"ความรู้" คู่ "ความงาม"
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part1


เกริ่นนำ

ถ้าจะพูดถึง Sunscreen หรือ ครีมกันแดด กระผมว่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะอธิบายถึงหลักการการทำงานของ Sunscreen และคุณสมบัติต่าง ๆ ของสารกันแดดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

Sunscreen มีประโยชน์ในการช่วยสะท้อนหรือดูดซับ (หรือทั้งสองอย่าง) เพื่อปกป้องและลดผลกระทบจากรังสี UV ที่จะมีต่อผิว โดยสารสำคัญที่ใช้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามคุณสมบัติในการทำงาน

1. Physical Sunscreen (Inorganic Particulates )

สารกันแดดแบบ Physical ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระจกคอยสะท้อนหรือหักเหรังสี UV ออกไปจากผิว สารในกลุ่มนี้มีอยู่สองตัวคือ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide

2. Chemical Sunscreen (Organic Chemical)

สารกันแดดแบบ Chemical ทำหน้าที่ดูดซับรังสีไม่ให้ทุละผ่านไปยังผิวหนังได้ สารในกลุ่มนี้มีอยู่เหลายตัว แต่ที่พบได้บ่อยก็จะเป็น Octyl Methoxycinnamate (Octinoxate), Benzophenone-3 (Oxybenzone)และ Butyl Methoxydibenzoylmethane (Avobenzone) เป็นต้น

3. Hybrid (Organic Particulates)

สารกันแดดแบบ Hybrid นั้นมีคุณสมบัติควบทั้งสะท้อนและดูดซับรังสีในตัวเอง ซึ่งปัจจุบัน (ปี 2008) มีสารตัวเดียวที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol หรือ Tinosorb M





ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับสารกันแดดแต่ละชนิด


ช่วงคลื่นของรังสี UV ที่สามารถป้องกันได้


สารกันแดดแต่ละตัวก็สามารถปกป้องผิวจากรังสี UV ได้มากน้อยไม่เท่ากัน บ้างก็กันแค่ UVA บ้างก็กันแค่ UVB การทราบว่าสารกันแดดตัวใดสามารถป้องกันรังสีได้มากน้อยแค่ไหนจะช่วยให้เราเลือกซื้อ Sunscreen ที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวอย่างสูงสุด


ความเสถียร


สารกันแดดส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างเสถียรและมีคงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีได้ตราบใดที่สารเหล่านั้นยังติดอยู่บนผิว แต่ก็มีสารกันแดดบางชนิดอย่าง Avobenzone และ Octinoxate ที่จะ Degrade หรือ Breakdown จนเสื่อมประสิทธิภาพในการดูดซับรังสีลงเมื่อเผชิญกับรังสี UV ซึ่งเราสามารถป้องกันได้โดยการผสมสารกันแดดบางชนิดที่มีคุณสมบัติในการเป็น Stabilizer อย่าง Octocrylene เพื่อป้องกันการ Degrade หรือ Breakdown


ผลข้างเคียง


สารกันแดดบางตัวมีผลข้างเคียงด้านลบต่อผิว บางตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้หรือการระคายเคืองได้ง่าย การทราบว่าสารกันแดดตัวใดอาจก่อผลเสียกับผิวได้อย่างไรบ้างจะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะกับผู้ที่มีผิว Sensitive


คุณสมบัติในการละลายในน้ำหรือน้ำมัน


สารกันแดดบางตัวละลายในน้ำ บางตัวละลายในน้ำมัน สารกันแดดที่ละลายในน้ำมีข้อดีตรงที่ให้ความรู้สึกบางเบาไม่หนักหน้า แต่ก็หลุดออกได้ง่ายเมื่อโดนน้ำหรือเหงื่อออก สารกันแดดที่ละลายในน้ำมันนั้นจะทนติดผิวได้ทนทานกว่า แต่ก็สามารถซึมลงผิวได้มากกว่าด้วย ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองได้ง่ายกว่าสารกันแดดที่ละลายในน้ำเช่นกัน





Common Sunscreen Ingredients


สารกันแดดจริงๆ มีเยอะแยะมากมายกว่า 30 ชนิด แต่ที่เห็นใช้กันบ่อยจริง ๆ มีประมาณ 15 -20 ชนิดเท่านั้น จึงขอเลือกคัดมาเฉพาะตัวที่พบได้บ่อย นิยมใช้ น่าสนใจ หรือกำลังมาแรง ซึ่งอยู่ในตารางด้านล่างนี้ โดยจะแสดงชื่อมาตรฐานของสาร (INCI) และให้รายละเอียดคร่าว ๆ ว่าสารตัวนั้นกันรังสีในช่วงไหนได้บ้าง

Photobucket


สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเบื้องลึกและรายละเอียดปลีกย่อยของสารกันแดดแต่ละตัวก็สามารถดูได้ด้านล่างนี้

(เนื่องจากข้อมูลล้นจนใส่ใน Blog เดียวไมได้ จึงต้องแยกเป็นสองส่วนนะขอรับ)





Part 1 (หน้าปัจจุบัน)


1. Physical Sunscreen (กรอบสีเขียว)

- Titanium Dioxide
- Zinc Oxide
- รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Nanoparticles ของ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide

2. Chemical Sunscreen Part 1 (กรอบสีเหลือง)

- 4-Methylbenzylidene Camphor (Enzacamene)
- Benzophenone-3 (Oxybenzone)
- Benzophenone-4 (Sulisobenzone)
- Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (Tinosorb® S)
- Butyl Methoxydibenzoylmethane (Avobenzone)
- รายชื่อสารที่ใช้เป็น Stabilizer ให้กับ Avobenzone




Part 2 (หน้าถัดไป)


2. Chemical Sunscreen Part 2 (กรอบสีเหลือง)

- Diethylamino Hydroxybenzoyl Hexyl Benzoate
- Disodium Phenyl Dibenzimidazole Tetrasulfonate
- Drometrizole TriSiloxane (Mexoryl® XL)
- Ethylhexyl dimethyl PABA (Padimate O)
- Homomenthyl Salicylate (Homosalate)
- Menthyl Anthranilate (Meradimate)
- Octocrylene
- Octyl Methoxycinnamate (Octinoxate)
- Octyl Salicylate (Octisalate)
- Phenylbenzimidazol Sulfonic Acid (Ensulizole)
- Polysilicone-15
- Terephthalylidene Dicamphor Sulfonic Acid (Mexoryl® SX)


3. Hybrid (กรอบสีแดง)

- Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol (Tinosorb® M)




โดยจะให้ข้อมูลจำเพาะต่าง ๆ ดังนี้


INCI Name : ชื่อมาตรฐานของสารตัวนั้น
Other Name : USAN Name, Trade Name หรืออื่น ๆ
Maximum Concentration : ความเข้มสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้
Solubility : ละลายในน้ำ / น้ำมัน หรือไม่ละลายในน้ำและน้ำมัน
Stability : เสถียรหรือไม่
Protected Wavelengths : ช่วงคลื่นของรังสี UV ที่สามารถป้องกันได้ (อิงตามความเข้มข้นสูงสุด)
Other Details : รายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ
Summary : สรุปข้อดีข้อเสีย

***Note***

รายละเอียดเรื่องสารกันแดดและข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้รวบรวมและสรุปมาจากหลายๆ แหล่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจาก Google และเวปไซท์เหล่านี้

//www.cosmeticsbusiness.com
//www.in-cosmetics.com
//www.cosmetics.basf.de (หนึ่งในผู้ผลิตสารกันแดด)
//www.ciba.com (หนึ่งในผู้ผลิตสารกันแดด)
//www.cosmeticsdatabase.com
//www.smartskincare.com
//www.wikipedia.org
//www.skincancer.org
//www.skintherapyletter.com
//www.jnanobiotechnology.com
//ec.europa.eu/health/index_en.htm
//www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/088/17.PDF
//makeupalley.com





Physical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : Titanium Dioxide

Other Name : Ti02

Maximum Concentration : 25% (USA, EU, AUS, TH)

Solubility : Insoluble (Usually added to oil Phase)

Stability : เสถียร

Protected Wavelengths : 290 – 400 nm (Broad Spectrum)

*** แต่ช่วงที่ปกป้องได้ดีที่สุดคือ 290-350 nm (UVB และ UVA-II) ช่วง350-400 nm (UVA-I) ลงไปจะปกป้องได้ไม่ค่อยดีนัก และหากเป็นแบบ Microfine / Micronize ก็จะปกป้องได้น้อยลง และถ้าเป็น Nanosize / Nanoparticles ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก***

Other Details :

ขนาดปกติของ Titanium Dioxide นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 150 - 300 นาโนเมตร สามารถจะท้อนรังสีที่มีช่วงคลื่นตั้งแต่ 290 – 700 nm ซึ่งช่วงคลื่นตั้งแต่ 400 - 700 nm เป็นช่วงของ Visible Light หรือแสงที่เรามองเห็นนั่นเอง ผลก็คือทำให้ Titanium Dioxide สะท้อนแสงได้ดีมากจนเห็นเป็นสีขาวจั๊วะจนหน้าวอกเป็นเกอิชา จึงได้มีการย่อขนาดของอานุภาคให้เล็กลงเพื่อให้ Titanium Dioxide สะท้อนแสงได้น้อยลง และถ้าย่อให้เล็กจนถึงขนาด Nanoparticles ซึ่งมีอานุภาคเล็กกว่า 50 นาโนเมตร Titanium Dioxide ก็แทบจะไม่สะท้อนแสงเลย (แบบว่า Invisible หรือ Transparent) ทาไปหน้าก็จะไม่วอกเหมือนแบบเก่าแต่ประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสี UV ก็จะได้มากสุดเพียง 350 nm (UVB และ UVA-II) เท่านั้น

Summary :

ข้อดี - เป็นสารกันแดดที่ปลอดภัย ไม่ซึมลงผิวจึงไม่ก่อการระคายเคือง เหมาะสำหรับผิวที่บอบบางอย่างผิวเด็ก หรือผิว Sensitive มีความเสถียรสูง สามารถป้องกันรังสี UVB และ UVA-II ได้เป็นอย่างดี ถ้าเป็น Titanium Dioxide ขนาดปกติจะสามารถกัน UVA-I ได้ด้วย

ข้อเสีย – มีโอกาสอุดตันผิวได้มากกว่า Chemical Sunscreen และทำให้หน้าขาววอกได้ซึ่งเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าเป็น Titanium Dioxide แบบ Nanoparticles ไม่สามารถป้องกัน UVA-I ได้ เราจึงควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมของ Zinc Oxide พ่วงมาด้วยจะดีที่สุด




