ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ตัวอย่างดีๆ การวางผัง และออกแบบ(อเมริกา)สำหรับการฟื้นฟู(ใจกลางเมือง) ประเทศไทยเราจะประยุกต์ตอนไหนดี

บทความดีๆเกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660 ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



vdo งาน urban planning สำหรับการฟื้นฟู downtown


Copy// Thapana Bunyapravitra (27 มกราคม 2555)

AIA หรือ The American Institute of Architects เสนอผลการสำรวจแนวโน้มตลาดการให้บริการที่ปรึกษาการออกแบบในสหรัฐอเมริกา พบว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดการออกแบบฟื้นฟูสภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Infill Development-ท่านที่ต้องการทราบความหมายคำว่า Infill Development กรุณาอ่าน post ของผมช่วงปลายเดือนธันวาคม 2554) มีส่วนแบ่งมากที่สุด รองลงมาเป็นการออกแบบปรับปรุงการเข้าถึงสถานีขนส่งมวลชน ตลาด และย่านพาณิชยกรรม การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา การปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนเพื่อส่งเสริมความหนาแน่น การออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพชุมชนดั้งเดิม และการออกแบบปรับปรุงชุมชนเพื่อให้ใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ตามลำดับ



สภาพ Downtown ในสมัยเก่า (ย่ำแย่ ดูในวีดีโอ)


รายงานนี้สำรวจจากบริษัทที่ปรึกษาการออกแบบไม่น้อยกว่า 500 แห่ง ผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นแนวโน้มและความสำคัญใน 4 ประเด็นได้แก่

1) เมืองและชุมชนมีความต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการฟื้นฟูกายภาพสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันมากขึ้น

2) ประชาชนต้องการความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทางเข้าถึงและการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น



ปรับปรุงแล้ว กายภาพเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น


3) แนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองให้มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่ามีมากขึ้นดังจะเห็นได้จาก

3.1) การเติบโตของตลาดการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายด้านราคาและประชาชนสามารถซื้อหาได้

3.2) การหันมาพัฒนาพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมหรือชุมชนที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนานมากกว่าการเปิดพื้นที่เพื่อขยายโครงการชุมชนเกิดใหม่

3.3) การปรับปรุงเพื่อให้เกิดความหนาแน่นของประชาชนและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ผสมผสานมีความหลากหลาย



Downtown การค้าคึกคักทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยมีการจัดระบบอย่างลงตัว




Downtown การค้าคึกคักทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยมีการจัดระบบอย่างลงตัว


4) ผลการสำรวจพบว่าประเด็นที่ชุมชนต้องการ 7 อันดับนั้นตรงตามเกณฑ์ของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ในการพัฒนากายภาพเมืองจำนวน 6 เกณฑ์ และ 1 กลยุทธ์ (ท่านที่สนใจขอให้อ่านเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดในเว็บไซท์ asiamuseum.co.th หน้าแรกบทความที่สอง) แนวโน้มความต้องการของตลาดในสหรัฐฯ ดังผลการสำรวจแสดงให้เห็นความแตกต่างด้านความสนใจการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชนระหว่างสหรัฐฯ กับบ้านเราอย่างมีนัยสำคัญ



ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน




ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน




ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน




ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน




ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน




ทางเดินทาง ,ทางวิ่ง, ทางจักรยาน


ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากช่วง 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เคยปรากฎโครงการ Infill Development และการฟื้นฟูการเข้าถึง (ทางเดิน,ทางจักรยาน) สถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทยที่เป็นรูปธรรมเลยแม้แต่โครงการเดียว
(ท่านจะเห็นได้ชัดว่าในการพัฒนากายภาพสาธารณูปโภคสำคัญๆ ในบ้านเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงที่มีประสิทธิภาพ ขอให้ลองพิจารณาจากพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าทุกแห่ง และสถานีขนส่งสายใต้ซึ่งท่านจะพบว่า โครงการดังกล่าวขาดการออกแบบปรับปรุงกายภาพให้สถานีเชื่อมต่อกับโครงข่ายการบริการอื่นๆ และโครงสร้างทางกายภาพของสถานีขาดความสัมพันธ์กับย่านและชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น)


ส่วนลำดับความนิยมในการออกแบบตั้งแต่ข้อ 3 เป็นต้นไป ยกเว้นข้อ 5 ยังถือว่าไกลตัวสำหรับประเทศนี้เนื่องจากสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่สถาบันการศึกษายังจัดลำดับความสำคัญอยู่ในอันดับรั้งท้าย ผมขอบคุณ AIA และ Smart Growth online ที่สนับสนุนข้อมูลครับ



มีพื้นที่สันทนาการ


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป like fanpage friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand





 

Create Date : 31 มกราคม 2555    
Last Update : 24 กันยายน 2555 15:54:25 น.
Counter : 1775 Pageviews.  

