เลี้ยงลูกแบบแนวๆ แนวไหน???
การบ้านแม่ก่อนไปบ้านครูบัวเสาร์นี้.....โฮกกก..สับรางแทบไม่ทัน
สมัยนี้ เลี้ยงเด็กนี่ ก็เหมือนจะง่าย แต่ยาก..สารพัดแนว ละแนวไหนดี....หุหุหุุหุ ฟิตกันเป็นพักๆ....หลักๆที่สำคัญคือ...ไม่ว่าจะยังไง ลูกแฮปปี้ แม่แฮปปี้ ไว้ก่อนโลดดด
มอนเตสเซอรี่คืออะไร....กูเกิ้ลสิคร๊าบบ
มอนเตสเซอรี่(Montessori) เป็นหลักสูตรการศึกษาทางเลือกหนึ่งจากหลายหลักสูตรที่มีอยู่ทั่วโลก
โดยมีหลักการสำคัญ 5 ประการคือ 1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ 2. เด็กมีจิตที่ซึมซับได้จากสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องสอนอย่างเป็นทางการ 3. ช่วงอายุ 0-6 ขวบ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางธรรมชาติและเป็นกิจกรรมที่เด็กพอใจ 4. เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ได้จัดเตรียมไว้อย่างมีจุดมุ่งหมาย เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆตามความคิดของตนเองอย่างอิสระ 5. เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามสภาพแวดล้อมที่ได้เตรียมไว้อย่างสมบูรณ์ มีอิสรภาพในการทำงาน และมีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่อง
ดังนั้นหน้าที่ของครูปฐมวัยในระบบมอนเตสเซอรี่ จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรักต่อเด็ก นับถือเด็ก มีความสามารถในการสังเกตความต้องการของเด็กว่าต้องการเรียนรู้เรื่องใด ทำอะไรได้บ้าง มีปัญหาอะไร และครูจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างไร ต้องให้อิสระแก่เด็กในการตัดสินใจ มีโอกาสในการเลือก และเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อุปกรณ์ของมอนเตสเซอรี่จะช่วยให้เด็กได้ค้นพบผลการทำงานของตัวเอง ครูจะเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยพัฒนาทักษะ กลไกประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว เด็กจะได้เลือกและทำงานด้วยตนเอง เด็กจะมีสมาธิและทำงานได้เป็นเวลานาน ครูจะไม่เน้นการจูงใจภายนอก(การให้รางวัล/คำชมเชย) แต่เด็กจะเกิดแรงจูงใจภายในเองจากผลสำเร็จการทำงานของตนเอง
ที่มา://gotoknow.org/blog/tanes/50250
มอนเตสเซอรี่เป็นรูปแบบการสอนเด็กเล็กที่ริเริ่มโดย ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี ่ จิตแพทย์ชาวอิตาเลียนซึ่งเริ่มต้นนำแนว การสอนนี้ไปใช้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เนื่องจากเล็งเห็นว่าเด็กเหล่านี้ก็มีความสามารถเรียนรู้ได้ เช่นเดียวกับเด็กปกติ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเพื่อสอนสำหรับเด็กทั่วไป
การสอนแนวนี้มีความเชื่อที่ว่าการศึกษาของแต่ละคนจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวเขาเองเป็นคนทำให้เกิดหรือไม่ให้ เกิดไม่ใช่การได้รับการศึกษาโดยคนอื่น ดังนั้น การให้การศึกษากับเด็กในวัยระยะเริ่มต้น จึงไม่ใช่การนำความรู้ไปบอก ให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการทางธรรมชาติของเขา มอนเตสเซอรี่จะเน้น มากเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมอย่างสมบูรณ์และพิธีพิถัน เพื่อให้เด็กสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของเขาให้ ้ปรากฎออกมา
