ไข้ปวดข้อยุงลาย ( ชิคุนกุนยา Chikungunya )

โรคชิคุนกุนยา
จาก สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข

ลักษณะโรค
โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae

มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค

วิธีการติดต่อ
ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว
โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ
ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis)

อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya

ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า

ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน

ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF

ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya

พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า

ระบาดวิทยาของโรค
การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา

ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง)

ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ

ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง

ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย

การรักษา
ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน

การเฝ้าระวังโรค Chikungunya

1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)
1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria)

มีไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้

มีผื่น
ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดกระดูกหรือข้อ
ปวดศีรษะ
ปวดกระบอกตา
มีเลือดออกตามผิวหนัง

1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ
(Laboratory Criteria)
ทั่วไป

Complete Blood Count (CBC)
อาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
เกล็ดเลือดปกติ ซึ่งสามารถแยกจากไข้เดงกีได้
จำเพาะ

ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในน้ำเหลืองคู่ (paired sera) ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition (HI) > 4 เท่า

หรือ ถ้าน้ำเหลืองเดี่ยวนั้น ต้องพบภูมิคุ้มกัน > 1: 1,280 หรือ
ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM โดยวิธี ELISA หรือ
ตรวจพบเชื้อได้จากเลือด โดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อ (culture)

2. ประเภทผู้ป่วย (Case Classification)
2.1 ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึงผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ออกผื่น ปวดข้อ

2.2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
มีผลการตรวจเลือดทั่วไป
มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

2.3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting Criteria)

4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

4.1 สอบสวนเฉพาะราย (Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อ และควบคุมโรค

4.2 สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม (cluster) ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาด และควบคุมโรค

ดำเนินการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคดังนี้

เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้ มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา มีเลือดออกตามผิวหนัง

แนะนำให้ไปรับการรักษาเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ (อาการนำของโรค Chikungunya จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือโรคหัดเยอรมัน

อาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด และไม่ทราบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงต้องสังเกตลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค

ที่จะพบได้ทุกกลุ่มอายุและอาการปวดข้อที่เด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ควรแยกโรคนี้กับโรคไข้ออกผื่นอื่น ๆ เช่น หัดเยอรมัน ซึ่งไม่เป็นทุกกลุ่มอายุ และมักจะระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว)

รายงานผู้ป่วยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทราบ
สอบสวนโรคเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่ม แหล่งติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรค โดย

ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามผู้ป่วย

ค้นหาแหล่งติดเชื้อ จากการสอบถามประวัติเดินทางหรือการอยู่อาศัย เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะฟักตัวของโรค ก่อนวันเริ่มป่วย

สอบสวนหาปัจจัยเสี่ยงคือ ความชุกชุมยุงลาย
ป้องกันและควบคุมโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก
การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
มีหลายวิธีดังนี้

การแยกเชื้อไวรัสจากซีรั่ม

การตรวจทางน้ำเหลืองมีการตรวจหลายวิธีเช่น ELISA, Haemagglutination–inhibition test

การแยกเชื้อไวรัส

เก็บตัวอย่างโลหิตโดยเจาะจากเส้นโลหิตดำที่แขนประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ปราศจากเชื้อ ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 15 – 30 นาที แช่น้ำแข็งหรือเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา (ห้ามแช่แข็ง) นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่มีตู้แช่แข็ง -70 0C หรือ liquid nitrogen หรือ dry ice สามารถแยก serum จาก blood clot เก็บไว้เพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการภายหลัง โดยนำส่งในน้ำแข็งแห้ง หรือใน liquid nitrogen ภายใน 2 – 3 วัน

การตรวจทางน้ำเหลือง

น้ำเหลืองประมาณ 1 – 2 มิลลิลิตร เก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน ครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 7-14 วัน

การเก็บตัวอย่าง
เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 3-5 มิลลิลิตร ใส่หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อ ปิดจุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส หรือในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน

Cr สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข
รพ.จุฬาลงการณ์


*************************************




นำมาฝาก จากเวบไทยคลินิก มีปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ให้อ่านง่ายขึ้น ...