Streetcar เมืองนอก ทำแล้ว “รถไม่ติด” ….มองเขา มองเราครับ “ปัญหามีไว้แก้” อย่า “กลัว” ปัญหา จนไม่กล้า



บทความดีๆ มีประโยชน์ นำเสนอกันถึงเพื่อนๆ ทุกวัน เกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660 ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



Copy//Thapana Bunyapravitra ( 24 มกราคม 2555 )

ข้อเขียนนี้ผมจะกล่าวถึง บทบาทของระบบขนส่งมวลชนกับการพัฒนากายภาพเมืองเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยจะใช้ vdoของ Portland Streetcar เป็นเครื่องมือในการอธิบาย ผมขอกลับมาที่ข้อเขียนก่อนหน้านี้ซึ่งผมได้แสดงให้เห็นตัวชี้วัดระดับความสมบูรณ์ของกายภาพเมืองจำนวน 2 ตัวได้แก่ รถเข็นเด็ก และความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้สูงอายุเป็นเกณฑ์การวัด ( ตามลิ้งก์เนื้อหาที่ เฟสบุ๊กวันที่ 21 มกราคม //www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=331389980228376&id=100001871354660)

ทีนี้เราลองมาดูกันว่าจะสามารถสร้างกายภาพเมืองให้มีความสมบูรณ์ตามตัวชี้วัดได้อย่างไร ก่อนอื่นต้องดูองค์ประกอบที่ทำให้เกิดคุณภาพของกายภาพเมืองกันก่อน ซึ่งผมไว้ 3 ส่วนประกอบด้วย

1) โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Urban Infrastructure) ได้แก่ โครงข่ายถนน พื้นที่สาธารณะ (Public Space) สาธารณูปโภค และหน่วยบริการพื้นฐานของชุมชน

2) ระบบการคมนาคมสีเขียว (Green Transportation) ได้แก่ ทางเท้า ทางจักรยานซึ่งได้รับการพัฒนากายภาพเป็นถนนที่สมบูรณ์ (Complete Street) และระบบขนส่งมวลชน

3) ระบบการบริหารจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบการวางผังเมืองสีเขียว (Green Planning) ที่ใช้นโยบายการพัฒนาบนพื้นฐานการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) เน้นความกระชับของชุมชน ส่งเสริมความหนาแน่นประชาชนในเขตพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสมผสาน (Mix Land Use)

ทุกองค์ประกอบต้องมีความสัมพันธ์กันในเชิงกายภาพ เช่น โครงข่ายถนนจะต้องได้รับการออกแบบให้เชื่อมต่อกันได้ทั่วทั้งชุมชน ซึ่งจะทำให้โครงข่ายทางเดิน ทางจักรยาน และเส้นสายของระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกันด้วย หรือลักษณะการออกแบบถนนแบบสมบูรณ์ต้องใช้หลักการ Universal Design ซึ่งทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบทางเท้าและทางจักรยานให้มีทางลาด (ramp) จัดทำส่วนโค้งของทางเดินและถนน (Curb extension) ให้เป็นที่จอดรถขนส่งมวลชนและรถยนต์ การยกระดับถนนบริเวณสี่แยกหรือสามแยก (Cross intersection) การยกระดับทางข้ามและทางเท้าด้านหน้ากลุ่มอาคารสำคัญเพื่อลดความเร็วของยวดยาน (Traffic calming) เป็นต้น



ส่วนการบูรณาการระบบบริหารจัดการเมือง ได้แก่

-การวางผังกำหนดให้มีถนนปลอดภัยจากชุมชนไปยังโรงเรียน (Safe Route to School)

-หรือการออกข้อกำหนดการจราจรให้สนับสนุนโครงสร้างและระบบขนส่งมวลชนสีเขียว

-หรือการจัดสร้างระบบภาษีท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่ระบบการขนส่งมวลชน เป็นต้น

ต่อไปนี้ผมขอให้ท่านเปิดดู vdo ซึ่งผมคัดเลือกเรื่องให้ Streetcar เป็นผู้เล่าเรื่องกายภาพเมือง Portland โดย vdo ชุดนี้ไม่มีเสียงซึ่งจะทำให้ท่านสะดวกในการพิจารณากายภาพถนนและเมืองได้อย่างละเอียด จุดสำคัญที่อยากให้พิจารณาเป็นกรณีพิเศษคือ มาตรฐานการออกแบบ เช่น ระดับของผิวทางเดินส่วนหน้าของสถานีรถไฟฟ้าจะมีความสูงเท่ากับพื้นรถไฟฟ้า (เกณฑ์อนุญาตให้เกิดส่วนต่างระดับกันได้ไม่เกิน 15 ซม.หรือ 1 ขั้นบันได)



ดังนั้นรถเข็นเด็กจะสามารถเข็นขึ้นรถไฟฟ้าได้ทันทีไม่ต้องยกตัวรถ หรือสัดส่วนของความกว้างถนนเทียบกับทางเท้า (หัวข้อนี้ผมขอเว้นไว้อธิบายอีกครั้ง) ซึ่งจะเห็นว่า ขนาดความกว้างทางเท้ารวมกันสองด้านเท่ากับขนาดความกว้างของถนนรวมกัน (ขึ้นอยู่กับกายภาพในบริเวณนั้นๆ ) นอกจากนี้อยากให้ท่านดูลักษณะของ curb ramp บริเวณสี่แยกซึ่งได้รับการออกแบบให้โค้งลาดรับการเดินและวงเลี้ยวของรถยนต์และรถไฟฟ้า รายละเอียดที่ลึกกว่านี้ปล่อยให้นักออกแบบชุมชนเมืองเขาดำเนินการนะครับ ; //vimeo.com/12838837



ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป like fanpage friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/SmartGrowthThailand





 

Create Date : 30 มกราคม 2555    
Last Update : 24 กันยายน 2555 15:16:35 น.
Counter : 1479 Pageviews.  