Physical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : Zinc Oxide

Other Name : ZnO

Maximum Concentration : 25% (US, TH) 20% (AUS) ( EU ยังไม่ได้กำหนด)

Solubility : Insoluble (Usually added to oil Phase)

Stability : เสถียร

Protected Wavelengths : 290 – 400 nm (Broad Spectrum)

Other Details :

Zinc Oxide เป็นสารกันแดดที่ใช้คุณสมับติในการ “สะท้อนรังสี” เหมือนกับ Titanium Dioxide และยังสะท้อนแสงได้ดีจนทำให้หน้าขาววอกเหมือนกันอีกด้วย แต่สิ่งที่ Zinc Oxide มีข้อดีเหนือว่าก็ตรงที่ถึงแม้จะย่อขนาดจนเป็น Nanoparticles ก็ยังคงสามารถป้องกันรังสี UVA ได้มากสุดถึง 380-400 nm (ซึ่ง Titanium Dioxide แบบ Nanoparticles ทำได้แค่ 350 nm)

นอกจากนี้ Zinc Oxide ยังมีคุณสมบัติพิเศษอย่างอื่นอีกหลายหลาย ตั้งแต่ช่วยต้านการระคายเคือง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบบอ่อน ๆ ช่วยลดผดผื่นแพ้ (พวก และยังอาจมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์อีกด้วย

Summary

ข้อดี – ปกป้องผิวได้ครบถ้วนทั้ง UVA-I, UVA-II และ UVB ถึงแม้จะเป็นขนาด Nanoparticles ก็ตาม ไม่ก่อการระคายเคืองและยังมีคุณสมบัติต้านการระคายเคืองไปในตัวอีกด้วย จึงเหมาะกับผิว Sensitive มากที่สุด

ข้อเสีย - มีโอกาสอุดตันผิวได้มากกว่า Chemical Sunscreen และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Zinc Oxide ล้วนจะมีค่า SPF ไม่มากนัก จะต้องผสมคู่กับสารกันแดดชนิดอื่นเพื่อเพิ่ม SPF (Zinc Oxide 25% ได้ค่า SPF แค่ประมาณ 13.9 แต่ Titanium Dioxide 25% ได้ค่า SPF ตั้ง 44 แน่ะ)






รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Nanoparticles ของ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide


เดิมทีขนาดอานุภาคของ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide นั้นค่อนข้างใหญ่และไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ (Titanium Dioxide = 150-300 nm, Zinc Oxide = 200-400
nm) แต่เมื่อมีการพัฒนาย่อขนาดให้เล็กถึงระดับ Nanoparticles (เล็กกว่า 50 nm. และเล็กได้จนถึง 2 nm.) ก็เกิดคำถามว่า มันจะเล็กมากพอที่จะซึมเข้าสู่ผิวจนเกิดพิษต่อร่างกายรึเปล่าจึงก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันไปต่าง ๆ นานา ๆ

การย่อ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide ให้เป็น Nanoparticles อาจจะส่งผลให้มี Photocatalytic Activity เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับแสงแดด ซึ่งจะปลดปล่อย Free Radical หรือ อนุมูลอิสระ ที่ทำร้ายผิวมากขึ้น ผู้ผลิต Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles จึงทำการเคลือบ (Coated) อานุภาคเหล่านี้ด้วยสารจำพวกซิลิโคนเพื่อพยายามลดความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็เชื่อว่าการเคลือบนี้ก็ยิ่งไปลดประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีให้ยิ่งน้อยลงไปอีก

ข้อมูลในปัจจุบันพอสรุปได้ว่า Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles ไม่สามารถซึมผ่านเข้าผิวหนังได้จึงยังคงปลอดภัยที่จะใช้ครีมกันแดดที่มี Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles

แต่มีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles บนผิวที่ไม่สมบูรณ์ มีบาดแผลหรือช่องเปิดเพราะมีโอกาสที่ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles จะซึมเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ยังควรระวังมิให้สูดอานุภาคของ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แบบ Nanoparticles เข้าสู่ปอดเพราะอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้





Chemical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : 4-Methylbenzylidene Camphor

Other Name : Enzacamene, Parsol® 5000, Eusolex® 6300

Maximum Concentration : 4% (EC, TH, AUS)

Solubility : Oil Soluble

Stability : เสถียร

Protected Wavelengths : 290 – 300 nm.

Other Details :

ตัวสารมีลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายได้ดีในน้ำมันหรือสารกันแดดแบบ Oil Soluble ตัวอื่นที่เป็นของเหลว ประโยชน์หลักคือใช้เพื่อเพิ่มค่า SPF ของผลิตภัณฑ์ และใช้เป็น Stabilizer ให้ Avobenzone

Summary :

ข้อดี – ใช้เพิ่มค่า SPF ของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นและเป็น Stabilizer ให้ Avobenzone

ข้อเสีย – ไม่ปกป้องผิวจาก UVA





Chemical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : Benzophenone-3

Other Name : Oxybenzone

Maximum Concentration : 6% (US) 10% (AUS, TH)

Solubility : Oil Soluble

Stability : เสถียร

Wavelengths Covered : 270-360 nm

Other Details :

