว ชูชีพ ช่วยเหลือ ปฐมพยาบาล” ดังนี้
ลอยตัว สอนให้เด็กรู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำเมื่อตกน้ำ โดยการลอยตัวเปล่าหรือลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ช่วย,
ชูชีพ สอนให้ประชาชนและเด็กรู้จักกฎความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ไม่แกล้งจมน้ำ ไม่ดื่มสุรา รวมถึงการใช้ชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ,
ช่วยเหลือ สอนให้เด็กรู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยการ “ตะโกน โยน ยื่น” (ตะโกน : เรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย และโทร 1669, โยน : อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติก ห่วงชูชีพ อุปกรณ์ที่ผูกเชือก, ยื่น : ไม้ เสื้อ กางเกง เข็มขัด เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ),
ปฐมพยาบาล สอนและฝึกปฏิบัติให้ประชาชนและเด็กรู้วิธีการปฐมพยาบาลคนจมน้ำที่ถูกต้อง โดยห้ามจับเด็กอุ้มพาดบ่า แล้วกระแทกเพื่อเอาน้ำออก

จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้เสื้อชูชีพของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มอายุใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 15.7 ซึ่งมีการใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 4.2 ส่วนเด็กมีการใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 18.0 ซึ่งใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 6.0 ผลการสำรวจพบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชูชีพ นั่นคือ ชูชีพที่ทุกคนเข้าใจเห็นทั่วไปตามเรือคือ เสื้อพยุงตัว ซึ่งออกแบบมาให้ใส่สบาย และเคลื่อนไหวได้คล่องตัว แต่จะไม่ช่วยพลิกตัวผู้สวมใส่ให้หน้าหงายขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้นเวลาใช้จึงต้องตีขาช่วย และหากคนที่ใส่ หมดสติ ก็จมน้ำเสียชีวิตได้ ส่วนเสื้อชูชีพจะถูกออกแบบให้พลิกตัวผู้ประสบภัยให้หงายหน้าขึ้นเหนือน้ำ ทำให้คนที่หมดสติไม่จมน้ำ แต่จะเทอะทะ และทำให้เคลื่อนไหวลำบาก

ในโอกาสวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในปี 2559 นี้ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม 2559 (วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคม) กรมควบคุมโรค จัดทำเพลงเพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก โดยเน้นสอนให้เด็กกลุ่มนี้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เช่นถังน้ำ อ่างน้ำ ตุ่มน้ำ และสอนเด็กไม่ให้เข้าไป “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม”
อย่าใกล้... เมื่อเจอแหล่งน้ำ อย่าเข้าใกล้ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงในน้ำ
อย่าเก็บ...เมื่อเห็นสิ่งของตกลงไปในน้ำ อย่าเก็บเองต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเก็บให้
อย่าก้ม... อย่าก้มหรือชะโงก ลงไปในโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังน้ำ เพราะอาจหัวทิ่มลงไปในภาชนะ
และจัดประกวดคลิปวีดิโอเต้นประกอบเพลงสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซด์สำนักโรคไม่ติดต่อ https://www.thaincd.com หรือ https://www.facebook.com/thaincd และสามารถส่งคลิปเข้าร่วมประกวด ตั้งแต่วันนี้จนถึง 29 เมษายน 2559 สอบถามโทร 0 2590 3967, 0 2951 0402
*******************************************************
ข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค วันที่ 3 มีนาคม 2559
เผยแพร่ : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
https://www.dpc6pr.com




 

“เด็กจมน้ำ” ภัยใกล้ตัว ช่วงปิดเทอม
---------------
พบข้อมูลสำคัญ ยันจำนวนเด็กจมน้ำ เพิ่มสูง “เด็กจมน้ำ” สถิติตายสูงสุดในช่วงปิดเทอม (มีค.-พค.)
คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนการเสียชีวิตของทั้งปี หาก“ว่ายน้ำเป็น” โอกาสรอดถึง 4 เท่า