ตัวอย่างแผนแม่บท ทำได้จริงในอเมริกา แล้วแผนแม่บทไทย ทำได้จริงหรือเปล่า

บทความดีๆเกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660 ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



แผนพัฒนาเมืองกับระบบขนส่งมวลชน โดยใช้แผนแม่บทการปรับปรุงพื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมเมืองพอร์ตแลนด์


Copy// Thapana Bunyapravitra ( 25 มกราคม 2555)

วันนี้ผมจะแสดงให้เห็นการบูรณาการแผนพัฒนาเมืองกับระบบขนส่งมวลชน โดยใช้แผนแม่บทการปรับปรุงพื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมเมืองพอร์ตแลนด์ (Portland Mall Revitalization Master Plan) เป็นกรณีศึกษา ผมขอทำความเข้าใจก่อนว่าประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการผังเมืองไทยไม่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองในลักษณะการบูรณาการศาสตร์ที่เรียกว่า “ผังแม่บท” ที่เริ่มต้นจากการจัดทำวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่อยลงมาถึงขั้นตอนการปฎิบัติเป็นแบบสากลมาก่อน ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมาไทยเรามีการจัดทำ “ผังแม่บท” ในลักษณะไม่ครบส่วน ดังจะเห็นได้จากเมื่อการจัดทำแผนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เสร็จสิ้นลง งานการผังเมืองก็จะหยุดอยู่ตรงการจัดทำผังเมืองระดับเบื้องต้นซึ่งได้แก่การจัดทำผังพื้นฐานจำนวน 4 ผัง ประกอบด้วย

1.ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน

2.ผังโครงการคมนาคมและขนส่ง

3.ผังสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และ

4. ผังแสดงที่โล่ง



โดยเรียกผังที่กล่าวมาว่า “ผังเมืองรวม” ดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ส่วนผังที่ควรจัดทำต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลกายภาพในเชิงลึก เช่น ผังแสดงแบบจำลองการพัฒนาตามมิติด้านต่างๆ ผังแสดงแบบจำลองผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผังแสดงแบบจำลองการเติบโตของมูลค่าทางเศรษฐกิจและแหล่งงาน หรือผังและแผนการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่จำแนกตามชุมชน ย่าน เมือง และภาคนั้น ยังไม่พบมีการจัดทำเป็นกิจลักษณะ แม้จะมีข่าวคราวการจัดตั้งโครงการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้เห็นอยู่บ้างแต่ก็ไม่พบรายละเอียดผลการศึกษาและการออกแบบฟื้นฟูชุมชนเมืองที่สามารถนำไปปฎิบัติได้จริง ที่กล่าวมานี้ผมต้องการแสดงให้เห็นว่า การนำองค์ความรู้ทางด้านผังเมืองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์กายภาพเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตนั้น จำเป็นจะต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นไปจนถึงปลายทาง นั่นก็คือการนำผังและแผนไปสู่การปฎิบัติในพื้นที่จริง ซึ่งศาสตร์นี้ได้กำหนดเครื่องมือที่หลากหลายในการบริหารจัดการทางด้านกายภาพและกับประชาชนไว้แล้ว เพียงแต่ผู้รับผิดชอบควรดำเนินการให้ผ่านในแต่ละขั้นตอนให้ถูกต้องและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนเสียก่อน ดังตัวอย่าง “โครงการผังแม่บทการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมเมืองพอร์ตแลนด์” ซึ่งได้ดำเนินการตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของเมือง ที่กำหนดรายละเอียดให้ปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมเพื่อรองรับการเติบโตไปจนถึงปี ค.ศ.2030 และรองรับการขยายตัวของประชาชนได้ถึงจำนวน 1 ล้านสองแสนคน เพื่อให้เข้าใจกรอบการดำเนินงานและผลที่ได้รับจากโครงการ ผมจึงขอสรุปแผนการฟื้นฟูโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เริ่มจาก ส่วนแรก พัฒนาการของแผนการฟื้นฟู



แผนงานแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 (Portland’ s 1972 Downtown Plan) ได้กำหนดให้ปรับปรุงระบบบริการของผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน และการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนบริเวณศูนย์พาณิชยกรรม ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 ได้มีการปรับปรุงเพื่อขยายการให้บริการรถไฟฟ้ารางเบาไปทั่วทั้งเขตเมืองและเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟรางเบาจากย่านอื่นเข้าสู่ใจกลางย่านพาณิชยกรรมของเมืองพอร์ตแลนด์ด้วย



ส่วนที่สอง แผนการปรับปรุงฟื้นฟูฉบับปัจจุบัน เนื่องจากแผนแรกได้ให้ความสำคัญเฉพาะระบบการขนส่งมวลชนและภูมิทัศน์ถนนโดยไม่ได้คำนึงถึงอาคารและกิจกรรมการใช้ประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นจึงทำให้ย่านพาณิชยกรรมเริ่มเสื่อมโทรมลง ไม่เป็นที่พึงพอใจของประชาชน ผู้ประกอบการและผู้เยี่ยมเยือน ในที่สุดในปี ค.ศ.2002 คณะผู้บริหารเมืองพอร์ตแลนด์ และพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดทำแผนการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมขึ้น (Portland Mall Revitalization Plan) โดยได้เพิ่มบทบาทของถนนสายหลักภายในศูนย์พาณิชยกรรมให้เป็นสถานที่สาธารณะใจกลางเมืองไปอีกหน้าที่หนึ่ง และมุ่งการพัฒนาทางกายภาพให้ศูนย์กลางธุรกิจแห่งนี้มีความสดใสมีชีวิตชีวา



โดยกำหนดกลยุทธ์ให้พื้นที่ใจกลางศูนย์เป็นจุดรวมการเดินทางที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพซึ่งกายภาพที่ได้รับการพัฒนาได้แก่ ทางเดิน ทางจักรยาน ทางรถยนต์ รถไฟฟ้ารางเบา และรถบัสขนส่งสาธารณะ โครงการมีความยาวตามแนวถนน 1.7 ไมล์ครอบคลุม 117 บล๊อกที่ดินรวมพื้นที่ 6 ย่านที่ตั้งอยู่ในเขตพาณิยกรรมพอร์ตแลนด์ ลักษณะการฟื้นฟูสภาพได้แก่ การปรับปรุงอาคารและสภาพแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 58 บล๊อกที่ดิน การปรับปรุงทางเท้าและสิ่งอำนวยความสะดวกบนถนนพร้อมสถานีจอดรถจำนวน 45 แห่ง การปรับปรุงผิวทางบริเวณทางข้าม ทางแยก ที่จอดรถและที่รับส่งของ ฯลฯ รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 220 ล้านเหรียญสหรัฐนับว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนี้











ส่วนประเด็นการบริหาร โครงการได้มอบหมายให้สถาปนิกผังเมือง (Urban Designer) และภูมิสถาปนิก (Landscape Architect) ร่วมเป็นผู้นำ โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง วิศวกรรม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ สำหรับการทดสอบการใช้งานจริงด้านผลกระทบจากการสัญจรและผลกระทบด้านการใช้ชีวิตของประชาชน ได้มีการตรวจประเมินและแก้ไขปรับปรุง เช่น การหันกลับมาใช้วัสดุใช้แล้วในการก่อสร้างพื้นผิวถนนและทางเท้า การอนุญาตให้รถยนต์ใช้ผิวทางร่วมกันกับจักรยานกรณีการเข้าออกและส่งของ การปรับปรุงกายภาพทางเท้าและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพักรอ การจับจ่ายสินค้า การเดินเล่น และนันทนากรอื่นๆ เป็นต้น โครงการนี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ (รวมการออกแบบและก่อสร้าง) ประมาณ 6 ปีซึ่งเสร็จสิ้นและเปิดดำเนินการในปี ค.ศ.2009







ส่วนที่สาม ประโยชน์ที่ได้รับ การสร้างโครงการที่ได้บูรณการงานกายภาพ การขนส่งมวลชน และกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของประชาชนเข้าด้วยกันในครั้งนี้ได้ทำให้เมืองมีทางเลือกสำหรับการให้บริการประชาชนได้หลากหลายยิ่งขึ้น ได้แก่ ทางเลือกในการเดินทางจากระบบขนส่งมวลชนหลายรูปแบบซี่งเป็นเทคโนยีการเดินทางที่สะอาด การประหยัดการใช้พลังงานสำหรับกิจกรรมการสัญจร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายและอาณัติสัญญาน การเพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางสังคมและนันทนาการที่ได้รับการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ให้งดงามแล้ว และการเพิ่มโอกาสในการลงทุนทางเศรษฐกิจและสร้างงานเพิ่มรายได้แก่ประชาชน ซึ่งจากการประเมินพบว่า หลังจากได้รับความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารได้ส่งผลให้ 40 ร้านค้าได้ปรับปรุงอาคารและหน้าร้านใหม่ โรงแรมจำนวน 2 แห่งได้รับการปรับปรุงใหม่ รวมงบประมาณที่เอกชนลงทุนในการปรับปรุงทางกายภาพอาคารและลงทุนเพิ่มในพื้นที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1.5 พันล้านเหรียญ สำหรับคุณค่าของการวางผังและออกแบบกายภาพนั้น





