โรคไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง ) ![]() โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย รายงานตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 ตค. 2558 (สัปดาห์ที่ 39) จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก 86,460 ราย จำนวนผู้ป่วยตาย 86 ราย สูงกว่าปีที่แล้ว 182.91% อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.10 ราย สูงกว่าอัตราป่วยตายย้อนหลัง 4 ปีที่แล้ว (ร้อยละ 0.08-0.09 ราย) จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ (คาดว่าในปี 2558 จะมีประมาณ 60,000-70,000 ราย) การติดต่อ ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti เมื่อยุงลายตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน (เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง) เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วัน จึงเริ่มทำให้เกิดอาการ ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง พบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด อาการ ส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีเป็นครั้งแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจมีเพียงไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารเท่านั้น แต่ในคนที่ติดเชื้อนี้เป็นครั้งที่ 2 โดย เฉพาะเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงช็อกได้ โดยอาการของโรคไข้เลือดออกแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะพักฟื้น ระยะไข้ หรือระยะที่ 1 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้าแดง อาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระสีดำ เป็นต้น โดยอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วัน ระยะช็อก หรือระยะที่ 2 ขณะที่ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงคือ ซึมลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา ปัสสาวะน้อย ในบางรายมีอาการปวดท้องมาก ท้องโตขึ้น หายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีน้ำรั่วออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดและช่องท้อง บางรายมีเลือดออกมากเช่น เลือดออกในทางเดินอาหารทำให้อุจจาระสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดกำเดาไหล ผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการช็อก ความดันโลหิต (เลือด) ต่ำ และถึงแก่ชีวิต (ตาย) ได้ ซึ่งระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 วัน แต่ในบางราย ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากระยะที่ 1 เข้าสู่ระยะที่ 3 เลย ระยะพักฟื้น หรือระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยรับประทานอาหารได้มากขึ้น ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ในบางรายอาจมีผื่นเป็นวงขาวๆบนพื้นสีแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ผื่นมักไม่คันและไม่เจ็บ แพทย์วินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้อย่างไร? แพทย์วินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้จาก “ อาการ “ โดยเฉพาะอาการไข้สูง โดย ไม่มีอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หรือท้องเสียร่วมด้วย ร่วมกับมีประวัติโรคไข้เลือดออกของคนที่อาศัยอยู่บริเวณเดียวกัน หรือมีการระบาดของโรคในขณะนั้น โดยเฉพาะหากแพทย์ตรวจพบตับโต และกดเจ็บร่วมด้วย แพทย์จะทำการทดสอบที่เรียกว่า “Tourniquet test” โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตรัดแขนทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หากมีจุดเลือดออกบริเวณแขนมากกว่า 10 จุดต่อ 1 ตารางนิ้ว แสดงว่าผลการทดสอบให้ผลบวก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคนี้ นอกจากนี้ หากส่งตรวจเลือด ซีบีซี (CBC) จะตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวค่อน ข้างต่ำ และความเข้มข้นของเลือดสูง เพียงเท่านี้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางรายหากอาการ ผลการตรวจร่างกาย และผลเลือดเบื้องต้นดังกล่าว ไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้ ในปัจจุบันในบางโรงพยาบาลสามารถส่งเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อไวรัสเดงกีได้ ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยโรคนี้แม่นยำขึ้น ![]() โรคไข้เลือดออกมีวิธีรักษาอย่างไร? ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากอาการไม่รุนแรงโรคนี้จะหายได้เอง ดังนั้นการรักษาที่มีจึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการ และการรักษาภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ในระยะไข้ หากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ยังพอรับประทานอาหารได้บ้าง รู้สติดี ไม่ซึม แพทย์จะให้ยาลดไข้ ยาผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากไข้สูง และจากการรั่วของน้ำออกนอกหลอดเลือด และให้สังเกตอาการที่บ้าน จากนั้นจะนัดผู้ป่วยมาติดตามอาการที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆ แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ปวดท้องมาก ปัสสาวะออกน้อย กระสับกระส่าย ซึมลง หรือมือเท้าเย็น แพทย์จะให้เฝ้าสังเกตอาการและดูแลรักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะ เพื่อการเฝ้าระวังภาวะช็อกและเลือดออก ซึ่งนอกจากการตรวจวัดชีพจร และความดันโลหิตอย่างใกล้ ชิดแล้ว แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังการรั่วไหลของน้ำออกนอกหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำลง และเข้าสู่ระยะช็อกได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้เริ่มลดลง ซึ่งใช้เวลาผ่านพ้นระยะนี้เป็นเวลา 24 - 48 ชั่วโมง จากนั้นผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะพักฟื้นซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัย ในระยะพักฟื้นนี้ ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ปัสสาวะออกมากขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตปกติ เมื่อไรจะให้กลับบ้าน ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน ความเข้มของเลือดคงที่ 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค เกล็ดเลือดมากกว่า 50000 ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด ข้อสำคัญของไข้เลือดออก ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ห้ามใช้ยา แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เพราะอาจส่งเสริมให้เกิดภาวะเลือดออกมากขึ้น ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิดช็อค หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่ การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์ การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก ถ้าให้น้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ ![]() การป้องกัน แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลง ซึ่งทำได้โดย การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ การกำจัดลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ 1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่ - ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย - เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน - ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม อ่างบัวและตู้ปลา ภาชนะละ 2-4 ตัว - ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน 2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่ - เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย - การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น - การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด 3. การปฏิบัติตัว ได้แก่ - นอนในมุ้ง หรือในห้องที่มีมุ้งลวด เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ทั้งกลางวันและกลางคืน - หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสำคัญที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่า DEET ![]() ![]() เครดิต อ้างอิง .. https://www.facebook.com/dengue.infection https://www.thaivbd.org/n/researchs/view/87 ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรมยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38 โรคไข้เลือดออก... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116 ![]() เป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า? ไข้เลือดออก อาการเป็นยังไง? อาการแบบนี้ ใช่ไข้เลือดออกหรือไม่? คำถามยอดฮิตทาง Message Facebook <ไข้เลือดออก> เลยเอามาทบทวนกันอีกทีว่า อย่างไรถึงว่าน่าจะเป็นไข้เ คำถามยอดฮิตในฤดูฝนที่มีการ คนในครอบครัว เช่น ลูก มีไข้ กลัวจะเป็นไข้เลือดออก หลักในการพิจารณาว่าเป็นไข้ 1.เรื่องไข้ • ไข้เลือดออกมีอาการไข้ชนิดท • ฉะนั้นถ้าไม่มีไข้ เช่น มีแต่เลือดกำเดาไหล แต่ไม่มีไข้ บอกเลยว่าไม่เป็นไข้เลือดออ • เรามาพิจารณาองค์ประกอบของไ 1.1. ไข้กระทันหัน - abrupt onset สามารถบอกได้เลยว่า ไข้ขึ้น วันไหน เวลาเท่าไร ที่แน่นอน จากสบายดี อยู่ๆก็มีไข้ขึ้นทันทีเลย ถ้าไข้ค่อยๆขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป ก็ไม่ใช่ไข้เลือดออก 1.2. ไข้สูง - high fever ไข้สูงมากกว่า 39 C ขึ้นไป เช่น 39.5 หรือ 40.0 โดยถ้าใช้ปรอทที่ความแม่นยำ ถ้าเป็นปรอทหนีบรักแร้ Axillary จะมีค่าต่ำกว่า Rectal อยู่ 1 C หรือปรอทอมใต้ลิ้น Oral จะมีค่าต่ำกว่า Rectal อยู่ 0.5 C ดังนั้น ถ้าวัดไข้ที่เป็น Rectal temperature ได้ต่ำกว่า 38.5 C บอกได้เลยว่าไม่น่าเป็นไข้เ 1.3. ไข้ลอย - continuous fever ถ้าเป็นไข้เลือดออก ไข้จะสูงลอยตลอด ไข้ไม่ลดเลย ดังนั้น ถ้าไข้เป็นๆหายๆ ไข้ขึ้นๆ ลงๆ ก็ไม่ใช่ไข้เลือดออก ถึงแม้จะรับประทานยาลดไข้มา ดังนั้นถ้าพิจารณาเอาแต่แค่ ถ้าเข้าลักษณะของไข้สูงลอยก 2.อาการปวด • ปวดหัว • ปวดกระบอกตา • ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อ 3.อาการทางระบบทางเดินอาหาร • คลื่นไส้หรืออาเจียน • เบื่ออาหาร 4.ตรวจร่างกายพบ • หน้าแดง (Flushed face) หรือตาแดง (scleral injection) - จากประสบการณ์ แค่มีไข้สูงบวกกับเห็นหน้าค - Facial flushing, a sensitive and specific predictor of dengue infection https:// 5.ประวัติอยู่ในพื้นที่ที่ม • พักอาศัย • เรียนหนังสือหรือทำงาน • เดินทางมาอยู่ในพื้นที่ที่ม ** จากการศึกษาการระบาดของไข้เ ความเสียงจะยังคงมีอยู่แต่ล ความเสียงจะลดน้อยลงไปเรื่อ ** ข้อมูลจาก The Spatial Dynamics of Dengus Virus in Kamphaeng Phet, Thailand https:// https://www.facebook.com/dengue.infection/photos/a.1435841576699406.1073741828.1435667050050192/1638546203095608/?type=3&theater ............................ ![]() วิธีการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก โดย พญ.ประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา • โปรตีนเอ็นเอสหนึ่ง (NS1) ....ตรวจแล้วได้ผลดีที่สุดคือมีโอกาสที่จะเจอเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ควรจะต้องตรวจตั้งแต่ไข้วันแรก อันนั้นมีโอกาสให้ผลบวกประมาณ 90-95% ขึ้นไป • ถ้ามีไข้วันแรก ตรวจตัวนี้ NS1 ตั้งแต่วันแรกที่มีไข้ น่าจะช่วยในการวินิจฉัย ประมาณ 90-95% • ถ้าประมาณวันที่สามที่มีไข้ โอกาสจะให้ผลบวกอาจจะประมาณแค่ 70% • การตรวจหา NS1 ยืนยันว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก….. ..... ถ้าประมาณไข้วันที่ 3-4 ขึ้นไป • ตัวที่จะช่วยบอกได้คือต้องตรวจผลเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาวกับปริมาณเกล็ดเลือด รวมทั้งความเข้มข้นของเลือด (CBC/Platelet) • ถ้าเป็นไข้เลือดออก แนวโน้มเม็ดเลือดขาวจะต่ำลง โดยเฉพาะต่ำกว่า 5,000 ตัว ..... วิธีการตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก โดย พญ.