เด็กอายุ 1-5 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 95.7 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 2.7 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 1.6
เด็กอายุ 6-9 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 75.2 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 9.5 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 15.4
เด็กอายุ 6-9 ปี ว่ายน้ำไม่เป็น ร้อยละ 46.6 ว่ายน้ำพอได้แต่ต้องมีคนช่วย ร้อยละ 8.5 ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 44.9
---------------
ข้อมูลจาก : รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552
ที่มา : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) https://goo.gl/FeS0VG
ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2976


"""""""""""""""""""""""""""""""""""





💦"ปิดเทอม" "สงกรานต์" เล่นน้ำ...ปลอดภัย💦
เล่นน้ำ พกขวดไปด้วย ช่วยได้
(* ขวดน้ำ/แกลลอนพลาสติกเปล่าใช้สะพายแล่ง หากหมดแรงให้นำมากอด แนบหน้าอกและลอยตัว..รอการช่วยเหลือ)
https://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13484&gid=1-015-009


ที่มา https://www.facebook.com/thaincd/photos/a.150996435004008/1700370453399924/?type=3&theater

 

การป้องกันเด็กจมน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม ซึ่งมักจะมีข่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า15 ปี จมน้ำเป็นเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1

มาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือตะโกน โยน ยื่นได้แก่

1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นมาช่วย และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ1669

2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัวเช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น

3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยเพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คนเนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง


การช่วยเหลือ ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น สำหรับประชาชนทั่วไป ... จาก เฟสผู้พลาดพลั้งแห่งวันศุกร์   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

โรคหน้าร้อน โรคลมแดด    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-04-2015&group=4&gblog=107

.........................

 

รู้ไว้เลย คนกำลังจมน้ำไม่เหมือนในหนังในละคร

https://likedee.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2-%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/

หลายๆคนคงคิดใช่มั้ยครับ ว่าถ้าหากคนกำลังจมน้ำเขาคงตะเกียกตะกายฟาดแขนสะบัดขาให้น้ำกระจาย โบกมือขอความช่วยเหลือตะโกนเรียกคนแถวนั้น และแน่นอนว่าในภาพยนตร์หรือละครก็เป็นแบบนี้เช่นกัน

ประเด็นคือมันนำมาซึ่งปัญหาได้เพราะคนอาจมองข้ามวินาทีสำคัญไป

 แน่นอนว่าเมื่อคนรู้ตัวว่าว่ายน้ำไม่เป็นหรือเป็นตะคริว สิ่งแรกที่เขาทำหลังจากรู้ตัวว่า “กำลัง” จะจมน้ำ ก็อาจจะเป็นการตะเกียกตะกายที่ยังคงเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการจมน้ำกลับกลายเป็นอีกแบบโดยสิ้นเชิง

 อาการของคนจมน้ำถูกแสดงออกมาในรูปแบบที่เรียกว่า การตอบสนองต่อการจมน้ำโดยสัญชาตญาณ (InstinctiveDrowning Response) ซึ่งถูกอธิบายโดย Dr. Francesco A. Pia

 อาการดังกล่าวคือการที่ผู้จมน้ำจะพยายามเอาปากและจมูกขึ้นฮุบอากาศเหนือน้ำในลักษณะขึ้นๆลงๆทำให้อากาศที่ได้น้อยลงๆเรื่อยๆและไม่พอ จนท้ายที่สุดความต้องการอากาศจะอยู่เหนือความต้องการร้องขอความช่วยเหลือหรือตะโกนโวยวายเพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาทำก็คือการเอาหัวขึ้นฮุบอากาศเท่านั้นไม่ใช่การตะโกนขอความช่วยเหลือใดๆ

 นอกจากนี้คนที่กำลังจมน้ำอาจไม่โบกมือตะเกียกตะกายด้วย แขนทั้งสองข้างของเขาจะพยายาม “ดึง”ตัวเองขึ้นจากน้ำโดยเอามือพยายามคว้าน้ำแล้วดึงตัวเองขึ้นในลักษณะคล้ายการปีนบันไดลิงซึ่งอาการนี้จะทำโดยสัญชาตญาณของร่างกายและผู้ที่จมน้ำมักไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังทำอะไร และในรายที่ร้ายแรงขาของเขาอาจจะปล่อยนิ่ง ไม่มีการถีบตัวขึ้นเลยสักนิดด้วย

