บล็อกนี้ไม่มี VIP ค่ะ ทุก ๆ คนเป็น VIP อยู่แล้ว เมื่อคลิกเข้ามา
Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
3 เมษายน 2551
 
All Blogs
 

ดีเอ็นเอ โมเลกุลแห่งชีวิต

ดีเอ็นเอ โมเลกุลแห่งชีวิต









ดีเอ็นเอ
กลายมาเป็น “อุปกรณ์” หรือ “หลักฐาน” สำคัญ
ในการไขปริศนาคดีลึกลับต่าง ๆ แล้ว
และดีเอ็นเอยังเป็น “สัญลักษณ์ (symbol)”
หรือ ถ้าจะเรียกให้ทันสมัยทันยุค
ที่คอมพิวเตอร์ครองเมือง
ก็คงต้องว่าเป็น “ไอคอน (icon)”
สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพไปแล้ว
ในแบบเดียวกับที่เวลาคิดถึงวิชา “ฟิสิกส์”
คนจะนึกถึงภาพนักวิทยาศาสตร์หัวฟู ๆ
ก็คุณปู่ไอน์สไตน์
และ สมการสะท้านโลก
อย่าง E= mc2 สมการนั้น


คนเรารู้จักกับดีเอ็นเอมาเกือบ 140 ปีมาแล้ว
แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่
ไม่ให้ความสำคัญกับมันมากนัก
เนื่องจากกำลังมัวสนใจ
กับ โปรตีน โมเลกุลมหัศจรรย์อีกชนิดหนึ่ง
เหตุผลสำคัญก็คือ
โปรตีนมีความหลากหลายและลักษณะซับซ้อน
จึงเชื่อกันว่า
โปรตีนน่าจะเป็นสารที่เหมาะสม
กับหน้าที่ในการกุมความลับของชีวิต
และเป็น สารพันธุกรรม
ที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต
จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง



ดีเอ็นเอ
กลายมาเป็นที่สนใจในวงกว้างมากขึ้น
เมื่อ 50 ปีที่แล้วมานี่เอง
เมื่อนักวิทยาศาสตร์หนุ่มสองคน
ในขณะนั้น
คือ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก
ได้ประกาศการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอว่า
เป็นสายคู่ที่บิดพับเป็นเกลียว
คล้ายบันไดเวียน
แบบที่เรียกว่า
ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix)
ในวารสารวิทยาศาสตร์
ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงฉบับหนึ่ง
คือ Nature
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2496



เหตุที่บทความดังกล่าว
กระตุ้นความสนใจ
ของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น
ก็เพราะว่า
วัตสันและคริก
สังเกตและแนะนำไว้อย่างถูกต้อง
(ตรวจสอบด้วยการทดลองในภายหลัง)
ว่าสายดีเอ็นเอแต่ละสาย
ทำหน้าที่เป็น “ต้นแบบ”
ในการสร้างสายดีเอ็นเอสายใหม่ขึ้นได้
ซึ่งทำให้สมมติฐาน
ที่เริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัยนั้นว่า
ดีเอ็นเอนี่เอง
ที่น่าจะทำหน้าที่เป็น “สารพันธุกรรม”
... ฟังดูมีน้ำหนักและสมเหตุสมผลอย่างที่สุด



การค้นพบดังกล่าว
ส่งผลกระทบ
อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
ต่อแวดวงวิทยาศาสตร์
และ ส่งผลให้วัตสันและคริก
ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยา
ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง
ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด
คือ มัวริส วิลคินส์ ในปี 2505



นับจากการประกาศการค้นพบ
โครงสร้างของดีเอ็นเอ
ก็มีการค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของดีเอ็นเอ
ออกมาเรื่อย ๆ
ซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจจนกล่าวได้ว่า
ถึงขั้น “มหัศจรรรย์” ได้
อย่างเต็มปากเต็มคำ


ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดข้อหนึ่งของดีเอ็นเอก็คือ
ดีเอ็นเอมี “ขนาดที่เล็กมาก”
ปกติแล้วเราไม่อาจจะมองเห็น
สายของดีเอ็นเอได้ด้วยตาเปล่า
แม้แต่กล้องจุลทรรศน์
ที่พบเห็นได้ตามห้องปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป
ที่มีกำลังขยายได้มากถึงพันเท่า
ก็ยังมองเห็นดีเอ็นเอ
ได้ในภาวะพิเศษและค่อนข้างเฉพาะเท่านั้น คือ
ภาวะที่ดีเอ็นเออัดกันแน่นเป็นพิเศษ
ในโครงสร้างที่มีชื่อว่า “โครโมโซม”
ในห้วงเวลา
ขณะเซลล์กำลังแบ่งตัวเองเพื่อเพิ่มจำนวน
แถมต้องย้อมด้วยสีจำเพาะ
ก่อนที่จะมองเห็นอีกต่างหาก