โครงการนี้ได้บูรณาการองค์ความรู้ทางด้านผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมเข้าด้วยกัน และนำองค์ความรู้ที่ได้ลงสู่การปฎิบัติก่อให้เกิดมูลค่าและคุณค่าบนพื้นที่พาณิชยกรรมอันเป็นย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง จึงนับว่าเป็นโครงการที่มีวิธีการปฎิบัติที่ดี (Best Practice) ทั้งด้านการออกแบบ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ มีคุณค่าในการนำไปใช้เทียบเคียง (Benchmark) ในการออกแบบสำหรับโครงการอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ในปี ค.ศ. 2011 American Society of Landscape Architects หรือ ASLA จึงได้มอบรางวัลดีเด่นสาขา General Design Category ให้แก่โครงการ และในปีเดียวกันนี้ The American Institute of Architects หรือ AIA ยังได้มอบรางวัลเกียรติยศสาขาการออกแบบชุมชนเมืองให้อีกด้วย ดังนั้น โครงการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมพอร์ตแลนด์จึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการวางผังและออกแบบกายภาพเมืองให้น่าอยู่และมีความยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินการต่อยอดจากแผนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของเมืองซึ่งประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมกันกำหนดไว้ โครงการนี้จึงเป็นแบบอย่างที่ดีที่หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยควรศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทและความต้องการของประชาชนต่อไป สำหรับภาพโครงการผมได้แนบภาพจาก ASLA Awards เป็น slideshow จำนวน 16 ภาพ แต่ละภาพมีคำบรรยายสาระสำคัญไว้แล้ว: //www.asla.org/2011awards/091.html
ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป like fanpage friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับhttps://www.facebook.com/SmartGrowthThailand






 

Create Date : 29 มกราคม 2555    
Last Update : 23 กันยายน 2555 22:39:25 น.
Counter : 1789 Pageviews.  

ไม่น่าแปลกใจครับ ทำไมผังเมืองไทย จึงยังไม่ไปไหน เมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ควรจะเป็น

สำหรับเนื้อหานี้เป็น ปัจเจกบุคคล ต่างคนต่างคิดครับ .......

บทความดีๆเกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660 ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



ผู้ประกอบวิชาชีพการผังเมืองต้องสอบใบอนุญาตเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักผังเมือง สหรัฐอเมริกา


Copy//Thapana Bunyapravitra (24 มกราคม 2555)
โพสต์นี้ผมขอพูดคุยกับนักผังเมืองครับ ในโลกนี้มี 7 ประเทศที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพการผังเมืองต้องสอบใบอนุญาตเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักผังเมือง สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีข้อกำหนดและเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการมีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพการผังเมือง ดังที่ AICP หรือ American Institute of Certified Planner ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการออกใบอนุญาตของสหรัฐฯ ระบุไว้คือ
1) การสร้างมาตรฐานการวางแผนภาคและเมืองให้กับประเทศโดยผ่านมาตรฐานของนักผังเมือง

2) การกระตุ้นและบังคับให้นักผังเมืองพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3) การควบคุมสาขาวิชาชีพสำหรับผู้ผ่านการศึกษาและมีประสบการณ์ตามที่กำหนด

4) การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง 2 สาขาได้แก่

4.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองสาขาระบบการขนส่งมวลชน และ

4.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองสาขาสภาพแวดล้อม ให้เพียงพอต่อการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและการสร้างประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืน



ผังเมือง การออกแบบ คลองชองเก ในเกาหลี เปิดใช้เรียบร้อยแล้ว ดูคลิป บนบล็อก //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/01/22/entry-1




ที่กล่าวมานี้ ผมต้องการแสดงให้เห็นว่า ความล้าหลังที่เราท่านพบเห็นจากการวางแผนภาคและเมือง การวางผังเมืองรวม และการวางผังและแผนแม่บท หรือแม้แต่ปัญหาวิกฤติการณ์อุทกภัยที่เพิ่งผ่านมา ฯลฯ ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศไทยไม่มีมาตรฐานวิชาชีพและไม่มีการสอบเพื่อรับใบอนุญาตดังเช่นประเทศอื่นๆ ท้ังที่สาขาการผังเมืองมีการเปิดสอนในประเทศมาแล้วไม่น่อยกว่า 20 ปี มีสถาบันการศึกษาของรัฐมากกว่า 5 แห่งที่เปิดสอนในสาขานี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ท่าน อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันจะพบเห็นความพยายามในการสร้างมาตรฐานของนักผังเมืองไทยจากองค์กรที่รับผิดชอบ แต่ก็ยังถือว่าไม่ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเทียบจากความจำเป็นและความสำคัญของสาขาวิชานี้ที่ต้องรับผิดชอบการวางผังและแผนกายภาพของประเทศ สำหรับนักผังเมืองและออกแบบชุมชนเมืองที่อยู่ในเพจนี้ซึ่งผมคาดว่ามีไม่น้อยกว่า 50 ท่าน ผมอยากให้ตระหนักและช่วยเป็นแรงผลักดันให้การสร้างมาตรฐานวิชาชีพนี้เกิดขึ้นได้และสำเร็จโดยเร็ว ในโอกาสนี้ผมจึงขอให้ทุกท่านดูความคึกคักของโปรแกรมการเตรียมตัวสอบการรับใบอนุญาตจาก AICP จาก link นี้ครับ; //www.planetizen.com/courses/aicp