มอสเตสเซอรี่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยเน้นการฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัส สำหรับ ระบบมอนเตสเซอรี่แล้ว มือทั้งสองข้างของเด็ก ๆ ถือได้ว่าเป็นครูที่สำคัญของพวกเขา แนวคิดนี้เชื่อว่า ถ้าเด็กได้มี บางสิ่งบางอย่างที่จะจับต้องและบิดหรือหมุนด้วยมือ สมองจะทำหน้าที่ตอบสนองได้ วัสดุอุปกรณ์จึงเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับการสอนแนวนี้ ระหว่างการทำงานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ความสำเร็จและล้มเหลว และแก้ไข ข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง คำติชมของผู้ใหญ่จึงไม่จำเป็น การให้รางวัลและการลงโทษจะต้องถูกยกเลิกครูและ ผู้ปกครองจะต้อง ไม่บังคับให้เด็กทำในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ ระเบียบวินัยจะเกิดขึ้นจากความเป็นอิสระของเด็ก และแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเองจากตัวของพวกเขา
ความมีอิสรภาพ การศึกษาด้วยตนเอง และการฝึกฝนทางประสาทสัมผัสนี้เองคือ จุดสำคัญของ การสอนแนว มอนเตสเซอรี่ ที่ใช้กันทั่วโลก
ปัจจุบันการสอนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ด้วยวิธีการสอนที่ทำให้เด็กสามารถเรียนอ่าน เขียน และคิดคำนวณโดยวิธีธรรมชาติเหมือนกับการเรียนเดินและพูด ขณะเดียวกันเด็กจะได้ทำงานตามช่วงเวลาของ ความสนใจและความพร้อมของเขา
ที่มา //www.kornkaew.th.edu/interest.htm
วิชาการมากเรยเนอะ ตาลาย........อันนี้ ดูเป็นรูปธรรมหน่อย
มอนเตสเซอรี่ ต่างกับ Project Approach อย่างไร
การเรียนในระบบมอนเตสเซอรี และ Project Approach ต่างก็มาจากแนวคิดที่ยึดเด็กเป็นสำคัญ (Child Center) เหมือนกัน คือการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็ก และเด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ แต่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบและวิธีการ
ระบบมอนเตสเซอรี เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ครูจัดไว้ให้ โดยสื่อและอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และกายสัมผัส เพื่อให้เด็กได้พัฒนาและใช้ประสาทสัมผัสครบทุกด้าน เพราะประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ช่องทางที่ทำให้คนเราใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
ถ้าเราใช้แค่ตาดู หูฟัง เท่านั้น ประสิทธิภาพการรับรู้ย่อมน้อยกว่า ยกตัวอย่าง เช่น จะสอนเรื่องภาษาให้เด็กรู้จักตัวหนังสือ เด็กก็จะได้เล่นและใช้มือสัมผัสกับตัวอักษร ที่ทำจากกระดาษทราย หรือถ้าเรียนเรื่องตัวเลขก็จะมีแท่งไม้ให้เด็กหัดใส่ลงในช่องที่มีตัวเลขกำกับอยู่ ฯลฯ
นอกจากเรื่องของภาษาและคณิตศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องของการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน ดูแลสิ่งแวดล้อม มารยาท วัฒนธรรม สังคม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการเรียนโดยผ่านการลงมือทำทั้งสิ้น มอนเตสเซอรีมองว่ากาเรียนแบบนี้จะช่วยให้เด็กใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีสมาธิกับการทำงานของตัวเอง และเมื่อทำงานประสบความสำเร็จก็จะเกิดความพอใจ ทำให้อยากเรียนรู้ต่อไป
ส่วน Project Approach นั้นเรียกเป็นภาษาไทยว่า การสอนแบบโครงการ หรือบางที่ก็ใช้คำว่าโครงงาน มุ่งให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องที่เด็กสนใจอย่างลุ่มลึก โดยเน้นให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในเมืองไทยที่ใช้กันอยู่จะมี 2 ลักษณะ คือ
แบบแรกมีกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรมด้วยกัน คือ อภิปรายกลุ่มออกภาคสนาม นำเสนอ สืบค้น จัดแสดง เช่น ถ้าเด็กสนใจเรื่องรองเท้า ก็พูดคุยถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับรองเท้าอย่างหลากหลายประเด็น เช่น ทำมาจากอะไร มีไว้ทำอะไร มีกี่ขนาด มีชนิดไหนบ้าง วิธีการผลิตทำอย่างไร มีขายที่ไหน เด็กๆ จะได้ออกภาคสนามไปศึกษาของจริง เช่น ไปดูร้านขายรองเท้า มีการสืบค้นเรื่องรองเท้า ดูรองเท้าในบ้าน ดูจากในหนังสือหรือนิตยสารต่างๆ แล้วอาจจะลองหัดทำรองเท้าเอง หรือทำร้านรองเท้าจำลอง เป็นต้น
อีกแบบหนึ่งจะออกไปทางค้นคว้าสำรวจด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการตั้งสมมติฐานและทดสอบสมมติฐาน เช่น เด็กๆ ได้รับประทานขนมเปียกปูนแล้วอยากรู้ว่า ขนมเปียกปูนทำมาจากอะไร ครูจะไม่ตอบเด็ก แต่จะลองให้เด็กแต่ละคนลองคาดเดาเอาว่าน่าจะทำจากอะไรบ้าง แล้วทำตามความคิดของแต่ละคน ว่าจะออกมาเป็นขนมเปียกปูนหรือไม่ ถ้าเป็น ก็ได้คำตอบ แต่ถ้าไม่เป็นครูก็จะกระตุ้นให้เด็กหาทางต่อว่าจะทำอย่างไรดี เด็กก็อาจจะบอกว่าไปดูจากตำราทำขนม แล้วลองทำดู หรือไปที่ร้านขายขนมไทย ให้คนขายทำให้ดู แล้วกลับมาทำเอง
วิธีการอย่างนี้นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้เป็นกระบวนการกลุ่มและเรียนผ่านลงมือทำจริงแล้ว สิ่งที่เด็กได้ในแง่วิชาการคือ เรื่องของภาษา การฟัง การพูด การบันทึกข้อมูล เรื่องของวิทยาศาสตร์ ความร้อน การเปลี่ยนสภาพจากของเหลวไปเป็นของแข็ง ฯลฯ คณิตศาสตร์จากการชั่ง ตวง ส่วนผสมของขนมภูมิปัญญาไทย เช่น การใช้สีและกลิ่นจากธรรมชาติ เป็นต้น ที่สำคัญก็คือ จะสร้างนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียนให้เด็ก เมื่อสงสัยอะไรก็จะค้นคว้าหาคำตอบ หาทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นสำหรับการเรียนและการใช้ชีวิตในอนาคต
เรื่องเรียนทันหรือไม่ทัน ลองเปรียบเทียบดูสิคะว่า ถ้าเด็กได้เรียนผ่านวิธีของมอนเตสเซอรี หรือ Project Approach ซึ่งเป็น 2 ใน 5 ของนวัตกรรมที่ทางสำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติแนะนำ กับวิธีการเรียนแบบเดิมๆ ที่เคยเรียนกันมา เด็กกลุ่มไหนจะเก่ง ดี มีสุข มากกว่ากัน
ที่มา //www.elib-online.com/childclinic/childclinic48/child_clinic48005.html
อันนี้น่าสนใจมากก...แต่ยาววว...อ่านแล้วอยากส่งมิวมิวไปเรียนเวียนนา....ฮ่าๆๆ...ตอนนี้กินแต่ไส้กรอกเวียนนาไปก่อนละกัน
ตัดมาให้อ่านสั้นๆ..อ่านแล้ว หัวใจพองโต...ถึงแม่จะไม่เคยจำชื่อนักร้อง ชื่อดารา ชื่อเพลง แนวไหนเป็นแนวไหน...แต่ถ้ามีโอกาส..จะสนับสนุนให้ลูกเล่นดนตรีสุดๆ ไปเลย....
แค่คิด แค่อ่าน ก็รู้สึกได้ว่า เด็กที่มีพื้นฐานด้านดนตรี ด้วยวิธีการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ คงจะเป็นเด็กที่มีความสุขมากๆๆๆ เลย...สร้างความเป็น musicianship ฟังดูไฮโซดี เอิ๊กกกกกกกกก
ดนตรี เด็ก กับมอนเตสเซอรี่
ในชั้นเรียนแบบ มอนเตสซอรี มีการให้ความสำคัญของการแนะนำดนตรีต่อเด็ก ที่โรงเรียนตัวอย่าง ( The Model Montessory School ) แห่งกรุงเวียนนา ครูได้คัดเลือกเพลงพื้นเมืองและเพลงคลาสลิคจากประเทศทั่วโลกเอาไว้ใช้ประกอบการเรียนของเด็ก และให้โอกาสในการฝึก ดังต่อไปนี้
1. การฝึกเพื่อให้เข้าใจ จังหวะ ของดนตรี โดย การฝึกทรงตัว การวิ่งเข้าจังหวะ เดินตามจังหวะ เคลื่อนไปตามกฏที่กำหนดไว้