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1242365843;start=0




โรคชิคุนกุนยา ( chikungunya )

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี (ไข้เลือดออก) แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก



สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae

มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค



วิธีการติดต่อ

ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายเพศเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว

โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ

ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก



อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย

พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก

อาจพบ tourniquet test (ใช้สายยางรัดแขน) ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้



ความแตกต่างระหว่าง ไข้เลือดออก กับ โรคชิคุนกุนยา

1. ในโรคชิคุนกุนยา มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน ไข้เลือดออก คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า

2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเลือดออก ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน โรคชิคุนกุนยา ได้บ่อยกว่าใน ไข้เลือดออก โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน

3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน ไข้เลือดออก

4. ไม่พบ ผื่นที่มีลักษณะวงขาวๆใน โรคชิคุนกุนยา

5. พบผื่นได้แบบนูน โรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในไข้เลือดดอก

6. พบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใน โรคชิคุนกุนยา ได้บ่อยกว่าในไข้เลือดออก

7. ใน โรคชิคุนกุนยา เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในไข้เลือดออก ถึง 3 เท่า



ระบาดวิทยาของโรค

การติดเชื้อ ไวรัสชิคุนกุนยา เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาด และเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ

ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย

หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น

พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี


ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง

พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์

พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี

พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย



การรักษา

ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน



ส่งโดย: @ lovely sohee @ female





แถม ...


ความรู้ข้อแนะนำ เกี่ยวกับ เรื่อง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya , ชิคุนกุนยา ) และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009


ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินทาง การแพทย์ และ สาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุข

https://www.moph.go.th/flu/


https://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=2110271&Itemid=242


https://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=142&Itemid=0





โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

https://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-02-52-08/198--chikungunya

ไข้ปวดข้อยุงลาย

https://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-03-13-27/2078-2009-03-09-10-19-44

ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )   

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116




******************************************

 

Chikun รึเปล่า Chikungunya ไม่น่ารักรึเปล่า
Chikungunya ไม่ใช่แค่ไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้น ธรรมดาๆหรือเปล่า😱😱😱

นาทีนี้ ณ จันทบุรี คงไม่มีใครไม่รู้จักเจ้า Chikungunya สินะ
ชาวบ้านแทบจะวินิจฉัยให้ตั้งแต่เดินเข้ามาตรวจ >> มีไข้ ปวดข้อ(มาก) อะหมอ น่าจะเป็นชิคุนกุนย่านะ คนแถวบ้านเป็นกันเกือบทุกบ้านแล้วจ้า!!!

ถึงตอนนี้ยอดที่รายงาน confirmed cases เกือบ 1300 รายเข้าไปแล้ว นับเป็น outbreak ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์จันทบุรี ซึ่ง….......... ไม่ใช่ยอดจริงจ้ะ เคสตามคลินิกและ รพ.รัฐ ที่ไม่ได้ตรวจ confirm อีกเพียบ🙄

พอเคสเยอะ ก็ย่อมต้องเจอเคสรุนแรงบ้างแหละเนอะ

ก่อนหน้านี้เคยคิดว่า ชิคุน ระบาดก็ไม่ได้น่ากลัวเท่าไร supportive & symptomatic treatment กันไป ไข้เลือดออกน่ากลัวว่าเยอะ แต่…. พอได้ฟังประสบการณ์ (อาจารย์ critical care เพิ่งมารีวิวเคสให้ฟังไปวันก่อน) เจอ severe case ขึ้นมาเนี่ย บอกได้เลยว่า อืม เจอไข้เลือดออกก็ดีนะ เพราะไข้เลือดออกหนะ เพื่อนเก่า รู้จักกันดี สนิทกันมาก่อน ชิกุนเพื่อนใหม่นี้ยังไม่ค่อยสนิทเท่าไร เดาใจยังไม่ค่อยถูก

โพสต์นี้เลยตั้งใจจะมาถอดบทเรียนและแชร์องค์ความรู้ที่เราได้จากการดูคนไข้จริง

หากใครมีเคสหรือประสบการณ์ดูแลคนไข้ที่มี atypical presentation or symptoms หรือที่มีอาการรุนแรง มาแชร์กันได้จ้า จะได้เรียนรู้ร่วมกันไป

