กุ๊ดจัง
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]




ไม่มีสาระ...จริงๆ นะ..

แต่ถ้าหลวมตัวมาแล้ว จะแอบอ่านก้อไม่ว่ากัน ถ้ารับแนวเถื่อนนิดๆ ถ่อยหน่อยๆ แต่จริงใจได้ ^_^

คิดถึง ถูกใจ ก้อเจิมกันสักนิดนุง แต่ถ้าไม่ถูกใจ มาทางไหนเชิญกลับไปทางนั้น ไม่ต้องเม้นไว้ให้เปลืองมือนะ ฮ่าๆๆ
HighStudio

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย littlemiumiu.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ www.littlemiumiu.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ www.littlemiumiu.com
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add กุ๊ดจัง's blog to your web]
Links
 

 
บันทึกดนตรีของเด็กๆ part 1

ขออนุญาตก๊อบบรรดาสิ่งที่นั่งเซริช รวบรวมแล้ว มาแปะไว้ในนี้ละกันนะคะ บางที หาเก็บๆๆ ไว้ แล้วทำหายบ้าง save fav. ไว้แล้วล้างคอมทิ้งที สิ่งที่จดๆ เอาไว้หายหมด จะนั่งคัดลอกลงสมุดบันทึก คงจะเป็นการดีถ้าขยัน หากใครมีความรู้เพิ่มเติม ก็รบกวนชี้แนะด้วยค่า

มีลูกแล้วบางเรื่อง สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่สนใจ ก็ได้รื้อฟื้น กลับมาค้น มาคว้า มาหาข้อมูล โตไปพร้อมๆ กับลูก หนุกจัง

อ่านมากๆ บิ้วมากๆ แม่อยากเล่นเอง ทั้งไวโอลิน ทั้งเปียโน แต่ ไม่มีความรู้อย่างแรง อ่านโน๊ตไม่เป็น เล่นเครื่องดนตรีสากล ไม่ได้ คอร์ท คืออะไร โง่ได้อีก

ตอนเด็กๆ อยากเล่นเปียโนมาก ให้พ่อสอน พ่อโยนหนังสือโน๊ตเด็กๆมาให้เล่ม แล้วบอก หันอ่านแล้วเล่นตามนี้ มือเดียวไปก่อน
แง๊วววววว.....จิตวิทยาเด็กสูงส่ง เด็กความตั้งใจแน่วแน่อย่างอิชั้น จะเหลือเร๊อะ เพราะฉะนั้น เราเลยอยากให้ความสำคัญกับการสอน และครู โดยเฉพาะ การสอนให้เด็กเล็กๆ ที่ซนเป็นลิง สมาธิอยู่ได้ไม่นาน จะทำยังไง ให้เค้ารัก และ ชอบดนตรี อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ
แต่อาจจะยังไม่ถึงกับต้องขวนขวายมากๆๆ เพื่อไปเรียน จากครูชื่อดังไร ครูสอนดีถึงจะอยากไปเรียนด้วยมากๆ (อยากรู้ว่าเค้าสอนยังไงอะ จะได้เอามาสอนลูกบ้าง) แต่มันก็ขัดกับความรู้สึกลึกๆ ต่อคิวยาวๆข้ามปีงี้ ทำใจไม่ได้ ทำไมการศึกษาไทย มันต้องเป็นแบบนี้หมด แย่งกันเรียน แข่งกันสอบ แห่กันไปที่เขาว่าดีๆๆ แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว นี่มันคือ ดนตรี เพื่อความสุข และใช้เวลาร่วมกัน แต่ถ้าต้องรถติดไปครึ่งวัน เรียนครึ่ง ชม. ก็คงคิดหนักแฮะ แถมมันไม่ใช่เรียนกันอาทิตย์ละวันซะด้วยสิ ถ้าเด็กโตหน่อยแล้ว อยากเล่นจริงจัง จะไปเยอรมัน ไรงี้ ค่อยน่าสนับสนุนนะ

