บล็อคนี้ไฟลุกโชน : ภาษาธรรมชาติ...กับเด็กวัย 2-3 ปี
แวะมาเติมเชื้อไฟนิดนุง ก่อนจะมอด 55555555
วันนี้ ไปห้องเรียนพ่อแม่ ของ รร.อนุบาลบ้านพลอยภูมิ ในหัวข้อ ภาษาธรรมชาติ ด้วยคำเชิญชวนและจัดการจองที่ให้โดย แม่รี่...ของวงสาว สาว สาว...เนืื่องมาจาก...ฟังแม่รี่เล่า ครั้งก่อนๆ ที่ รร.ได้จัดกิจกรรมแบบนี้ ฟังแล้ว น่าสนุกมากกก....ประกอบกับ ตกหลุมรัก รร.นี้ ตั้งแต่ก่อนจะได้ไปเหยียบซะอีกเพราะแค่อ่านจากบล็อค ดูผลงานของสาวๆ ...เวอร์มาก ชิมิ..
ช่างบังเอิญตรงกับหนังสือที่กำลังอ่านอยู่ Learning all the time ซึ่งเน้นการเรียนรู้ อย่างเป็นไปโดยธรรมชาติของเด็กๆ พอดี....ไม่ผิดหวังเลยทีเดียวเชียว ถึงจะไปแบบกระหืดกระหอบ สายนิดหน่อย แหะๆๆๆ
ขอให้สาระประโยชน์ที่รวบรวมจดจำมาในนี้ เป็นประโยชน์แก่แม่ๆ ทุกคน...ขอบคุณรี่มากๆ ที่ชวน (วันหลังมีอีก เอาใหม่นะ..ชอบๆ 5555555) ขอบคุณพี่มุกที่อุตส่าโทรมาเม้าส์ ขอบคุณครูอ็อบ และโรงเรียนดีๆ แบบนี้ เป็นการจัดอบรมพ่อแม่ที่ เห็นจิง ทำจริง เหมือนกับว่า กลับไปเป็นเด็กๆใหม่เลย
เริ่มด้วย คุณครู อธิบายเกี่ยวกับ ภาษาธรรมชาติ...
การสอนเด็กๆ ผ่านธรรมชาติรอบตัว เชื่อมโยงไปกับภาษาในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กๆ รักการอ่านผ่านนิทาน...และ นำไปสู่ การพัฒนาภาษาของเด็กๆ
อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ ใน "มุมของเล่น" เน้น วัสดุธรรมชาติ หาได้ง่ายๆรอบตัว ไม่จำเป็นต้องแพง ไม่ว่าจะเป็น มุมบทบาทสมมติ มุมหัตถกรรม มุมศิลปะ มุมการศึกษา
การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน เป็นสิ่งสำคัญมากกกกกกกกก ในการพัฒนา ภาษา (ภาษาในที่นี้ รวมไปถึง การฟัง พูด อ่าน เขียน สื่อสาร ต่างๆๆๆ) บทความ ต้อง 11-7 อย่า ของ คุณเรืองศักดิ์ ปื่นประทีป เอกสารที่ได้รับแจกติดไม้ติดมือกลับบ้านมา โดยย่อ
7 อย่า 1. อย่ายัดเยียดหนังสือให้ลูก 2. อย่าคาดหวังสูง 3. อย่าจ้องแต่จะสอน (ไม่ควรใช้เนื้อเรื่องและตัวละครในหนังสือทีสนุกๆ มาเป็นช่องทางการอบรมบ่มสอนลูกในทุกเรื่อง) 4. อย่าตั้งคำถามมากเกินไป (เพราะลูกจะเบื่อกับการมานั่งตอบคำถามพ่อแม่ แทนที่จะได้ฟังเรื่องราวสนุกๆ) 5.อย่าขัดคอ หรือตำหนิ 6.อย่าแสดงความเบื่อหน่าย (เวลาลูกหยิบยื่นหนังสือให้อ่าน) 7.อย่ากังวลใจ (ถ้าลูกจะหยิบ จะจับ จะขีด เขียน ฉีกหนังสือ ไม่ควรกังวลใจเวลาที่ลูกมีความสนใจ และใจจดจ่ออยู่กับหนังสือเป็นช่วงเวลาในการสอนถึงพฤติกรรมที่เหมาะ ไม่เหมาะ ควร หรือไม่ควร) จะทำอย่างไรให้ลูก รู้สึก รักการอ่าน โดยไม่ยัดเยียด
ต้อง 11 1. ต้องชักชวนลูกให้อ่านหนังสือ วิธีที่ดีที่สุด คือ การอ่านออกเสียงดังๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากลูก 2.ต้องแสดงท่าทางเป็นสุข เพื่อให้ช่วงเวลาของการอ่านหนังสือส่วมกันเป็นช่วงเวลาหรรษาของครอบครัว 3.ต้องใช้เวลาที่เหมาะสม ไม่นานเกินไป หรือสั้นเกินไป 4.ต้องเลือกหนังสือที่เหมาะกับวัย 5.ต้องลดวัยให้สอดคล้องกับวัยที่จะเป็นเพื่อนเล่นที่ดีของลูก 6.ต้องหากิจกรรมมาประกอบ เช่นอ่านไปร้องเพลงไป เต้นไป 7.ต้องต่อยอดความคิด ตอบคำถามที่ลูกถามทุกคำถาม 8.ต้องจัดมุมหนังสือไว้ที่บ้าน เพื่อลูกจะได้เรียนรู้ว่าถ้าต้องการหนังสือเมื่อไร จะมาที่มุมนี้ 9.ต้องชื่นชม และชมเชยทุกครั้งที่ลูกหยิบ จับหนังสือขึ้นมาอ่านหรือทำอะไรดีๆ 10.ต้องจัดระเบียบชีวิตให้เอื้อต่อการอ่าน เช่นปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่มแล้วอ่านหนังสือร่วมกัน 11.ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักการอ่านให้แก่ลูก