อันดับแรก เรามาทบทวนอาการทั่วๆไปกันก่อน
1️⃣ Triad of symptoms (typical presentation) :
A.ไข้สูงเฉียบพลัน (39-40 องศาเซลเซียส) ซึ่งคนไข้มักมาหาเราตั้งแต่ 1-2 วันแรกของอาการไข้ เนื่องจาก
B.ปวดข้อมาก โดยอาการปวดข้ออาจมีข้อบวมหรือไม่ก็ได้ มักเป็นตำแหน่ง peripheral joints บางคนปวดข้อนิ้วจนกำมือไม่สุด บางรายปวดข้อเท้า ปวดเอ็นข้อเท้าจนเดินกระเผลก เปเปอร์ส่วนใหญ่บอกอาการมัก symmetrical polyarthralgia or polyarthritis แต่....บ้านเรา asymmetry ก็เจอนะ แอดเคยเจอคนไข้มาวันแรก ไข้ ปวดบวมข้อเข่าข้างเดียว แต่วันถัดมาก็คือมีอาการปวดข้ออื่นๆตามมาด้วย ร่วมกับ
C. ผื่น ซึ่งมักมาพร้อมกับไข้หรืออาจพบในวันหลังๆได้ โดยลักษณะส่วนใหญ่จะเป็น erythematous MP or morbilliform rash อาจพบมีอาการคันร่วมด้วย ตำแหน่งก็พบได้ทั้ง แขน ขา ใบหน้าและลำตัว โดยไม่มี pattern การกระจายของผื่นที่แน่นอน

2️⃣ อาการไข้มักเป็น 3-5 วัน หลังจากนั้น peak ไข้จะหักลงอย่างรวดเร็ว ผื่นเป็นอยู่ 3-4 วันก็จะยุบไปเองโดยไม่ทิ้งรอย ส่วนอาการปวดข้อนั้น…. เป็นได้นานเลยแหละ มีรายงานปวดข้อเป็นๆหายๆได้ถึง 3 ปี (สงสารคนไข้เนอะ) แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะดีขึ้นหลังจาก 1 สัปดาห์ของการติดเชื้อ

3️⃣ AFI with myalgia, arthralgia เราคงต้องแยกกับไข้เลือดออกด้วย โดยข้อสังเกตที่เราใช้แยก (คร่าวๆ) ได้แก่ อาการปวด ในไข้เลือดออก คนไข้มักปวดกล้ามเนื้อและปวดกระดูก ปวดหัว ปวดกระบอกตา ส่วนไข้ชิคุนนี่ปวดข้อเด่นๆ บางคนมีปวดกล้ามเนื้อได้ ปวดหัวไม่เด่น แต่ถ้าพบมีอาการตาแดงร่วมด้วยน่าจะคิดถึงชิคุนกุนย่ามากกว่า เนื่องจากพบมี conjunctivitis, uveitis, epislceritis ได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พบในไข้เลือดออก รวมถึงอาการ loss appetite ในไข้เลือดออกจะมีมากกว่าคนไข้ชิคุนกุนย่าที่ส่วนใหญ่จะยังทานอาหารได้

ก็เป็นอาการทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อย่าลืมว่า มันมี atypical presentation ได้ด้วย
⭐️⭐️⭐️
ซึ่งเท่าที่มีการรวบรวมรายงาน atypical manifestations
1. cardiovascular symptoms (พบบ่อยสุด) : myocarditis, cardiac arrhythmia, heart failure, DCM, cardiovascular collapse
2. Neurological symptoms : encephalopathy, encephalitis, myelopathy, GBS, ADEM, etc
3. Skin : Bullous dermatosis, hemorrhagic lesion, oral and genital ulcer
4. GI : abdominal pain, pharyngitis, vomiting, diarrhea, hepatomegaly, hepatitis
5. Renal : nephritis, albuminuria, AKI
6. Hemato : bleeding or thrombosis (rare)

⭐️⭐️⭐️ Severe Chikungunya ที่พบส่วนใหญ่เป็น cardiac failure พบมี multiple organ failure, sepsis, septic shock จนกระทั่งเสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก CDC ให้ระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ในกลุ่ม neonate, elderly > 60 yr หรือมี UD DM, HT, CVD , chronic alcohol