Benzophenone-3 หรือ Oxybenzone เป็นสารกันแดดที่ค่อนข้างเสถียรแต่ค่อนข้างจะ Weak หรือกันแดดได้ไม่ดีนัก จำเป็นต้องใช้ในความเข้มข้นที่มากสักหน่อยถึงจะปกป้องผิวได้ดีจริง ๆ ปัญหามีอยู่ว่า Oxybenzone สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีเมื่อใช้ในความเข้มข้นสูงจึงอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีผิว Sensitive ยังคงต้องมีการศึกษาเรื่องผลข้างเคียงในระยะยาวอีกมากในอนาคต

ทาง Skin Cancer Foundationยังเชื่อว่า Oxybenzone สามารถใช้เป็น Stabilizer ให้กับ Avobenzone ได้ ซึ่งทาง Neutrogena ได้ใช้เทคโนโลยี Helioplex ซึ่งเป็นการผสม Avobenzone กับ Oxybenzone โดยระบุว่า Oxybenzone จะช่วยชะลอการ Degrade ของ Avobenzone ได้ แต่ใน Helioplex ก็มีส่วนผสมของ Diethylhexyl 2,6-naphthalate (DEHN) เป็น Stabilizer ด้วย จึงยังสรุปไม่ได้ว่าแค่ Oxybenzone อย่างเดียวจะเป็น Stabilizer ที่ดีให้กับ Avobenzone ได้รึเปล่า

Summary :

ข้อดี – ใช้เพิ่มค่า SPF ให้กับผลิตภัณฑ์ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA-II และ UVB ได้

ข้อเสีย – ไม่สามารถป้องกันรังสี UVA-I ได้ สามารถซึมลงผิวหนังได้ดีจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวที่ยังไม่สมบูรณ์อย่างผิวเด็ก





Chemical Sunscreen

Photobucket


INCI Name : Benzophenone-4

Other Name : Sulisobenzone

Maximum Concentration : 5% (EC, TH) 10%(US, AUS)

Solubility : Water Soluble

Stability : เสถียร

Wavelengths Covered : 260-360 nm

Other Details :

Benzophenone-4 หรือ Sulisobenzone เป็นสารกรองรังสีที่ค่อนข้าง Weak ยิ่งกว่า Oxybenzone แต่การใช้ในความเข้มข้นสูงนั้นก็ยังปลอดภัยกว่า Oxybenzone เพราะ Sulisobenzone นั้นซึมเข้าผิวได้น้อย แต่ก็ไปทำให้สารกันแดดตัวอื่นซึมลงผิวได้ดีขึ้นกว่าปกติ (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไรนัก) และมีโอกาสเล็กน้อยก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและดวงตาได้เหมือนกัน

เราจะไม่ค่อยพบเห็น Sulisobenzone ในครีมกันแดดสักเท่าไหร่ เพราะ Sulisobenzone มักจะใส่ในผลิตภัณฑ์อย่างพวกเจลล้างหน้า อาบน้ำ เจลแต่งผม เพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์จากการเสื่อมคุณภาพเนื่องจากรังสี UV

Summary :

ข้อดี – ค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้

ข้อเสีย – กันแดดได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และกัน UVA ได้ไม่ครบ





Chemical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine

Other Name : Tinosorb® S, Bemotrizinol

Maximum Concentration : 10% (TH, EC, AUS)

Solubility : Oil Soluble

Stability : เสถียร

Wavelengths Covered : 280-400 nm (Broad Spectrum)

Other Details :

Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine หรือ Tinosorb S จากบริษัท Ciba นั้นเป็นหนึ่งในสารกันแดดแบบ Chemical ไม่กี่ตัวที่ปกป้องผิวได้ครบทั้ง UVA และ UVB อีกทั้งยังเสถียรอย่างมากและช่วยเป็น Stabilizer ให้กับ Avobenzone ได้เป็นอย่างดี

เท่าที่มีข้อมูลอยู่ สารกันแดดตัวนี้ไม่ซึมลงสู่ผิวหนังและมีโอกาสก่อการระคายเคืองได้น้อยมาก จึงถือว่าเป็นหนึ่งในสารกันแดดที่ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ดี Tinosorb S ยังต้องมีการทดสอบอีกมากในเรื่องผลกระทบระยะยาวและผลเสียต่อผิวในระดับที่ลึกลงไป

Summary :

ข้อดี – กันแดดได้ครบถ้วน มีความเสถียรมาก มีความปลอดภัยสูง (เท่าที่มีข้อมูล)

ข้อเสีย – ยังขาดข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาวอยู่





Chemical Sunscreen


Photobucket


INCI Name : Butyl Methoxydibenzoylmethane

Other Name : Avobenzone, Parsol 1789, Eusolex 9020, Escalol 517

Maximum Concentration : 3% (US) 5% (TH, EC,AUS)

Solubility : Oil Soluble

Stability : ไม่เสถียร (แถมปัญหาเยอะอีกต่างหาก)