ประอร สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา กุมารแพทย์ หน่วยโรคติดเชื้อกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) รายการสายตรงสุขภาพ Health Line ออกอากาศ 23 มิถุนายน 2557 เวลา 07.00 - 08.00 น. ทางช่อง ASTV NEWS1. เผยแพร่ทาง YouTube 19 เม.ย. 2558 https://www.youtube.com/watch?v=yGTEQ3MjMfI การจะตรวจยืนยันว่าเป็นโรคไข้เลือดออกจะต้องเริ่มจากการยืนยันว่ามีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกคือ ไวรัสเดงกี (Dengue virus) ปัจจุบันนี้ที่มีการตรวจจะมี 2 แบบคือ 1.การตรวจหาจับตัวเชื้อ 2การตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ตัวที่จะบอกและช่วยยืนยันในการวินิจฉัย เพื่อที่จะป้องกันหรือเฝ้าระวังไม่ให้เข้าสู่ภาวะอันตรายหรือระยะวิกฤตของโรคก็คือการตรวจหาตัวเชื้อ ถ้าลักษณะของอาการบ่งชี้เนื่องจากว่าส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออก อาการที่สำคัญคือ • ไข้สูงลอย • อาการอย่างอื่นจะไม่ค่อยมีอาการจำเพาะเจาะจง เช่น อาจจะมีปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะหรือคลื่นไส้อาเจียน • แต่อันที่น่าจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกจะมีเรื่องของหน้าแดง (Flushed face) Facial flushing, a sensitive and specific predictor of dengue infection https://emedicine.medscape.com/article/215840-clinical#b3 ไข้สูง หน้าแดง แล้วก็ไม่มีเรื่องของไอ น้ำมูกหรือท้องเสียอย่างชัดเจน ต้องนึกถึงโอกาสจะเป็นไข้เลือดออก 1.การตรวจหาจับตัวเชื้อ 1.1 การตรวจจับโปรตีนของไข้เลือดออก ชื่อโปรตีนเอ็นเอสหนึ่ง (NS1) • ปกติถ้าตรวจแล้วได้ผลดีที่สุดคือมีโอกาสที่จะเจอเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ควรจะต้องตรวจตั้งแต่ไข้วันแรก • อันนั้นมีโอกาสให้ผลบวกประมาณ 90-95% ขึ้นไป • การตรวจใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ที่ยากคือเวลาเป็นไข้วันแรก บางทีคุณพ่อคุณแม่ก็จะรู้สึกว่ารอดูก่อนดีไหม ก็เรียนว่าถ้ามีคนอื่นในบ้านมีประวัติเคยเป็นไข้เลือดออกแล้วในบ้านก็ต้องสงสัยว่า ภายในช่วง 1-2 เดือน ช่วงนั้นหลังจากที่มีคนเป็นไข้เลือดออกแล้วในบ้าน มีไข้ ก็อาจจะมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้ • ถ้ามีไข้วันแรก ตรวจตัวนี้ NS1 ตั้งแต่วันแรกที่มีไข้ น่าจะช่วยในการวินิจฉัย ประมาณ 90-95% • ถ้าตรวจวันหลังๆไป โอกาสที่จะเจอผลบวก มันจะลดลงไปตามวันที่มีไข้ • โดยทั่วไปแล้วถ้าประมาณวันที่สามที่มีไข้ โอกาสจะให้ผลบวกอาจจะประมาณแค่ 70% • ถ้าสมมติว่าไข้เริ่มต่ำลง ซึ่งจริงๆแล้วในไข้เลือดออก ถ้าไข้เริ่มต่ำลง เราต้องระวังว่าจะเป็นระยะวิกฤตของโรค โอกาสจะเจอแค่ 50% เท่านั้น • การตรวจหา NS1 ยืนยันว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก แต่บอกไม่ได้ว่าติดเชื้อแล้ว จะเป็นไข้เลือดออกแบบรุนแรง คือมีการรั่วของของน้ำเหลืองออกไปนอกเส้นเลือดหรือเปล่า หรืออาจจะเป็นไข้ธรรมดา ที่เราเรียกว่าเป็นไข้เด็งกี ซึ่งความรุนแรงต่างกัน • ตัวที่จะช่วยบอกได้คือต้องตรวจผลเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาวกับปริมาณเกล็ดเลือด รวมทั้งความเข้มข้นของเลือด (CBC/Platelet) • ถ้าประมาณไข้วันที่ 3-4 ขึ้นไป ถ้าเป็นไข้เลือดออก แนวโน้มเม็ดเลือดขาวจะต่ำลง โดยเฉพาะต่ำกว่า 5,000 ตัว แล้วก็ยิ่งถ้าดูเกล็ดเลือด ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม เกล็ดเลือด แนวโน้ม ของเราปกติแล้วเกล็ดเลือดประมาณ 150,000-400,000 • ถ้าในคนที่เป็นไข้เลือดออกแล้ว มีโอกาสจะเข้าภาวะวิกฤต อันนี้เกล็ดเลือดแนวโน้มจะต่ำกว่า 100,000 