เอาเข้าจริง severe case 3 รายที่เราเจอ --> 2 ราย อายุน้อย และไม่มีโรคประจำตัว !!!
ความ severe ที่เจอนั้น มีทั้ง cardiovascular collapse ซึ่งในสองเคส เราพบว่ามี hemoconcentration (rising Hct) ร่วมกับ hypoalbuminemia ซึ่งเข้าได้กับภาวะ Capillary leak syndrome!!! หาก resuscitate ด้วย aggressive iv fluid ที่เพียงพอ ก็ช่วย maintain BP ได้ แต่สุดท้าย คนไข้ทั้งสามรายก็มี rapidly decline ของ cardiac function เกิดมี myocarditis / cardiomyopathy ตามมาอย่างกู่ไม่กลับ
ที่น่าสนใจคือ เคสที่รุนแรงของเรานี้ มี atypical manifestation ให้เห็นคือมี Bullous dermatosis เกิดขึ้น

***** Chikungunya ก็ยังเป็น ไข้ ปวดข้อ ยุงลาย เหมือนเดิม เพิ่มเติมคืออย่าลืมมองหา atypical manifestation ที่อาจบ่งชี้ถึงความรุนแรงของเคส อาจต้อง close monitor มีการติดตามคนไข้อย่างใกล้ชิด
ที่สำคัญคือ มี co-infection กับ Dengue หรือ Zika ได้ด้วยนะจ๊ะ

อาการปวดข้อควบคุมได้ดีด้วย NSAIDs ก็จริง แต่ควรระวังการใช้ เนื่องจากทำให้บวม ทำให้ bleed และไตวายได้ ยิ่งหากยังไม่แน่ใจว่าคนไข้เป็นไข้เลือดออกหรือไม่ อาจเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid เช่น tramadol ก็พบว่าลดอาการปวดได้ดี

สำหรับ timing ในการส่ง investigation เพื่อการวินิจฉัย ฝากไว้ในภาพด้านล่างจ้า




Create Date : 17 พฤษภาคม 2552
Last Update : 24 กรกฎาคม 2563 14:59:34 น.
Counter : 6848 Pageviews.

8 comments
  
เคยเป็นไข้เลือดออกครังนึงครับ
เกือบตาย (ดีที่อ้วน ถ้าผอมคงช๊อกตายไปแล้ว)
ตอนที่เป็น นน. หายไป 10 โลเลยครับ

แล้วโรคนี้จะระบาดรุนแรงเหมือน H1N1 มั้ยคับคุณหมอ
โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:20:20 น.
  

ตอนนี้ ก็ระบาด รุนแรง เหมือนกันนะครับ แต่โชคดีที่โรคนี้ ไม่ทำให้เสียชีวิต ..


//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=380475&lang=T&cat=

15 พค. 2552 13:43 น.

นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวชี้แจงกรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคชิคุนกุนยาว่า

เรื่อง นี้น่าเกิดจากความเข้าใจผิด ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อและป่วยด้วยโรคนี้ไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตได้ โดยทางหน่วยเฝ้าระวังและสอบสวนโรคได้ยืนยันแล้วว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตรายได้กล่าวไม่ได้เกิดจากโรคชิคุณกุนยาแต่อย่างใด

อย่าง ไรก็ตามยอมรับสถานการณ์การการแพร่ระบาดของโรคนี้ในพื้นที่ภาคใต้มีความ รุนแรง โดยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ได้มอบนโยบายให้จัดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณ สุข กรมควบคุมโรค ลงไปดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคชิคุนกุนยาด้วย โดยจะมีการขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ และระดมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหานี้


สำหรับในวันที่จันทร์ 18 พ.ค. นี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขและลงไปยังพื้นที่ซึ่งเกิดการแพร่ระบาด โดยทำการรณรงค์ พร้องกันนี้ยังจะนำรถและเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงลงไปช่วยเพื้อแก้ไข สถานการณ์การระบาดให้ดีขึ้นเพื่อให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจ ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน

อย่างไรก็ตามยอม รับว่า เนื่องจากโรคชิคุนกุนยาไม่รุนแรงจนถึงทำให้เสียชีวิต ทำให้ไม่มีการคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกัน แต่หากมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ป่วยจำนวนมาก อาจเป็นแรงจูงใจให้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นและวิจัยได้

การแพร่ระบาด ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทีผ่านมาจะมีความพยายามในการควบคุมโรค เนื่องจากเป็นพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้การควบคุมเข้าถึงได้ยาก ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นป่าและสวน อีกทั้งยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ดี แต่ในพื้นที่ จ.สงขลา ตรัง ปรากฎว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ดังนั้นทางกระทรวงจะทำเป็นรั้วกัน เพื่อไม่ให้โรคแพร่มายัง กทม. และพื้นที่ภาคกลาง

นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย กล่าวต่อว่า ในวันนี้กรมควบคุมโรคได้ให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เพิ่มการเฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยา ซึ่งกำลังแพร่ระบาดครั้งใหญ่ใน 15 จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้ เพิ่มอีก 1 โรค

พร้อมทั้งกำชับให้ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในเขตภาคใต้ คือที่สงขลาและนครศรีธรรมราช รายงานสถานการณ์และร่วมประชุมเพื่อวางแผนแก้ไขอย่างทันท่วงที โดยให้ส่งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ไม่ต้องให้มีผู้ป่วยก่อน
โดย: หมอหมู วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:21:20 น.
  


//thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255205150116&tb=N255205

สสจ.พัทลุง เตือนภัย“โรคชิคุนกุนยา” ควรรับมืออย่างไร

นาย แพทย์วิเชียร แก่นพลอย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายๆ กับโรคไข้เลือดออก แต่ไม่มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ

โดยมีผู้ป่วยของจังหวัดพัทลุง จำนวน 33 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6.56 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต

โดย พบผู้ป่วยมากที่สุดที่อำเภอเมืองพัทลุง จำนวน 12 ราย รองลงมา อำเภอเขาชัยสน จำนวน 5 ราย อำเภอกงหราและป่าพะยอม จำนวน 4 ราย อำเภอควนขนุน จำนวน 3 ราย อำเภอศรีนครินทร์ จำนวน 2 ราย อำเภอป่าบอน ศรีบรรพต และตะโหมด จำนวน 1 ราย และไม่พบผู้ป่วยที่อำเภอบางแก้วและปากพะยูน


“โรคชิคุนกุนยา” (Chikungunya)หรือโรคปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

วิธี การติดต่อและอาการแสดง ซึ่งติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูก กัด และหลังจากถูกกัด จะมีอาการภายใน 1-2 วัน

โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้สูง มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และปวดข้ออย่างเฉียบพลันตามข้อที่เป็นข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของโรคนี้ หากอาการปวดรุนแรงมากจะไม่สามารถขยับข้อได้ หากเป็นเรื้อรังติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดอาการข้อติดได้


สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง มีข้อแนะนำถึงวิธีการป้องกันตนเองจากโรค “ชิคุนกุนยา” ดังนี้

1) ควรนอนในมุ้งหรือห้องนอนที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด

2) หากมีไข้ควรกินยาลดไข้ ห้ามกินยาจำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย

3) ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อกางเกง ขายาวเวลาเข้าสวน หรือทายากันยุง เช่น ตะไคร้หอม

4) หากมีไข้สูง ปวดหรือบวมตามข้อเฉียบพลันและมีผื่นแดงตามร่างกายร่วมกัน ให้สงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ควรรีบไปรับการตรวจรักษา ณ สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

5) ประชาชนที่เดินทางกลับจาก จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลา(อำเภอสะเดา และอำเภอเทพา) หากมีอาการ ไข้ มีผื่นแดง ปวดข้อ ให้รีบพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยด่วน

6) และที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกท่าน ในการร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายตัวยุงลายทั้งในบ้าน วัด มัสยิดและสถานศึกษาทุก 7 วันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถทำให้ป้องกันโรคได้ถึง 2 โรค คือ โรคไข้เลือดออกและ “ชิคุนกุนยา” ได้

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ได้เตรียมพร้อมโดยหน่วยงานในสังกัดทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัยทุกแห่ง ตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคนี้อย่างละเอียด พร้อมเจาะเลือดส่งตรวจทันที และมีมาตรการเข้มในการควบคุมโรคโดยหน่วยเคลื่อนที่เร็วทันทีที่พบผู้ป่วย

หากสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่องานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7461-2400 ต่อ 127
โดย: หมอหมู วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:21:51 น.
  
อืม--น่ากัว
โดย: ออย-โอ๊ด วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:14:38:02 น.
  
ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:16:49:09 น.
  
ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116

ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38

ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118

ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105

จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76

ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79

ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75

ตาแดง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103


โดย: หมอหมู วันที่: 29 มกราคม 2559 เวลา:21:45:27 น.
  