Wavelengths Covered : 310-400 nm

Other Details :
Butyl Methoxydibenzoylmethane หรือ Avobenzone เป็นหนึ่งในสารกันแดดแบบ Chemical ไม่กี่ตัวที่สามารถปกป้องผิวจาก UVA ได้ครบ จึงทำให้ Avobenzone ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาก (โดยเฉพาะในอเมริกา) และมีความปลอดภัยสูง ซึมลงผิวได้น้อยมาก และโอกาสเกิดการแพ้หรือระคายเคืองต่ำ แต่สามารถปลดปล่อยอนุมูลอิสระที่ทำร้ายผิวออกมาเมื่อได้รับรังสี UVA (โดยเฉพาะเมื่อผสมกับ Octinoxate)

ปัญหาสำคัญก็คือ Avobenzone สามารถ Degrade หรือเสื่อมประสิทธิภาพในการดูดซับรังสีลงถึง 50% เมื่อเผชิญกับรังสี UV เพียง 30 นาที ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการผสม Avobenzone เข้ากับสารดูดซับรังสีหรือสารเคมีตัวอื่นที่สามารถช่วยปกป้อง Avobenzone ได้

ปัญหาอีกอย่างคือ Tatanium Dioxide และ Zinc Oxide สามารถทำให้ Avobenzone เสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้ Tatanium Dioxide และ Zinc Oxide ที่มีการ Coat หรือเคลือบสารพวกซิลิโคนมาด้วย (พวก Microfine, Micronized หรือ Nanoparticles จะมีเคลือบอยู่แล้ว) แต่บริษัทเครื่องสำอางส่วนใหญ่จะไม่ได้บอกข้อมูลเหล่านี้มาหรอก เพื่อเป็นการป้องกัน เราจึงไม่ควรใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ Avobenzone กับ Tatanium Dioxide และ Zinc Oxide หรือหลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ Avobenzone ร่วมกับ Mineral Makeup (MMU) นอกจากนี้ ผู้ผลิต Avobenzone ยังแนะนำว่าไม่ควรใส่ Avobenzone ร่วมกับสารกันแดดกลุ่ม PABA อย่าง Ethylhexyl dimethyl PABA (Padimate O)และ Octinoxate

Octinoxate จะทำให้ Avobenzone เสื่อมเร็วกว่าปกติ และ Octinoxate ยังทำให้ส่วนผสมของ Stabilizer ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ (คือ Stabilizer ยังคงช่วยชะลอการ Degrade ของ Avobenzone ได้อยู่บ้างแต่ได้ไม่ดีเท่ากับการไม่ผสม Octinoxate มาเลย)

สรุปแล้ว ถ้าจะเลือกใช้ครีมกันแดดที่มี Avobenzone ก็ต้องเลือกชนิดที่มี Stabilizer มาให้ (รายชื่อสารที่เป็น Stabilizer ให้ Avobenzone อยู่ด้านล่าง) และไม่ควรมีส่วนผสมของ Titanium Dioxide, Zinc Oxide, Octinoxate และ Padimate O

***Note***

ข้อมูลเรื่อง Octinoxate มีผลต่อ Avobenzone และ Stabilizer อย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้อย่างละเอียดที่ A New Photostabilizer for Full Spectrum Sunscreens

ปัญหาอื่น ๆ ก็คือ Avobenzone อาจทำให้เสื้อผ้ามีคราบเหลือง ๆ ได้หากน้ำประปาในประเทศนั้นมีปริมาณ Iron อยู่สูง

Summary :

ข้อดี – กันรังสี UVA ได้ครบ มีความปลอดภัยสูง

ข้อเสีย – เรื่องมาก ปัญหาเยอะ และไม่เสถียรเอาเสียเลย (แต่แก้ได้ด้วยการเติม Stabilizer)





รายชื่อสารที่ใช้เป็น Stabilizer ให้กับ Avobenzone


- 4-Methylbenzylidene camphor (Enzacamene)
- Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (Tinosorb® S, Bemotrizinol)
- Butyloctyl Benzoate
- Butyloctyl Salicylate
- Diethylhexyl 2,6-Naphthalate (DEHN, Corapan® TQ) (DEHN + Oxybenzone = Helioplex®)
- Diethylhexyl Syringylidene Malonate (Oxynex® ST)
- Hexadecyl Benzoate
- Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol ( Tinosorb® M, Bisoctrizole)
- Octocrylene
- Polyester-8 (Polycrylene)
- Polysilicone-15 (Parsol SLX)
- Terephthalylidene Dicamphor Sulfonic Acid (Mexoryl® SX, Ecamsule)





อ่านต่อได้ที่ Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part2




Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 1 มีนาคม 2552 16:12:55 น. 15 comments
Counter : 31630 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ อ่านจบแล้วตาลายเลย

ว่าแต่จะมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ดี ไม่ดีไหมคะ


โดย: คุณย่าเซ็กซี่ วันที่: 13 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:19:30 น.  

 
ข้อมูลล้นหลาม...

ขอบคุณมากนะคะที่มาสรุปแบบนี้ อ่านเองคงไม่มีปัญญาแปล ^^"


โดย: cHoCz วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:36:10 น.  