สำหรับเด็กเล็ก เน้นว่า...หนังสือนิทาน ควรมีรูปภาพเยอะๆ ตัวหนังสือน้อยๆ หรือตัวโตๆ เทคนิคในการเล่านิทาน....ก่อนหน้านี้...เราคงจะแก่เกิ้นน ลืมไปแล้วว่า การเล่านิทานที่สนุกๆ เป็นยังไง...แล้วทำยังไงได้อีก นอกจาก กางหนังสือ อ่านให้ลูกฟัง มาเจอมุขของคุณครูเข้า..แม่ล่ะ ทึ่งไปเลย เล่านิทานได้สนุกมากกกกกก ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟัง ท่าทาง ทุกสิ่งอัน เพอร์เฟค สุดๆ จนรู้สึกเสียดายว่า ถ้าเจ้ามิวมิวมาด้วย ได้ฟังนิทานแบบนี้ คงจะชอบใจทีเดียว อยากส่งมาโรงเรียนเร็วๆ จัง ฮ่าๆ
(โห..ไม่ได้ค่าโฆษณา ค่าหน้าม้าหรืออะไรนะนี่..แต่แบบ...ถ้าทุกโรงเรียนมีบุคลากรที่ดีๆ แบบนี้นะ....เริศ)
เทคนิคการเล่านิทาน - เล่าพร้อมหนังสือ อันนี้ คงจำเบสิคๆ ทำกันทุกบ้าน วิธีคือ....เปิดกางหนังสือ...ไล่นิ้วไปตามตัวอักษร ตั้งแต่หน้าปก ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้วาดภาพ ทุกอย่าง!!!! ใส่ใจในรายละเอียดมากๆ (ปรกติแม่จะไล่แต่ชื่อหนังสือ แต่ คุณครุต้องการจะสื่อว่า หนังสือนี้มีที่มา มีผู้แต่ง นะ ไม่ได้อยู่ดีๆ มาจากไหนไม่รู้) ไล่หนังสือไปตามตัวอักษร ทุกหน้า เวลาอ่าน เพื่อให้เด็กๆ รู้ว่า ตัวอักษร มีคำอ่านแบบนี้ หน้าตาแบบนี้นะ ซึบซับไปในตัว
- เล่าโดยใช้ภาพประกอบ พ่อแม่อาจจะวาดภาพ หาภาพมาประกอบการเล่านิทาน เพลง ท่าทาง สีหน้า จัดมาให้หมด ไม่ต้องสวย ไม่ต้อง reality มากก็ได้ เว้นที่ไว้ให้เด็กๆได้ใช้จินตนาการ
-การเล่าปากเปล่าโดยใช้ร่างกาย นำเสนอท่าทางต่างๆ ผ่านทางมื้อไม้สีหน้า แววตา ทุกสิ่งอัน ทีแรกคิดว่า จะน่าเบื่อ แต่ โอ้โห..คุณครูทำเอาเรา อ้าปากค้างเลย...สุดๆ
-เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นการพับกระดาษ ปะ ติด ขยำ เชือก วาดภาพไปเล่าไป
-เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว....แจ่มแมวมาก...คุณครูเล่านิทาน โดยใช้ สื่อธรรมชาติ ตามแนววอล์ดอร์ฟ วันนี้คุณครูเล่านิทานเรื่อง คุณตากับหัวผักกกาดยัก สื่อที่ได้ใช้แก่ ก้อนหินขนาดต่างๆ กัน(หัวผักกาด) ท่อนไม้ ขนาดต่างๆกัน(แทนคุณตา คุณยาย หลานสาว) ผ้า(แทนพื้นดิน ไร่นา) สนุกและน่าสนใจมากกกกกอีกแล้ว ได้มุขกลับมาเล่นกับลูกอีกเยอะแยะเลย
-ผลัดกันเล่านิทาน ไม่ว่าจะเป็น ต่อเรื่องราวเดียวกัน แต่ผลัดกันเล่า หรือ คนนึงเล่า อีกคนเป็นคนคอยยิงคำศัพท์ เพื่อให้คนเล่า เอาไปประกอบเรื่องราวที่กำลังเล่าอยู่...เวริคช็อบอันนี้ ให้แม่ๆ จับคู่กัน แล้วผลัดกันเล่านิทานสด ให้อีกคนนึงฟัง พอบอกเปลี่ยน อีกคนก็เล่านิทานเรื่องเดิม ต่อ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา..ฮากระจาย
จบ..เรื่องนิทาน..
