ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
บทความ : การจัดการเมืองให้เหมาะสมสำหรับการเดิน ขี่จักรยาน การจัดให้ มีสถานที่สาธารณะที่สวยงาม


เกริ่นนำ

บทความดีๆ ที่มีประโยชน์มากมาย ของคุณฉัตรนุชัยสมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานSmart Growth Thailand (//www.facebook.com/SmartGrowthThailand

) วันนี้จะเป็นการนำเสนอข้อสรุปเนื้อหาการบรรยายของMr.Gil Penalosa :: ExecutiveDirector Walk & Bike for Life

เกี่ยวกับการจัดการเมืองให้เหมาะสมสำหรับการเดิน ขี่จักรยานการจัดให้มีสถานที่สาธารณะที่สวยงาม

เข้าสู่บทความ

Walking,Bicycling and Public Spaces :

Experiences from Bogota and Beyond


สรุปเนื้อหาการบรรยายของ Mr.Gil Penalosa 

เกี่ยวกับการจัดการเมืองให้เหมาะสมสำหรับการเดิน ขี่จักรยานการจัดให้ มีสถานที่สาธารณะที่สวยงาม โดยเขาได้เล่าประสบการณ์จากเมืองโบโกต้าและเมืองอื่น ๆ เช่น ปารีส โคเปนเฮเกน แวนคูเวอร์ อัมสเตอดัม พอร์ตแลนด์ นิวยอร์คฯลฯ เป็นการบรรยายที่น่าสนใจและมีประโยชน์สำหรับผู้

บริหารเมืองจะได้ศึกษาแนวทางและนำมาปรับใช้กับเมืองให้น่าอยู่และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หมายเหตุ บรรยายเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2008 ณ Simon Fraser University,Vancouver

Happy City : The more we meet outside of our cars,the kindand gentler we're likely to become

Charles Montgomery

มีคนมีชื่อเสียงหลายคนที่ใช้จักรยานเป็น

พาหนะในชีวิตประจำวันและบางครั้งเป็นแฟชั่น

เราจะพบว่ามีการการพูดคุย การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้จักรยาน และการสร้างชุมชนแห่งการเดินอย่างมากมายแต่ยังมีการลงมือทำไม่เพียงพอ


Albert Einstein กล่าวไว้ว่า "Lifeis like a bicycle. To keep your balance,you must keep moving."

เราจะขับเคลื่อน(to move) การเป็นเมืองจักรยานและชุมชนแห่งการเดินนั้นได้อย่างไรคำตอบคือ ต้อง "ลงมือทำ(To Doing)"

ประเภทของเมืองที่เราควรจะสร้างให้เป็นเมืองจักรยานหรือเมืองคนเดิน

ในอดีตเมืองจะวัดการที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของเมืองใน

ศตวรรษที่ 21 คือ การสร้างเมืองให้มีเสน่ห์ดึงดูด และคงไว้ซึ่งความคิดสร้างสรรค์และการให้การ

ศึกษาแก่ประชาชน

"เมืองที่จะดีหรือสวยงามได้ไม่ใช่เรื่องของทางวิศวกรรมเท่านั้นแต่จะต้องเกี่ยวข้องกับศิลปะด้วย"



ชาวนครแวนคูเวอร์เลือกทางเดินของตนเอง

• ไม่อนุญาตให้สร้างทางด่วนเข้ามาในเมืองตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว

• ได้เรียนรู้ว่าการสร้างเมืองให้น่าอยู่นั้นเป็นทั้งเรื่องศาสตร์และศิลปะ

• ในทศวรรษ 1970สภาเมืองและเจ้าหน้าที่นครแวนคูเวอร์พยายามลดการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชุมชนในการวางแผน

• ในศตวรรษที่ 21ได้วางแผนให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

• การวางแผนการใช้ที่ดินควบคู่ไปกับเรื่องการขนส่งมวลชน

แวนคูเวอร์เป็นเมืองที่น่าอยู่สวยงามแต่ยังไม่เพียงพอเพราะการที่จะสร้างเมืองให้ยิ่งใหญ่นั้นเป็นกระบวนการของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นแวนคูเวอร์ต้องการที่จะสร้างเมืองให้เป็นเมืองจักรยานที่ยิ่งใหญ่ในระดับโลกแต่จะทำอย่างไร มี เป้าหมายที่จะดำเนินการอย่างไร


Every thing i do i do on bicycle

เมือง Housen netherland ใช้จักรยานร้อยละ44 การปั่นจักรยานและการเดิน,สวนสาธารณะและทาง

เดิน เป็นประโยชน์ต่อ "โลก"(Walk & Bike ,Park& Trails benefit the...EARTH)

E : Environments ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้พื้นที่ลดการใช้ทรัพยากร ลดการรีไซเคิล

A : Activities $(economic development) จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มรายได้เพิ่ม สิ่งที่นักท่องเที่ยวมักจะจดจำได้ง่ายในเมืองที่ไปเที่ยวคือ ทางเท้า จักรยานและพื้นที่สาธารณะ นักท่องเที่ยวคือคนเดินเท้า(Tourism is

Pedestrian)

