โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด
นำมาฝากจากเวบ ไทยคลินิก ..



โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด


ทันเหตุการณ์กับแพทยสภา ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2551
//www.naewna.com/news.asp?ID=108123


โรคหลอดเลือดสมองที่ก่อปัญหาต่อร่างกายเกิดได้ 2 ประการคือ ประการแรกเกิดภาวะหลอดเลือดแตกทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ประการที่สองเกิดภาวะหลอดเลือดตีบทำให้สมองขาดเลือด

โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดแตก ซึ่งมีกลุ่มโรค 3 กลุ่มได้แก่

1.โรคหลอดเลือดแตกจากความดันโลหิตสูง(hypertensive hemorrhage) เกิดจากความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงขนาดเล็กในเนื้อสมองส่วนลึกเปราะบา งและแตกออก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือตำแหน่งเบซัลแกงเกลียน(basal ganglion) ซึ่งจะมีทางเดินของใยประสาทที่นำคำสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาด้านต รงข้ามผ่าน เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดแตกจะมีอาการเฉียบพลันของอาการปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หมดสติ อาการรุนแรงมาน้อยขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อนเลือด การผ่าตัดในกลุ่มนี้จะมีความจำเป็นในกรณีที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่ทำให้มีการก ดเบียดต่อก้านสมอง หรือมีความดันภายในโพรงกะโหลกขึ้นสูง หากไม่มีภาวะดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดเพียงเพื่อเอาก้อนเลือดออกเท่านั้น กรณีก้อนเลือดที่ไม่ต้องผ่าตัดสามารถสลายตัวเองได้ การรักษาต่อไปคือการให้ยาควบคุมความดันโลหิต การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกำลังของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค

2. โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดแดงสมองโป่งพอง(ruptured aneurysm) เกิดจากมีความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ของสมองมีความไม่สมบู รณ์ในผนังชั้นกลางทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ถึงระยะเวลาหนึ่งคือช่วงที่จะมีการแตก จะโป่งออกเป็นกระเปาะบริเวณยอดของกระเปาะจะบาง และแตกในจุดนี้ ช่วงอายุที่จะเกิดการแตกนี้พบได้ทุกอายุ ที่พบมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงแต่การมีความดันโลหิตสูง

จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ได้ผลการรักษาไม่ดี โรคนี้ยังไม่มีวิธีการตรวจให้รู้ล่วงหน้าได้ แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่ยังมีกลไกของร่างกายที่ช่วยให้เมื่อมีการแตกแล้วสามา รถหยุดตัวเองชั่วคราวได้ นั่นคือการหดตัวของหลอดเลือดและการมีลิ่มเลือดปิดจุดที่แตกไว้ กลไกนี้ขึ้นกับคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ดีของหลอดเลือดแดงของแต่ละคน ซึ่งผู้ที่สูงอายุหรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกลไกนี้จะไม่ดี ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงมีอาการรุนแรงมากกว่าและผลการรักษาได้ผลดีน้อยกว่าผู้ท ี่อายุน้อยและไม่มีความดันโลหิตสูง

หลังจากการแตกครั้งแรกและมีกลไกในการหยุดเลือดออกชั่วคราวแล้ว ภายหลังจากนี้ไม่นานเมื่อลิ่มเลือดละลายตัวจะเกิดการแตกซ้ำซึ่งมักจะรุนแรงก ว่าครั้งแรก และมีโอกาสเสียชีวิตสูง พฤติกรรมของโรคที่เป็นเช่นนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยให้ไ ด้ตั้งแต่การแตกครั้งแรก และทำการแก้ไขจุดที่มีหลอดเลือดโป่งพองนั้นโดยเร็ว การแก้ไขส่วนใหญ่ก็โดยการผ่าตัดเข้าไปหนีบที่โคนของจุดที่มีการโป่งพองนั้น นอกจากในบางตำแหน่งที่อยู่ลึกและการผ่าตัดประเมินแล้วมีความเสี่ยงสูงมากอาจ ใช้วิธีอุดจุดที่แตกนั้นด้วยขดลวดขนาดเล็ก หากแก้ไขได้ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยสามารถที่จะเป็นปกติได้ โดยรวมแล้วมีโอกาสที่จะได้ผลดีมากกว่าร้อยละ50

