ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ทั่วโลกส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (ระบบราง) แล้ว..เลิกระบบถนน เป็นระบบหลัก แต่..ไทยยังไม่เริ่มเลย

ทั่วโลกส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เช่นระบบราง.. “แล้ว...เลิกระบบถนน เป็นระบบหลักกันหมด...” ไม่น่าเชื่อว่า...ผู้บริหารบางประเทศจะ สวนกระแสโลก

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของ นักวิชาการผังเมือง อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ซึ่งผมรู้จักผ่านทาง Facebook //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งผมนำมาตั้งชื่อ Blog ผมอีกบล็อกหนึ่งครับ เพราะตั้งใจจะนำข้อคิด ข้อเขียนของอาจารย์ทั้งจากใน Facebook ของอาจารย์ และในเว็บไซต์ของอาจารย์ //asiamuseum.co.th/ มานำเสนอเท่าที่จะเป็นไปได้ ความจริงหลายเรื่องที่อาจารย์เขียน โดยนำข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ หลาย Case Study ครับ (เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่ดีๆ เกี่ยวกับผังเมืองในอนาคต ที่ก่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมหาศาล และแน่นอนทีเดียวหลายอย่าง ก็สามารถประยุกต์มาใช้ในประเทศไทยได้แน่นอน

Copy//Thapana Bunyapravitra

วันนี้จะขอกล่าวถึงหน้าที่การผังเมืองกับการลงทุนระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง ซึ่งผมเห็นว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจของผู้บริหารประเทศ ซึ่งจะกล่าวย้อนถึงแนวคิดการลงทุนโครงสร้างทางกายภาพเมืองและชี้ให้เห็นผลกระทบที่ประชาชนได้รับ



ระบบถนน ไม่ต้องคิดมากครับ จ่ายตังค์ค่าน้ำมันอย่างเดียว (ประเทศไทยจะยิ่งยากจน (ยากลำบาก)ตอนนี้ แล้วจะยากจน(ยากลำบาก)ตอนไหนกันครับ




กระแสขนส่งมวลชนระบบราง นิยมกันทั่วโลกแล้วครับ เป็นอนาคตของอเมริกากันเลย (ลองดูวีดีโอท้ายเรื่อง เรื่องแรกดูครับ ว่ามันเป็นอนาคตอเมริกาจริงหรือเปล่า?)




กระแสขนส่งมวลชนระบบราง นิยมกันทั่วโลกแล้วครับ เป็นอนาคตของอเมริกากันเลย (ลองดูวีดีโอท้ายเรื่อง เรื่องแรกดูครับ ว่ามันเป็นอนาคตอเมริกาจริงหรือเปล่า?)




ระบบรางทำให้การเผาผลาญน้ำมันสิ้นเปลืองน้อยลง เพราะใช้ระบบไฟฟ้า เป็นส่วนใหญ่


จากบทความช่วงต้นๆ ผมได้แสดงให้เห็นว่า รัฐมีหน้าที่โดยตรงในการลงทุนระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมต่อระหว่างย่านเพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความคุ้มค่าและสามารถตอบสนองความต้องการสัญจรของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสำดับความสำคัญในการลงทุนนั้น การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ได้กำหนดให้รัฐเลือกการลงทุนโครงข่ายการขนส่งมวลชนก่อน โดยใช้โครงข่ายถนนที่มีอยู่เดิมเป็นฐานรองรับโครงข่ายการขนส่งมวลชน กรณีนี้ใช้สำหรับการสัญจรในเขตเมืองและระหว่างเขตเมืองกับย่านชานเมือง

ส่วนการลงทุนการคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองนั้นก็ยังได้กำหนดให้

ลงทุนระบบขนส่งมวลชนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกอีกเช่นกัน

โดยให้การลงทุนโครงข่ายถนน ทางด่วน ทางด่วนพิเศษหรือมอเตอร์เวย์มีความสำคัญในอันดับที่สอง เหตุที่กำหนดเช่นนี้ เนื่องจาก

1. ต้องการบังคับให้ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ระบบขนส่งมวลชนที่รัฐลงทุนไว้แล้ว

2. ป้องกันการซื้อหาที่อยู่อาศัยในสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการกระจัดกระจายของเมือง (Urban Sprawl)

