1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30
Skincare Basic #11-1 :Sun Survival Tips for Healthy Skin
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ารังสี UV จากดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุของปัญหาผิวมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดด่างดำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ หยาบกร้าน ริ้วรอยก่อนวัย ร้ายแรงสุดก็เป็นมะเร็งผิวหนัง การปกป้องผิวจากรังสี UV จึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จำเป็นมากที่สุดหากเราต้องการที่จะมีผิวสุขภาพดี เพราะถึงแม้เราจะล้างหน้าอย่างอ่อนโยน ปรับสภาพผิว ผลัดเซลล์ผิวและบำรุงมาอย่างดีแค่ไหน ก็ไร้ประโยชน์หากผิวที่เราไม่ได้ปกป้องผิวที่เราเฝ้าถนอมให้พ้นภัยแสงแดด เพื่อที่จะปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องมาทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อนว่า รังสี UV คืออะไร ก่อความเสียหายให้ผิวได้อย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผิวของเราได้รับความเสียหายจากรังสี UV มากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละบุคคลความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรังสี UV (Ultraviolet Radiation) ดวงอาทิตย์เป็นก้อนพลังงานขนาดใหญ่ยักษ์ที่ปลดปล่อยรังสีสารพัดอย่างเข้ามาสู่โลก หนึ่งในนั้นก็รังสี UV ซึ่งมีความยาวคลื่น (wavelength) อยู่ที่ 100 - 400 นาโนเมตร (nm) และสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 ช่วงย่อย ๆ คือ1. UVA (wavelength : 320-400 nm) รังสี UVA สามารถแบ่งย่อยได้อีกสองส่วนคือ UVA-I มี wavelength อยู่ระหว่าง 340-400 nm และ UVA-II มี wavelength อยู่ระหว่าง 320-340 nm รังสี UVA นั้นสามารถทะลุทะลวงผ่านชั้นบรรยากาศและเมฆได้เป็นอย่างดี รังสี UV ที่ผิวคุณได้รับส่วนใหญ่จึงเป็นรังสี UVA2. UVB (wavelength : 290-320 nm) โอโซน (Ozone) ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนในชั้นบรรยากาศจะดูดซับรังสี UVB ไปได้มากสุดประมาณ 90%3. UVC (wavelength : 100 290 nm) หลายคนคงรู้จัก UVA และ UVB กันดีอยู่แล้ว แต่ UVC อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหู ทำไมถึงไม่มีการพูดถึง UVC น่ะหรือ? ก็เพราะว่าเราโชคดีที่รังสี UVC ทั้งหมดนั้นถูกดูดซับไปโดยโอโซน (Ozone) ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนในขณะที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ดี ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันทำให้ชั้นโอโซนบางลง ส่งผลให้รังสี UV สามารถทะลุผ่านลงมาได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่โอโซนเป็นรูโหว่อย่างประเทศออสเตรเลีย และประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีชั้นโอโซนบางตามธรรมชาติ Note : อาจจะเจอบางตำราบอกค่า Wavelength ต่างไปเล็กน้อย เช่น "UVB มี Wavelength 280-320 nm. หรือ 280-315 nm." ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจจะมีคลาดเคลื่อนต่างกันบ้าง ไม่ถือว่าผิดอะไรขอรับอันตรายของรังสี UV รังสี UVB จะเน้นทำความเสียหายที่ผิวชั้นนอก (Epidermis) ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผชิญรังสี UVB ก็คืออาการ Sunburn หรือผิวไหม้จากแสงแดดซึ่งจะมีอาการแสบแดง กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินอย่างช้า ๆ ทำให้ผิวค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแทน และข้อมูลบอกว่ามะเร็งผิวหนังมีสาเหตุมาจาก UVB ถึง 90%รังสี UVA จะทำร้ายผิวได้ลึกกว่าถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ส่งผลให้คอลาเจนและอีลาสตินถูกทำลายจนเกิดริ้วรอยก่อนวัย กระตุ้นการสร้างเม็ดสีในทันที (ปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำส่วนหนึ่งก็มาจากเจ้า UVA นี่แหล่ะ) UVA มีส่วนเสริมทำให้ผิวเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจากรังสี UVB มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ผลเสียจากการเผชิญรังสี UV โดยไม่ปกป้องสามารถสะสมเพิ่มจนก่อความเสียหายกับดวงตาได้ด้วย เราจึงควรปกป้องตัวเราเองจากแสงแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นรังสี UV ก็มีประโยชน์ รังสี UV นั้นมีอันตรายก็จริง แต่แน่นอนว่ามันก็ไม่ใช่นางอิจฉาในละครหลังข่าวที่มีเลวร้ายไร้ซึ่งความดี รังสี UVB เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการสังเคราะห์ Vitamin D ผู้ใดที่หวาดกลัวแสงแดดจนถึงขั้นวิตกจริตขนาดขังตัวเองอยู่ในบ้านที่มีแต่ผนังปูนรอบด้านไม่มีหน้าต่างสักบานก็เสี่ยงที่จะขาด Vitamin D ซึ่งมีส่วนสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมของร่ายกาย ถ้าขาด Vitamin D จะส่งผลทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ทางองค์การอนามัยโลกระบุว่า การรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเวลาเช้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 15 นาทีจะมีประโยชน์กับร่างกาย รู้อย่างนี้แล้วเราก็ควรตื่นเช้า ๆ ไปออกกำลังกายรับแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับ Vitamin D อยู่เสมอ ถ้ามีผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านก็อย่าหมกท่านให้นอนง่อยรับประทานอยู่แต่ในห้องอย่างเดียว หาเวลาว่างทำหน้าที่เป็นลูกหลานกตัญญูพาท่านออกมาเดินเล่นหรือ Picnic ทานข้าวพร้อมอาบแดดอุ่น ๆ ยามเช้า นอกจากจะช่วยป้องกันการขาด Vitamin D แล้ว ยังช่วยเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวเป็นของแถมUV-Index (UVI) คืออะไร? ปัจจุบันมีหลักฐานมาสนับสนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่ารังสี UV นั้นมีโทษต่อร่างกายมากมาย จึงมีการจัดทำ UV-Index หรือหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความเข้มข้นของรังสี UV ที่มีอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อบอกให้ประชาชนทราบว่าพื้นที่ใดมีปริมาณรังสี UV มากหรือน้อยแค่ไหน จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับใช้เพื่อการป้องกันรังสี UV อย่างเหมาะสม ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรฐานของ UV-Index โดยแบ่งเป็น 5 ช่วง แต่ละช่วงจะมีสีเฉพาะดังรูปด้านล่างนี้ ส่วนอีกรูปด้านล่างเป็น Global UV-Index ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2004 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขตที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรนั้นมีค่าความเข้มข้นของรังสีอยู่สูงมาก (ถึงระดับ Extreme เลยทีเดียว) ค่า UV-Index ของประเทศไทยจะอยู่ระหว่าง 8 12 โดยช่วงที่มีค่า UV-Index น้อยที่สุด (8) คือช่วงเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม ส่วนช่วงที่มีค่า UV-Index สูงสุด (12) ก็คือตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ถ้าต้องการทราบค่า UV-Index ของแต่ละวันสามารถคลิกที่ Links ด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม - International UV-Index reporting sites - Thailand UV-Index ปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเข้มข้นของรังสี UV แตกต่างกัน สภาพทางภูมิศาสตร์ พื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรนั้นจะได้รับปริมาณรังสี UV มากกว่าเนื่องจากอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด และปริมาณโอโซนตามธรรมชาติในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะบางกว่าส่วนอื่นอยู่แล้วสภาพอากาศ มีคนจำนวนมากคิดว่าในวันที่มีเมฆทึบหรือไม่มีแสงแดดนั้นไม่มีรังสี UV แต่ในความเป็นจริงแล้วเมฆสามารถกรองรังสี UV ไปได้เพียง 20% เท่านั้น เราจึงสามารถรับอันตรายจากรังสี UV อีก 80% ที่เหลือเต็ม ๆ ถ้าไมได้ปกป้องผิวอย่างถูกต้องระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ยิ่งอยู่ในที่สูงเท่าไหร่ก็จะได้รับรังสี UV มากขึ้น เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศน้อยกว่าในการกรองรังสี UV โดยในทุก ๆ 1000 เมตรที่สูงขึ้น ก็จะมีปริมาณรังสี UV เพิ่มมากขึ้น 10 12 %พื้นผิว สภาพพื้นผิวแต่ละประเภทสามารถสะท้อนรังสี UV ได้มากน้อยไม่เท่ากัน โดยหิมะสามารถสะท้อนรังสี UV ได้มากถึง 80% พื้นทรายสามารถสะท้อนรังสี UV ได้ 15% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเฉพาะบุคคลที่มีผลต่อปริมาณรังสีและความรุนแรงที่จะได้รับ อย่างเช่นสีผิว อาชีพ และวัฒนธรรม ผู้ที่มีผิวขาวจะได้รับผลกระทบจากรังสี UV ได้ง่ายกว่าและมากกว่าผู้ที่มีผิวสีเข้ม และผู้ประกอบอาชีพที่ต้องทำงานในที่ร่มก็จะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็มีผลอย่างมาก เช่นชาวอเมริกกันหรือชาวยุโรปจะชอบอาบแดดและชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่าคนไทย เรื่องศาสนาก็มีส่วนเหมือนกัน เช่นผู้หญิงทีที่นับถืออิสลามอย่างเคร่งครัดก็จะแต่งตัวอย่างมิดชิดสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อลดอันตรายต่อร่างกายที่เกิดจากรังสี UV หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดในช่วงเวลากลางวัน (สวยแสดกลางแดดจัด ระวังเหี่ยวเร็ว) ช่วงเวลาประมาณ 10.00 16.00 น. เป็นช่วงที่มีรังสี UV เข้มข้นที่สุด เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่งกายสู้แดด (แต่มิดชิดขนาดนี้ก็เกินไปหน่อย) การเลือกใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สามารถช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV ด้ส่วนหนึ่ง แต่จะปกป้องได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้า ความถี่ในการทอ และสี ผ้าที่ทออย่างแน่นหนาอย่างผ้ายีนส์จะป้องกันรังสี UV ได้ดี และผ้าที่มีสีเข้มจะดูดซับรังสีได้มากกว่าผ้าที่มีสีอ่อน (แต่ผ้าสีเข้มก็ดูดซับความร้อนได้มากกว่าด้วย) การสวมแว่นตากันแดดที่เคลือบสารกรองรังสี UV จะช่วยปกป้องดวงตาและผิวรอบดวงตาจากรังสี UV ได้เป็นอย่างดี และสวมหมวกปีกกว้างก็จะช่วยปกป้องเส้นผม หนังศีรษะ ใบหู ใบหน้าได้ด้วยกางร่ม เป็นเทรนด์ใหม่ (กางร่มท่านี้เดินข้างนอกคงเปรี้ยวน่าดู) ร่มไม่ได้มีเอาไว้ใช้เวลาฝนตกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป โดยเฉพาะในเขตที่รังสี UV แรงทะลุทะลวงอย่างประเทศไทย การกางร่มจะช่วยสร้างร่มเงาลดปริมาณรังสี UV ที่จะมากระทบกับผิวเราได้ถึง 50% ผู้ใดคิดว่าคนที่กางร่มทั้งที่แดดเปรี้ยง ๆ นั้นประหลาด แปลว่าคุณ ตกเทรนด์ ต้องรีพอัพเดทให้ทันอย่างด่วนหลีกเลี่ยงการใช้ Tanning Bed หรือ Sunlamps (ได้ผิวแทนพร้อมมะเร็งเป็นของแถม) อย่าไปเชื่อว่าการใช้ Tanning Bed หรือ Sunlamps จะทำให้ผิวเราเปลี่ยนเป็นสีแทนสวยได้โดยไม่มีอันตราย เพราะถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นรังสี UV จะให้มาจากแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มันก็อันตรายเหมือนกันทั้งนั้น อยากมีผิวสีแทนสวย ก็ใช้ผลิตภัณฑ์พวก Self-Tanner จะปลอดภัยกว่าใช้ Sunscreen เป็นประจำ ใช้ครีมกันแดดที่สามารถปกป้องผิวได้ครบทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF ขั้นต่ำ 15 - 30 (ตามแต่ค่า UV-Index ของแต่ละพื้นที่) รายละเอียดเรื่อง Sunscreen จะมีเพิ่มเติมอย่างละเอียดยิบในบทถัดไป ในบทถัดไปจะอธิบายว่าสารกันแดดมีกี่ประเภท แต่ละประเภททำงานอย่างไร และสารแต่ละจัวมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ตอนเนื่องจากข้อมูลเยอะมากจนไม่สามารถใส่ใน Blog เดียวได้ - Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part1 - Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part2
Create Date : 08 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2551 2:34:43 น.
15 comments
Counter : 11075 Pageviews.
โดย: dera IP: 125.27.45.138 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:02:29 น.
โดย: sriwis IP: 125.26.172.203 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:06:11 น.
โดย: ชาช่า IP: 125.25.29.211 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:20:01 น.
โดย: PP IP: 124.120.222.182 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:32:02 น.
โดย: บี IP: 58.9.252.47 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:51:51 น.
โดย: Teddy IP: 124.121.162.89 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:00:29 น.
โดย: kheeze IP: 118.172.25.57 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:30:35 น.
โดย: pook IP: 168.120.43.31 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:57:56 น.
โดย: แพร IP: 203.131.211.142 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:46:20 น.
โดย: yo9596 IP: 203.130.159.4 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:14:24 น.
โดย: Nikar IP: 64.254.121.18 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:43:35 น.
โดย: bakerysong IP: 58.8.159.97 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:36:07 น.
โดย: blueskymay วันที่: 12 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:58:40 น.
โดย: dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32 IP: 157.7.205.214 วันที่: 22 กรกฎาคม 2557 เวลา:5:09:56 น.
Advertisement
หากมีคำถามหรือต้องการคำปรึกษา
สามารถทิ้งคำถามไว้ได้ที่หน้า Wall ของ Facebook ครับ
Web Counter
Counter Start on 29 September 2008
Search by Google
ค้นหาข้อมูลและรีวิวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการภายในBlog ของปูเป้ได้ไม่ยากด้วย Google Search Box ด้านล่างนี้เลยขอรับ
รออ่านบทถัดไปอยู่นะคะ