ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ภัยพิบัติ เกิดกันบ่อยมาก แนวทางการวางผังเมืองจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติ จริงหรือเปล่า? ลองอ่านบทความนี้กันก่อน แล้วช่วยกันทำ



ภัยพิบัติ เกิดกันบ่อยมาก แนวทางการวางผังเมืองจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติจริงหรือเปล่า? ลองอ่านบทความนี้กันก่อนแล้วช่วยกันทำให้เกิดรูปธรรม...

บทความ : แนวทางการวางผังกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติตอนที่ 1

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร

asiamuseums@hotmail.com/

//www.asiamuseum.co.th/

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนาบุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับเพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของ อาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ(เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคตที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่างก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน……

..................................................................................................

บทนำ

ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นเป็นต้นเหตุให้เกิดภัยพิบัติหลากหลายชนิด และแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มประเทศตะวันตกได้ตื่นตัวคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาและพยายามลดสาเหตุของโลกร้อนด้วยการปรับปรุงกายภาพเมืองให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกจากนั้นยังได้แสวงหาวิธีการเพิ่มศักยภาพของกายภาพเมืองเพื่อให้มีความสามารถในการปกป้องตัวเองจากภัยพิบัติ สำหรับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนแม้จะมีการกล่าวถึงปัญหานี้อยู่มาก แต่ยังมองไม่เห็นความพยายามอย่างจริงจังในการลดสาเหตของปัญหา รวมทั้งยังไม่พบภาพร่างแนวทางที่มีศักยภาพในการปรับปรุงกายภาพเมืองให้รองรับต่อภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุงผังกายภาพในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ วันนี้จึงขอนำบางเกณฑ์และบางกลยุทธ์จากแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และแนวคิดลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism หรือCNU) แสดงให้เห็นโอกาสในการบรรเทาปัญหาและนำเสนอแนวทางเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2554

ที่มา:หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

การปรับปรุงกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็นการวางแผนการปรับปรุงกายเมืองก่อนการเกิดภัยพิบัติ (Pre-Disaster) และช่วงที่สองการปรับปรุงกายภาพเมืองหลังเกิดภัยพิบัติ (Post-Disaster) โดยแนวทางการปรับปรุงกายภาพก่อนการเกิดภัยพิบัติซึ่งจะกล่าวในบทความตอนที่1 นั้น ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 เรื่องได้แก่

1) การวางแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพ

2) การวางแผนปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

3) การสร้างข้อกำหนดกายภาพเมืองตามแนวทาง Form-BasedCode และ

4) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัย (U.S. Department of Housing and Urban Development, 2012) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

การวางแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพ

CNU ได้พัฒนา TheTransact ขึ้นเพื่อให้นักผังเมืองแบ่งส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ออกเป็น6 ส่วนโดยกำหนดให้พื้นที่ธรรมชาติ (T1) และพื้นที่เกษตรกรรม(T2) เป็นพื้นที่สงวนรักษาส่วนพื้นที่ตั้งแต่ย่านชานเมือง (T3) พื้นที่พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย (T4) พื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมือง (T5) และพื้นที่ใจกลางเมือง (T6) เป็นพื้นที่อนุญาตให้พัฒนา ทั้งนี้ความเข้มข้นในการสงวนรักษาและพัฒนาในแต่ละบริเวณขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวถึงนี้รัฐต้องนำไปเป็นข้อกำหนดในผังเมืองรวมด้วยการกำหนดขอบเขตพื้นที่แต่ละบริเวณให้เด่นชัดห้ามการรุกล้ำพื้นที่ในเขต T1 และ T2 เนื่องจากจะเกิดสภาพขาดความสมดุล สำหรับเกณฑ์การสงวนรักษาพื้นที่ของการเติบโตอย่างชาญฉลาดนั้น ได้กำหนดนโยบายไว้อย่างเด่นชัดในการอนุรักษ์พื้นที่ T1 ตลอดจนการสงวนรักษาและการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ T2 ซึ่งเน้นการสร้างระบบการจัดการพื้นที่ธรรมชาติพื้นที่เกษตรกรรม ที่โล่ง แหล่งน้ำ ปาชายเลนหรือชายหาดซึ่งมีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้พื้นที่คงความอุดมสมบูรณ์เป็นพื้นที่กันชนและสามารถรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ภาพตัวอย่างการแบ่งส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์(The Transact) ของชุมชนบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่มา: บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

