ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
”ผังเมืองไทย” มีมั้ยแบบนี้ ขอความจริงใจ ลองมอง “ผังเมืองอเมริกา” ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นหลัก




ผังเมืองอเมริกา รับฟังความคิดเห็น ความต้องการของประชาชน

ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


บทความดีๆเกี่ยวกับการวางผังเมือง ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


Copy// Thapana Bunyapravitra
วันนี้ได้เวลาแล้วที่จะได้กล่าวถึงเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานการผัง เนื่องจากมีสาระสำคัญที่ต้องกล่าวถึงอยู่มากดังนั้น ผมจึงแบ่งบทความสั้นออกเป็น 3 ตอน โดย
ตอนแรก ขอตั้งชื่อเรื่องว่า “พัฒนาการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางผัง” ซึ่งในตอนแรกนี้จะอธิบายความสำคัญโดยสรุปของคำว่า “Placemaking” พอให้เข้าใจก่อน สำหรับรายละเอียดและเกณฑ์ของ .”Placemaking” และ
ตอนที่สอง บทบาทของประชาชนในการวางผัง
ตอนที่สาม ผมจะได้ชี้ให้เห็นแนวทางในการนำระบบการมีส่วนร่วมไปใช้เพื่อการวางผังแต่ละระดับต่อไป
การรับฟังความคิดเห็นของทุกหน่วยงานราชการ ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึง การรับฟังความคิดเห็นเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมตาม พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ.2518 ด้วยนั้น ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 และกฎกระทรวงซึ่งแต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้น



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


ขั้นตอนการรับฟังความเห็นโดยสรุปคือ หน่วยงานนำเสนอโครงการหรือแผนงานที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็น โดยประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีหน้าที่ในการแสดงความเห็นและเสนอแนะ ซึ่งหน่วยงานจะรับไปปรับปรุงแก้ไขและปฎิบัติตามหรือไม่นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนด สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังเมืองรวม นอกจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องจัดการรับฟังให้ครบตามจำนวนครั้งดังที่ระบุไว้ ประชาชนยังสามารถร้องเรียนเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขสาระสำคัญได้อีกหลังผังเมืองรวมประกาศใช้



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


กล่าวโดยสรุปก็คือ หน่วยงานเป็นผู้จัดทำผัง ประชาชนเป็นผู้พิจารณา และรัฐเป็นผู้บังคับใช้ สำหรับประสิทธิภาพและความพึงพอใจของประชาชน ตลอดจนความสำเร็จของกระบวนการนี้ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านลองไปพิจารณากันเอาเองนะครับ
ที่นี้ลองมาดูแนวคิดและขั้นตอนในการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำผังเมืองของต่างประเทศ ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมการผังเมืองของประเทศนี้ใช้กระบวนการเช่นเดียวกับบ้านเรา แต่เนื่องจากมีพัฒนาการด้านแนวคิดการวางผังตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism) ซึ่งกำหนดให้การสร้างผังและการออกแบบกายภาพเมืองเริ่มต้นจากประชาชน ดังนั้น ในช่วงหลังจึงมีการปรับปรุงขั้นตอนการจัดทำผัง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น บางมลรัฐ เช่น มลรัฐแมรี่แลนด์ได้กำหนดให้ขั้นตอนการจัดทำแนวคิดและยุทธศาสตร์ของผังต้องเริ่มต้นจากชุมชน บางมลรัฐ เช่น มลรัฐจอร์เจียได้กำหนดให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันจัดทำผังแนวคิดเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mix Land Use Plan) ซึ่งถือว่าเป็นผังหลักตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


ในช่วงต้นของพัฒนาการครั้งสำคัญนี้ (ในอเมริกา ประมาณปี ค.ศ.1973) ได้เกิดองค์กรภาคเอกชนชื่อ Project for Public Spaces หรือ PPS ขึ้นซึ่งช่วงแรกได้รวบรวมและประยุกต์แนวทางการวางผังโดยให้ภาคประชาชนเป็นกำลังหลัก เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจึงได้เริ่มให้คำปรึกษาแนะนำแก่ชุมชนและกลุ่มผู้ออกแบบกายภาพ โดยช่วงต้นเน้นการปรับปรุงวิธีคิดของทั้งสองกลุ่มให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันและยอมรับซึ่งกันโดยใช้ฐานความต้องการของประชาชนกรอบหลักในวิธีคิด และต่อมาเมื่อมีพัฒนาการมากขึ้น จึงพบว่ากลยุทธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนมีพลังเป็นอย่างมากในการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชน ย่าน และเมือง และมีข้อสรุปว่า ในการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องออกแบบปรับปรุงหรือก่อสร้างกายภาพขึ้นมาใหม่เสมอไป หากชุมชนมีความร่วมมือร่วมแรงกันอย่างจริงจังก็สามารถปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพชุมชนให้ดีขึ้นได้ เช่นเดียวกับกรณีของการวางผังเมืองซึ่งใช้การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และใช้กับผังทุกระดับตั้งแต่ผังชุมชน ย่าน เมือง และภาค โดยเริ่มตั้งแต่การระดมความคิดเห็นในการสร้างภาพเมืองในอนาคต การจัดทำวิสัยทัศน์และเป้าหมาย การกำหนดแนวทางการปฎิบัติซึ่งทั้งประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างถูกระบุให้มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่บูรณาการความคิดเห็นและความต้องการของทุกภาคส่วนให้สอดคล้องต้องกันนั้นเรียกว่า “Placemaking” รายละเอียดจะกล่าวในตอนที่สอง



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


ท่านจะเห็นได้ว่าขั้นตอนการจัดทำผังเมืองของสหรัฐอเมริกาแตกต่างจากบ้านเราอย่างชัดเจน ผังเมืองของสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นและพัฒนาจากความต้องการของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่เพียงการสนับสนุนทรัพยากรและอำนวยการให้ผังดำเนินการไปสู่เป้าหมาย แม้บางเรื่องที่รัฐยังต้องสงวนไว้และกำหนดขึ้นเอง เช่น ประเด็นด้านความมั่นคง และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ แต่เนื้อหาสำคัญยังมาจากการข้อเสนอของประชาชน อีกประการ ในแง่ความรับผิดชอบการปฎิบัติตามผัง ก็นับว่ามีความแตกต่างกันมาก ดังจะเห็นได้จากหลังกระบวนการ Placemaking เสร็จสิ้นแล้วประชาชนยังต้องมีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลภายในชุมชนเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องและให้ความร่วมมือในการรณรงค์เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูเมืองดังที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ใน Placemaking (ท่านที่อ่านข้อเขียนของผมเรื่อง การวางผังแม่บทการฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมเมืองพอร์ตแลนด์คงจะมองเห็นความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้)



ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด


จากพัฒนาการของแนวคิดการวางผังที่ไม่หยุดนิ่ง จึงทำให้ระบบทางกายภาพและการพัฒนาเมืองของสหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้า ประชาชนมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนในทุกขั้นตอน แม้จะเกิดปัญหาทางกายภาพกับโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ได้ลงทุนก่อสร้างมาก่อนแล้ว แต่เมื่อมีการนำ Placemaking ไปใช้ ปัญหาหลายๆ ก็ได้รับการแก้ไข สำหรับความสำเร็จและการแพร่หลายของ Placemaking นั้น เฉพาะ PPS องค์กรเดียว ในปัจจุบันได้ให้บริการปรึกษาแนะนำแก่ชุมชน ย่าน และเมืองแล้วไม่น้อยกว่า 2,500 แห่งใน 40 ประเทศ และตามข่าวล่าสุด Ireland กำลังจะได้รับเอากลยุทธ์นี้ไปประยุกต์ใช้ สำหรับบ้านเรา นอกจากองค์กรของผมที่ได้นำเอา Placemaking มาใช้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผมพบว่าได้มีบางองค์กรเอกชนได้นำมาใช้แล้วเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีต่อการสร้างแบบอย่างการมีส่วนร่วมที่ถูกต้อง ผมคาดหวังไว้ว่า ในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบน่าจะได้นำเอาแนวคิด Placemaking ไปใช้ในการรับฟังความคิดเห็นและปรับเปลี่ยนวิธีการจัดทำผังเมืองให้เริ่มต้นจากความต้องการของประชาชน อย่างน้อยก็เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ไทยเป็นประเทศอารยะ ประชาชนมีศักยภาพเพียงพอในการร่วมกันกำหนดอนาคตของประเทศ กำหนดการจัดสรรทรัพยากรและกำหนดการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาเองได้



แบบแปลน ผังเมืองที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด พัฒนา และฟื้นฟู


คลิป vdo และภาพสเก็ตจากบทความนี้ครับ ผมขออธิบายเพิ่มว่า ชุมชนนี้ได้ใช้ Placemaking ในการจัดทำผังฟิ้นฟูชุมชน ทำให้เห็นภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ประชาชนและนักผังเมืองช่วยกันคิด



กิจกรรม Placemaking ของชุมชน




กิจกรรม Placemaking ของชุมชน


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ 

ชมวีดีโอ




ความคิดเห็นบางส่วนจาก FACEBOOK ผมตามลิ้งก์ //www.facebook.com/photo.php?fbid=317443464974764&set=a.317443401641437.87263.100001273404825&type=1

Mary English ประชาธิปไตยที่แท้จริง!!! นักการเมืองเป็นผู้มีจิตอาสา เป็นผู้มีอุดมการณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมสูงกว่าบุคคลทั่วไป ละอายต่อการทำผิด ไม่มีอะไรแอบแฝง จะเห็นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และมวลชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัดสินใจในความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมต่างๆในถิ่นตนเอง... เมืองไทยยังห่างไกลคำว่าประชาธิปไตยเพราะมีแต่นักธุระกิจการเมืองได้เข้ามาบริหารบ้านเมือง

Kris Kiattisak Longlivetheking Urban Planner = นักผังเมือง ... Politician = นัก พัง เมือง ... !!!

Moddeang Thammasean ความคิดคนไทย ยังแตกแยกกันอยู่..ใช้กฏหมู่เหนือกฏหมาย..แผนผังของใคร..ใครร่าง..ย่อมคลางแคลงใจ..นักการเมือง ใฝ่แต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม..เรายังรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยได้อยู่หรือไม่..อยู่ที่ผู้นำ..อย่ามืดดำในจิตใจ..เปิดใจรับฟังทุกฝ่าย..เพื่ออนาคตของไทย..จะได้ทันสมัยก้าวไกลให้คนรุ่นใหม่..สรรเสริญนักการเมืองไทยบ้าง..ทุกวันนี้มันหดหู่..เศร้าใจ..บ้างเมืองเรา...



Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 19:48:04 น. 0 comments
Counter : 1723 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.