แต่อันที่จริง
ถ้าเรามีจำนวนเซลล์มากพอ
(เซลล์อะไรก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นเซลล์แบคทีเรีย
เซลล์พืช หรือเซลล์สัตว์)
เราก็อาจจะสกัดเอาดีเอ็นเอออกมา
จากเซลล์เหล่านั้นได้
ด้วยสารเคมีที่หาได้ง่าย
และกระบวนการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก

ในกรณีนี้
อาจจะเห็น “ก้อน” ดีเอ็นเอได้เป็นสาย
หรือกระจุกสีขาวใส
หรือขาวขุ่นได้เหมือนกัน
แต่ดีเอ็นเอที่เห็น
ไม่ใช่สายเดียว หรือ สายคู่แค่นั้น
แต่เป็นกลุ่มของสายดีเอ็นเอนับล้าน ๆ เส้น
(หรือมากกว่านั้น)
ที่มาเกาะเกี่ยวกันอยู่

ดีเอ็นเอเป็นโมเลกุล
ที่เก็บ “รหัสพันธุกรรม”
ที่กำหนดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
ดังนั้น
ดีเอ็นเอก็น่าจะมีความสามารถ
ในการ “เก็บข้อมูล” ได้เป็นอันดี


ตามธรรมชาติแล้ว
หากเกิดกรณี
ที่ดีเอ็นเอแตกหักเสียหาย
(เช่น ดีเอ็นเอของ “เซลล์ผิวหนัง”
ที่โดนแสงอัลตราไวโอเลต หรือ UV
ในแสงแดดแผดเผาอย่างรุนแรง
เป็นเวลานาน ๆ)
กลไกการตรวจสอบ
ตลอดจนซ่อมแซม
และสร้างดีเอ็นเอ
ส่วนที่แตกหักเสียหายขึ้นใหม่
(ด้วยเอนไซม์หลาย ๆ ชนิด)
ก็สามารถทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
เพราะมิฉะนั้น
ประชากรในแถบศูนย์สูตรโลก
ก็คงเป็นมะเร็งผิวหนังกันไปหมดแล้ว


หากดูกันที่รูปทรงของดีเอ็นเอ
ก็จะพบว่า …
ธรรมชาติได้รังสรรค์ “รูปทรง”
อันแสนเหมาะสม
กับงานของมันเป็นอย่างยิ่ง
กล่าวคือ
ดีเอ็นเอมีลักษณะตามธรรมชาติเป็นสายคู่
เป็นสายคู่กันที่ไม่ธรรมดามาก ๆ
คือ เป็นสายคู่ของดีเอ็นเอที่จับกันได้
อย่างพอเหมาะพอเจาะ
เกาะเกี่ยวกันอยู่
โดย “ตกร่องปล่องร่องชิ้น” กันทุกแง่มุม
สองสายของดีเอ็นเอนั้นจับกัน
และ บิดไปมาคล้ายกับ “บันไดเวียน”
หรือ หากตัดสายดีเอ็นเอแต่ละท่อน
ออกมาดู
ก็จะเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้าย ๆ “สปริง”
ซึ่งจัดว่าเป็นโครงสร้างแบบหนึ่ง
ที่มีความยืดหยุ่นสูงสุดเลยทีเดียว

ข้อเด่นของสปริง ก็คือ
สปริงนั้นทนทานต่อ “แรงดึง” และ “แรงกด”
มากเป็นพิเศษ
เมื่อเทียบกับโครงสร้างแบบอื่น ๆ ทั่วไป


ดีเอ็นเอมีการจัดเรียงตัว และ พับตัวไปมา
คล้าย ๆ กับเส้นเชือกอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
โดยหน่วยเล็กที่สุด
ก็จะเป็นสายของดีเอ็นเอสองสาย
จากนั้นก็จะมีการพันทบไปมา
และ เริ่มมีโปรตีนบางอย่าง
(มักจะเป็นโปรตีนที่มีประจุเฉลี่ยเป็นบวก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำพวก “ฮิสโตน”)
มาร่วมจับด้วย
ซึ่งก็มีผลทำให้แรงผลัก
เนื่องจากประจุลบของสายดีเอ็นเอลดน้อยลง
ทำให้สามารถพับ และ บิดไปมาไ
ด้สะดวกมากยิ่งขึ้น
โครงสร้างที่ได้จึงมีขนาดเล็ก
กระทัดรัดมากยิ่งขึ้น
โดยในท้ายที่สุด
สายดีเอ็นเอจะพันกัน
จนได้โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
(ที่มีหน้าตาคล้ายปาท่องโก๋)
เรียกว่า “โครโมโซม” นั่นเอง





ความเป็นระเบียบและความซับซ้อน
ของการจัดเรียงตัวของสายดีเอ็นเอ







ขอขอบคุณข้อมูล
//www.vcharkarn.com





คมคิดคมคาย...


He who would rule must hear and be deaf,
see and be blind.

นักปกครองต้องรู้จักฟังและปิดหู
รู้จักดูและปิดตา

ภาษิตเยอรมัน





 

Create Date : 03 เมษายน 2551
17 comments
Last Update : 3 เมษายน 2551 17:11:34 น.
Counter : 1289 Pageviews.

 

ขอบคุณ จ๊ะ ที่นำความรู้มาฝาก

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 3 เมษายน 2551 10:22:48 น.  

 

เคยได้ดูสารคดีเหมือนกันคะ ดูแล้ว Amazing มากๆเลยนะคะเนี่ย

 

โดย: eeh (คิตตี้น้อยสีชมพู ) 3 เมษายน 2551 11:37:24 น.  

 

มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติจริงๆเลย

 

โดย: REX-REX IP: 125.26.148.221 3 เมษายน 2551 11:37:34 น.  

 

วันนี้ร้อนจังเลยค่ะ

คุณวีรักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ
ไม่มีสิ่งไหนที่มนุษย์ทำไม่ได้ จริงๆๆนะค่ะนิ


 

โดย: catt.&.cattleya.. 3 เมษายน 2551 12:33:13 น.  

 

โห...เราก็เพิ่งเคยเห็นลักษณะหน้าตาดีเอ็นเอก็วันนี้หล่ะ...

 

โดย: อนันตลัย 3 เมษายน 2551 18:40:03 น.  

 

หวาดดีคะพี่โสด
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีนะคะ

คิดถึงนะคะ
ขอบคุณมากนะคะที่เข้าไปเยี่ยมเยียนจ๋าที่บล๊อกนะคะ
รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: weraj 3 เมษายน 2551 18:42:59 น.  

 

มีสาระ และความรู้ ที่ดีมากๆเลยครับ

 

โดย: หลังคาดำแดง 3 เมษายน 2551 20:38:06 น.  

 

ลิตช์ก็ศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันแหละ..คุณวี
ว่าจะดัดแปลงตัวเองให้เป็น x-men อยู่..โฮ่..โฮ่..โฮ่...

 

โดย: ลิตช์ (Litchi ) 3 เมษายน 2551 21:30:47 น.  

 

วิชาการ ตามแหล่งที่มาจริงๆ

 

โดย: nO my name 3 เมษายน 2551 22:01:12 น.  

 

แวะมาขอบคุณย้อนหลังครับ...
นานมากมายพึ่งเห็น

ขอบคุณอีกทีสำหรับคำอวยพรวันเกิดค้าบ ^_^

 

โดย: k_kunga 3 เมษายน 2551 23:50:32 น.  

 

แวะมาขอบคุณ สำหรับคำอวยพรวันเกิด

 

โดย: ooh_kk2007 4 เมษายน 2551 7:00:21 น.  

 

 

โดย: สายป่าน (Doungtawan ) 4 เมษายน 2551 9:10:50 น.  

 

 

โดย: เริงฤดีนะ 4 เมษายน 2551 12:11:13 น.  

 

โชคดีนะวีจัง ถ้ามีโอกาส

ก็จะกลับมา งานเยอะมาก ไม่มีเวลา

จะมาอยู่ตรงนี้แล้วครับ เพื่อชาติ ต้อง

มาก่อนครับผม ขอบคุณมากๆนะ วีจัง

 

โดย: BaVo316 4 เมษายน 2551 12:43:06 น.  

 

มาศึกษา

 

โดย: ในนามของความเหงา 4 เมษายน 2551 13:55:19 น.  

 

 

โดย: ดอกคูณริมฝั่งโขง 4 เมษายน 2551 15:20:52 น.  

 

มีสาระมากมาย

 

โดย: น้ำอ้อยปั่น IP: 124.120.59.62 4 เมษายน 2551 21:22:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


โสดในซอย
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]






e-mail ติดต่อโสดในซอย
singleinsoi@hotmail.com






Facebook โสดในซอย
http://www.facebook.com/profile.php?id=100002317657363





“เติมรักให้เต็มรุ้ง”
งานเขียนล่าสุดของ “โสดในซอย”

สั่งซื้อในบล็อก
พร้อมลายเซ็น
ราคารวมค่าส่ง 305 บาท
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ
หมายเลขบัญชี 020-056941-6
ชื่อบัญชี มนชญา
โปรดโอนให้มีเศษสตางค์
เพื่อง่ายแก่การอ้างอิง
และแจ้งรายละเอียดการโอน
พร้อมทั้งชื่อ-ที่อยู่ที่จะให้จัดส่ง
ที่หลังไมค์ได้เลย
หรือตามร้านหนังสือค่ะ

ขอบคุณค่ะ





ความรักคะ ฉันมีเรื่องจะฟ้อง
ของ "โสดในซอย"
โดย สำนักพิมพ์ 'ษาริน
วางจำหน่ายแล้วตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ
หรือสั่งซื้อในบล็อกได้เช่นกัน
ราคา 220 บาทรวมค่าส่งค่ะ








ขายหรือให้เช่า
ศุภาลัย ปาร์ค ติวานนท์
35 ตร.ม. ใกล้รถไฟฟ้าสถานีกระทรวงสาธารณสุข
ไลน์ aazz999




Friends' blogs
[Add โสดในซอย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.