ในคนที่เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 จริงๆแล้วก็ควรจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาลแล้วก็เฝ้าติดตามอาการและความเข้มข้นของเลือดต่อ 1.2 PCR หรือ Polymerase Chain Reaction • เป็นการตรวจที่ให้รายละเอียดมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้ามีเชื้อไวรัสปริมาณน้อยหลงเหลืออยู่แล้วในกระแสเลือด โอกาสจะเจอมากกว่า NS1 • แต่ว่า PCR ราคาค่อนข้างสูง อาจจะประมาณ 10 เท่าของ NS1 • แล้วก็ทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆเท่านั้น ไม่ได้ทำทั่วไป • ถ้ามาไข้วันแรกเลย การตรวจ NS1 กับ PCR ค่าน่าจะใกล้เคียงกันในการแปรผล คือถ้าให้ผลบวกน่าจะใช่ไข้เลือดออกแน่นอน • แต่ถ้าเจาะวันหลังๆแล้วให้ผลลบ อันนี้อาจจะบอกไม่ได้ เนื่องจากว่าบางครั้งไวรัสในกระแสเลือดหายไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าช่วงวันหลังๆ เช่น ไข้วันที่ 3-4 เป็นต้นไป การเจาะไม่ว่า PCR หรือ NS1 ก็อาจจะจับตัวเชื้อไม่ได้แล้ว แต่ก็ยังเป็นอยู่ เพราะฉะนั้นผลการตรวจพวกนี้ (PCR และ NS1) ถ้าใช่เจอเชื้อแปลว่ามีการติดเชื้อไข้เลือดออก แต่ต้องตามต่อว่าจะเป็นไข้เลือดออกหรือเป็นแค่ไข้เด็งกี แต่ถ้าไม่เจอไม่ได้แปลว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก ก็ยังต้องตามอยู่ด้วยอาการ เช่น ไข้ 3 วันแล้วไข้ไม่ลง ก็จะต้องเจาะเลือดดูเม็ดเลือดขาว ดูเกล็ดเลือด (CBC/Pltaelet) อยู่ดี เครดิต https://www.facebook.com/dengue.infection/photos/a.1435841576699406.1073741828.1435667050050192/1636873343262894/?type=3&theater ................................................... บทความพิเศษ ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่:ภาวะแ โดย ถนอมศรี ศรีชัยกุล ศาสตราจารยเกียรติคุณ ที่ปรึกษาอาวุโสผู้เชี่ยวชา โรงพยาบาลวิชัยยุทธและศูนย์ วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสต https://www.tsh.or.th/ ........................................ ![]() เครดิต Rational-Drug-Use การใช้ยาอย่างสมเหตุผล https://www.facebook.com/896404783733131/photos/a.896405263733083.1073741849.896404783733131/1040553192651622/?type=3 """"""""""""""""""""""""""""""""""" เป็นไข้เลือดออก จะเจาะเลือดตรวจได้อย่างไร กลายเป็นประเด็นที่มีคนสอบถามเข้ามามาก ว่าอยากจะรู้ว่าเป็นไข้เลือดออก จะตรวจได้อย่างไร การวินิจฉัยไข้เลือดออก จะเริ่มจากการซักประวัติตรวจร่างกายก่อน ปัจจุบันด้วยอะไรหลายๆอย่าง ส่วนมากเจอเจาะเลือดหมด และสิ่งที่เจาะตรวจมีดังนี้ ส่วนใหญ่ เวลามีไข้วันหรือสองวันแล้วไปหาหมอ ถ้าตรวจไม่เจออะไร หมอก็จะนัดไปตรวจใหม่ในวันที่สามของไข้แล้วเจาะดูค่านี้ 2. Dengue Ns1Ag ในทางทฤษฎี ใช้ตรวจเวลาจำเป็นต้องได้ผลการตรวจเร็ว เช่นอาการหนักในไข้วันแรกๆ และต้องการแยกว่าเป็นไข้เลือดออกที่ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือเป็นโรคอื่นที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 3. Dengue IgM 2+3 บางครั้ง จะมีชุดตรวจที่ตรวจDengueNs1Agและ IgM พร้อมกัน เพื่อเพิ่มความไวจาก 60และ40% ให้กลายเป็น 90% ... ไวขึ้น 4. Dengue PCR ประโยชน์จากการเจาะตรวจเจอเร็ว : คือ ตรวจเจอเร็วก็รู้เร็ว ช่วยให้ลดความรู้สึกไม่แน่ใจ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ ตรวจเลือดเท่าที่จำเป็น NS1 ไม่เห็นในบัญชีของกรมบัญชีกลางนะครับ แต่ลองดูของ รพ. ราชวิถี เขาให้ใช้ราคาเดียวกับ Dengue Virus-Ab เลย (310 บาท