เมื่อลูกรักการอ่าน แล้วจะได้อะไรบ้าง ลูกรู้ว่า มีภาษาอยู่รอบๆ ตัวเค้า ไม่ว่าจะฟัง พูด อ่าน เขียน มีตัวหนังสือ ที่ ถ้าเค้าสนใจ เค้าหัดอ่าน เค้าจะสามารถอ่านนิทานสนุกๆ ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้เด็กๆจะยังเขียนหนังสือไม่ได้ รร.แนวทางเลือก แบบนี้ไม่ได้กังวล ว่าเด็กจะต้องเขียนเรียงความยาวแปดหน้ากระดาษอธิบาย ว่า ป่าไม้สำคัญอย่างไร แม่ของหนูเป็นยังไง รักแม่แค่ไหน แต่ พ่อแม่ คุณครู เปิดโอกาสให้เด็กๆ ใช้ภาษา ผ่านการวาดภาพ..
วาดภาพเรื่องราวตามจินตนาการ ตามสิ่งที่พบเจอ ประสบการณ์ วาดภาพจากนิทานที่ได้ฟัง จากนั้น..."เล่า" เรื่องราวในภาพของตัวเอง ให้พ่อแม่หรือคุณครูฟัง...คุณครู/พ่อแม่ เป็นผู้จดบันทึก เรื่องราวเอาไว้ แทนเด็กๆ เมื่อเค้าพร้อม...เค้าจะอยากเขียนเรื่องราวของเค้าเองเป็นตัวอักษร ถึงตอนนั้นแล้ว เราก็ไม่ควรจะกังวล อีกว่า ลูกสะกดผิด สะกดถูก เขียนมือซ้าย หรือเขียนมือขวา เมื่อเด็กๆ โตขึ้น ในระดับประถม(2-3) เราสามารถบอกเค้าว่า คำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ยังไม่สาย ถ้าเราไปขัดเค้าตั้งแต่เล็กๆ มานั่งบอกว่าเขียนผิด ให้แก้ ให้ลบ แบบนี้ผิด แบบนี้ไม่สวย เค้าจะมัวกังวลกับการเขียนที่ถูกต้อง สวยงาม ตามเส้นประ เด็กๆ อาจจะเบื่อหน่ายการเขียน และ หมดจินตนาการ เช่นเดียวกับมือซ้าย-ขวา พ่อแม่ก็ไม่ต้องกัลวล เมื่อเค้าโตขึ้น ก็จะสามารถเลือกเอง ว่า จะถนัดมือข้างไหน และมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาชีวิตอะไรมากมาย ถ้า จะถนัดซ้าย
พอโตขึ้น ความยากของการวาด ก็อาจจะมากขึ้นๆ ตามวัยของเด็ก เช่น ถ้าโตหน่อย ให้เล่าถึงลำดับเหตการณ์ เกิดก่อน หลัง เริ่มต้นเรื่องยังไง บทสรุปสุดท้ายเป็นยังไง มีตัวละครอะไรบ้าาง อะไรแบบนี้ เด็กๆ จะได้คิดตาม และ process ไปด้วย
แค่นี้..จากนิทาน เด็กๆ ได้ทักษะ การฟัง การเขียน การอ่าน การพูด จินตนาการ ความสนุกสนาน สมาธิครบหมดแล้ว....มากมายไม่ไหวจะเคลียร์จิงๆ
ยังบันทึกไม่จบ..แต่เมื่อยมือแระ...ไว้ค่ำๆบิ้วขึ้น ค่อยมาต่อ
Create Date : 15 สิงหาคม 2552 |
|
6 comments |
Last Update : 15 สิงหาคม 2552 18:32:02 น. |
Counter : 1188 Pageviews. |
|
|
|