2. การฝึกเพื่อ เมตริก ของดนตรี โดยให้เด็กมีความประทับใจในเสียงดนตรี ( Musical Impressions ) ครูจะเลือกเพลงมาเป็นท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วเล่นซ้ำ ๆ ให้เด็กเกิดความเคลื่อนไหวไปตามจังหวะด้วยทุกส่วนของร่างกายไม่เฉพาะแต่มือและเท้าเท่านั้น เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับดนตรี
3. การศึกษาความคล้องจองและทำนองดนตรี อาจใช้เครื่องดนตรีง่าย ๆ เช่น เครื่องเคาะต่างๆ เข้าไปประกอบโดยให้เด็กเล่นกันโดยเสรี ความสนใจในเด็กเกิดมาจากการได้ฟังเพลงซึ่งตนชื่นชอบ แล้วลองมา เล่นด้วยหู จนพอไปได้ ส่วนความเข้าใจและความสามารถในการเล่นดนตรีนั้น ได้รับการส่งเสริมจากการมีโอกาสได้จับเครื่องดนตรีขึ้นมาลองสร้างเสียงสูงต่ำ ซึ่งประทับอยู่ในใจเด็กได้อย่างน่าพิศวง
4. การเขียนและอ่านดนตรี โดยให้เด็กได้ฝึกโสตประสาทสังเกตความสูงต่ำของเสียง และขั้นต่อมาก็แทนตัวโน้ตด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ขั้นสุดท้ายจึงแนะนำให้เด็กรู้ความหมายของโน้ต การแนะนำดนตรีในเด็กของ มอนเตสซอรี จะเริ่มจากจังหวะความสอดคล้อง ต้องมาก่อนการเรียนอ่านและเขียนตัวโน้ต ( ประมวล ดิคคินสัน, 2530: 121-125)
กระบวนการของการเรียนรู้ของมอนเติสซอรที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนดนตรีแก่เด็ก มี 3 ขั้นตอน คือ 1. Imitation การเลียนแบบ โดยมีครูเป็นต้นแบบของเด็ก 2. Recognization การจดจำ และการแยกแยะความแตกต่างของเสียงที่ได้ฟัง 3. Intonation การเปล่งเสียงร้อง โดยถูกต้องเป็นการทดสอบขั้นสุดท้ายว่าเด็กมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้
การฝึกการร้องที่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ การร้องเพลงที่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ คือ การฝึกฝนการร้องเพลงตั้งแต่ขั้นตอนของการฝึกอวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียงร้องทุกอย่างให้เข้าที่เข้าระบบ และสามารถร้องได้อย่างมีคุณภาพที่ดี ด้วยการเลียนแบบการร้องอย่างเป็นธรรมชาติโดยที่ครูจะเป็นผู้นำเสนอวิธีการด้วยการใช้เกม การสอนทีละขั้นตอน และให้ความสำคัญทุกขั้นตอนของการฝึก เพื่อให้นักเรียนมีความแม่นยำของเสียง มีการกล้าแสดงออก และสบายใจที่จะร้องเพลง และเด็กก็ควรจะได้ฝึกการฟังเสียง เพื่อฝึกความมีหูใน ( Inner hearing ) หรือการได้ยินเสียงในสมองตนเอง ซึ่งเด็กที่สามารถฝึกฝนการมีหูในที่ดีแล้ว ก็จะทำให้การร้องมีประสิทธิภาพมาก เสียงจะไม่มีการเพี้ยน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กที่มีการร้องเพี้ยนนั้น มักจะเกิดจากการไม่ได้ฝึกหัดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง หรือการที่เด็กไม่มีความมั่นใจในการร้องของตนเอง แต่เด็กทุกคนที่ยังมีการได้ยินที่ดีย่อมสามารถฝึกฝนการร้องให้มีประสิทธิภาพที่ดีได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ครูผู้สอนต้องใส่ใจกับการฝึกฝนการร้องเพลง และสร้างความเป็นดนตรี ( Musicianship ) ให้เกิดขึ้นในเด็กด้วย
//www.geocities.com/loungsop/article/prapan/001montes.htm
ไว้วันเสาร์ไปบ้านครูบัวกลับมาแล้ว..จะมาแปลเป็นภาษาคน ภาษาแม่บ้านให้ฟังนะ...ฮิฮิ ไปล่ะ พอดีนอนไม่หลับ..สวัสดีตอนเช้า
note : //www.edu.chula.ac.th/elemed/archieve/jirapan.html ว่างๆ จะลองหามาอ่านมั่ง
Create Date : 29 มกราคม 2552 |
Last Update : 29 มกราคม 2552 5:53:11 น. |
|
14 comments
|
Counter : 1629 Pageviews. |
|
|