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แนะผู้ปกครองสังเกต 9 สัญญาณอันตรายไข้เลือดออกในเด็กกรมการแพทย์เตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง สังเกต 9 สัญญาณอาการเสี่ยงโรคไข้เลือดออก แม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงอย่าชะล่าใจควรต้องไปพบแพทย์ พร้อมแนะเกราะภูมิคุ้มกัน 3 ชั้นให้ลูกน้อยห่างไกลไข้เลือดออก ระบุกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มาพร้อมกับ “ยุงลาย” ที่มีอายุสั้นเพียง 7 วันเท่านั้น ซึ่งโรคไข้เลือดออกสามารถเป็นได้ทุกฤดูกาล ขอเพียงมีแหล่งน้ำขัง ที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ แต่ในฤดูฝนมีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะปริมาณน้ำมากทำให้เกิดแหล่งน้ำขังได้ในหลายพื้นที่ โดยกลุ่มอายุที่พบเป็นโรคดังกล่าวมาก คือ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 10-14 ปี ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูงเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าข่ายความเสี่ยงนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์พยาบาลที่มีประสบการณ์ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเด็กที่ยุ่งยาก ซับซ้อน รักษาเด็กป่วยที่ส่งต่อมาจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานที่มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออก โดยเป็นผู้นำในการทำแนวทางการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตหรือลดความพิการที่เกิดจากโรคไข้เลือดออก โดยได้รับการยอมรับในระดับโลกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Center ด้านการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ 3 ขั้นตอน เปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกันถึง 3 ชั้น โดย เกราะคุ้มกันชั้นที่ 2 คือ การช่วยกันกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน การป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เกราะคุ้มกันชั้นที่ 3 คือการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะไข้เลือดออกที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดภาวะช็อกเมื่อไข้เริ่มลด พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรประมาท ควรสังเกต 9 สัญญาณอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้เลือดออก คือ 1.ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการเลวลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย 2.คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา 3.ปวดท้องมาก 4.มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ 5.พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ 6.กระหายน้ำตลอดเวลา 7.ร้องกวนมากในเด็กเล็ก 8.ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย และ 9.ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4- 6 ชั่วโมง ถ้ามีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรต้องไปพบแพทย์ ทั้งนี้ สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพเด็กหรือโรคไข้เลือดออกได้ที่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านไข้เลือดออก โทร. 1415 ต่อ 3904 และ https://www.childrenhospital.go.th ทบทวนไข้เลือดออก ช่วงนี้ระบาดหนัก ![]() และเด็ก ![]() จำ 6 สไลด์ (1)ต้องทราบว่าเป็น DFหรือDHF -DHF:มีleakage มีการรั่วของพลาสม่า ได้แก่ -ตับโตกดเจ็บ ,pleural effusion น้ำในช่องปอด ascites,Hctเพิ่ม>20% ,plt<100,000,Albuminต่ำ<3.5 ส่วน DF ไม่มี leakage (2) ดูHctที่เพิ่มขึ้นจากค่าตั้งต้น(base line) ให้เริ่มปริมาณสารน้ำ 5%DNSSดังนี้ 2.1)ถ้าเพิ่ม5-10% -นน.<15kg:-เริ่ม 2 ml/kg/hr -นน.15-40kg:-เริ่ม 1.5 ml/kg/hr -นน.