สำหรับพื้นที่เมืองแม้จะมีบทบาทด้านการอนุรักษ์น้อยกว่าพื้นที่ธรรมชาติและการเกษตรแต่เมืองยังมีภารกิจในการดูแลรักษาโครงข่ายทางธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลองหรือพื้นที่รองรับน้ำที่ตั้งในเขตเมืองให้มีความสมบูรณ์และเชื่อมต่อกับเส้นสายทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ เมืองควรสร้างระบบการจัดการเพื่อขจัดปัญหาการรุกล้ำซึ่งกันและกันของโครงข่ายทางกายภาพเช่น การรุกล้ำทางน้ำโดยโครงข่ายถนน ทางรถไฟ และสาธารณูปโภค หรือการตั้งถิ่นฐานของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดังนั้น ยุทธศาสตร์โครงสร้างทางกายภาพที่รัฐต้องระบุในแผนยุทธศาสตร์ จึงได้แก่ 1) การคงความสมบูรณ์ของโครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่ทั้งสองบริเวณ 2) การคงความสมบูรณ์ของแหล่งผลิตอาหารและน้ำสะอาดที่ใช้ได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ 3) การสร้างข้อกำหนดในกฎหมายผังเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปกป้องพื้นที่ธรรมชาติและโครงข่ายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดเวลาและ 4) กำหนดให้พื้นที่ทั้งสองเป็นหน่วยสนับสนุนซึ่งกันและกันในภาวะวิกฤติภัยพิบัติ

การวางแผนปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

กลยุทธ์การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบรรเทาภัยพิบัติตามแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด(U.S. EnvironmentalProtection Agency, 2011) มีดังนี้

ภาพตัวอย่างผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนละไมอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่มา: บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

การส่งเสริมความหนาแน่น

แนวคิดทั้งสองมีเกณฑ์สอดคล้องกันในการส่งเสริมให้เกิดความหนาแน่นในเขตเมือง ใจกลางย่านในเขตต่อเมืองและเขตชานเมืองโดยพื้นที่ศูนย์ชุมชนต้องมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่เข้มข้นห้ามการกระจัดกระจายของเมืองหรือชุมชนไปยังพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติหรือพื้นที่รองรับน้ำ

ภาพการส่งเสริมความหนาแน่นภายในใจกลางย่านธุรกิจของนิวยอร์ค

ที่มา: New York Architecture, 2010

การกำหนดขอบเขตเมืองหรือชุมชน

เมืองหรือชุมชนจึงต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน สามารถแยกขอบเขตของแต่ละย่านหรือชุมชนออกจากกันได้หรือแยกขอบเขตชุมชนออกจากพื้นที่การเกษตรหรือพื้นที่ธรรมชาติ ในทางทฤษฏีขอบเขตที่เหมาะสมของศูนย์ชุมชนซึ่งจะเกิดความสะดวกในการจัดการภาวะวิกฤติไม่ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า1กิโลเมตร อย่างไรก็ตามในทางปฎิบัติขอบเขตชุมชนอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศหรือความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดการก็ได้ สำหรับการจัดการในภาวะวิกฤติจะใช้พื้นที่ขอบเขตเมืองหรือชุมชนที่ได้รับการวางผังแล้วเป็นพื้นที่เป้าหมายพื้นที่นอกเหนือจากนี้แม้จะอยู่ในภาวะเสี่ยงก็จะถูกจัดความสำคัญในอันดับรอง

ภาพตัวอย่างการกำหนดศูนย์ชุมชนตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(Samui TOD)