ถามตัวเราเอง
ถ้าจะให้เสพ คงเลือกฟังเปียโน เพราะ เสียงมันดังกรุ้งกริ้งๆ กระหึ่ม เล่นสองมือ ดูเท่ห์ดีในลีลา และท่วงท่า ทำนอง ฟัง+ดูแล้วเพลิน อิ่ม และอีกหลายๆๆ เหตุผล

แต่ถ้าจะให้เลือกเล่นเอง คงเลือกเล่น ไวโอลิน เพราะส่วนตัว ชอบเล่นเครื่องสาย(งง ล่ะซี่ หน้าตาอย่างนี้ เล่นอะไร..ไม่อยากจะเซดฮ่ะ) ชอบบุคลิก คนเล่นไวโอลิน ชอบลีลา ชอบท่าทาง แค่คิด ก็ขนลุกแล้ว

ถามลูกหรอ อยากตามประสาเด็กๆ ไม่รู้เรื่องแง๋มๆๆ

แต่ได้มีโอกาสให้เค้าได้สัมผัส เปิดหูเปิดตา ใช้เวลาว่างๆ ทำอะไรสนุกๆ เผื่อว่าจะค้นพบตัวเอง และชอบขึ้นมา

อันว่าด้วยเรื่องทฤษฎี บางส่วน เฮ้อออ
Kodaly Method อันนี้ คือ ที่มิวมิวไปเรียนอยู่ตอนนี้ เริ่มเบสิกที่สุดในโลก พาไปวิ่งเล่น ร้องเพลง ฟังนิทาน กระโดดโลดเต้นกับคุณครู รออัพเลเวล แล้วคงมีอะไรสนุกๆ ได้ทำ

"ปัจจุบันมีวิธีการสอนโน้ตสากลอยู่หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลกมีอยู่ 2 แบบคือแบบของโคได (Kodaly method) และแบบของออร์ฟ (Orff - Schulwerk)
โคได (Zoltan Kodaly, 1882 - 1967) เป็นนักดนตรีชาวฮังกาเรียน เขาเป็นนักการศึกษาที่แท้จริง ได้รับปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์ (Linguistics) โคไดสอนโน้ตสากลโดยใช้การร้องเพลงเป็นเครื่องมือในการสอน ทั้งนี้เพราะในสมัยของโคไดนั้น ประเทศฮังการีเป็นประเทศที่ยากจนเครื่องดนตรีหายากและมีราคาแพง วิธีสอนของโคไดถูกเรียบเรียงเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบระเบียบว่าจะต้องสอนอะไรก่อน อะไรทีหลัง ในระบบการสอนโน้ตแบบเก่า ๆ นั้น นักเรียนจะถูกสอนโน้ตทำนองทีเดียว 7 เสียง ตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เรียน (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) ซึ่งกว่านักเรียนจะจำเสียงได้ทั้งหมดก็กินเวลานานและลืมได้ง่าย โคไดสอนโน้ตขั้นแรกเพียง 2 ตัวก่อนคือ ซอล กับ มี ซึ่งเป็นเสียงที่เด็กจำได้ง่ายที่สุด เขาให้เด็กร้องโน้ต 2 ตัวนี้จนแม่น แล้วจึงค่อยเพิ่มโน้ตอื่นเข้าไปทีละตัวตามลำดับ ของความยากในการร้องโน้ตนั้น ๆ (จาก ซอล - มี เพิ่ม ลา โด เร ฟา และที ตามลำดับ) การร้องโน้ตทำนองนี้จะร้องพร้อมกับ ทำสัญญาณมือ (Hand sign) ควบคู่ไปด้วย ในเรื่องของจังหวะวิธีแบบเก่าเริ่มสอนจากจังหวะช้าก่อน แต่โคไดเห็นว่าโดย ธรรมชาติเด็กชอบเพลงเร็วมากกว่าเพลงช้า เขาจึงเริ่มต้นสอนจากจังหวะที่เท่ากับจังหวะเดินและจังหวะวิ่งเหยาะ ซึ่งเข้ากันกับจังหวะการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กได้มากกว่า การสอนเพลงของโคไดเขาหลอก ให้เด็กร้องเพลงซ้ำ แล้วซ้ำเล่าด้วยการเอาเกม (Games) และการเล่นเข้ามาประกอบบทเพลง (คล้ายกับการเล่นมอญซ่อนผ้าของไทย เป็นต้น) เด็กเริ่มเรียนดนตรีในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลอายุสองขวบครึ่ง นอกจากการเรียนร้องเพลงในชั้นแล้วเด็กยัง สามารถเรียนพิเศษ เครื่องดนตรีและการร้องเพลงขั้นสูงได้นอกเวลา เป้าหมายเบื้องต้นของการเรียนคือ ความสามารถ ในการร้องเพลงในวงร้องประสานเสียงมาตรฐาน (Choir) ได้ วิธีของโคไดเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด เพราะนักเรียนสามารถเรียนดนตรีได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีเลย
ออร์ฟ (Carl Orff, 1895 - 1982) เป็นนักดนตรีชาวเยอรมันสมัยเดียวกับโคได คนทั้งสองเคยพบและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ในขณะที่โคไดเน้นเรื่องความสามารถในการอ่านโน้ต ออร์ฟเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เขาเริ่มสอนดนตรีจากการใช้จังหวะในคำพูดและ จังหวะในการเคลื่อนไหว (ในภาษาพูดนั้นถ้าวิเคราะห์ดูจะพบว่า มีจังหวะอยู่ในตัว) ออร์ฟใช้เครื่องดนตรีเข้ามา ประกอบบทเรียนตั้งแต่ชั่วโมงแรก เครื่องดนตรีของออร์ฟมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ออร์ฟพัฒนาเครื่องดนตรีของเขา จากระนาด และเครื่องตีของชาวอัฟริกัน และเอเซียนรวมทั้งระนาดของไทย ด้วยระนาดของออร์ฟถอดลูกระนาดออกได้ จึงเหมาะสำหรับเด็กเล็กที่เริ่มต้นการตีระนาดประกอบการร้องเพลงของตัวเขาเองโดยใช้ลูกระนาดเพียง 2 ลูก (ซอล-โด) "


ที่มา : //web.ku.ac.th/nk40/tavatc1.htm
(เด็กสาธิตเกษตรได้เรียนกันด้วย..แจ่มจิงไรจิง...//www.ku.ac.th/kaset60/Theme04/theme-04-56/index-04-56.html )

การประยุกต์วิธีการสอนดนตรีแบบโคได

The Kodaly Concept

เพิ่มเติม British Kodaly Acahemy

เท่าที่สังเกตการณ์ พวกสถาบันส่งเสริมศักยภาพเด็กเล็ก ได้มีการเอาหลักการพวกนี้ ไป adapt ใช้ในคลาสบ้าง ตอนที่มิวมิวไปเรียน เราก็ยืนๆ ดู อืมๆ กิจกรรมพวกนี้ เล่นมาหมดแล้วนี่หว่า...นึกถึงคลาสจิมโบรีได้เลย พอเห็นแล้ว คลิ๊ก ว่าใกล้เคียงมากที่สุด (จากการที่เคยไปลองจิม แต่ไม่ได้ลงเรียน ลองเบบี้จีเนียส ลงเรียนไป 1 คอร์ส)

ส่วน Orff Schulwerk เอิ่มมม...ข้อมูลน้อยได้อีก

ขออนุญาต ก็อบมาแปะนะคะ กลัววันดีคืนดี บล็อคเค้าหายไป แล้วเราไม่มีให้ย้อนกลับไปอ่านอะ เสียใจ T-T

