Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
29 พฤศจิกายน 2551

ใบไม้กลางป่า ...





ใบไม้กลางป่า

วันหนึ่งของการปฏิบัติงานที่วอร์ดอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผมตื่นขึ้นมาเวลาเดิม เดินไปราวน์วอร์ดในเวลาไล่เลี่ยกับเมื่อวาน ที่วอร์ดยังมีคนไข้บางคนที่ยังนอนคอยแพทย์มาตรวจด้วยอาการที่ไม่สู้ดีนัก แต่ในใจของพวกเขาหล่านี้บอกผมว่าพวกเขายังมีหวัง ทำให้แพทย์ที่ดูแลคนไข้เหล่านี้พยายามที่จะให้ความหวังของเขาเป็นจริงอยู่ ทุกวัน

วันนี้ เป็นวันที่ผมได้ยินประโยคเดิมที่เคยฟังมาเมื่อวันก่อน ผมเคยได้ยินพี่พยาบาลพูดว่า

“คนไข้คนหนึ่งร้องไห้ทุกวัน... และบ่นอยากกลับบ้าน... “

ผมคิดว่าคงมีปัญหาอะไรบางอย่างกับเขา แต่ก็ยังไม่รู้ว่าคนไข้คนนั้นเป็นใคร เพราะอยู่คนละสายกัน วอร์ดนี้มีคนไข้ให้ดูแลมากมายทั้งอาการหนักบ้าง อาการไม่หนักบ้าง แต่ถ้าหากจะนับตั้งแต่เวลาเดินขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่บนวอร์ดจนลงจากวอร์ดใน เวลาเย็น แทบจะพูดได้ว่า...ยุ่งจนไม่ได้นั่งกันทีเดียว ผมสนใจในคำพูดของพี่พยาบาลคนนั้นและดูเหมือนพี่พยาบาลจะพูดเชิงว่า

“เขากลับบ้านไม่ได้หรอก อาการยังไม่ค่อยดี หมอที่ดูแลอยู่ก็บอกว่าต้องรอให้หายใจเองได้ดีก่อน”

ผมลองย้อนกลับมาคิดดูว่า การอยู่โรงพยาบาลนานๆ เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่ต้องการ ไม่เพียงแต่ความรู้สึกเป็นทุกข์ที่ร่างกายของตนเองต้องมาป่วยไข้ เขายังต้องนอนร่วมกับคนมากมาย ไม่ได้อยู่กับคนที่บ้าน อาหารก็อะไรก็ไม่รู้ไม่เห็นน่ากินเลย ตอนกลางคืนก็เปิดไปเสียสว่างใครจะไปนอนได้ แถมเสียง Bird's ventilator ก็ดังกล่อมขนาดนั้น บางครั้งเตียงข้างๆ ก็ถูกปั๊ม...แล้วก็หยุดหายใจไป

ใครจะอยากมาอยู่ ถ้าอาการพอจะดีขึ้นบ้าง ก็อยากกลับไปนอนรักษาตัวที่บ้าน แต่กับคนไข้คนนี้เป็นไปไม่ได้

ครั้งแรกที่ผมเห็นคนไข้คนนี้ คนไข้พูดไม่ได้ มี tracheostomy ที่คอ ยังกลับบ้านไม่ได้เพราะปัญหา ปอดติดเชื้อเชื้อดื้อยา หากใครสักคนได้สังเกตและพูดคุยกับเขา อาจพบว่ามีหยดน้ำปริ่มตาอยู่ตลอดเวลา

ที่สำคัญ คนไข้คนนั้นอายุน้อยกว่าผม...เด็กวัยรุ่นในวัยนี้ น่าจะมีโอกาสได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นให้เหมาะสมและคุ้มค่ามากกว่าที่จะต้องมา พักรักษาตัวเองด้วยโรคร้าย

ครั้งหนึ่งในการราวน์วอร์ดในช่วงเช้า อาจเป็นวันปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนี้ผมตัดสินใจผมเดินไปบริเวณที่คนไข้คนนี้อยู่เป็นประจำ แม้ว่าผมเองอาจจะไม่ใช่นักศึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยคนนี้ แต่ผมเพียงหวังเล็กๆ ว่าอาจจะพอดูแลปัญหาทางใจ ทางความรู้สึกที่อ่อนล้าของเขาได้บ้าง

ขณะที่เดินเข้าไปหาคนไข้คนนี้ ผมเห็นคนไข้กำลังยื่นอะไรบางอย่างออกมามอบให้ผม เป็นกระดาษโน้ต ที่มีข้อความเขียนไว้ว่า

"คุณหมอขาให้หนูกลับบ้านเถอะค่ะ หนูอยู่โรงพยาบาลมาสามเดือนกว่าแล้ว หนูเหงา อยากเจอพ่อเจอแม่ คุณหมอไปบอกหมอที่รักษาหนูให้หนูกลับบ้านนะคะ"

หลังจากอ่านจบ ผมรู้สึกอะไรบางอย่าง

บางครั้งการดูแลคนไข้อย่างที่เราทำกันทุกวันนั้น เราเน้นเพียงแต่การรักษาคนไข้ทางกาย เพียงเพราะมีหลักการแน่นอน มีแนวทางการรักษาที่ตรงตัวมากกว่าการดูแลรักษาทางด้านอื่น ทำให้ลืมแนวทางการรักษาที่เคียงคู่ไปกับการรักษาที่เคยชิน ทั้งด้านจิตใจ หรือด้านสังคมและจิตวิญญาณไปมากทีเดียว

ผมไม่แน่ใจว่าปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับทีมที่ให้การรักษา โดยเฉพาะแพทย์เองนั้น ถูกจำกัดด้วยสิ่งใด

เวลาที่มีไม่พอเมื่อเทียบกับปริมาณคนไข้

ความชินชา คละ ความเพิกเฉย

.................

หรือหลายๆ อย่างที่เคยร่ำเรียนและปลูกฝังมา โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้ “หมอเป็นหมอ” นั้น เป็นได้เพียงแค่ทฤษฎีเขียนใส่กระดาษคำตอบส่งอาจารย์



หากเราดูแลผู้ป่วยคนหนึ่งด้วยความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเราเอง เราอาจพอรู้แนวทางการรักษาที่มากกว่าการรักษาโรคของเขา หากลองนึกดูว่าวันหนึ่งเราต้องประสบกับโรคร้ายแล้วต้องอยู่ในสภาวะที่เทียบ เคียงกับเรื่องนี้ คงไม่มีใครอยากอ้างว้างกับความรู้สึกที่ทุกข์ทนกับโรคร้ายพร้อมกันกับความรู้สึกในทางลบต่างๆ มากมาย ทั้งเหงา กลัว กังวล ฯลฯ ผมเชื่อว่ามีผู้ป่วยอีกมากที่ยังมีความเจ็บป่วยทางใจซ่อนอยู่

เพียงแค่เวลาวันละเล็กน้อยที่พอจะพูดคุยกันมากกว่าถามอาการของเขา

เพียงแค่วันละรอยยิ้มที่มอบให้ด้วยความจริงใจ ที่มีนัยซ่อนอยู่ว่า...หมอจะไม่ไปไหน จะรักษาคุณให้หายเจ็บป่วยอย่างเต็มความสามารถ

อาจจะทำให้อะไรหลายๆ อย่างดีขึ้นกว่าที่คุณคิด


สิ่งที่เล่ามาทั้งหมด ผมเพียงต้องการให้แพทย์ทั้งหลาย ลองหันกลับมามองคนไข้ของคุณในบางแง่มุมที่คุณอาจลืมมันไป อยากให้มันเป็นสิ่งที่ “ซ่อนอยู่” หรือ “ถูก(คุณ)ซ่อนอยู่” แบบนั้นโดยไม่มีใครคิดจะแก้ไข

สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจทำให้ใครหลายๆ คนมีกำลังใจในการดูแลตนเองมากขึ้น เป็นกำลังใจให้ต่อสู้กับปัญหาของเขามากขึ้น และอาจเป็นสิ่งเติมเต็มสิ่งหนึ่งที่ทั้งคนไข้และตัวคุณกำลังค้นหาอยู่ก็ เป็น ได้
ที่เหลือขึ้นกับตัวคุณแล้วล่ะ แล้วคุณล่ะ...ว่าอย่างไร


นศพ.อธิพัฒน์ อธิพงษ์อาภรณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์




Create Date : 29 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2551 17:56:18 น. 2 comments
Counter : 1333 Pageviews.  

 
หวัดดีค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะคุณหมอ
เดี่ยวนี้คนเริ่มเข้าไปเยียวยากันในวัดเพื่อปฏิบัติธรรมไม่น้อยไปกว่าการพบจิตแพทย์แล้วนะคะ
ยังมีพระท่านหนึ่งเทศน์เรื่องเกียวกับคนไข้ที่มีอาการทางใจที่อเมริกาก้เข้ามาปฏิบัติธรรมกันเยอะมากแล้วค่ะ
ไผ่ค่ะ


โดย: chabori วันที่: 29 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:13:43 น.  

 
Wadee ka.


โดย: CrackyDong วันที่: 29 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:04:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]