 และอาการ “ดึง” น้ำนี้มักจะเป็นอาการที่คร่าชีวิตของคนที่ลงไปช่วยคนจมน้ำด้วยเนื่องจากผู้จมน้ำจะดึงทุกอย่างโดยสัญชาตญาณและดึงแม้กระทั่งคนที่ช่วยลงมาใต้น้ำ

 ซึ่งเมื่อมองอาการนี้โดยภาพรวมแล้วอาจเหมือนเป็นเพียงแค่คนที่กำลังเล่นน้ำทำหัวผลุบโผล่เท่านั้นทั้งๆที่จริงๆแล้วอีกแค่20-60วินาทีหลังจากนั้นเขาก็จะจมหายลงไปใต้น้ำแล้ว

วิธีที่ดีที่สุดที่จะเช็คว่าคนๆนั้นจมน้ำหรือไม่ก็คือการเดินเข้าไปถามเลยครับ ว่าโอเครึเปล่า? ถ้าเขาเล่นอยู่ที่ผิวน้ำจริงๆแน่นอนว่าเขาก็ต้องตอบมาว่าไม่ได้เป็นอะไร หรือโผล่หน้าขึ้นมามองงงๆแต่ถ้าหากเขาทำท่านิ่งต่อไป และดูแทบจะไม่เห็นเราที่เข้าไปถามด้วยซ้ำแสดงว่าเขาอาจจะกำลังตกอยู่ในอันตรายก็ได้ครับ

............................

 

 

หนังสือ หลักสูตร+คู่มือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด (Survival Swimming Curriculum) 2552
จัดทำ และเผยแพร่ โดย กระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 หน่วยการเรียนคือ
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge) ใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก
1) แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้าน และในชุมชน
2) สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวน ปรากฏการณ์ Rip Current
3) วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย
4) ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ (การปฏิบัติตามระเบียบการใช้สระว่ายน้ำ และกฎแห่งความปลอดภัยทั่วไป)
5) ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ

หน่วยการเรียนที่ 2 การเอาชีวิตรอดและพื้นฐานการว่ายน้ำ (Swim and Survive) ใช้เวลาเรียน 10 ชั่วโมง
เป็นการสอนให้เด็กมีทักษะ
1) การเอาชีวิตรอดในน้ำ โดยการลอยตัวทั้งการลอยตัวแบบนอนคว่ำ (ท่าปลาดาว ท่าแมงกะพรุน) การลอยตัวแบบนอนหงาย (แม่ชีลอยน้ำ) และการลอยตัวแบบลำตัวตั้ง (การลอยคอ การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ) การทำท่าผีจีน (Kangaroo jump) การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำในน้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ
2) พื้นฐานการว่ายน้ำ ได้แก่การสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ การหายใจในการว่ายน้ำ (Bobbing or Proper Breathing) การเคลื่อนที่ไปในน้ำ การกระโดดพุ่งหลาว และการเตะเท้าคว่ำแล้วพลิกหงายแล้วพลิกคว่ำสลับกัน

หน่วยการเรียนที่ 3 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง
เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ และการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น Kick board ท่อ PVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือ Swimming Noodle

ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ ..
https://www.thaincd.com/drowning/video-view.php?id=432
https://www.mediafire.com/view/1glgek0if4k4w2i/หลักสูตร+คู่มือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด_(Survival_Swimming_Curriculum)_2552.pdf

 

 

..........................


“เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ”
รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 🏊‍♂️🏊‍♀️

อ่านต่อที่... https://bit.ly/2T0bDsp
สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ”

21 กุมภาพันธ์ 2563
108 View

กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” หวังเด็กไทยมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อตกน้ำ ช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างถูกต้อง และมีพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยแก่เด็กแต่ละวัย พร้อมจัดการแข่งขันการโยนเชือกช่วยคนตกน้ำครั้งแรกของประเทศไทย

วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2562) ที่สระว่ายน้ำองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรีดร.นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยพันตำรวจเอกธงชัย เย็นประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ ผศ.ดร.อิทธิกร ขำเดช นายกสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ ร่วมแถลงข่าวกิจกรรมวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” หรือ “Safety Zone...Safety Skills” Stop Drowning !!