"มารู้จักดนตรี Orff กันเถอะ

วันนี้ขออนุญาตเขียนเรื่องที่ออกแนววิชาการสักหน่อยนะคะ จากการที่ได้ไปร่ำไปเรียนมาและจากประสบการณ์ที่เป็นครูสอนดนตรีเด็กเล็กที่สอนทั้งในโรงเรียนอนุบาล และที่โรงเรียน Act& Arts ก็เลยอยากจะบอกเล่าเก้าสิบให้เพื่อนๆ พี่ น้อง และใครต่อใครได้รู้จักกับแนวดนตรีที่ครูติ๊กสอนอยู่ค่ะ
ดนตรีสำหรับเด็ก (Music for Children) ที่กำลังจะเขียนถึง เป็นแนวการสอนดนตรีแบบที่ในวงการการสอนดนตรีเค้าเรียกว่า “Orff Schulwerk” คำว่า Schulwerk เป็นภาษาเยอรมัน หรือถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะหมายถึง “School Working” ซึ่งก็เอามาสรุปเป็นภาษาไทยว่า การทำงานในโรงเรียนหรือการเรียนในโรงเรียนนั่นเอง ส่วน “Orff” นั่นเป็นชื่อค่ะ ชื่อของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน “Carl Orff” ผู้มีผลงานการประพันธ์มากมาย ตัวอย่างที่หลายๆคนอาจจะรู้จักก็คือ ผลงานการประพันธ์เพลง Carmina Burana ซึ่งเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงมากและก็มีภาพยนตร์หลายเรื่องนำเอาไปเป็นเพลงประกอบ แต่ว่า Orff กลับให้ความสนใจกับเรื่องการศึกษามากและพยายามหาวิธีการที่จะสอนดนตรีให้กับเด็กๆ โดยมีจุดประสงค์ที่เพื่อจะพํฒนาศักยภาพของเด็กๆในทุกๆด้านโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ
คราวนี้กลับมาที่เรื่องการเรียนดนตรีตามแนวทางของออร์ฟ (Orff Schulwerk) กัน ขอใช้คำว่า “Orff Schulwerk” ทับศัพท์ไปเลยนะคะ (วิชาการจ๋าซักนิดนะคะ)
Orff Schulwerk เป็นการเรียนการสอนดนตรีที่เอาธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเด็กมาใช้ เราจะเห็นได้ว่าเด็กทุกคนชอบที่ร้องรำทำเพลง กระโดดโลดเต้นเคลื่อนไหว ตบไม้ตบมือตามจังหวะเพลง สิ่งเหล่านี้แหละค่ะที่เราจะเอามาเป็นเครื่องมือในการสอน Orff มีความเชื่อที่ว่า ดนตรี(Music) การเคลื่อนไหว(Movement) และการพูด(Speech) เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพ เพราะการพูดที่เด็กคุ้นเคยและใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญหลายด้านของดนตรี ส่วนการเคลื่อนไหวนั้นก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารหรือแสดงออกถึงความรู้สึกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพูด การเคลื่อนไหวและดนตรีเป็นสิ่งที่เด็กจะแสดงออกร่วมกันได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกัน มีความเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้เด็กมีความเข้าใจดนตรีและเล่นดนตรีได้อย่างมีความสุข และจากประสบการณ์ที่เด็กได้ทำสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ดนตรี
จุดเด่นของการเรียนการสอนดนตรีตามแนวคิดของออร์ฟ (Orff Schulwerk) อยู่ที่การสามารถนำเอาคำพูด บทกลอน การร้องเพลง การเคลื่อนไหว และการเล่นเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับวัย มาผสมผสานใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนดนตรีได้อย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจังหวะ ระดับเสียง ความช้า – เร็ว เป็นต้น และยังสามารถนำมาบูรณาการกับการสอนวิชาอื่นๆได้อีกด้วย และที่สำคัญ Orff Schulwerk เน้นให้เด็กได้ฝึกการคิดแบบฉับพลัน (Improvisation) ฝึกการแต่งท่วงทำนอง (Composition) ง่ายๆซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้านดนตรีและด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กต่อไปในอนาคต"


ได้บล็อคน่าสนใจเพิ่มขึ้นด้วย ตามไปเสพได้นะเธอว์ //www.oknation.net/blog/krutik

มีหนังสือการสอนดนตรีเด็กตามแนวของ คาร์ล ออร์ฟ


อีกอันนึง...พอเซริชชื่อนี้ปุ๊บ มีแต่ รร.ปัญโญทัย ที่เอ่ยถึงการสอนวิธีนี้ เยอะมากๆ เพราะ มาคู่กะวอลดอร์ฟ น่าเรียนเหมือนกัน อยากจะแบบตังค์เหลือๆ พาลูกไปเรียนโน่นนี่ ชีลๆ หนุกๆ ตามเรื่องตามราว แต่แบบนะ ชีวิตคนเรา มันไม่ได้มีแต่วันๆ นั่งเลี้ยงลูกนี่หว่า เฮ้อ

สิ่งที่จะพูดถึงคือ "eurythmics" อันนี้ ไม่เชิงดนตรีจ๋าๆ แต่เน้น การเคลื่อนไหวร่างกาย การสื่อสาร การแสดงออก จังหวะ ความคิดสร้างสรรค์ และหลายๆๆๆๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกัน

"ยูริธมี่ถือเป็นศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวที่รวมเอาความเป็นมนุษย์ทั้งหมดเอาไว้ ทั้งการเคลื่อนไหวทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจิตวิญญาณ อันจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันกลมกลืนกันระหว่างจิตวิญญาณและร่างกายของมนุษย์

ด้วยความที่โดยแก่นแล้วยูริธมี่เป็นกระบวนการทางศิลปะ ศาสตร์แขนงนี้จึงต่างจากยิมนาสติกที่มีจุดมุ่งหมายหลากหลายเพื่อบังคับร่างกายให้ กระชับ อ่อนตัว กลมกลืน และเป็นอิสระ ยิมนาสติกคือศาสตร์ที่เอาทุกส่วนของมนุษย์มาสัมพันธ์กับกฎทางกายภาพที่กำหนดช่องว่างระหว่างความอ่อนไหวและความหนักแน่นจริงจังรวมทั้งสมดุลที่มนุษย์ได้จากขั้วทั้งสองนี้ ยูริธมี่ก็เป็นศาสตร์ที่เอาขั้วความอ่อนไหวและขั้วความหนักแน่นจริงจังมาใช้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้นำมาใช้ทางร่างกายแต่ผ่านทางประสบการณ์ภายในจิตใจด้วยสิ่งที่เรียกว่า “การเคลื่อนไหวที่ใส่จิตวิญญาณเอาไว้” สิ่งนี้เองทำให้ยูริธมี่คล้ายคลึงกับการเต้นรำมากกว่ายิมนาสติก"


ที่มา : อ่านเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรยูริทมี

"เอกลักษณ์หนึ่งของโรงเรียนวอลดอร์ฟคือ "ยูริธมี (Eurythmy)" ศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายที่สไตเนอร์พัฒนาขึ้น เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับดนตรีและการพูด ยูริธมีจึงมีอีกชื่อว่า "เสียงพูดหรือดนตรีที่มองเห็นได้" สไตเนอร์ชี้ว่าการฝึกยูริธมีจะช่วยจัดระเบียบและความกลมกลืนทั้งกายและจิตระดับต่างๆ ตัวอย่างเช่น ยูริธมีสำหรับเด็กปฐมวัยมักเป็นคำกลอนที่ผูกเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ให้เด็กทำท่าประกอบ ท่าทางที่ออกแบบมานั้นจะมีความสมดุลเปรียบเสมือนกับมีท่าที่เป็นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก การเรียนยูริธมีจะทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยมีครูพิเศษที่ผ่านการฝึกหัดมาโดยเฉพาะเป็นผู้สอน"

ที่มา ://www.karn.tv/c_school/com_002.html

เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยูริทมี่ ถ้าจะให้เห็นชัดๆ ก็เซริชใน youtube โลด เจอเพียบ ขี้เกียจหามาแปะอะ

ยังไม่จบอะ แต่ชักจะเวิ่นเว้อ ละ...พอก่อนดีกว่า สนใจอันไหนก็ตามไปหาเสพเอาเองนะเธอ อย่าถาม เพราะไม่รู้เรื่องเหมือนกัน มีอะไรก็พึ่งอากู๋โลด ประเดี๋ยวจะสอนจระเข้ ซะเปล่าๆ เฮ่อ..........



Create Date : 31 สิงหาคม 2553
Last Update : 31 สิงหาคม 2553 1:51:11 น. 9 comments
Counter : 3127 Pageviews.

 
สวัสดียามเช้าค่ะ..

ว่าจะมาฟังดนตรีซะหน่อย


โดย: Gunpung วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:4:48:41 น.  

 
เข้ามาเที่ยวหา ฟัง เด็กหญิงตัวน้อย ๆ เล่นดนตรี...

สรุป ไวโอลิน หรือ เปียโน

หรือว่า ท่าทาง ลีลา ป้าเอรอฟังอยู่ค่ะ...

เด็ก บ้านสามออ เอากระป๋องนมมาตีเป็นกลอง กะ ไปเกาะเกร็ดได้ระนาดมา ตีกันลั่นบ้าน หนวกหูชิบเป๋ง...


โดย: พี่เอ บ้านสามออ IP: 118.172.196.62 วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:9:03:11 น.  

 
สวัสดีค่ะ คิดจะให้ลูกเรียนดนตรีเหมือนกัน
ลองไปส่องๆ สยามกลการ ดูคอร์ส JMC (รู้จักแค่เนี่ยะ)
พออ่านแล้วได้ความรู้อื่นๆ ต้องลอง ดูข้อมูลที่อื่นบ้างแล้ว ขอบคุณค่า


โดย: @คนบ้านไหน@ IP: 10.68.2.12, 10.1.5.21, 58.137.129.220 วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:11:06:07 น.  

 
โรงเรียนข้าวหอมก็ใช้การเคลื่อนไหวกับร้องเพลง

แบบไม่มีดนตรีอ่ะ ตอนแรกเราก็แปลก ๆ เหมือนกัน

เค้าจะใช้เสียงคนร้องเป็นคีย์แทน

คุณครูจะมีการฝึกเสียง แล้วมีฮาร์พตัวเล็กที่มีแค่ 5 เสียง

บางครั้งมันขัดกับหลักการดนตรีทั่ว ๆ ไปอ่ะ แต๋งเองยังไม่กระจ่างในเรื่องนี้เหมือนกัน ขอบคุณที่หาข้อมูลให้อ่านนะจ้ะ

ข้าวหอมเลยได้ร้องเพลงและทำท่าประกอบ(แบบแปลก ๆ ) มาทุกวัน


โดย: มาม๊าข้าวหอม IP: 58.9.138.70 วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:11:07:09 น.  

 
จะบอกว่า JMC ไรเนี่ย..เราเคยได้ยินครั้งแรก เมื่อวานนี้เองค่ะ หนักยิ่งกว่า แหะๆๆๆ

มี๊แต๋ง อิจฉาอ๊า อยากไปเรียนบ้าง แต่ไกลบ้านโคดๆ รร.ข้าวหอมน่าเรียนมากกกก

รอฟังดนตรีจากมิว นี่อาจจะต้องใช้ทีอุดหูนะคะ ช่วงนี้ เรียกได้ว่า แหกปากร้องเพลงอะ หูจะแตก -_-''



โดย: กุ๊ดจัง วันที่: 31 สิงหาคม 2553 เวลา:12:25:46 น.  

 
ว๊าวๆๆ มิว มิวจะเป็นนักดนตรี อิอิ


โดย: saranoy IP: 58.136.7.161 วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:7:58:27 น.  

 
ชอบไวโอลินด้วย
แต่มีคนทักว่า เดี๋ยวคอเอียง บุคลิกไม่ดี (เว่อร์เนอะ)
จะเรียนไรก็เรียน ขาหมูรอเต้นประกอบดนตรีอย่างเดียวละกัน ไม่ต้องเรียนเอง รอแด๊นซ์ยับอย่างเดียวพอ


โดย: แม่ขาหมู IP: 183.89.100.140 วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:19:39:12 น.  

 
ขอเจิมนะขอรับ


โดย: Tom IP: 58.9.13.74 วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:20:47:25 น.  

 
จิระยังไม่ได้เริ่มซะที ว่าจะๆ แต่ก็ยังไม่ได้ไป แต่เรียนดนตรียังไงก็ต้องเรียน


โดย: Jeban วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:2:40:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.