 
โทดนะค้าบ แบบว่าผมใช้มั่วไปหมดอะคับ เพราะไม่รู้ว่าตัวไหนมันดี ใช้เผื่อตลอด ไปซื้อของก็ได้เซ็ตไวท์โซลูชั่นแถมมาด้วย เลยใช่มั่วใหญ่เลยอะคับ ผมคนผิวมัน แต่ไม่ค่อยแพ้อะไรคับ มีสิวแอบๆใต้ผิวบ้าง ตอนทำงานก็นั่งอยู่หน้าจอมอนิเตอร์ไม่ต่ำกว่าวันละ 8 ชม. อะคับ ไม่ค่อยออกแดดอ่ะ

ตอนนี้ผมใช้กันแดดสามตัวนี้อยู่อะคับ

1. Proactiv Oil Free Moisture SPF 15 ( ไหนๆก็ใช้เซ็ตโปรแอคทีฟ ยังไงก็คงต้องใช้อะคับ ) เป็นน้ำทาง่ายดีคับ ทาเสร็จมันนิดๆ หน้าขาวขึ้นมาหน่อยๆ

ingredients : water (aqua), ethylhexyl methoxycinnamate, diethylhexyl sebacate, cyclopentasiloxane, propylene glycol, hydroxypropyl starch phosphate, cyclohexasiloxane, cetearyl alcohol, glyceryl stearate, PEG-100 stearate, dimethicone, ceteareth-20, nylon-12, aluminium starch octenylsuccinate, acrylates/C10-30 alkyl acrylate crosspolymer, xanthan gum, triethoxycaprylylsilane, sodium hydroxide, disodium EDTA, methylisothiazolinone, phenoxyethanol, zinc oxide (CL 77947)

ทำมายมันเยอะจัง แต่แค่ SPF15 แถมม่ายมี PA+++


2. Eucerin White Solution Whitening Extra Treatment Fluid SPF 40

เพิ่งเริ่มใช้อะคับ ไม่ได้ซื้อมาหรอกคับ ซื้อแล้วได้เซ็ตแถมมาบ้าง รวบรวมความกล้าขอเขาบ้าง ห่ะๆๆ

ingredients : Aqua, Butylene Glycol Dicaprylate/Dicaprate, Glycerin, C12-15 Alkyl Benzoate, Diethylhexyl Butamido Triazone, Alcohol Denat., Titanium Dioxide, Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine (Tirosorb® s), Butyl Methoxydibenzoylmethane, Cyclomethicone, Cetearyl Alcohol, Cetyl Alcohol, C18-36 Acid Triglyceride, Glyceryl Stearate SE, Tocopheryl Acetate, Hydrogenated Coco-Glycerides, VP/Hexadecene Copolymer, Ethylhexylglycerin, Xanthan Gum, PEG-40 Caster oil, Trisodium EDTA, Sodium Cetearyl Sulfate, Trimethoxycaprylylsilane, Phenoxyethanol, Methylparaben, Propylparaben

เยอะจงเง็งคับ เริ่มสงสัยแล้วว่า ไอ้ตัว PEG ค่าต่างๆ นี่คืออะไร C12-15 เดาว่าน่าจะเป็นตำแหน่งคาร์บอนมั้งคับ แต่ไม่รู้ประโยชน์อะไรหรอก หะๆ

3. SpectraBAN ACE Sunscreen Ultra Light Fluid SPF 50 PA+++ (PPD 19)

อันนี้เป็นน้ำซึมได้ดีอะคับ แห้งเร็วดี ไม่เหนอะหนะคับ หน้าสว่างด้วยอ่ะคับ

ingredients : Ethylhexyl Methoxycinnamate 8%, Methylene Bis-Benzotrizolyl Tetramethylbultylphenol 5%, Butyl Methoxydibenzoylmethane 2%, ACE Complex 0.1%


น้อยจังอ่ะ
แต่พอใช้สามตัว หน้าผมมีแต่สารอะไรไม่รู้ ตีกันมั่วหมดอ่ะคับ
หน้าผมจะพังป่ะเนี่ย แค่กันแดดอย่างเดียว
กลุ้มๆ
คุณปูเป้ว่าผมบ้าป่าวคับ แล้วผมสมควรจะตัดตัวไหนออกป่าวคับ ?


โดย: อ้นคับ IP: 118.175.72.122 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:10:19 น.  

 
ถ้าไม่ใช้ทุกตัวพร้อมกันหรือทาทับกัน ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรหรอกขอรับ

เลือกใช้ให้เหมาะสมกับปริมาณรังสีที่เราจะเจอแต่ละวันจะดีกว่า

ถ้าทำงานหน้าคอมก็ใช้ SPF 15 พอ (จอคอมไม่ได้มีรังสีมากขนาดนั้นหรอก)ถ้ามีออกไปข้างนอกโดนแดดก็ใช้ตัว SPF 40 หรือ 50 ก็ได้ (เลือกเอา)

ทั้ง 3 ตัวที่ให้มากัน UVA ได้ และก็เสถียรดี (เว้น Proactive SPF 15 ไว้สักตัว เพราะ ethylhexyl methoxycinnamate มันไม่เสถียรและไม่มี Stabilizer มาด้วย ตัวที่กันแดดให้เราจริงๆ ก็มีแค่ Zinc Oxide 2.85 % ซึ่งน้อยนิด... (ทำให้หน้าขาวด้วย)


โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:41:18 น.  