เพิ่มเติมข้อมูลที่สำคัญบางส่วน จาก Facebook ของผม//www.facebook.com/photo.php?fbid=307036239348820&set=a.307036162682161.85529.100001273404825&type=1

Thapana Bunyapravitra ปัญหามาตรฐานของนักผังเมืองมีมาโดยตลอดครับ ช่วงวิกฤตนำท่วมที่ผ่านมาแทบไม่มีความเห็นจากคนกลุ่มนี้เลย ซึ่งอาจมีต้นเหตุจาก 1) เป็น ขรก.ออกความเห็นไม่ได้ 2) ไม่มีองค์ความรู้มากพอที่จะนำเสนอ 3) ไม่กล้าออกความเห็นเพราะคิดว่าสาธารณชนไม่เชื่อถือเนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยทำอะไรให้สาธารณชนเชื่อและรับรู้ 4) นักผังเมืองอาวุโสส่วนใหญ่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในหน่วยงาน การให้ความเห็นอาจจะทำให้ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ส่วนนักผังเมืองอาวุโสในสถาบันการศึกษาและบริษัทที่ปรึกษาคนกลุ่มนี้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอยู่แล้วเพราะจะกระเทือนกับการรับงานกับหน่วยงานซึีงมีอยู่ไม่มากหน่วย 5) นักผังเมืองในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้วางผังและแผนก่อให้เกิดปัญหาทางกายภาพของประเทศ ดังนั้นจึงไม่กล้ามาออกความคิดเห็น ที่กล่าวมาท้ังหมดหากเรามีมาตรฐานวิชาชีพทีถูกต้อง สังคมยอมรับ ปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็จะลดลงบ้างครับ

Thapana Bunyapravitra กรมโยธาธิการและผังเมืองเคยปฎิเสธที่จะดำนินการในเรื่องนี้ ปัจจุบันสมาคมนักผังเมืองไทยกำลังยกร่างมาตรฐานวิชาชีพ โดยการยกร่างเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาใหม่ เช่น การจัดมาตรฐานหลักสูตรให้กับทุกสถาบันที่ผลิตบัณฑิตให้มีลักษณะเหมือนกัน เมื่อมีผู้จบการศึกษาก็จะได้รับเอกสารรับรอง ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับวิธีน้ันเนื่องจากล้าหลังกลับไปสู่ยุคแรกๆ เช่นเดียวกับการออกใบอนุญาตสถาปัตยกรรมในสมัยก่อน ซึ่งออกให้กับผู้จบการศึกษาทุกคน ซึ่งต่อมาพบว่าไม่เหมาะสมจึงมีการก่อต้ังสภาฯ ขึ้นมาบริหารจัดการและเปิดให้ผู้จบการศึกษาสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตดังเช่นปัจจุบัน อีกประการ การออกใบอนุญาตดังกล่าวควรได้รับการรับรองจากหน่วยงานกลาง เช่น สภาพัฒน์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเมือง หรือ มีกฎหมายขึ้นมารองรับ เช่นเดียวกับสภาวิชาชีพอื่นๆ

Nitima Saleng ไม่ง่ายเลยนะคะ สำหรับบ้านนี้เมืองนี้..ที่ซึ่งอำนาจของนักการเมืองล้นฟ้าล้นแผ่นดิน ความเคยชินของพวกเขาเกี่ยวกับการชี้นิ้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสนามบินตรงที่พักน้ำ การสร้างนิคมอุตสาหกรรมตรงทางน้ำไหล และอื่นๆอีกมากมายนั้น..การสร้างมาตรฐานวิชาชีพด้านการวางผังเมือง จึงดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวเหลือเกิน แต่ถึงยังไงก็ยังอยากจะหวังเห็นบ้านเกิดเืมืองนอนของเราก้าวไปในทิศทางที่ดีกว่านี้ในอนาคต..จะยากยังไง ก็ขอเอาใจช่วยให้ผู้ทีเ่กี่ยวข้องขอให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนไปในทิศที่ถูก ที่ดี และก่อให้เกิดทางแห่งแสงสว่างสำหรับลูกหลานของเราในภายภาคหน้าค่ะ..

Thapana Bunyapravitra ผมขอขอบคุณ คุณ Nitima Saleng อย่างยิ่งนะครับที่ใช้คำว่า "สร้างสนามบินตรงที่พักนำ..." นี่คือปัญหาหนึ่งในหลายๆ ความล้าหลังและอ่อนแอของวงวิชาการและการเมืองในบ้านเรา ผมขอกล่าวเฉพาะวงวิชาการนะครับ คณาจารย์ของเราหลายท่านเป็นผู้เห็นชอบให้เติมคำว่า "ห้ามใช้พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม/พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมไปในกิจการที่กำหนด ยกเว้นการใช้ประโยชน์ของ กทม.การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรและชุมชน และกิจการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ" เพียงแค่ประโยดนี้ประโยคเดียวของกฎกระทรวงผังเมือง กทม.2549 และฉบับก่อนๆ ได้เปิดโอกาสให้มีการใช้พื้นที่แก้มลิง พื้นที่ี่เกษตรกรรมชานเมืองรอบ กทม.เป็นทุกอย่างที่ผิดต่อหลักการผังเมือง สนามบิน นิคมอุตสหากรรม หรือแม้แต่บ้านจัดสรร (อยู่ภายใต้การยกเว้นในอีกมาตราครับ) ผมจึงพูดบ่อยๆ ว่า วิกฤตการณ์อุทกภัยเมื่อวันก่อนมีนักผังเมืองคนไหนออกมารับผิดชอบบ้าง และมีใครเคยคิดจะแก้ไขข้อยกเว้นต่างๆ ที่เป็นช่องทางสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ผิดประเภทบ้าง ไม่มีครับ ไปเก่งกันในวงสัมมนา พอผมถามก็เดินหนีเลย แต่จะทำอย่างไรได้ครับ คนเหล่านี้สังคมเชื่อถือ พูดอะไรใครเขาก็ฟัง แล้วเป็นอย่างไรครับ ประเทศไทยในตอนนี้


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป like fanpage friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall




 

Create Date : 25 มกราคม 2555    
Last Update : 8 ตุลาคม 2555 18:14:22 น.
Counter : 1453 Pageviews.  

แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน : กลยุทธ์การบูรณาการการวางผังพัฒนาเมืองกับการพัฒนาระบบขนส่ง



บทความดีๆเกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660 ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

ในบล็อกนี้ขอนำ vdo บน youtube เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก มาประกอบเรื่อง ซึ่งแน่นอนทีเดียว ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวทางพัฒนาประเทศโดยใช้ รถไฟความเร็วสูงเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและขนส่ง เป็นทางหลักกันทั้งนั้น เพราะนอกจากจะประหยัด และมีประโยชน์อย่างมกามายมหาศาลแล้ว พื้นที่รอบๆสถานี และพื้นที่ใกล้เคียง ยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

Copy//Thapana Bunyapravitra ( 23 มกราคม 2555)

วันนี้ผมขอเล่าเรื่อง แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD): กลยุทธ์การบูรณาการการวางผังพัฒนาเมืองกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยโพสต์ก่อนหน้านี้ผมได้แสดงให้เห็นลักษณะการวางแผนระบบขนส่งมวลชนที่ขาดมิติด้านผังเมืองซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ข้อเขียนที่แล้วมีคนทักท้วงว่าสิ่งที่ทำกันมีความเหมาะสมอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ ผมจึงอธิบายแนวคิดและแนวทางที่ถูกต้องในการวางแผนพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนซึ่งต้องใช้องค์ความรู้ด้านการวางผังเข้าช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองซึ่งแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็น



ประเด็นแรก อยากให้ทุกท่านลองพิจารณาเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของสถานีและตัวรถไฟฟ้ากับพื้นที่รายรอบซึ่งท่านจะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก ตัวรถไฟฟ้าและระบบที่เกี่ยวข้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ส่วนตัวสถานีใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมทันสมัย ในขณะที่พื้นที่รอบสถานียังมีภาพลักษณ์ของชุมชนเมืองแบบเดิมๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีกับชุมชนรอบข้างมีน้อย แทบจะกล่าวได้ว่าผู้อยู่อาศัยรอบสถานีไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของรถไฟฟ้า แต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายกลับเป็นประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่น หากจะมองด้วยความเคยชินก็คงจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับแนวทางการพัฒนาเมืองตามการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น Smart Growth มีแนวทางการวางผังให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของรถไฟฟ้าเป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่รอบสถานีเป็นกลุ่มหลัก และต้องการให้ประชาชนที่อยู่อาศัยรอบสถานีมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านนวัตกรรมที่อยู่อาศัยและในด้านการสัญจรไม่มีความแตกต่างกับตัวสถานีมากนัก ที่กล่าวเช่นนี้ผมหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั้งหลายที่ใช้ควรจะมีการแบ่งปันหรือใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีความสัมพันธ์กันในเชิงกายภาพ ในเมื่อระบบของรถไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีสีเขียวหรือเทคโนโลยีที่สะอาด ดังนั้น ชุมชนรายรอบสถานีก็น่าจะได้ใช้เทคโนโลยีที่สะอาดด้วยเช่นกัน เช่น ระบบการสัญจรของประชาชนก็ควรใช้การคมนาคมสีเขียวซึ่งได้แก่ การใช้ทางเดิน และทางจักรยานเป็นระบบการสัญจรหลัก



ภาพจากวีดีโอด้านล่าง เป็นสถานที่เดียวกัน แต่เป็นภาพแอนนิเมชั่น ก่อน และหลัง รถไฟความเร็วสูงให้บริการ