ดร.นายแพทย์ปรีชา กล่าวว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมากกว่าการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ โดย 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2553-2562) เด็กไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำไปแล้ว 8,394 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 839 ราย หรือวันละ 2 ราย และล่าสุดในปี 2562 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 550 ราย ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มี.ค.-พ.ค.) เป็นช่วงที่เกิดเหตุจมน้ำสูงสุด ร้อยละ 36.2 ของการจมน้ำเสียชีวิตทั้งปี ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เพราะตั้งแต่เด็กตกลงไปในน้ำจนจมอยู่ใต้น้ำจะใช้เวลาเพียง 4 นาที ก็ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ และพบว่าการจมน้ำของเด็ก โดยเฉพาะอายุ 5-14 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำ และเมื่อเพื่อนคนหนึ่งตกน้ำ เพื่อนคนที่ว่ายน้ำเป็น มักจะกระโดดลงน้ำไปช่วย ทำให้บ่อยครั้ง มักพบเด็กจมน้ำพร้อมกันครั้งละหลายๆ คน

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ดำเนินงานป้องกันการจมน้ำมาอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่ปลายปี 2549) ทำให้จำนวนการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กค่อยๆ ลดลงอย่างชัดเจน จากเดิมเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 1,500 คน ปัจจุบันในปี 2562 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 550 คน (ลดลงถึงร้อยละ 63.3) ซึ่งที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และจิตอาสา ดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในมาตรการต่างๆ ทั้งกลยุทธ์ผู้ก่อการดี (MERIT MAKER) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในสถานบริการสาธารณสุข การจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้เกิดความปลอดภัย การสอนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด การรณรงค์และสื่อสารประชาสัมพันธ์ การผลักดันให้เกิดกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น

ดร.นายแพทย์ปรีชา กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยในปี 2563 นี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม และได้กำหนดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้แนวคิด “เอาชีวิตรอดได้ ช่วยเป็น พื้นที่เล่นปลอดภัย เด็กไม่จมน้ำ” ดังนี้ 1.เอาชีวิตรอดได้ คือเมื่อตกน้ำ อย่าตกใจ ตั้งสติ ลอยตัวเปล่าหรือลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้เพื่อรอคนมาช่วย 2.ช่วยเป็น คือช่วยให้ถูกวิธี ไม่กระโดดลงไปช่วย แต่ให้ช่วยด้วยวิธีที่ปลอดภัยคือ “ตะโกน โยน ยื่น” และ 3.พื้นที่เล่นปลอดภัย คือครอบครัว ชุมชน และผู้ประกอบการ ร่วมกันจัดพื้นที่เล่นและพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยให้แก่เด็กแต่ละวัย ทั้งนี้ ในปีนี้กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จัดกิจกรรมแข่งขันการโยนเชือกช่วยคนตกน้ำครั้งแรกของประเทศไทย ชิงถ้วยรางวัลจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเงินรางวัลรวม 20,000 บาท โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 76 ทีมจากจังหวัดต่างๆ แบ่งเป็นประเภทอายุ 6-9 ปี จำนวน 32 ทีม และประเภทอายุ 10-14 ปี จำนวน 44 ทีม

ด้านพันตำรวจเอกธงชัย กล่าวว่าปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 1.8 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของทุกกลุ่มอายุ โดยจังหวัดนนทบุรีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558-2562) ถึง 29 ราย เฉลี่ยปีละเกือบ 6 ราย โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนปีที่แล้ว มีเด็กวัยเรียนจมน้ำเสียชีวิตถึง 3 ราย (อายุ 6, 11, 12 ปี) อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีนโยบายสำคัญที่จะดำเนินการให้มีความครอบคลุมในเรื่องดังกล่าว โดยจะให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ โดยเด็กวัยเรียนทุกคนจะต้องมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อตกน้ำ และเมื่อเห็นคนตกน้ำสามารถช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง โดยไม่กระโดดลงไปช่วยเพราะอาจถูกกอดรัดจนจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันได้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหน่วยงานภาคท้องถิ่นทุกแห่งให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และสามารถสนับสนุนการดำเนินงานได้ ทั้งการพัฒนาครูผู้สอน การให้เด็กเข้าถึงสระ การจัดพื้นที่เล่นของเด็กให้มีความปลอดภัย และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองและที่เราขุดขึ้นมาสำหรับกักเก็บน้ำ ให้มีความปลอดภัย

ส่วน ผศ.ดร.อิทธิกร กล่าวว่า การโยนเชือกช่วยคนตกน้ำ เป็นการแข่งขันที่มีการแข่งขันกันในระดับสากล มีกติกาประกอบด้วย ผู้เข้าแข่งขัน 2 คน หนึ่งคนเป็นผู้โยนเชือกช่วย และอีกหนึ่งคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่ในน้ำ ระยะทางในการแข่งขันคือ 12.5 เมตร ซึ่งมีรายละเอียดของกติกาค่อนข้างมาก และในการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันของเด็กอายุ 6-14 ปี จึงใช้ระยะทางเพียง 10 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ให้เด็กรู้วิธีการช่วยคนตกน้ำที่ถูกต้อง โดยไม่กระโดดลงไปช่วย ซึ่งเป็นการแข่งขันของเด็กและเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ดังนั้นกติกาบางข้ออาจจะมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งอาจไม่เข้มข้นมากเท่ากับการแข่งขันในระดับโลกอย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคมด้านความปลอดภัยทางน้ำระดับโลก มีแผนที่จะจัดการแข่งขันโยนเชือกช่วยคนตกน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ตามกติกาการแข่งขันระดับสากล และเพื่อคัดเลือกนักกีฬาสำหรับส่งเข้าแข่งขันในระดับโลก ต่อไป

*********** ข้อมูลจาก:กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค/วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563


***********************************************************








Create Date : 26 เมษายน 2558
Last Update : 2 มีนาคม 2565 14:30:28 น.
Counter : 15347 Pageviews.

2 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
Day..11 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(18 มิ.ย. 2568 10:11:49 น.)
Note: 40 Mins (250 Cals) peaceplay
(14 มิ.ย. 2568 03:58:30 น.)
  
หลักการป้องกันมิให้ได้รับอันตรายจากการจมน้ำ
____________________________________________________________________

1. การป้องกันการจมน้ำเวลาเล่นน้ำ

1) ไม่ควรเล่นน้ำภายหลังกินอาหารมานานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง
2) ไม่ควรเล่นน้ำเมื่อรู้สึกมึนเมา แม้แต่จะมีอาการเพียงเล็กน้อย
(ในประเทศอังกฤษพบว่าคนจมน้ำ 51 คนจากทั้งหมด 771 คนมีสาเหตุมาจากการดื่มเหล้า)
3) ไม่ควรเล่นน้ำตามลำพังหรือดำน้ำลึกๆ ในที่หรือฝั่งน้ำซึ่งไม่คุ้นกัน
4) ถึงแม้จะว่ายน้ำได้ ก็ไม่ควรไปเล่นน้ำในที่ลึกๆ ถ้าร่างกายไม่สมบูรณ์หรือเป็นตะคริวง่าย
5) ควรจะว่ายน้ำ ขนานไปกับฝั่ง ปลอดภัยดีกว่าว่ายออกจากฝั่ง ขณะที่ว่ายขนานไปกับฝั่งควรดูฝั่งเป็นครั้งคราว เพราะผู้ว่ายน้ำอาจถูกกระแสน้ำพัดออกนอกฝั่งได้
6) ถ้าจะว่ายน้ำออกจากฝั่ง ควรมีเพื่อนร่วมไปด้วยและดีที่สุดคือมีเรือตามไปด้วย
7) ถ้าจะว่ายข้ามแม่น้ำหรือว่ายไปยังเรือที่จอด ให้ระมัดระวังให้มากเพราะเรือที่จอดหรือฝั่งตรงข้ามจะอยู่ไกลกว่าที่คิดหรือที่มองเห็นโดยเฉพาะในน้ำที่ค่อนข้างเย็น ผู้ว่ายจะเหนื่อยง่ายขึ้น


2. การป้องกันการจมน้ำภายหลังตกน้ำ

ควรจะว่ายน้ำให้เป็น โดยเฉพาะรู้จักใช้วิธีลอยตัวในน้ำโดยไม่ต้องออกกำลัง ถึงแม้ว่าจะว่ายน้ำเป็นหรือไม่ก็ตาม โดยยึดหลักที่ว่าสัตว์ส่วนใหญ่ จะสามารถลอยน้ำได้ ถ้าในปอดมีอากาศ (ประมาณ 10% ของสัตว์จะจมน้ำจืด และเพียง 2% ที่จะจมน้ำทะเล)
การลอยตัวเป็นเฉย ๆ ก็ไม่ช่วยในการหายใจ ควรจะเรียนรู้การลอยตัวในท่าชูคอขึ้น และรู้จักจังหวะหายใจ เมื่อจมูกและปากอยู่เหนือพื้นน้ำ มีเทคนิคง่ายๆ ซึ่งใครก็สามารถทำได้ คือเมื่อรู้สึกว่าจะจมน้ำ พร้อมกับที่ขาเริ่มหมดแรงและไขว่กัน ควรพยายามงอเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้แนบอก และยกมือทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ เมื่อศีรษะลอยสูงขึ้น ก็สามารถหายใจผ่านทางจมูกได้ ต่อจากนั้นเอามือลงและถีบเท้าทั้งสองข้าง ปากก็จะพ้นน้ำ ทำให้หายใจเข้าทางปากได้อีกด้วย


3. การป้องกันเมื่อเรือแตก

ในปัจจุบันการเดินทางโดยเรือสมัยใหม่ถือว่าปลอดภัยที่สุด แต่ในประเทศเราอาจไม่แน่ เมื่อเกิดเรือแตก มีหลักคือ ก่อนที่จะทิ้งเรือใหญ่ลงไปในเรือเล็กหรือลงในน้ำควรจะดื่มน้ำจำนวนมากใส่เสื้อที่มีความอบอุ่นพอควร ซึ่งจะช่วยป้องกันความหนาวเย็น ทั้งบนเรือเล็กหรือในน้ำ เนื่องจากเสื้อผ้าจะเป็นเกราะป้องกันขณะที่อยู่ในน้ำนิ่งและยังช่วยไม่ให้น้ำไหลพาเอาความร้อนออกจากร่างกาย การสูญเสียความร้อนของร่างกายเป็นสาเหตุอันหนึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ระยะเวลาที่เริ่มอยู่ในน้ำจนถึงจะจมน้ำตาย ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำโดยตรง ถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 4.4 องศาเซลเซียส คนอยู่ในน้ำจะตายภายในครึ่งชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิของน้ำอยู่ระหว่าง 4.4-10 องศาเซลเซียส คนอยู่ในน้ำอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 2 ชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิของน้ำประมาณ21 องศาเซลเซียส (70 องศาฟาเรนไฮท์) คนอยู่ในน้ำอาจมีชีวิตรอดได้ ถ้ารู้จักวิธีลอยตัว


4 การป้องกันเมื่ออยู่ในเรือเล็ก

ควรจะรู้จักวิธีใช้เสื้อชูชีพ ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นสีแดงหรือสีเหลือง แบบของเสื้อชูชีพมีได้ต่างๆ กัน แต่ควรจะทำให้เป็นแบบที่แขนทั้งสองข้างสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในที่ซึ่งมีอากาศร้อน ผู้ใหญ่อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ใส่เสื้อชูชีพ แต่ควรจะวางไว้ใกล้ตัวและเมื่อมีคลื่นหรือการโคลงเคลงของเรือก็ควรจะใส่ทันที แต่สำหรับเด็กควรจะใส่เสื้อชูชีพอยู่ตลอดเวลา เพราะเด็กอาจพลัดตกไปจากแคมเรือเมื่อไรก็ได้ผู้ที่อยู่ในเรือเล็กหรือเรือช่วยชีวิตจากเรือแตก ควรจะนั่งนิ่งเป็นการออมกำลังไว้จนกว่าจะเห็นฝั่งหรือพบเรือที่จะมาช่วย

โดย: หมอหมู วันที่: 28 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:47:19 น.
  
ดีจ้าาา แวะมาทักทาย
โดย: teawpretty วันที่: 24 มิถุนายน 2568 เวลา:14:38:36 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด