Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
23 พฤศจิกายน 2551

ก็เพียง นศพ. คนหนึ่ง




ก็เพียง นศพ. คนหนึ่ง

วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่ผมได้รู้สึกถึงความมีคุณค่าในตัวเองในฐานะที่เป็น นศพ.

วันนี้เป็นวันแรกที่ผมขึ้นวอร์ด orthopaedics ในเวลาช่วงเช้านั้นผมก็เรียน lecture เหมือนกับชีวิตนักศึกษาทั่วๆไป แต่ในช่วงเวลาเย็นหลังเลิกเรียนผมต้องมารับเคสตามหน้าที่ของ นศพ. ซึ่งในขณะนั้นผมมีความกังวลอยู่ในใจว่า เราไม่มีความรู้แล้วจะตอบคำถามผู้ป่วยได้ยังไง

ผมจึงไปหยิบแฟ้มมานั่งอ่านดูว่า ผู้ป่วยเป็นอะไร หลังจากนั้นผมก็อ่านหนังสือในเรื่องนั้นไว้อย่างเต็มที่เพื่อจะสามารถตอบคำถามของผู้ปกครองของผู้ป่วยได้ ขณะที่ผมเดินเข้าไปเพื่อที่จะพูดคุยกับแม่ของผู้ป่วย ผมก็แนะนำตัวเอง แล้วก็เริ่มสนทนากับผู้ป่วยตามอย่างที่ นศพ. ควรจะทำ

หลังจากได้คุยกันอยู่สักพัก ผมเริ่มรู้สึกได้ถึงความกังวลใจของแม่ของผู้ป่วยอย่างมาก และผมก็มั่นใจว่าผู้ป่วยเริ่มเชื่อใจผม ผมจึงถามออกไปว่า

“ มีความกังวลใจอะไรอยู่หรือป่าวครับ พอจะเล่าให้ผมฟังได้ไหม ”font>

และแม่ของผู้ป่วยก็ได้พูดออกมาเองโดยผมไม่ต้องซักถามอะไรเพิ่มเติม แม่ของผู้ป่วยรายนี้รู้สึกว่า ลูกยังอายุน้อย ยังไม่ถึง 10 ขวบ ไม่อยากจะให้ลูกต้องเข้ารับการผ่าตัดเลยถ้าเป็นไปได้ แม่ของผู้ป่วยรู้สึกภูมิใจในลูกของตัวเองมาก เนื่องจากลูกเรียนได้ดีมากๆ ไม่เป็นเด็กดื้อเลย

ในเวลานั้นแม่ของผู้ป่วยบอกผมออกมาว่า รู้สึกทุกข์ใจเป็นอย่างมากที่ต้องรอผลการตรวจว่าลูกจะเป็นโรคที่รักษาหายหรือไม่ เวลาช่วงนี้มันช่างเป็นเวลาที่ทุกข์ทรมานและแสนยาวนานเหลือเกิน

ผมพยายามฟังและสะท้อนความคิดให้รับทราบว่าผมฟังแม่ของผู้ป่วยพูดอยู่ หลังจากที่ผมฟังแม่ของผู้ป่วยพูดจบ แม่ของผู้ป่วยมีสีหน้าที่สบายใจขึ้นมาก รู้สึกเหมือนมีคนมารับฟังและเข้าใจ

ผมพูดให้กำลังใจและก็เดินออกมาพร้อมกับคำพูดที่พูดว่า “ วันพรุ่งนี้ผมจะมาดูอาการน้องอีกรอบนะครับ ” แม่ของผู้ป่วยยิ้มรับด้วยความยินดี ทั้งที่รู้ว่า ผมเป็นเพียง นศพ. คนหนึ่ง