ในประเด็นต่อมา การพัฒนาทางกายภาพพื้นที่รอบสถานี ผู้รับผิดชอบจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องต้องกันซึ่งก็จะหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดความหนาแน่นด้วยการ พัฒนากลุ่มอาคารพักอาศัยแนวสูงทีมีหลากหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มกลุ่มผู้พักอาศัยและจำนวนประชาชนรอบสถานี แนวทางข้างต้นจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเมืองหลายประการสรุปได้ดังนี้

1) จำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น และมีปริมาณของผู้ใช้บริการมีลักษณะเสถียร ทำให้ผู้ประกอบการรถไฟฟ้ามีผลประกอบกอบการดีสามารถนำผลกำไรที่ได้มาพัฒนาระบบการบริการให้ดีขึ้น

2) บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา (Affordable Housing) และประชาชนทุกระดับรายได้มีโอกาสในการซื้อหา (ตามเกณฑ์ของ Smart Growth) และเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นกลุ่มอาคารสูงมีความต่อเนื่องและกระชับ (Compact Building) ลดจำนวนอาคารสูงที่ตั้งอย่างกระจัดกระจาย (Skyscraper Sprawl) ซึ่งจะเกิดความคุ้มค่าในการพัฒนาทางเดินและทางจักรยานเชื่อมต่อระหว่างกัน และเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งมวลชน (ตามเกณฑ์ของ Smart Growth)

3) จากการพัฒนาในข้อ 2 จะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประเภทงานในพื้นที่เนื่องจากมีจำนวนประชาชนเพิ่มขึ้น และประชาชนอยู่อาศัยในพื้นที่อย่างแน่นหนาจะเกิดการเคลื่อนย้ายแบบมวลซึ่งจะส่งเสริมให้พื้นที่มีความคึกคักมีชีวิตชีวา สนับสนุนให้เกิดธุรกิจการผลิตและการบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัย ปริมาณของประเภทงานที่เพิ่มขึ้นจะทำให้พื้นที่รอบสถานีกลายสภาพเป็นแหล่งพาณิชยกรรม (Market Places) ส่งผลให้เศรษฐกิจในระดับพื้นที่มีความสดใส

4) ความคุ้มค่าในการพัฒนาระบบการบริการชุมชนทั้งของรัฐและเอกชน เฉพาะภาครัฐเองมีความจำเป็นในการลงทุนก่อสร้างสถานที่สาธารณะ (Public Spaces) และหน่วยบริการชุมชน เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียนอนุบาล สนามกีฬาชุมชน สนามเด็กเล่น ฯลฯ เพื่อให้บริการแก่ผู้พักอาศัย ที่กล่าวมาโดยสรุปนี้ไม่ใด้เป็นเพียงทฤษฎีการพัฒนาเมืองหรือแนวคิดที่ใช้ในการเรียนการสอน แต่ปัจจุบันได้ถูกแปรสภาพเป็นแนวทางการปฎิบัติอันเป็นสากลไปแล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใหม่ๆ ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาซึ่งทุกโครงการจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีควบคู่ไปด้วยเสมอ ผมขอนำเอา vdo การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนที่ผลิตโดย Streetfilms นำเสนออีกครั้ง (นำมาลงแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา) เพื่อประกอบข้อเขียนในวันนี้; //www.streetfilms.org/transit-oriented-development-2/

ผม (ผู้เผยแพร่ข้อมูลนี้ Rattana Kosin ) ขอเพิ่มเติมข้อมูลของ อาจารย์ ฐาปนา ด้วยคลิปเพิ่มเติมจาก youtube เรื่อง รถไฟความเร็วสูง พร้อมเนื้อหาย่อๆ เท่าที่นึกออกครับ (เพราะมีมากกว่าที่ผมจำได้)



โครงการรถไฟความเร็วสูงรอบโลก ประสบความสำเร็จทุกประเทศ สร้างความเจริญ พัฒนาแบบก้าวกระโดด

สำหรับประเทศไทย ลดความเหลื่อมล้ำได้แน่นอน เป็นการกระจายความเจริญสู่ทุกพื้นที่ โครงข่ายคมนาคมอื่นๆ จะเชื่อมโยงกับระบบราง เพราะระบบราง นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว ระบบรางยังเน้นเรื่องการขนส่ง ทำให้ต้นทุนในการขนส่งต่อหน่วยลดลง การขนส่งสินค้ารวดเร็วขึ้น

ประโยชน์จากการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย เนื่องจากเป็นการตอบสนองความต้องการเดินทางในอนาคต และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อย่างยั่งยืน เช่น

1.ลดระยะเวลาในการเดินทาง

2.เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

3.สามารถขนส่งคนและสินค้าต่อเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก

4.ลดมลภาวะ เนื่องจากเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมัน

5.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

6.รองรับการจัดงานระดับนานาชาติได้ในอนาคต และ

7.ประหยัดพลังงาน
ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป add friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/profile.php?id=100001871354660
ท่านใดสนใจแนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป like fanpage friend กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับhttps://www.facebook.com/SmartGrowthThailand






 

Create Date : 25 มกราคม 2555    
Last Update : 23 กันยายน 2555 22:38:41 น.
Counter : 1776 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.