โรคชิคุนกุนยา
จาก สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข

ลักษณะโรค
โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae

มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค

วิธีการติดต่อ
ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว
โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน

ระยะติดต่อ
ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว

ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่

ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis)

อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya

ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า

ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน

ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF

ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya

พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี

ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า

ระบาดวิทยาของโรค
การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา

ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร

ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง)

ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ

ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ

ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง

ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย

การรักษา
ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน

การเฝ้าระวังโรค Chikungunya

1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)
1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria)

มีไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้

มีผื่น
ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดกระดูกหรือข้อ
ปวดศีรษะ
ปวดกระบอกตา
มีเลือดออกตามผิวหนัง

1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ
(Laboratory Criteria)
ทั่วไป

Complete Blood Count (CBC)
อาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
เกล็ดเลือดปกติ ซึ่งสามารถแยกจากไข้เดงกีได้
จำเพาะ

ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในน้ำเหลืองคู่ (paired sera) ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition (HI) > 4 เท่า

หรือ ถ้าน้ำเหลืองเดี่ยวนั้น ต้องพบภูมิคุ้มกัน > 1: 1,280 หรือ
ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM โดยวิธี ELISA หรือ
ตรวจพบเชื้อได้จากเลือด โดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อ (culture)

2. ประเภทผู้ป่วย (Case Classification)
2.1 ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึงผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ออกผื่น ปวดข้อ

2.2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
มีผลการตรวจเลือดทั่วไป
มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

2.3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ

3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting Criteria)

4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)

4.1 สอบสวนเฉพาะราย (Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อ และควบคุมโรค

4.2 สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม (cluster) ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาด และควบคุมโรค

ดำเนินการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคดังนี้

เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้ มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา มีเลือดออกตามผิวหนัง

แนะนำให้ไปรับการรักษาเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ (อาการนำของโรค Chikungunya จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือโรคหัดเยอรมัน

อาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด และไม่ทราบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงต้องสังเกตลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค

ที่จะพบได้ทุกกลุ่มอายุและอาการปวดข้อที่เด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ควรแยกโรคนี้กับโรคไข้ออกผื่นอื่น ๆ เช่น หัดเยอรมัน ซึ่งไม่เป็นทุกกลุ่มอายุ และมักจะระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว)

รายงานผู้ป่วยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทราบ
สอบสวนโรคเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่ม แหล่งติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรค โดย

ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามผู้ป่วย

ค้นหาแหล่งติดเชื้อ จากการสอบถามประวัติเดินทางหรือการอยู่อาศัย เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะฟักตัวของโรค ก่อนวันเริ่มป่วย

สอบสวนหาปัจจัยเสี่ยงคือ ความชุกชุมยุงลาย
ป้องกันและควบคุมโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก
การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
มีหลายวิธีดังนี้

การแยกเชื้อไวรัสจากซีรั่ม

การตรวจทางน้ำเหลืองมีการตรวจหลายวิธีเช่น ELISA, Haemagglutination–inhibition test

การแยกเชื้อไวรัส

เก็บตัวอย่างโลหิตโดยเจาะจากเส้นโลหิตดำที่แขนประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ปราศจากเชื้อ ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 15 – 30 นาที แช่น้ำแข็งหรือเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา (ห้ามแช่แข็ง) นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่มีตู้แช่แข็ง -70 0C หรือ liquid nitrogen หรือ dry ice สามารถแยก serum จาก blood clot เก็บไว้เพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการภายหลัง โดยนำส่งในน้ำแข็งแห้ง หรือใน liquid nitrogen ภายใน 2 – 3 วัน

การตรวจทางน้ำเหลือง

น้ำเหลืองประมาณ 1 – 2 มิลลิลิตร เก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน ครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 7-14 วัน

การเก็บตัวอย่าง
เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 3-5 มิลลิลิตร ใส่หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อ ปิดจุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส หรือในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน

Cr สำนักระบาด กระทรวงสาธารณสุข
รพ.จุฬาลงการณ์
โดย: หมอหมู วันที่: 24 กรกฎาคม 2563 เวลา:14:22:23 น.
  