ต่อมาผมก็เดินไปรับผู้ป่วยรายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่ถึง 10 ขวบเช่นกัน ผมเห็นคนนั่งอยู่ข้างๆเตียงผู้ป่วยคนหนึ่งหน้าตาดูโทรมๆ และเหมือนกำลังคิดอะไรบางอย่างอยู่ในใจ ผมจึงเข้าไปและแนะนำตัวเอง และถามถึงว่าเป็นอะไรกับผู้ป่วย จึงได้ทราบว่าเป็นแม่ของผู้ป่วย ผมก็ถามออกไปเหมือนเคยว่า วันนี้ผู้ป่วยมีอาการอะไรมาครับ แม่ของผู้ป่วยก็เล่าให้ฟังเล่าไปเรื่อยๆและผมก็ถามตามสมควร ในระหว่างการสนทนากัน ผมสังเกตเห็นว่าแม่ของผู้ป่วยกำลังคิดอะไรอยู่ในใจตลอดเวลา เหมือนกับไม่มีสมาธิที่จะตอบคำถามได้อย่างเต็มที่

ผมจึงลองถามแม่ของผู้ป่วยออกไปว่า “ มีความกังวลใจอะไรอยู่หรือป่าวครับ หรือว่าจะกังวลเกี่ยวกับอาการของน้อง ”

แม่ของผู้ป่วยตอบผมกลับมาว่า “ เรื่องอาการป่วยของลูกก็กังวลอยู่เหมือนกัน แต่ที่กังวลอยู่อีกเรื่องก็คือ ครั้งก่อนไปรักษาที่ รพ. แห่งหนึ่ง แล้วเขาเก็บค่ารักษาเพิ่ม ตอนนั้นราคาไม่เท่าไรยังพอจ่ายได้ แต่ในครั้งนี้เงินก็ไม่ค่อยจะมี เดินทางมายังเดินทางกลับไม่ได้ ต้องเฝ้าอยู่เพียงแต่ที่นี่เท่านั้นเพราะมือถือก็ไม่มี มีอะไรจะได้ติดต่อได้ทันที ” แล้วแม่ของผู้ป่วยก็เอาเสื้อขึ้นมาปิดหน้า เช็ดน้ำตา

ผมจึงเอามือจับและบีบเบาๆที่ข้อศอกของแม่ของผู้ป่วยแล้วบอกว่า “ ไม่ต้องกังวลนะครับ ถ้าเกิดไม่มีเงินจริงๆที่นี่มีมูลนิธิที่สามารถช่วยเหลือได้ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาติดต่อหน่อย ถ้ายังกังวลอยู่ พรุ่งนี้พอมีแพทย์หรือพยาบาลมาถามไถ่อาการของผู้ป่วย ลองถามปรึกษาเกี่ยวกับข้อขับข้องใจเรื่องนี้ได้นะครับ ”

หลังจากที่ผมพูดประโยคจบ แม่ของผู้ป่วยก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาเหมือนกับคนที่พบทางออกของปัญหาที่ติดอยู่ในใจมานาน จนลูกซึ่งเป็นผู้ป่วยหันมามองแม่และเหมือนอยากจะเข้าไปปลอบแม่ เพราะเห็นแม่กำลังร้องไห้

ในเวลานั้น สมองส่วนลึกของผมก็ได้จดจำภาพเหตุการณ์นั้นไว้ ผมประทับใจกับความรักและเป็นหวงของแม่ที่มีต่อลูกมาก และลูกถึงแม้จะยังเด็กอยู่แต่ก็มีความเป็นห่วงเป็นใยแม่มาก

หลังจากนั้น แม่ของผู้ป่วยดูมีความกังวลลดน้อยลง ผมจึงถามไปอีกว่า “ มีความกังวลอะไรอีกไหม ” ดูเหมือนแม่ของผู้ป่วยยังอยากถามให้มั่นใจขึ้นในเรื่องการช่วยเหลือจึงถามผม อีกรอบ ผมจึงยืนยันในการมีอยู่จริงขององค์กรที่ช่วยเหลือในด้านนี้ ทำให้แม่ของผู้ป่วยมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มขึ้น

หลังจากนั้นผมจึงถามต่อไปว่า “ ยังมีอะไรอยากถามหรืออยากทราบเพิ่มเติมอีกหรือป่าวครับ ” แม่ของผู้ป่วยบอกว่า “ ไม่มีอะไรแล้ว ” ผมจึงบอกกลับไปว่า “แล้วพรุ่งนี้ผมจะกลับมาดูอาการน้องใหม่นะครับ มีปัญหาอะไรบอกผมได้ ผมจะพยายามช่วยเหลือเท่าที่ผมจะทำได้ ” แล้วผมก็กลับออกไป

จากที่ทั้งสองเคสที่ผมเล่าไป ผมรู้สึกถึงความมีคุณค่า ที่ทำอะไรได้มากกว่าไปซักประวัติโรคของผู้ป่วยเพื่อการเรียนรู้ของผมเพียงอย่างเดียว ผมรู้สึกว่า ผมได้ให้อะไรกลับคืนไปแก่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดที่ต้องดูแลผู้ป่วยบ้าง แม้มันจะดูเหมือนเล็กน้อยและดูเหมือนไม่ใช่หน้าที่ของ นศพ. น่าจะเป็นหน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์

แต่ผมกลับมองว่า หน้าที่นี่แหละที่เป็นหน้าที่อีกอย่างที่ นศพ. ควรจะต้องทำ เพราะสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูยุคที่มีแต่การฟ้องร้องแพทย์กันอย่างมากมาย

ลองคิดดูว่า ถ้าเราเริ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันนี้ ก็คงไม่มีผู้ป่วยหรือใครที่ไหนอยากจะฟ้องแพทย์ที่พยายามดูแลเขาหรือญาติของเขาอย่างดีที่สุดในความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติของเขาเอง โดยไม่ใช่แค่คำพูดของหมอว่า ผมจะพยายามดูแลให้ดีที่สุดนะครับ

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สังคมแพทย์เริ่มลืมเลือนหายไป เพราะเวลาที่จะสอนมีอยู่อย่างจำกัดและจำเป็นที่จะต้องสร้างแพทย์ที่มีความรู้ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อที่จะไม่รักษาผู้ป่วยผิดพลาด ทำให้ในขณะนี้แพทย์ที่จบออกมาสามารถรักษาโรคทางกายได้เป็นอย่างดีแต่ไม่สามารถที่จะรักษาโรคทางใจได้ ทั้งของผู้ป่วยและผู้ที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

นศพ. เอกพล ฤทธิ์วีระเดช นศพ.ปี 5
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี








Create Date : 23 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2551 18:01:52 น. 6 comments
Counter : 2410 Pageviews.  

 
น่าสงสารเค้าจังเลยนะค่ะ หนูอยากเป็นแพทย์จังแต่เกรดไม่ถึงคงสอบไม่ติดแน่เลย พี่คงเรียนหนักมากแน่เลยนะค่ะ หนูจะติดตามอ่านเรื่อยๆนะค่ะ^^


โดย: น้ำหวาน (skynamwan ) วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:17:05 น.  

 


อ่านแล้วประทับใจค่ะ ทั้งนศพ.เอกพล ฤทธิ์วีระเดช

และหมอหมุเจ้าของ blog



โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:47:23 น.  

 
อ่านเรื่องราวของนักศึกษาแพทย์แล้วประทับใจทุกเรื่องค่ะ
รู้สึกดีมากๆ


โดย: บอนหวาน วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:13:36 น.  

 
อ่านแล้วรู้สึกดีจังค่ะ ว่าที่คุณหมอ


โดย: ปาน (รพ.ศิริราช) (eisluv ) วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:25:33 น.  

 
ได้อ่านเรื่องดีๆอีกแล้ว....ขอบคุณค่ะพี่หมู

อยากให้น้องหมอทุกคนได้มีประสบการณ์ดีๆแบบนี้
จะได้เก็บไว้เป็นความทรงจำที่ดีต่อไป...


โดย: NuHring วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:21:42:53 น.  

 
ชอบชีวิตตอนเป็นนศพ.มากเลยค่ะ ตอนนั้นรู้สึกว่ามีเวลาให้คนไข้เยอะดี โดยเฉพาะตอนอยู่วอร์ดเมด เพราะอยู่บนวอร์ดแทบจะตลอดเวลา ได้คุยกับคนไข้ รับรู้ถึงเรื่องราวของเค้า นอกจากทางการแพทย์นะคะ มันทำให้รู้สึกว่าเวลาเรามองผู้ป่วยน่ะมองในฐานะที่เค้าเป็นคนๆหนึ่ง มากกว่าที่จะมองว่า เค้าป่วยเป็นโรคๆหนึ่งน่ะค่ะ


โดย: ลูกแม่ดอกบัว วันที่: 23 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:02:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]