 
แวะมาถามตรงนี้บ้างนะค่ะ
คุณปูเป้ค่ะ สมมติว่าหาก sun screen เรา SPF 20 รองพื้น SPF 15 และ แป้งแข็ง SPF 30 นี่....... ดิฉันอยากจะถามว่า กรณีเช่นนี้ประสิทธิภาพรวมของการกันแดด จะเท่ากับเท่าไหร่ค่ะ
ดิฉันคิดเอาเล่นๆว่าให้เอาค่าของ SPF มาบวกกัน ซึ่งจะได้ 20+15+30 = 65 นั่นคือ SPF 65
แต่....เคยมีเพื่อนดิฉันบอกว่าให้ยึดตามตัวที่มี SPF มากที่สุด หากเป็นเช่นนี้ประสิทธิภาพรวมของการกันแดด ของดิฉันจะเท่ากับ SPF 30
คุณปูเป้คิดว่าเป็นเช่นไรค่ะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: ชมพู่ IP: 202.28.27.3 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:49:04 น.  

 
ให้ยึดตาม SPF สูงสุดของ "ครีมกันแดด" ขอรับ พวกรองพื้นผสมกันแดดหรือแป้งผสมกันแดดนั้นเราไม่ควรจะไปคาดหวังค่า SPF จากมัน เพราะการที่จะได้ค่า SPF ตามที่ระบุไว้นั้นต้องใช้ในปริมาณ 2mg ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร(คือจะได้ SPF 30 ตามที่ตลับแป้งระบุไว้ เราต้องใช้แป้งปริมาณครึ่งช้อนชาทีเดียว ถ้าโปะแป้งขนาดนั้นลงไปบนหน้าก็คงวอกน่าดู และเราคงไม่ทารองพื้นมากขนาดนั้นหรอกนะขอรับ)

สรุปแล้ว ค่า SPF ที่เราได้จริงๆ ก็คือ 20 จากครีมกันแดด


โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:54:20 น.  

 
กำลังสงสัยตัว Octinoxate กับ Oxybenzone อยู่พอดีเลยเห็นหลายยี่ห้อชอบใส่ผสมมากับ Avobenzone ( ของพอลล่าก้อมีบางตัว ) ตอนนี้เข้าใจหละว่ามันไม่ช่วย Stabilizer ขอบคุณมากคุณปูเป้กระจ่างขึ้นเยอะๆ เลย
หลายวันก่อนเข้า hi5 เจอคุณปูเป้กับขนมที่ทำ น่ากินมากๆโดยเฉพาะช๊อคโกแลตใบพัดทำยังงัยหงะเก่งจัง


โดย: two _kid IP: 58.8.133.20 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:00:35 น.  

 
กำลังใช้ครีมกันแดดลึกลับยี่ห้อนึงอยู่ค่ะ (ไม่กล้าเปิดเผยชื่อ กลัวจะโดนมิใช่น้อย) แต่กำลังจะลองใช้ BHA ของป้าพอลล่าด้วย เลยอยากให้คุณปูเป้ช่วยตรวจสอบนิดนึงค่ะ (กลัวใช้ด้วยกันแล้วเยิน)

Active Ingredients: Cyclopentasiloxane, Water, Zinc Oxide, Titanium Dioxide, Peg-10 Dimethicone, Polyglyceryl-2 Diisostearate, Butylene Glycol, Isostearyl Palmitate, Cetyl Alcohol, Ergothioneine, Tocopheryl Acetate, Aluminum Hydroxide, Phenoxyethanol, Stearic Acid, Dimethicone/Vinyl Dimethicone Crosspolymer, Methylparaben, Xanthan Gum, Butylparaben, Ethylparaben, Isobutylparaben, Propylparaben, Triethoxycaprylylsilane, Iron Oxides

มี Zinc Oxide กับ Titanium Dioxide น่าจะกัน UV ได้ทุกสรรพชนิดอย่างที่คุณปูเป้บอก.... แต่ก็ยังอยากรู้ว่า

1. ตัวนี้จะไหวพอที่จะใช้กับ BHA 2% ไหมคะ
2. พึ่งจะรู้ว่า กันแดดตัวนี้เป็นแบบ phisical (หรือนี่จะเป็นหนึ่งในสาเหตุสิวอุดตันของอิฉัน!!!??) เพราะเนื้อมันคล้ายกับเนื้อเบสแต่งหน้ามากมายค่ะ แบบนี้ถ้าแต่งหน้าไม่หนา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ make up remover ล้างได้ไหมคะ? (หรือส่วนผสมตัวอื่นที่มาด้วยไม่ไหวจะเคลียร์ด้วย physiogel ที่ใช้อยู่)
3. ความรู้ยังอ่อนด้อยค่ะ อ่านไม่ออกว่าตัวไหนเป็นซิลิโคนที่ coat อยู่ (หรือไม่มี???)

ขอบคุณมากค่ะ ถามซะเยอะ อย่าพึ่งเหนื่อยนะคะ


โดย: โฮซันน่าเองค่า IP: 125.24.159.142 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:2:49:37 น.  