ที่มา : บริษัทพิพิธภัณฑ์เอเซีย จำกัด

การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสม

ภายในพื้นที่ศูนย์ชุมชนต้องจัดให้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน โดยมีหน่วยบริการสำคัญๆ เช่น ตลาดสดร้านค้าปลีก สถานีขนส่ง โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา วัด โบสถ์หรือมัสยิดผสมผสานและล้อมรอบด้วยที่พักอาศัย ฯลฯเหตุที่ต้องผสมผสานกิจกรรมเพราะต้องการให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่และต้องการให้ศูนย์ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤติเป็นสถานที่สร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน

ภาพการใช้ที่ดินแบบผสมผสานของย่านBrooklyn นิวยอร์ค

ที่มา : Brooklyn Daily Eagle, 2010

การกระชับกลุ่มอาคารในศูนย์กลางชุมชน

ผังเมืองและข้อกำหนดท้องถิ่นต้องอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารในแนวสูงในลักษณะกลุ่มอาคารได้เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินทั้งยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ที่ดินโดยกลุ่มอาคารดังกล่าวต้องออกแบบให้เชื่อมต่อกันกับพื้นที่สาธารณะ สถานีขนส่ง ตลาด ย่านพาณิชยกรรมและโรงพยาบาลหรือศูนย์สาธารณสุข ฯลฯ กลุ่มอาคารแบบกระชับภายในใจกลางเมืองซึ่งผสมผสานกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการพักอาศัยจะทำให้สมาชิกในชุมชนพึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤติ

ภาพแสดงการกระชับกลุ่มอาคารและส่งเสริมอาคารแนวสูงบริเวณใจกลางชุมชน

ที่มา: .U.S.EPA, Smart Growth National Award, 2009

การสร้างกายภาพทางเดินให้เชื่อมต่อกัน

การเติบโตอย่างชาญฉลาดให้การส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างอาคารและบล๊อกที่ดินด้วยโครงข่ายทางเดินที่มีความสมบูรณ์ ในภาวะวิกฤติที่ขาดแคลนน้ำมันและไฟฟ้าโครงข่ายทางเดินจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการสัญจรและการเชื่อมต่อกับสถานที่ต่างๆบางแนวคิดการพัฒนาเมืองได้ใช้ความสมบูรณ์ของโครงข่ายทางเดินในเมืองเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการวางผังและเป็นเครื่องบ่งชี้ประสิทธิภาพในการจัดการช่วงภาวะวิกฤติ

ภาพทางเดินขนาดใหญ่ (Pedestrian Mall) ถูกวางแผนให้เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายในย่านการค้าใจกลางกรุงHelsinki

ที่มา: Distraction, Reflections, 2011

การสร้างข้อกำหนดกายภาพเมืองตามแนวทาง Form-Based Code

รัฐต้องสนับสนุนให้ชุมชนและนักผังเมืองร่วมกันออกแบบกายภาพเมืองและจัดทำข้อกำหนดรายละเอียดการพัฒนากายภาพเมืองหรือForm-Based Code-FBCs ที่ลงลึกถึงประเภท รูปทรงและขนาดของมวลอาคาร ซึ่งนอกจากประชาชนจะมองเห็นภาพร่างทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมของชุมชนในอนาคตได้แล้ว นักผังเมืองหรือนักออกแบบชุมชนเมืองยังสามารถนำเอารูปแบบด้านกายภาพไปจัดทำแบบจำลองภาวะวิกฤติกรณีเกิดภัยพิบัติเช่น การทำแบบจำลองสภาวะน้ำท่วม (Flood Simulation) ได้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจนำไปปรับปรุง FBCs ให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับการบรรเทาปัญหาภัยพิบัติมากยิ่งขึ้น

ภาพจำลองสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงบริสเบลออสเตรเลีย

ที่มา : www.aamgroup.com

การวางแผนด้านที่อยู่อาศัย

U.S. Department of Housing and Urban Development ได้กำหนดกลยุทธ์การวางแผนที่อยู่อาศัยก่อนเกิดภัยพิบัติไว้3 ขั้นตอนคือ 1) การเลือกรูปแบบและสถานะของที่อยู่อาศัยได้แก่ การศึกษาเพื่อหารูปแบบบ้าน ประเภทวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่เหมาะสมกับสภาพของภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2) การประมาณราคาความสูญเสียของที่อยู่อาศัยได้แก่ การประมาณความเสียหายที่อาจเกิดจากภัยพิบัติซึ่งให้คาดการณ์ตามแบบจำลองที่สร้างขึ้น โดยกำหนดระดับความสูญเสียไว้ 3 ระดับคือ มาก ปานกลาง และน้อย ทั้งนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบในท้องถิ่นต้องเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณเพื่อรองรับหากเกิดปัญหาขึ้น 3) ทรัพยากรและระบบการผลิตวัสดุอุปกรณ์หลังภัยพิบัติ ได้แก่การเตรียมการจัดหาวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์หลังภัยพิบัติเหตุที่ต้องศึกษาและจัดเตรียมแนวทางการผลิตวัสดุอุปกรณ์ไว้ก่อนเนื่องจากหากวิกฤติการณ์เกิดขึ้นในวงกว้าง ท้องถิ่นอาจไม่สามารถจัดหาวัสดุและอุปกรณ์มาใช้ได้หรือราคาของวัสดุอุปกรณ์อาจจะสูงกว่างบประมาณที่มีอยู่ ดังนั้น การเตรียมการวางแผนการจัดหาไว้ก่อนจึงมีความจำเป็น

ภาพน้ำท่วมที่พักอาศัยบริเวณถนนจรัลสนิทวงศ์กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2554

ที่มา : Baan BangAor Coffee, 2554

สรุป

แม้การวางผังทางกายภาพเมืองจะไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากภัยพิบัติได้ทั้งหมดแต่การเตรียมการด้านกายภาพไว้ก่อนอาจช่วยบรรเทาและลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ ในบทความตอนต่อไปจะกล่าวลงลึกในรายละเอียดโดยจะชี้ให้เห็นวิธีการปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพจำแนกตามประเภทของภัยพิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจประโยชน์ที่ได้จากการวางผังทางกายภาพมากยี่งขึ้น

ชมวีดีโอ 


เอกสารอ้างอิง

U.S. Environmental Protection Agency, Planning for Disaster Debris,Available from;

//www.epa.gov/osw/conserve/rrr/imr/cdm/pubs/disaster.htm, May 13,2012

U.S. Department of Housing and Urban Development, Pre-Disaster Planningfor Permanent Housing Recovery, Available from:www.huduser.org/portal/publications/Pre_DisasterPlanningVol1.pdf., May 13, 2012

ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ https://www.facebook.com/SmartGrowthThailand

อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง”ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ (เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลก เค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




Create Date : 17 พฤษภาคม 2555
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 19:43:17 น. 3 comments
Counter : 3188 Pageviews.

 
Great work! This is the type of information that are meant to be shared around the web. Disgrace on the search engines for now not positioning this submit upper! Come on over and visit my website . Thank you =)
Mulberry Messenger bag //www.wooden-plantation-shutters-bath-somerset.co.uk/


โดย: Mulberry Messenger bag IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:0:51:01 น.  

 
Great awesome issues here. I??m very glad to look your article. Thank you so much and i am looking forward to contact you. Will you kindly drop me a e-mail?
mulberry sale //www.tnsi.com/pinterests.aspx


โดย: mulberry sale IP: 94.23.252.21 วันที่: 12 สิงหาคม 2557 เวลา:23:10:00 น.  

 
I want to personally thank you for the outstanding presentation. It was by far the best I have ever received. The enthusiasm you generate is contagious. Dick F.
Cheap Basketball Jerseys //www.fdlgroup.co.uk/images/nbajerseysale.asp


โดย: Cheap Basketball Jerseys IP: 157.7.205.214 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา:15:17:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.