3. ลดความจำเป็นในการลงทุนซื้อรถยนต์ของประชาชน

หากจะทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ ก็คือ พฤติกรรมการสัญจรของประชาชนจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่รัฐวางแผนไว้นั่นเอง เช่น หากเมืองใดมีการลงทุนโครงข่ายการขนส่งมวลชนไว้พรั่งพร้อมตั้งแต่แรกประชาชนก็จะหมดความจำเป็นในการซื้อหารถยนต์ พฤติกรรมการสัญจรของประชาชนก็จะใช้ระบบที่รัฐลงทุนไว้ให้ ในทางตรงกันข้ามกับหากเมืองใดมีการลงทุนโครงข่ายถนนไว้อย่างพรั่งพร้อมตั้งแต่แรกโดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชน ประชาชนก็มีความจำเป็นจะต้องซื้อหารถยนต์ การสัญจรส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพารถยนต์ที่ประชาชนเป็นผู้ลงทุน

ผมคิดว่าผู้อ่านทุกท่านคงมองเห็นผลที่เกิดกับเมืองและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนจากการลักษณะการลงทุนทั้งสองประเภทสำหรับในทางผังเมือง หากเปรียบเทียบสิ่งที่ได้จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพทั้งสองประเภท ท่านจะพบทั้งผลได้และผลกระทบที่แตกต่างกันมาก ลองมาดูกันครับว่าบทเรียนที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

กรณีการลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชนไว้ตั้งแต่แรก ท่านจะพบว่า
1. ชุมชนจะมีความกระชับ (Compact Community) บริเวณสถานีขนส่งมวลชน ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ธุรกิจบริการ การพาณิชยกรรม และระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ



กรณีการลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชนไว้ตั้งแต่แรก ชุมชนจะมีความกระชับ


2. รูปทรง (Shape) ของย่านจะเป็นรูปวงกลมหรือวงรีที่มีศูนย์กลางของชุมชนเป็นสถานีขนส่งมวลชนหรือศูนย์พาณิชยกรรมรอบๆ สถานีซึ่งมีความเด่นชัด หากเกิดการแผ่ขยาย ชุมชนจะขยายออกไปตามรัศมีที่นับจากศูนย์กลาง

3.ชุมชนที่กระชับจะมีความหนาแน่นในบริเวณใจกลาง เนื่องจากมีอาคารพักอาศัยหลากหลายรูปแบบและส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาคารแนวตั้ง ดังนั้น ในพื้นที่จึงเกิดสภาพของชุมชนแห่งการเดิน (Walkable Community) โดยที่รัฐไม่ต้องให้การส่งเสริม



กรณีการลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชนไว้ตั้งแต่แรก เกิดสภาพของชุมชนแห่งการเดิน (Walkable Community)


4. ความคึกคักและมีชีวิตชีวาด้านเศรษฐกิจในย่านการค้าพาณิชยกรรม เกิดการสร้างงานและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน



กรณีการลงทุนโครงข่ายขนส่งมวลชนไว้ตั้งแต่แรก เกิดเมืองมีชีวิตชีวา


5. การรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ธรรมชาติเกิดขึ้นน้อย เนื่องจากชุมชนไม่ได้กระจัดกระจายตามแนวถนน




หากเป็นกรณีการลงทุนโครงข่ายถนนไว้ตั้งแต่แรก ท่านจะพบว่า

1. ชุมชนจะกระจัดกระจายตามแนวถนน หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ไม่มีทิศทางการแผ่ขยายอย่างชัดเจน เกิดอาคารพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ (Big Box Building) และอาคารพาณิชกรรมตามแนวถนน (Commercial Sprawl) และอาคารพักอาศัยตามพื้นที่ต่างๆ



ชุมชนจะกระจัดกระจายตามแนวถนน หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ไม่มีทิศทางการแผ่ขยายอย่างชัดเจน




ชุมชนจะกระจัดกระจายตามแนวถนน หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ไม่มีทิศทางการแผ่ขยายอย่างชัดเจน


2. ชุมชนไม่มีรุปทรง (Shape) ที่เด่นชัด ไม่มีศูนย์กลางและไม่สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้

3. ชุมชนเกิดใหม่มีความหนาแน่นต่ำ ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตลาด และศูนย์พาณิยกรรม หรือแม้แต่ระบบขนส่งมวลชน ประชาชนไม่มีทางเลือกการเดินทางนอกจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเดินได้



