ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
บทความเรื่อง การนำแนวคิดการวางผังสู่การออกแบบชุมชนเมือง โดย ฐาปนา บุณยประวิตร


บทความเรื่อง : การนำแนวคิดการวางผังสู่การออกแบบชุมชนเมือง โดย ฐาปนา บุณยประวิตร


บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมืองอ.ฐาปนา บุณยประวิตร บน Facebook //www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับ เรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อBlog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิดข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียนโดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย CaseStudy ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆเกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาลและแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

เข้าสู่บทความครับ

บทความเรื่อง : การนำแนวคิดการวางผังสู่การออกแบบชุมชนเมือง โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (NewUrbanism) เป็นแนวคิดที่บูรณาการเทคนิคการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนกับความต้องการประชาชนเข้าไว้ด้วยกัน โดยการแปรความมุ่งหวังและแนวทางการออกแบบให้เป็นเกณฑ์หลัก(Core Principles) ดังนั้น ทุกยุทธศาสตร์ นโยบายมาตรการ และข้อกำหนดที่ได้จากแนวคิดทั้งสองจึงสามารถปรับเปลี่ยนไปมาระหว่าง “เกณฑ์” และ “แนวทางการออกแบบ”ได้ตลอดเวลา นักผังเมืองหรือผู้บริหารเมืองที่นำสองแนวคิดไปใช้ประโยชน์จึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ“เกณฑ์” ที่กำหนดไว้ให้ถ่องแท้ ความในข้อนี้หมายถึงว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้มีการประกาศเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดหรือประกาศเกณฑ์หลายข้อไป เมื่อนั้นผู้ประกาศจะต้องทราบแนวทางในการออกแบบซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติต่อจากนั้นอย่างชัดเจนแล้ว

ภาพความสำเร็จการวางผังชุมชนแบบกระชับชุมชนมีขอบเขตชัดเจน ไม่รุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม

ที่มา : ภาพจาก PlaceSkers and NewMakers


เนื่องจากแนวคิดได้กำหนดเกณฑ์หลักไว้เป็นแนวทางกลาง ดังนั้น จึงสามารถนำแนวคิดเพื่อประยุกต์ใช้ในการวางผังพัฒนาเมืองได้ทั้ง 2 ระดับได้แก่

1. การใช้เกณฑ์สำหรับการกำหนดเป้าหมายในยุทธศาสตร์เมืองและภาค ซึ่งสามารถนำเกณฑ์หลักทั้งหมดไปใช้พรอ้มกันหรือเลือกเฉพาะบางเกณฑ์หลักที่มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เช่นการวางยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่ตามกลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD)ซึ่งสามารถนำเกณฑ์หลักทั้งหมดไปประยุกต์ใช้ หรือ การวางยุทธศาสตร์เมืองประหยัดพลังงานหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งอาจจะนำเฉพาะกลยุทธ์ของLEED ND ไปใช้เพียงอย่างดียวก็ได้

2. การใช้เกณฑ์สำหรับการออกแบบทางกายภาพโดยใช้เป็นแนวทางกำกับการออกแบบตามหลักวิชาการออกแบบชุมชนเมือง(Urban Design) เช่น การออกแบบถนนสมบูรณ์ (Complete Streets)ในบริเวณใจกลางเมือง หรือการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพย่านพาณิชยกรรมซึ่งอาจจะนำเฉพาะForm-Based Codes ไปใช้เพียงกลยุทธ์เดียวก็ได้

ทั้งนี้ เกณฑ์การวางผังและออกแบบกายภาพเมืองจาก 2แนวคิดที่กำหนดไว้ในความหมายเดียวกัน ประกอบด้วย

1. การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน

2. การออกแบบอาคารและชุมชนในลักษณะกลุ่มแบบกระชับ

3. การออกแบบเชื่อมต่อระหว่างอาคารและย่านด้วยทางเดิน

4. การวางผังและออกแบบอาคารพักอาศัยที่ประชาชนทุกระดับสามารถชื้อหาได้ในเขตชุมชน

5. การวางผังและออกแบบให้เกิดทางเลือกการเดินทางที่มีความหลากหลายโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นธงนำในการออกแบบ

ภาพการออกแบบระบบถนนตามแนวทางถนนแบบสมบูรณ์(Complete Streets)

ที่มา:Santa Cruz, California 

ในการนำเกณฑ์และแนวทางการออกแบบไปสู่การปฏิบัติ โดยปกติให้ดำเนินการด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

1. การให้ความรู้ปรัชญาของแนวคิดทั้งสองกับประชาชน และให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมผลักดันแนวคิดสู่การปฏิบัติ

2. ร่วมกับประชาชนสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา ทั้งในระดับเมืองหรือระดับภาค

3. ร่วมกับประชาชนกำหนดศูนย์การพัฒนา เช่นศูนย์ชุมชนหรือศูนย์พาณิชยกรรมระดับต่างๆ และร่วมกันวางโครงสร้างพื้นฐานเมือง พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก

4. การนำเกณฑ์การวางผังและออกแบบกายภาพเมืองทั้ง 5ข้อเข้าสู่กระบวนการออกแบบชุมชนเมือง และสร้างแบบจำลองเมืองตามเกณฑการวางผัง

5. การสร้างแบบจำลองการปฏิบัติงานเพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดี(Best Practice) และการสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนการวางผังและออกแบบ

6. การสร้างระบบบริหารจัดการที่มีศักยภาพในการบูรณาการแนวคิดคน งบประมาณ และสภาพแวดล้อม

กล่าวโดยสรุป

แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาดและลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ เป็นทั้งปรัชญา เกณฑ์ และแนวทางการปฏิบัติที่เป็นวิทยาศาสตร์ สามารถทดสอบกระบวนการซ้ำ ทำขึ้นใหม่ และตรวจวัดได้ในทุกขั้นตอน โดยใช้ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ ด้านความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากร ด้านความมั่นคงของสังคมและสภาพแวดล้อมเป็นเครื่องชี้วัด ซึ่งประชาชนในฐานะผู้เริ่มต้นสร้างยุทธศาสตร์จะเป็นผู้ประเมินและตัดสินความล้มเหลวหรือความสำเร็จนั้นๆ

ชมวีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=MADPR9CadPQ

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand




Create Date : 25 ตุลาคม 2555
Last Update : 25 ตุลาคม 2555 19:08:30 น. 0 comments
Counter : 2985 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.