R : Recreation การจัดการที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน(ALL)โดยไม่คำนึงถึงเพศ วัย อายุ สถานะทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติ สภาพอากาศ /แนวโน้มของการพักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองคือ กิจกรรมที่ไม่ต้องมีแผนการหรือการจัดการยกเว้นฟุตบอล กิจกรรมที่อิสระ การผจญภัย

T : Transportation การเดินเป็นการขนส่งอย่างหนึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการเคลื่อนย้าย เป็นตัวเชื่อมที่ดีที่สุดกับระบบขนส่งมวลชนทุกแบบเข้าด้วยกันด้วยจักรยานและการเดิน


Complete street คือ ถนนที่ออกแบบ สร้างบำรุงรักษา และใช้งาน ที่คำนึงถึง คนเดินเท้า นักปั่น ระบบขนส่งมวลชน และยานพาหนะ นโยบายcomplete street เป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ผู้ใช้ทุกคนว่าจะออกแบบและใช้งานได้อย่างปลอดภัย


H : Health การขาดกิจกรรมทางกายและปัญหาน้ำหนักตัวเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมากมายเช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ มะเร็ง ฯลฯปัจจุบันประชากรที่มีน้ำหนักเกินเพิ่มจำนวนมากขึ้นการเดินและปั่นจักรยานช่วยลดการเกิดโรคดังกล่าวข้างต้น

Why a perfect opportunity? From "No pain,no gain"

มีกิจกรรมทางกายทุกวันวันละ 30 นาที การเดิน หรือขี่จักรยานไปทำธุระหรือทำงาน ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น

การจัดลำดับของการใช้ระบบการขนส่ง

• เดินเท้า ได้ระยะทาง 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

• ปั่นจักรยาน ได้ระยะทาง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

• ขนส่งมวลชน

• รถยนต์และอื่น ๆ ได้ระยะทาง มากว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การขนส่งทุกรูปแบบต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเฉพาะแต่ละรูปแบบแยกจากกันทั้งทางเดินเท้า ทางจักรยาน ทางรถยนต์ ระบบขนส่งมวลชน ให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ใช้ถนนทุกคน


What Beyond Baby Steps looks like

ยกตัวอย่าง ciclovia เมืองโบโกต้าใช้โครงสร้างพื้นฐานถนนที่มีอยู่ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่มเพียงแต่เริ่มลงมือทำ และมีความตั้งใจจริงของผู้นำทางการเมือง

เริ่มต้นในปี 1995 มีระยะทาง 13 กม./ปี

1997 ระยะทางเพิ่มเป็น 91กม./ ปี

2007 ระยะทางรวม 113 กม.

เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น extreme sport ,aerobic

ประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนจาก จำนวน 7 ล้านคน มาออกกำลังกายทุกวันอาทิตย์ ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ จัดกิจกรรม carfree day ปีละ 1 ครั้งในวันพฤหัสของเดือนกุมภาพันธ์ประชาชนให้ความร่วมมือทั้งเมือง ยังคงใช้ชีวิตทำงาน ส่งลูกตามปกติแต่ไม่ใช้รถยนต์ใช้การเดิน จักรยานและระบบขนส่งมวลชน ประชาชนที่มีรายได้น้อย

แปลกใจเมื่อเห็นเจ้าของรถยนต์ที่มีฐานะดีทิ้งรถยนต์แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนหรือเดินหรือขี่จักรยานในวัน car freeday

ยกตัวอย่างที่เมือง Mexico city มีโครงการ Guadalajaraเริ่มต้น กันยายน 2004 ด้วยทางจักรยานระยะทาง 12กม. ในปี 2007 มี 3 เทศบาลที่เข้าร่วมระยะทาง39 กม. ประชากรมากกว่า 200,000 คน

 




ภาพตัวอย่าง Paris ปิดถนนบางเส้นให้ประชาชนมาใช้อาบแดดและพักผ่อนในช่วงหน้าร้อน ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.ปีละครั้ง ๆละ 1 เดือน


ภาพตัวอย่าง New York ปิดถนนให้ประชาชนใช้พักผ่อนทำกิจกรรมเช่นระบายสี ขี่สเก็ต เต้นรำ ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิค มีกิจกรรมตกแต่งขบวนจักรยานบริเวณถนน summer ในวันเสาร์ทุกสัปดาห์


สร้างถนนให้รถยนต์ หรือสร้างถนนให้คนเดินมีเมืองหลายเมืองที่สร้างถนนให้รถยนต์วิ่งเช่นเมือง Los Angeles ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่สาธารณะเป็นถนนสำหรับรถยนต์ แต่บางเมืองเช่น Parisมีถนนสำหรับรถยนต์เพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่สาธารณะแล้วคุณอยากจะอาศัยอยู่ในเมืองไหนมากกว่ากัน

ยกตัวอย่างเมือง Bogota ประเทศ Columbiaมีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำกว่าแคนาดา 10 เท่า

สวนสาธารณะของเมือง Bogota's เป็นสถานที่แสนวิเศษสำหรับการเดินและขี่จักรยาน ระหว่างปี 1995-2001มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายไว้ชัดเจน มีการออกแบบและก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่5 แห่ง ก่อสร้างสวนสาธารณะสำหรับเขตพื้นที่ 50 แห่ง และสวนสาธารณะตามย่านชุมชนอีก 800 แห่ง

สวนสาธารณะที่มีชื่อเสียงคือ Simon BolivarMetropolitan Park ตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีขนาดพื้นที่ 889

เอเคอร์ เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต แข่งว่าว รองรับคนได้ถึง120,000 คน มีห้องสมุด สนามกีฬาหลากหลายชนิด เป็นสถานที่จัดกิจกรรมประจำปี


มีการสร้าง Greenways ในเมืองโบโกต้าตามลำน้ำลำคลอง ระบบรางระบายน้ำฝน แนวท่อส่งแก็ส หรือถนนตามแนวทิศเหนือ- ใต้และทิศตะวันออก- ตะวันตก ระยะทางประมาณ 29 กม.(Juan Amarillo Greenway)

แยกทางจักรยานออกมาเฉพาะเป็นเครือข่ายยาว 280 กม.ภายใน3 ปี


มีการสร้างทางเดินเท้าสำหรับคนเดินเท้า ไม่ใช่สำหรับรถยนต์จึงมีการลดพื้นที่การจอดรถยนต์ข้างทางเพิ่มขนาดทางเท้าให้กว้างขึ้น

มีการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนมาใช้ระบบ BRT ที่เรียกว่าTransmilenio มีผู้ใช้บริการเริ่มแรก วันละ 600,000 คน ปัจจุบันวันละ 1.4 ล้านคนมีการบูรณาการทางเดินเท้าและทางจักรยานเข้ากับระบบขนส่งมวลชน


แยกทางจักรยานออกมาเฉพาะเป็นเครือข่ายยาว 280 กม.ภายใน3 ปี

มีการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.4เป็นมากกว่าร้อยละ 4.5 จำนวนคนจาก 28,000 เป็นมากกว่า 350,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆมีการใช้จักรยานส่งลูกไปโรงเรียน

อัตราการเกิดอาชญากรรมในชุมชนลดลงมาก ในช่วงปี 1995-2006

คิดนอกกรอบ

ลงมือทำ

ความบ้า(Insanity) หมายถึงการทำเหมือนที่เคยทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า และคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

การวางแผนในอดีตชอบมองแยกส่วนคิดแยกส่วนแต่ในปัจจุบันควรจะวางแผนแบบเน้นประชาชนองค์

รวม(Holistic People Oriented Planning) Gehl Architects

ยกตัวอย่าง Paris

มีจักรยานให้เช่าทั่วเมือง 30 นาทีแรกไม่คิดเงิน มีถนนสมบูรณ์(Complete Streets)ที่แยกการใช้งานระหว่าง ทางจักรยาน ทางเดิน ระบบขนส่งมวลชน

ยกตัวอย่าง Copenhagen city of cyclists

มีทางจักรยานสำหรับทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็ก ผู้หญิง คนชรา คนทั่วไปอาจจะคิดว่าชีวิตกลางแจ้งที่ออกมาเดินมาปั่นจักรยานเป็นไปไม่ได้ เพราะ รถยนต์มาก อันตราย สภาพอากาศที่เลวร้ายร้อนเกินไปหนาวเกินไป แต่นั่นไม่ใช่ วัฒนธรรมของเราชาวโคเปนเฮเกน มีการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน15 ปี มีการใช้จักรยาน

แม้ในวันที่อากาศหนาวเหน็บ หรือฝนตก มีการใช้จักรยานร้อยละ 36เดินเท้าร้อยละ 7 ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 33 และรถยนต์ร้อยละ 23 โคเปนเฮเกน มีเป้าหมายในปี2015 ที่จะเป็นเมืองจักรยานที่ดีที่สุดในโลก โดยกำหนดเป้าหมายดังนี้

• มากกว่าร้อยละ 50 ปั่นจักรยานไปทำงาน

• ลดการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าร้อยละ 50

• ร้อยละ 80 รู้สึกปลอดภัยเมื่อปั่นจักรยาน

ท่านสามารถชมวีดีโอการบรรยายของ Mr.Gil penalosa


ท่านใดสนใจแนวความคิด Smarth Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage กับอาจารย์ได้ตามลิ้งก์ Facebookนี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand


อ่านเนื้อเรื่อง “ย้อนหลัง” ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่างนี้(เพื่อจะได้รับทราบข้อมูล “ผังเมือง” ในระดับโลกเค้าไปถึงไหนกันแล้ว //www.oknation.net/blog/smartgrowth




Create Date : 18 มีนาคม 2556
Last Update : 18 มีนาคม 2556 6:48:39 น. 1 comments
Counter : 2157 Pageviews.

 
สุขสันต์วันเกิดค่ะ
ขอให้มีความสุขมากๆ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนา
มีความก้าวหน้าทั้งในชีวิตและหน้าที่การงาน
สุขภาพแข็งแรงตลอดปี และตลอดไปค่ะ




โดย: pantawan วันที่: 18 มีนาคม 2556 เวลา:22:14:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.