ประชาชนไม่มีทางเลือกการเดินทางนอกจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเดินได้




ประชาชนไม่มีทางเลือกการเดินทางนอกจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดชุมชนแห่งการเดินได้


4. อาคารบ้านเรือน และอาคารพักอาศัยที่ตั้งไม่ต่อเนื่องกันทำให้ชุมชนขาดความคึกคักมีชิวิตชีวา ประชาชนส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เพียงแค่การอยู่อาศัย ไม่ได้ใช้เป็นพื้นที่ประกอบการและเป็นแหล่งงาน



5. การกระจัดกระจายของอาคารประเภทต่างๆ ได้รุกล้ำพื้นที่การเกษตร พื้นที่รองรับน้ำ และพื้นที่ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ



ประสบการณ์การพัฒนาที่แสดงให้เห็นโดยสรุปนี้ไม่ได้รวมผลกระทบของเมืองที่เกิดจากการลงทุนประเภทที่สอง เช่น ความแออัดด้านการจราจร ปัญหามลพิษ ปัญหาต้นทุนค่าครองชีพที่เกิดจากค่าใช้จ่ายการเดินทาง ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลง ความเครียดจากการเดินทางเป็นเวลานาน และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ฯลฯ

กรณีของผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดจากการวางแผนการลงทุนโครงสร้างกายภาพประเภทที่สองซึ่งถือว่ามีความผิดพลาดนั้น ในประเทศโลกที่ 1 ได้มีการสรุปเป็นบทเรียนและมีการปรับทิศทางการวางแผนด้วยการปรับปรุงกายภาพเมืองให้มีลักษณะเป็นประเภทแรกเกือบจะทั้งหมดแล้ว ทุกประเทศไม่มีการลังเลที่จะหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนในเขตเมือง และหลายๆ ประเทศได้มีความพยายามในสร้างกลยุทธ์เพื่อลดความจำเป็นในการซื้อหายวดยานส่วนบุคคล แม้โลกนี้เกือบจะเป็นเนื้อเดียวกันจากระบบสื่อสารออนไลน์และโซเชียลมีเดีย แต่ยังปรากฎว่ามีบางประเทศในโลกที่สามที่ยังให้การสนับสนุนการมีรถยนต์ส่วนบุคคลด้วยหลากหลายโครงการ และ “โครงการรถยนต์คันแรก” คือหนึ่งในนั้น



อเมริกา ”ส่ายหน้า” ระบบถนน (ไม่เอา..ซะแล้ว!!) เปลี่ยนมาเป็นระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า... Thailand จะปรับตัวอย่างไรล่ะพี่น้อง (อ่านข้อมูลบทความเดิมบนบล็อกตามลิ้งก์ //www.oknation.net/blog/smartgrowth/2012/02/18/entry-1 )


ในทศวรรษแห่งข้อมูลข่าวสาร ไมน่าเชื่อว่ายังมีผู้บริหารของบางประเทศที่ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวถึงพิษภัยจากการเพิ่มขึ้นรถยนต์ส่วนบุคคล และกล้าขับเคลื่อนนโยบายที่สวนกระแส ท้าทายข้อเท็จจริงด้านวิชาการผังเมืองและประสบการณ์การพัฒนาเมืองจากทั่วทั้งโลก ไมน่าเชื่อว่า ประสบการณ์การพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้สอนและให้ประสบการณ์อะไรเลยกับผู้บริหารกลุ่มนี้

สำหรับ video กรณีศึกษาจำนวน 2 เรื่องๆ แรกได้ชี้ให้เห็นพิษภัยการกระจัดกระจายของเมือง เรื่องที่สองจัดทำโดย Congress for the New Urbanism เรื่อง Built to Last ได้แสดงถึงเป้าหมายและความฝันอันสูงสุดของการวางผังและออกแบบเมืองให้เป็นทั้ง Walkable City, Transit Oriented City, และ Livable City ขอเชิญรับชมครับ



พิษภัยการกระจัดกระจายของเมือง




เป้าหมายและความฝันอันสูงสุดของการวางผังและออกแบบเมืองให้เป็น




ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด) เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/pages/Smart-Growth-ASIA/355237181167341?sk=wall




Create Date : 03 มีนาคม 2555
Last Update : 3 มีนาคม 2555 20:12:04 น. 0 comments
Counter : 1183 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.