Med PPK
https://www.facebook.com/medppk/posts/2709174725850549

Chikun รึเปล่า Chikungunya ไม่น่ารักรึเปล่า
Chikungunya ไม่ใช่แค่ไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้น ธรรมดาๆหรือเปล่า😱😱😱

นาทีนี้ ณ จันทบุรี คงไม่มีใครไม่รู้จักเจ้า Chikungunya สินะ
ชาวบ้านแทบจะวินิจฉัยให้ตั้งแต่เดินเข้ามาตรวจ >> มีไข้ ปวดข้อ(มาก) อะหมอ น่าจะเป็นชิคุนกุนย่านะ คนแถวบ้านเป็นกันเกือบทุกบ้านแล้วจ้า!!!

ถึงตอนนี้ยอดที่รายงาน confirmed cases เกือบ 1300 รายเข้าไปแล้ว นับเป็น outbreak ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์จันทบุรี ซึ่ง….......... ไม่ใช่ยอดจริงจ้ะ เคสตามคลินิกและ รพ.รัฐ ที่ไม่ได้ตรวจ confirm อีกเพียบ🙄

พอเคสเยอะ ก็ย่อมต้องเจอเคสรุนแรงบ้างแหละเนอะ

ก่อนหน้านี้เคยคิดว่า ชิคุน ระบาดก็ไม่ได้น่ากลัวเท่าไร supportive & symptomatic treatment กันไป ไข้เลือดออกน่ากลัวว่าเยอะ แต่…. พอได้ฟังประสบการณ์ (อาจารย์ critical care เพิ่งมารีวิวเคสให้ฟังไปวันก่อน) เจอ severe case ขึ้นมาเนี่ย บอกได้เลยว่า อืม เจอไข้เลือดออกก็ดีนะ เพราะไข้เลือดออกหนะ เพื่อนเก่า รู้จักกันดี สนิทกันมาก่อน ชิกุนเพื่อนใหม่นี้ยังไม่ค่อยสนิทเท่าไร เดาใจยังไม่ค่อยถูก

โพสต์นี้เลยตั้งใจจะมาถอดบทเรียนและแชร์องค์ความรู้ที่เราได้จากการดูคนไข้จริง

หากใครมีเคสหรือประสบการณ์ดูแลคนไข้ที่มี atypical presentation or symptoms หรือที่มีอาการรุนแรง มาแชร์กันได้จ้า จะได้เรียนรู้ร่วมกันไป

อันดับแรก เรามาทบทวนอาการทั่วๆไปกันก่อน
1️⃣ Triad of symptoms (typical presentation) :
A.ไข้สูงเฉียบพลัน (39-40 องศาเซลเซียส) ซึ่งคนไข้มักมาหาเราตั้งแต่ 1-2 วันแรกของอาการไข้ เนื่องจาก
B.ปวดข้อมาก โดยอาการปวดข้ออาจมีข้อบวมหรือไม่ก็ได้ มักเป็นตำแหน่ง peripheral joints บางคนปวดข้อนิ้วจนกำมือไม่สุด บางรายปวดข้อเท้า ปวดเอ็นข้อเท้าจนเดินกระเผลก เปเปอร์ส่วนใหญ่บอกอาการมัก symmetrical polyarthralgia or polyarthritis แต่....บ้านเรา asymmetry ก็เจอนะ แอดเคยเจอคนไข้มาวันแรก ไข้ ปวดบวมข้อเข่าข้างเดียว แต่วันถัดมาก็คือมีอาการปวดข้ออื่นๆตามมาด้วย ร่วมกับ
C. ผื่น ซึ่งมักมาพร้อมกับไข้หรืออาจพบในวันหลังๆได้ โดยลักษณะส่วนใหญ่จะเป็น erythematous MP or morbilliform rash อาจพบมีอาการคันร่วมด้วย ตำแหน่งก็พบได้ทั้ง แขน ขา ใบหน้าและลำตัว โดยไม่มี pattern การกระจายของผื่นที่แน่นอน

2️⃣ อาการไข้มักเป็น 3-5 วัน หลังจากนั้น peak ไข้จะหักลงอย่างรวดเร็ว ผื่นเป็นอยู่ 3-4 วันก็จะยุบไปเองโดยไม่ทิ้งรอย ส่วนอาการปวดข้อนั้น…. เป็นได้นานเลยแหละ มีรายงานปวดข้อเป็นๆหายๆได้ถึง 3 ปี (สงสารคนไข้เนอะ) แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะดีขึ้นหลังจาก 1 สัปดาห์ของการติดเชื้อ