ส่วนที่ไม่ได้ผลดีนั้นส่วนใหญ่เกิดจาก ตำแหน่ง รูปร่างของหลอดเลือดโป่งพองนั้น ความเสื่อมของหลอดเลือดจากความสูงอายุ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และส่วนหนึ่งคือการวินิจฉัยไม่ได้ในครั้งแรกที่มีการแตกแล้วเกิดแตกซ้ำทั้งน ี้เนื่องจากอาจมีอาการน้อยมาก จนอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆเลย นอกจากอาการที่เป็นตอนแรก ซึ่งจะต้องได้จากคำบอกเล่าของผู้ป่วยหรือญาติ จึงมีความสำคัญที่ทุกคนควรทราบถึงอาการระยะแรกที่ว่านั้นมีอาการนั้นอย่างไร อาการที่สำคัญได้แก่

อาการปวดศีรษะเฉียบพลันชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีหมดสติชั่วครู่ เวลาก้มศีรษะจะรู้สึกตึงก้มได้ไม่เต็มที่ มักมีอาเจียนร่วมด้วย(บางรายอาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางเดินอาหารหรืออาหาร เป็นพิษได้) มักจะเกิดเวลาใกล้สว่าง หรือขณะเข้าห้องน้ำ บางรายอาจมีประวัติว่าล้มในห้องน้ำ และสูญเสียความจำชั่วขณะจึงอาจให้ประวัติที่แท้จริงไม่ได้ และเมื่อรู้ตัวแล้วอาการปวดศีรษะนั้นอาจไม่รุนแรงได้ เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ขั้นแรกจะตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเ ตอร์ของสมอง ต่อไปจึงตรวจหลอดเลือดของสมองทั้งหมด เมื่อพบแล้วจึงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางประสาทศัลยศาสตร์เพื่อแก้ไขดังกล่าวข้างต ้นต่อไป

3.โรคหลอดเลือดแตกจากหลอดเลือดขอดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเ ลือดดำโดยตรง(ruptured arteriovenous malformation) โรคนี้เป็นโรคที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดเช่นกันแต่มีลักษณะที่ต่างกันที่ตำแ หน่งและลักษณะของพยาธิสภาพ โดยความผิดปกติเกิดจากการที่หลอดเลือดของเนื้อสมองส่วนของหลอดเลือดแดงมีการ ต่อกันโดยตรงกับหลอดเลือดดำทำให้หลอดเลือดดำที่ปกติจะรับเลือดดำที่ผ่านเนื้ อเยื่อแล้วทำให้ตัวหลอดเลือดดำนั้นขยายตัวด้วยเลือดแดงเหมือนเป็นเส้นเลือดข อด ความที่ผนังหลอดเลือดดำบางเมื่อรับความดันหลอดเลือดแดงที่สูงจึงแตกได้ แต่การแตกมักรุนแรงน้อยกว่าหลอดเลือดแดงโป่งพองแตก ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเลือดออกในเนื้อสมอง การรักษาหากแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดก็ควรรับการผ่าตัด หากความผิดปกติเป็นบริเวณกว้างและอยู่ในตำแหน่งสำคัญก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจใช้วิธีอุดหลอดเลือดและฉายแสงร่วมด้วย

โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดมีเพียงส่วนน้อยของปัญหาโรคหลอดเลือ ดสมองทั้งหมดแต่ก็มีความสำคัญในการวินิจฉัยให้ได้ เพราะผลการรักษาอาจได้ผลดี หากเป็นโรคที่แก้ไขได้และมีความเสี่ยงที่จะเกิดแตกซ้ำ


นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา




Create Date : 11 พฤษภาคม 2551
Last Update : 11 พฤษภาคม 2551 19:18:26 น.
Counter : 5695 Pageviews.

1 comments
  
รวบรวมบทความเกี่ยวกับเรื่องสมอง ..


โรคเส้นเลือดสมองตีบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-03-2008&group=4&gblog=21


อัมพาตเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-05-2008&group=4&gblog=39


โรคหลอดเลือดสมองที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-05-2008&group=4&gblog=37


การดูแลผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ป้องกันแผลกดทับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2008&group=4&gblog=51


โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-06-2008&group=4&gblog=46


ภาวะสมองตาย : ระยะสุดท้ายของชีวิตที่จะต่อชีวิตผู้อื่นได้

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-07-2008&group=4&gblog=53

โดย: หมอหมู วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:26:08 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด