ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ดูเมืองพอร์ตแลนด์ เค้าจริงจังกับเรื่องผังเมือง และการพัฒนาเมือง แล้วย้อนมองบ้านเราครับ ทำแบบเค้าได้มั้ยครับ


บทความ :ถอดประสบการณ์การพัฒนาเมือง Portland

แล้วย้อนดูบ้านเราครับ ว่าไปถึงไหนกันแล้วบ้างครับ

หมายเหตุ ภาพจากแฟ้มภาพถ่ายกาพเมืองพอร์ตแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา

เกริ่นนำ

บทความดีๆ ทางด้านผังเมือง และการพัฒนาเมือง ของ ดร.ธนภณ พันธเสน และ ดร.สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังและการคมนาคมขนส่ง ที่น่าสนใจในเว็บไซต์ มูลนิธิโลกสีเขียว ตามลิ้งก์ //www.greenworld.or.th/greenworld/foreign/2186 ลองติดตามกันครับ

หมายเหตุ : ขอขอบพระคุณ

-อาจารย์ ดร.ธนภณ พันธเสน รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-ดร.สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังและการคมนาคมขนส่ง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-มูลนิธิโลกสีเขียว มา ณ ที่นี้ครับ

เข้าสู่บทความครับ ถอดประสบการณ์การพัฒนาเมือง Portland






ในวงการคนที่ทำงานหรือเรียนด้านผังเมืองเมืองหนึ่งที่เป็นกรณีศึกษาซึ่งแทบทุกคนต้องเคยผ่านตาเมืองที่ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมสุขภาพผู้อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนคือเมืองขนาดกลางทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า “พอร์ตแลนด์”ในมลรัฐโอเรกอน

สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการผังเมืองที่นี่อาจขึ้นชื่อด้วยหลายเหตุผลด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เมืองการศึกษาผู้คนสัญจรด้วยรถรางและจักรยาน พื้นที่สีเขียวกระจายทุกชุมชน หรืออาหารออร์แกนิคจนทำให้มีคำพูดติดปากกันว่า ถ้าใครอยากเป็นดาราให้ไปฮอลลีวูด ถ้าอยากเป็นนักธุรกิจให้ไปนิวยอร์กหากใครรักธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ไปพอร์ตแลนด์

การพัฒนาเมืองที่รักษาเอกลักษณ์ด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับรองรับความเจริญและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ในระยะเวลาปีหรือสองปี และไม่ได้เกิดจากหน่วยงานใดฝ่ายเดียวทำให้เรื่องราวของพอร์ตแลนด์แห่งนี้มีประเด็นที่น่าศึกษาอยู่ไม่น้อย

สืบเนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ ทีมงานคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่เมืองพอร์ตแลนด์และได้ประสบการณ์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเมือง รวมถึงได้กลับมามองบ้านเราว่ามีจุดเด่นหรือจุดด้อยอย่างไรบ้างในโอกาสนี้ มูลนิธิโลกสีเขียวมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ดร.ธนภณ พันธเสนและ ดร.สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์จึงอยากนำมาเล่าต่อเพื่อเป็นประโยชน์กับทั้งคนในและนอกวงการผังเมือง







เริ่มต้นจากดีเอ็นเอ

ดร.ธนภณ เล่าว่าจากคำยืนยันของนายกเทศมนตรีพอร์ตแลนด์ สิ่งสำคัญที่ทำให้พอร์ตแลนด์แตกต่างจากที่อื่นก็คือเรื่อง “คน” ตั้งแต่ยุคที่อเมริกาบุกเบิกประเทศเส้นทางบุกเบิกจะเริ่มจากทางตะวันออกไปตะวันตกเมื่อมาถึงทางแยกว่าจะขึ้นเหนือหรือลงใต้ กลุ่มคนตื่นทองหรือวัตถุนิยมจะเดินทางจะลงใต้เพราะมีพื้นที่ให้หาทองมากกว่าส่วนกลุ่มที่รักธรรมชาติ รักความสงบหรือชอบทำการเกษตรก็จะขึ้นเหนือไปอยู่ที่พอร์ตแลนด์เพราะสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดังนั้นคนที่มีอาชีพทำการเกษตรจึงยิ่งเห็นความสำคัญของธรรมชาติไม่ทำอะไรที่ส่งผลกระทบกับอาชีพตัวเองจนปัจจุบันสิ่งที่บรรพบุรุษคิดและทำได้ถ่ายทอดผ่านกันมาในสายเลือดรุ่นต่อรุ่น

“ถ้าเปรียบเทียบกับของเมืองไทยเราตั้งรัตนโกสินทร์มา 200 ปี เราก็อาจจะมีดีเอ็นเอที่รักธรรมชาติแต่การก่อสร้างกรุงเทพฯ เราเกิดมาจากการอพยพแบบหนีตายเพราะฉะนั้นการปลูกฝังเรื่องความรักธรรมชาติเลยมีอยู่น้อย ความผูกพันเข้า DNAก็มีในระดับหนึ่งแต่ไม่เท่าเขา”

ทั้งนี้เมืองพอร์ตแลนด์ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบระหว่างภูเขาใกล้กับชายฝั่งซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพที่สวยงามการออกแบบวางผังโครงข่ายเส้นทางสีเขียวเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จึงเริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1904 นับเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้ว

ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 มีการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิเสรีภาพนายกเทศมนตรีของพอร์ตแลนด์ได้ชักชวนประชาชนมาคุยกันเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองว่าจะทำยังไงให้ทุกคนได้ประโยชน์เท่าเทียมกันมีการทำงานร่วมกัน ในยุคที่คำว่า public participation แทบไม่มีใครรู้จักแต่ที่นี่เริ่มด้วยการกระทำก่อนคำพูดโดยเทศบาลกับประชาชนทำงานร่วมกันแล้วออกมาเป็นกฎหมายการควบคุมการใช้ที่ดินในเมืองขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม พอร์ตแลนด์ก็มีย่านอุตสาหกรรมเช่นกันโดยตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง ทำให้มีปัญหามลพิษในแม่น้ำที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งภายหลังประชาชนเกิดความตระหนักว่าการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องนำไปสู่การเริ่มแผนการฟื้นฟูแม่น้ำอย่างจริงจังช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาและสร้างเครือข่ายเส้นทางสีเขียวให้สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลต่อมาถึงการลงประชามติให้ทุบทางด่วนด้วย




(รายละเอียดภาพ)

Horbor Drive สร้างตั้งแต่ปี 1943 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนของสหรัฐอเมริกาชื่อ US99W ที่เชื่อมรัฐทางใต้มาสู่มลรัฐโอเรกอนจนในปี 1974 เกิดการประชุมกันของประชาชนและนายกเทศมนตรี ว่าอยากอยู่ในเมืองที่เป็นอย่างไรจะเลือกพัฒนาถนนหรือคุณภาพชีวิตคนจนเป็นที่มาของมติว่าต้องการทุบทางด่วนเพื่อให้ได้พื้นที่ที่ริมน้ำกลับคืนมา

หลังจากทุบทิ้งแล้วในปี 1978 พื้นที่ที่เคยเป็นทางด่วนก็ได้กลายมาเป็นสวนสาธารณะริมน้ำขนาดประมาณ 90ไร่ มีทั้งทางเท้าและทางจักรยาน และเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชาวเมืองการทุบทางด่วนครั้งนี้เป็นการทุบทางด่วนครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงเวลาที่รถยนต์และทางด่วนกำลังได้รับความนิยมด้วยจึงกลายเป็นกรณีศึกษาให้กับหลายๆ เมืองมาจนปัจจุบัน

วิสัยทัศน์พอร์ตแลนด์

ดร. สุภาพร อธิบายว่า การพัฒนาเมืองพอร์ตแลนด์มีเป้าหมาย 4 ด้าน คือ

-ความมั่งคั่ง

-การศึกษา

-สุขภาพ และ

-ความเท่าเทียมกัน

โดยมีตัวชี้วัดอยู่ 9อย่าง คือ

-การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน

-สวนสาธารณะและพื้นที่ธรรมชาติ

-อาหารที่มีประโยชน์

-ร้านค้าและสถานบริการ

-แหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์

การเชื่อมโยงทางสังคม

-การเดินทางที่หลากหลาย

ความปลอดภัย และ

-ที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ






ขณะที่การวางผังเมืองของพอร์ตแลนด์ในปัจจุบันได้กำหนดแผนการจัดทำไปถึงปี2035 ให้เขตตำบลต่างๆ ปรับระบบสาธารณูปโภคเป็นระบบสีเขียว เช่นมีการใช้แหล่งพลังงานร่วมกันและมีการจัดระบบจ่ายพลังงานให้กับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นลงรายละเอียดว่าแต่ละ sub-district จะพึ่งพาตนเองเรื่องทรัพยากรให้มากขึ้นได้อย่างไรเช่น ท่อส่งพลังงานที่บ้านหลังนี้อาคารหลังนี้จะใช้แหล่งพลังงานร่วมกันได้จากตรงไหนที่มันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานได้สูงสุดในชุมชน

ส่วนการเดินทางในพอร์ตแลนด์ใช้ระบบรางเป็นส่วนมากซึ่งมีทั้งรถไฟและรถราง รองลงมาคือ จักรยาน เดิน และรถส่วนตัวหลักสำคัญที่ทำให้ระบบรางมีประสิทธิภาพคือการใช้แนวคิด TOD หรือ Transit-orientedDevelopment มาพัฒนาพื้นที่รอบสถานี เช่นอาคารบริเวณรอบสถานีชั้นล่างเป็นร้านค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงมีสวนสาธารณะที่ไม่ใหญ่แต่มีกระจายหลายจุดทำให้เมืองไม่ขยายกระจายตัวตามแนวถนนแต่กระชับขึ้นเพราะชุมชนอยู่ใกล้สถานีในระยะที่เดินหรือใช้จักรยานถึงได้




ในเมือง พอร์ตแลนด์จะมีระบบรางเบา Streetcar ซึ่งเป็นที่นิยมมาก และสะดวกสบาย ทางผู้บริหารเมืองได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงการสัญจร กับระบบรางเบานี้ไม่ว่าจะเป็นทางจักรยาน คนเดินเท้า และขนส่งมวลชนอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนลดปัญหาการจราจรได้ครับ

อย่างไรก็ดี การจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการก็ต้องมีการทำงานที่เข้มแข็งระหว่างชุมชนกับเทศบาลมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ตรวจสอบอยู่ตลอดการสื่อสารถึงประชาชนนั้นมีคณะกรรมการชุมชนซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านเข้ามาจัดเวทีพูดคุยกันเป็นประจำทางส่วนกลางจะประกาศไปถึงทุกบ้านว่าตอนนี้เทศบาลกำลังทำอะไรอยู่มีอะไรที่ประชาชนเดือดร้อนหรือมีความคิดเห็นอะไรก็สามารถแจ้งกับคณะกรรมการชุมชนได้

“นายกเทศมนตรีแต่ละคนเขาจะตั้งใจทำเพื่อเมืองมีวิสัยทัศน์ในระยะยาว ทำให้เขามีการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่าบ้านเราไม่ว่าเปลี่ยนนายกกี่คนแต่นโยบายหลักก็ยังสืบทอดกันมาคือคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและสุขภาพคนอยู่อาศัย จะมีผังเมืองของเขามาเรื่อยๆวางกันไว้ 20-30 ปีข้างหน้าเลย พอคนใหม่มาก็ยังยึดผังเดิมพัฒนาต่อแต่บ้านเราคนใหม่มาก็รื้อใหม่”

บทสะท้อนสู่กรุงเทพฯ

ดร. ธนภณ ให้ความเห็นว่าบ้านเรามีวิสัยทัศน์เรื่องเมืองน่าอยู่มานานแล้วแต่สิ่งที่เราพยายามจะนำมาใช้แต่ไม่จริงจังคือระบบการประเมินและปรับปรุงให้ดีขึ้นถ้าเทียบกับต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดและตารางประเมินให้คะแนนมากและการให้คะแนนนั้นเกิดจากการวิจัยจริง เก็บข้อมูล เอามาศึกษาและพัฒนาจริงๆส่วนบ้านเราตั้งเกณฑ์เมืองน่าอยู่ไว้ แต่ไม่ค่อยมีการประเมินอย่างจริงจัง หรือหากมีการประเมินก็เป็นงานของแต่ละหน่วยงานไม่รวมกันและข้อมูลนั้นก็ไม่ได้ถูกส่งต่อไปถึงผู้มีอำนาจวางผังเมืองหรือผู้ว่าฯ กทม.

อีกปัญหาหลักของกรุงเทพฯ ก็คือเรื่องรถติดเพราะประชาชนไม่สามารถเลือกการเดินทางที่หลากหลายให้ตัวเองได้ เช่นทางเดินเท้ามีอุปสรรค ถนนขรุขระจนใช้จักรยานไม่ได้ รถไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงทุกเส้นทางเพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาก็คือทำให้การเดินทางทั้งหลายมีประสิทธิภาพ เช่นจัดการเสาไฟ ป้ายโฆษณา มอเตอร์ไซค์ร้านค้าบนทางเท้าโดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ทำให้สภาพถนนไม่มีอุปสรรค ฯลฯ

ส่วนเรื่องของรถไฟฟ้า ดร. สุภาพร มองว่าแม้สถานีแต่ละแห่งจะยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่แต่สิ่งที่ผู้มีอำนาจสามารถทำได้เลยก็คือปรับปรุงเส้นทางให้คนเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้สะดวกมีป้ายชัดเจน หรือจัดระบบรถหรือที่เรียกว่า feeder เช่นรถสองแถวไปถึง

“ถ้าประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลายชีวิตมันสบายกว่ากันเยอะนะ ตอนนี้หน่วยงานที่ดูแลรถไฟฟ้าควรวางแผนอนาคตได้แล้วเช่นส่วนต่อขยายจากหมอชิตไปลำลูกกาก็ต้องเริ่มลงมือสำรวจเลยว่าจะพัฒนาพื้นที่รอบสถานีอย่างไรและไม่ใช่แค่เรื่องสร้างรถไฟฟ้า หน่วยงานอื่นๆ ก็ต้องเคลื่อนตัวไปพร้อมกันเช่นการเก็บค่าธรรมเนียมรถส่วนตัวบางพื้นที่เพื่อแก้ปัญหารถติดการกำหนดอาคารให้มีที่จอดรถจำกัดต้องเตรียมแล้วทั้งกฎหมายระดับท้องถิ่นไปถึงระดับชาติ” ดร.สุภาพรกล่าว

ที่มาภาพ (หลัก)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

portlandafoot.org

L.E. Baskow

thecourtyard

www.pdc.us

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand



อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth






Create Date : 01 กรกฎาคม 2556
Last Update : 1 กรกฎาคม 2556 21:11:53 น. 1 comments
Counter : 1744 Pageviews.

 
Hello, Neat post. There is a problem with your site in web explorer, may check this?K IE still is the marketplace chief and a big section of other folks will pass over your magnificent writing because of this problem.
Discount Oakley radar //www.rescuespaceblanket.com/


โดย: Discount Oakley radar IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:22:07:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.