>40kg:-เริ่ม 1 ml/kg/hr 2.2)ถ้าเพิ่ม10-15%:ให้เริ่ม 3-5ml/kg/hr 2.3)ถ้าเพิ่ม20%:ให้เริ่ม5ml/kg/hr (3)ต้องจำกราฟ2กราฟ 3.1)กราฟเกรด1และ2:-วัดvital sign จะปกติ เริ่มrate IVตามข้อ2 ไม่มีช๊อก 3.2)DSS(Dengue shock syndrome) รวมDHF III และ IV -เกรด3:-pulse pressure<20:ให้เริ่ม10ml/kg/hrแล้วลดเป็น 7-5-3-1.5 ml/kg/hr -เกรด4:-วัดBPไม่ได้:-เริ่ม10ml/kg in 10min ถ้าไม่ดีขึ้นให้อีก10ml/kg in 10 minแล้วลดเป็น 7-5-3-1.5.. (4)ต้องจำrate iv ที่ให้ในเด็กเทียบกับผู้ใหญ่ดังนี้ เด็ก(ml/k/h) ผู้ใหญ่ 1.5 40-50 3(Maint) 80-100 5 100-120 7 120-150 10 300-500 (5)เด็กน้ำหนักมากต้องคำนวณideal BW(ถ้าน้ำหนัก>40kgหรืออายุ>12ปีใช้rate iv แบบผู้ใหญ่ 5.1) <=6 ปี : 2(อายุ)+8 กก. 5.2)>6ปี : อายุx3 กก. (6)การให้ivรวมระยะวิกฤติ(24-48ชม.) 6.1)เด็ก:rate 10 ml/kg/hr;ไม่เกิน2ชม. rate7:ไม่เกิน2ชม. rate5:ไม่เกิน6ชม. rate3:ให้8-12ชม. 6.2)ผู้ใหญ่;-เกรด3 500ml/hr(1ชม)-350ml/hr(1ชม)-250ml/hr(1ชม)-150ml/hr(2ชม)-100-120ml/hr(4-6ชม)-80ml/hr(4-10ชม)---60-40-kvoจนoffใน24ชม. (7)ทุกครั้งที่Vital signผิดปกติ (PRเร็ว/BPต่ำนึกถึง 7.1)leak-Hctจะต้องเพิ่มเกิน 20- 30% และไม่ vital sign ผิดปกติ ได้แก่ PR เร็ว PP แคบ 7.2)Bleed-Hctต่ำลงหรือได้สารน้ำปริมาณมากแล้วHctไม่เพิ่มไม่ถึง20-30%(เช่นHct40%ก็ต้องเอาPRCมาให้ โดย hct อยู่ในช่วง 35-45 %ต้องเอาเลือดมาให้ 5 ml/kg 7.3)ต้องดู_ABCS Acidosis /Bleed /Calcium/Sugar (8)Dextranให้ครั้งละ10ml/kg/dose(Max30ml/kg/day) ให้เมื่อมีleakมากHctยังสูงเมื่อได้rate10m/k/h>2ชม. หรือ ต้องการrate>5m/k/hที่ 6ชม. (โดยหลังให้dextran:-hctจะลดลง10%) ถ้าให้ครบแล้ว Hct ลดลง>10%ระวังbleeding ผลข้างเคียงdextran:-BT ยาว/kidney injury (9)DHFIII,IV ระวังbleedโดย- พิจารณาให้ VitK5-10mgx3วัน, Omeprazole,bleeding precaution งดอาหารสีดำแดง ควรดูค่า PT,PTT,INR(INR>2.5) มีโอกาสbleed (10)ระยะหาย_(convalescent )มีABCDI Appetileหิว/Bradycardia /Convalescent/Diuresisปัสสาวะออกมาก/Ichingคันมากๆ ไม่จริง ที่ไข้เลือดออก วินิจฉัยง่ายๆ Thiravat Hemachudha ต้องบอกความยากลำบากของการวินิจฉัย อาการไข้ที่เริ่มเป็น มีหรือไม่มีปวดเมื่อย ไอนิดๆหน่อยหรือไม่ไอ คนเป็นไข้ที่ยังเดินได้ ทานอาหารได้แม้น้อยลงบ้าง มีหรือไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหรือยังไม่ปวดหัว อาการคนไข้ ในระยะนี้ เป็นได้จากสาเหตุเป็นหลายร้อยชนิด จากไวรัส ไข้หวัด เล็ก กลาง ใหญ่ และไม่ใช่มีแต่ฟลู (influenza) อย่างเดียว มีอีกอย่างน้อย 10 ครอบครัว ๆ ละเป็น 10-100 ตัวที่เกิดโรคในคนได้ ไข้เลือดออกไม่ได้มี เดงกี่ ตัวเดียว ซึ่งเดี๋ยวนี้มี 5 ไม่ใช่ 4 ชนิด ไวรัสในกลุ่มเดียวกับเดงกี (ฟลาวิไวรัส) ที่มีอาการไข้ ยังมี ชิก้า (zika) เวสท์ไนล์ เจอี ไข้เหลือง โดยยังไม่ต้องพัฒนาเป็นอาการจำเพาะของแต่ละตัว ไวรัสไข้เลือดออกอื่นอีก 4 ตระกูล ยังมี รวมไข้เลือดออกจีน (SFTV) อีโบลา และเพื่อน และอื่นๆ ปาราสิต มาเลเรีย แบคทีเรีย ฉี่หนู สครัป หรือริคเก็ทเซียอื่นๆ อาการระยะต้นเหมือนกัน การจะบอกว่าเป็นอะไร ยากมาก การตรวจเดงกี ด้วยวิธีตรวจเร็ว NS1 และซึ่งตัวอย่างทั้งหมดเราตรวจซ้ำด้วย วิธีขยายสารพันธุกรรม PCR ผลในคนไข้ เกือบ 400 ราย ที่ โคราชโดยอาจารย์ปทุมพร เป็นผู้ดูแล และน้องปู น้องพยาบาล เป็นไข้เลือดออก เกือบครึ่ง แต่ การตรวจด้วย NS1 antigen พลาดไปกว่า 40 ราย อยากทราบด้วย วิธี PCR ค่าใช้จ่ายมากกว่า 1000 บาท และถ้าจะหา 10-30 ตัวเชื้อพร้อมกัน อย่างน้อย 7,000 บาท และอาจไม่ใช่อีก คนไข้มีเป็น ร้อยๆ พันๆคนต่อวัน ที่มีอาการแบบนี้ จะตรวจทุกรายหรือ จะต้องเข้าโรงพยาบาลทุกรายหรือ เพราะฉนั้นจะทำอย่างไร นั่นคือทำตามคำแนะนำเช่น ถ้าอาการมากขึ้น ทานยาพารา ในผู้ใหญ่ 2 เม็ด ต่อครั้ง 1000 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง 2-4 ครั้ง อาการไข้ไม่ลง หรือเริ่มมีอาการอย่างอื่นร่วม ไม่ว่าปวดหัว ปวดกระดูก ข้อ อาเจียน ท้องเสีย เพลีย ผื่น จุด เห็นแบงค์ 1000 ตกอยู่ยังไม่อยากหยิบ ไม่ต้องรอถึงขั้นนั้นนะครับ ไปรพ เลย เพราะอาจไม่ใช่ไข้เลือดออกเดงกีก็ได้ หรือเป็นก็เริ่มปรากฎตัวแล้ว และถ้าไข้ลงแต่อาการหนักขึ้นยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก ความสำคัญอยู่ที่การสำรวจตรวจตราตนเอง บอกคนข้างๆ เผื่ออาการไปเยอะ จะได้ช่วยเหลือส่งโรงหมอได้ ที่หมอให้กลับบ้านในระยะอาการน้อยๆ ไม่ใช่เครื่องการันตี ว่าไม่ใช่ไข้เลือดออก แต่อาการต้องเฝ้าระวังการพัฒนาของโรค อย่างเคร่งครัด หมอไม่ใช่หมอไข้เลือดออก แต่ต้องดูคนไข้ที่มาด้วยไข้ ที่ยังไม่พัฒนาเป็นอะไรซักอย่าง จนเห็นที่อาการพัฒนาถึงขีดสุด โคม่า ขัก ช็อก จากสาเหตุนานาประการ แม้แต่เดงกี ก็เกิดเยื่อหุ้มสมอง และสมองอักเสบได้ รับรองครับ ให้ดูตอนนี้ ก็บอกได้ทันที เป็นโรค 'อารูไม่ไร' ศัพท์เฉพาะตัวของหมอน้องรักที่ รพ เลย หมอกรรณิการ์ คือ 'อะไรก็ไม่รู้' ที่มา ... https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/1094739967226223 ![]() โดย: หมอหมู
![]() ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116 ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38 ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110 ไวรัส ซิกา โรคไข้ซิกา (Zika Fever) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-01-2016&group=4&gblog=118 ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ? https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105 จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76 ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79 ชิคุนกุนยา ... ที่กำลังระบาด ในภาคไต้ ... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2009&group=4&gblog=75 ตาแดง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2014&group=4&gblog=103 โดย: หมอหมู
![]() ไข้เลือดออก ... ( นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-10-2015&group=4&gblog=116 วัคซีนโรคไข้เลือดออก .. นำมา เล่าสู่กันฟัง .. https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2017&group=4&gblog=127 ไข้เลือดออก..ฤดูกาลแห่งโศกนาฏกรรม ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย? https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-05-2008&group=4&gblog=38 โดย: หมอหมู
![]() ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๖๐
Ittaporn Kanacharoen ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 2 ภาพ "ไข้เลือดออกปีนี้ดุ สถิติวันนี้ตายมากกว่าเดิมเท่าครึ่ง" น่าห่วง! ไข้เลือดออก ปี 2560 เพียง 27 จาก 52 สัปดาห์ แม้คนป่วยน้อยกว่าปี 2559 ร้อยละ 10 แต่ตายเยอะกว่าเท่าครึ่ง คือ 166% ( 2560 ตาย30 คน ในขณะที่ 2559 ตายเพียง 18คน) ยอดตายมากที่สุดในรอบ 4ปี (จากข้อมูล 2557-2560) แต่เมื่อเทียบกับปี 2556 ซึ่งมีคนตายมากกว่า 2 เท่า (71คน) ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เกิดจากคนป่วยที่สูงมากกว่า 4 เท่า (81,581 คนเทียบกับ 20,697 คน) แสดงว่าโรครุนแรงที่สุดในรอบ 6 ปี คือป่วยน้อยแต่ตายเยอะ อัตราป่วยตาย สูงที่สุด ..คือ 0.14 %!!! บ่งว่าปีนี้ อาจจะตายเยอะกว่าหาก "ลด" อัตราตายไม่ได้! **มาช่วยปราบ"ยุง" ฆาตกรตัวร้ายรอบบ้านท่านกันเถอะครับ.. ก่อนที่คนเสียชีวิต คนต่อไปจะเป็นบุตรหลานของท่าน..** ช่วยลดภาระงานให้แพทย์ พยาบาล ในโรงพยาบาล ดูข้อมูลล่าสุดได้ที่นี่ครับ //www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/Dengue/2560/DHF%2027.pdf อิทธพร 20.07.2017 cc ภรต มะลิลา ![]() โดย: หมอหมู
![]() |
บทความทั้งหมด
|
แต่ ถ้า ประชาชน ต้องช่วยกันดูแลตนเอง และ สภาพแวดล้อม ก็สามารถ ลดอัตราป่วย ลดอัตราตาย ให้น้อยลงไปได้อีก ..
.................
สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2558
จำนวนผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 17 พ.ย. 2558 (สัปดาห์ที่ 45)
จำนวนผู้ป่วย 111,826 ราย
จำนวนผู้ป่วยตาย 108 ราย
อัตราป่วยต่อแสนประชากร 171.71 ราย
อัตราตายต่อแสนประชากร 0.17 ราย
อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.10 ราย
ที่มา //www.thaivbd.org/n/dengues/view/478
.....................