 
คุณปูเป้ ขอโทษด้วยนะคะ

รู้สึกว่า เจ๊จะจำผิดค่ะ

"แต่ถ้าใช้ครีมกันแดดชนิดติดทนนาน กันน้ำ กันเหงื่อ หรือใช้สารกันแดดแบบ Physical อย่าง Titanium Dioxide หรือ Zinc Oxide ในปริมาณสูง ก็อาจจะพิจารณาใช้ Makeup-Remover หรือ Emollients-Base Cleanser ก่อน แล้วค่อยใช้ Detergent-Base Cleanser ตามเพื่อล้างคราบมันที่ตกค้างออกให้หมด"
กลับไปอ่านแล้วเจอ ฮือๆๆ คนแก่ ความจำสั้น อายจริงๆ

แถมยังมี "Detergent-Base Cleanser ที่อ่อนโยนมาก ๆ บางตัวก็มีสารทำความสะอาดไม่มากพอ (เช่น Cetaphil หรือ Physiogel) ทำให้มันความสะอาดสารกันแดดแบบ Physical หรือสิ่งสกปรกได้ไม่ดีนัก ก็ต้องมองหา Cleanser ที่มีสารทำความสะอาดมากขึ้นหน่อย (แนะนำว่าควรมีสารทำความสะอาดเริ่มต้นเป็นอันที่ 2 หรือ 3 ใน Ingredients List) โดยใช้ควบคู่ไปกับผ้าขนหนูเนื้อนุ่ม ๆ ช่วยเช็ดจะทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น"....

ดังนั้น ในข้อสอง คุณปูเป้ไม่ต้องตอบเจ๊ให้เสียเส้นแล้วนะคะ ถือซะว่า คนแก่เบลอง่าย ให้อภัยเถอะ

สำหรับเจ๊แล้ว physio ก็ล้างออกได้ค่ะ เพราะเอาฟองน้ำมาเช็ดต่อตามที่คุณปูเป้บอก (แต่ก็จะลองป้าพอลล่าต่อไป)

ขอบคุณนะคะ จะมารอคำตอบในข้อที่เหลือค่ะ



โดย: โฮซันน่า แก่โก๊ะ IP: 125.24.159.142 วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:3:45:57 น.  

 
ถึงคุณ โฮซันน่าเองค่า

ไม่บอกแบรนด์ แต่ปูเป้คุ้น ๆว่าเป็นของ Am... นะขอรับ :)

กันแดดตัวนี้เนื้อเนียนมากทีเดียว และเป็นแบบ Physical ล้วน ที่อ่อนโยนด้วย ถ้าทำความสะอาดออกหมดแล้ว และใช้ BHA ควบคู่ไปด้วยก็ไม่น่าจะมีปัญหาแล้วล่ะขอรับ

ส่วนเรื่องเคลือบซิลิโคน ตอนนี้ Titanium Dioxide หรือ Zinc Oxide ที่ใฃ้กันอยู่ก็เป็นแบบเคลือบมาแล้วทั้งนั้น และส่วนผสมซิลิโคนก็มักเป็น Cyclopentasiloxane นั่นเองขอรับ


โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 28 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:39:55 น.  

 

ตอนนี้ใช้ครีมกันแดดของ Minus Plus (Ivory) อยู่ แต่ใช้แล้วรู้สึกหน้าแห้งมาก

อยากจะปรึกษาคุณปูเป้นะคะ ว่า ครีมกันแดดของ Spectra Ban Sensitive SPF30 กับ Spectra Ban SC SPF 40++อันไหนดีกว่ากัน แล้วราคาเท่าไร แบบว่าอยากลองเปลี่ยนบ้างค่ะ

ลืมบอกไปว่านู๋เป็นคนผิวผสมค่ะ

จะรอคำตอบนะค่ะ


โดย: น้องนู๋ IP: 58.137.82.156 วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:9:42:30 น.  

 
พี่ปูเป้คร้าบบบ

ผมอยากทราบว่าครีมกันแดดที่มีเนื้อเป็นฟลูอิดอ่า

เอาที่ใช้อยู่ก็ลาลอชโปเซอ่าคร้าบ spf 50

มันมีส่วนผสมของแอลกอฮอด้วย ใช้ได้ไม๊อ่าครับ


โดย: Broute Original IP: 118.173.41.8 วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:15:12:46 น.  

 
เพ่เป้คะ...เบียร์อยากทราบว่า
shiseido สีทอง กะ kanebo impress ic brightening ที่เป็นspf50pa+++
ตัวไหนเป็นงัยคะ ต่างกันอย่างไร
แล้วแบบว่าตัวไหนน่าใช้กว่ากันคะ
คือสิวขึ้นง่ายม๊ากค่ะ


โดย: เบียร์ IP: 125.26.20.80 วันที่: 20 มกราคม 2554 เวลา:21:25:04 น.  

 
เขียนบล็อกได้ดีมากเลยครับ
day loan missouri pay


โดย: lavenderbreeze999 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:28:53 น.  

 
คุณปูเป้ค่ะ อยากทราบว่ากันแดดของ anessa ขวดสีส้ม จัดอยู่ในครีมกันแดดประเภทไหนค่ะ


โดย: nana IP: 10.0.3.50, 124.120.242.23 วันที่: 22 มกราคม 2555 เวลา:20:24:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PuPe_so_Sweet
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1829 คน [?]




Advertisement


About Pupe_so_Sweet
Pupe_so_Sweet on facebook
Pupe_so_Sweet on Youtube
vr AHA project


หากมีคำถามหรือต้องการคำปรึกษา
สามารถทิ้งคำถามไว้ได้ที่หน้า Wall ของ Facebook ครับ



Web Counter


Counter Start on 29 September 2008


Search by Google

ค้นหาข้อมูลและรีวิวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการภายในBlog ของปูเป้ได้ไม่ยากด้วย Google Search Box ด้านล่างนี้เลยขอรับ

Custom Search

Friends' blogs
[Add PuPe_so_Sweet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.