3️⃣ AFI with myalgia, arthralgia เราคงต้องแยกกับไข้เลือดออกด้วย โดยข้อสังเกตที่เราใช้แยก (คร่าวๆ) ได้แก่ อาการปวด ในไข้เลือดออก คนไข้มักปวดกล้ามเนื้อและปวดกระดูก ปวดหัว ปวดกระบอกตา ส่วนไข้ชิคุนนี่ปวดข้อเด่นๆ บางคนมีปวดกล้ามเนื้อได้ ปวดหัวไม่เด่น แต่ถ้าพบมีอาการตาแดงร่วมด้วยน่าจะคิดถึงชิคุนกุนย่ามากกว่า เนื่องจากพบมี conjunctivitis, uveitis, epislceritis ได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พบในไข้เลือดออก รวมถึงอาการ loss appetite ในไข้เลือดออกจะมีมากกว่าคนไข้ชิคุนกุนย่าที่ส่วนใหญ่จะยังทานอาหารได้

ก็เป็นอาการทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดี แต่อย่าลืมว่า มันมี atypical presentation ได้ด้วย
⭐️⭐️⭐️
ซึ่งเท่าที่มีการรวบรวมรายงาน atypical manifestations
1. cardiovascular symptoms (พบบ่อยสุด) : myocarditis, cardiac arrhythmia, heart failure, DCM, cardiovascular collapse
2. Neurological symptoms : encephalopathy, encephalitis, myelopathy, GBS, ADEM, etc
3. Skin : Bullous dermatosis, hemorrhagic lesion, oral and genital ulcer
4. GI : abdominal pain, pharyngitis, vomiting, diarrhea, hepatomegaly, hepatitis
5. Renal : nephritis, albuminuria, AKI
6. Hemato : bleeding or thrombosis (rare)

⭐️⭐️⭐️ Severe Chikungunya ที่พบส่วนใหญ่เป็น cardiac failure พบมี multiple organ failure, sepsis, septic shock จนกระทั่งเสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก CDC ให้ระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ในกลุ่ม neonate, elderly > 60 yr หรือมี UD DM, HT, CVD , chronic alcohol

เอาเข้าจริง severe case 3 รายที่เราเจอ --> 2 ราย อายุน้อย และไม่มีโรคประจำตัว !!!
ความ severe ที่เจอนั้น มีทั้ง cardiovascular collapse ซึ่งในสองเคส เราพบว่ามี hemoconcentration (rising Hct) ร่วมกับ hypoalbuminemia ซึ่งเข้าได้กับภาวะ Capillary leak syndrome!!! หาก resuscitate ด้วย aggressive iv fluid ที่เพียงพอ ก็ช่วย maintain BP ได้ แต่สุดท้าย คนไข้ทั้งสามรายก็มี rapidly decline ของ cardiac function เกิดมี myocarditis / cardiomyopathy ตามมาอย่างกู่ไม่กลับ
ที่น่าสนใจคือ เคสที่รุนแรงของเรานี้ มี atypical manifestation ให้เห็นคือมี Bullous dermatosis เกิดขึ้น

***** Chikungunya ก็ยังเป็น ไข้ ปวดข้อ ยุงลาย เหมือนเดิม เพิ่มเติมคืออย่าลืมมองหา atypical manifestation ที่อาจบ่งชี้ถึงความรุนแรงของเคส อาจต้อง close monitor มีการติดตามคนไข้อย่างใกล้ชิด
ที่สำคัญคือ มี co-infection กับ Dengue หรือ Zika ได้ด้วยนะจ๊ะ

อาการปวดข้อควบคุมได้ดีด้วย NSAIDs ก็จริง แต่ควรระวังการใช้ เนื่องจากทำให้บวม ทำให้ bleed และไตวายได้ ยิ่งหากยังไม่แน่ใจว่าคนไข้เป็นไข้เลือดออกหรือไม่ อาจเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid เช่น tramadol ก็พบว่าลดอาการปวดได้ดี

สำหรับ timing ในการส่ง investigation เพื่อการวินิจฉัย ฝากไว้ในภาพด้านล่างจ้า
โดย: หมอหมู วันที่: 24 กรกฎาคม 2563 เวลา:14:59:51 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด